forex_calendar

1.  ตั้งเวลาให้ตรงกับประเทศไทยคือ (GMT+7:00) Bangkok, Hanoi, Jakarta
2.  ไว้สำหรับเลือกวันที่ต้องการดูข่าว
3.  เวลาข่าวออก
4.  ตระกูลเงินของข่าว
5.  ความรุนแรงของข่าว
6.  เหตุการณ์ของข่าว
7.  ค่าตัวเลขจริงที่ออก
8.  ค่าตัวเลขคาดการณ์
9.  ค่าตัวเลขครั้งก่อน

forex_calendar

เมื่อถึงเวลาข่าวออกตัวเลขค่าจริงจะแสดงออกมาในช่อง Actual ซึ่งจะมีสีแตกต่างกันดังนี้

  • ตัวเลขออกเป็นสีเขียวแสดงตัวเลขดีกว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีแดงแสดงว่าตัวเลขแย่กว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีดำแสดงว่าตัวเลขเท่ากับค่าที่คาดการณ์หรือใกล้เคียงกับสถิติเดิม (Previous)

 

สิ่งที่ต้องสนใจในการเทรดข่าว Forex

 

1.  เรื่องค่าสกุลเงิน ถ้าเทรดสกุลไหนก็ต้องสนใจเฉพาะสกุลนั้น เช่นถ้าเราเช่น EUR/USD ก็สนใจเฉพาะข่าวของ USD และ EUR และเราต้องรู้ด้วยว่าถ้าข่าวออกมาจะทำให้ค่าเงินเราขึ้นหรือลง เช่น ถ้าเราเล่น EUR/USD ถ้าข่าวดอลลาร์สหรัฐออกมาดีแสดงคู่เงินที่มี USD อยู่หลังกราฟจะลง แต่ถ้าข่าว USD ออกมาไม่ดีกราฟจะขึ้น ในทางกลับกันถ้าข่าว EUR ออกมาดีกราฟจะขึ้นแต่ถ้าข่าว EUR ออกมาไม่ดีกราฟจะลง

2. เรื่องระดับความแรงของข่าว ระดับความแรงขอข่าวจะมีสามระดับดังรูป

forex_calendar

3. ค่าตัวเลขจริงที่ออก(Actual) ถ้าค่าตัวเล่นจริงที่ออกมาต่างจากค่าก่อนหน้า(Previous)มาก ยิ่งมีผลทำให้ค่าเงินวิ่งขึ้นลงแรงมาก แต่ก็ขึ้นอยู่กับความแรงของข่าวด้วย

อิทธิพลของ ‘เงินเฟ้อ’ เรียนรู้เศรษฐศาสตร์ผ่านหนังดัง!

เมื่อต้นเดือนเมษายน The Shawshank Redemption (1994) ถูกนำกลับมาฉายบน Netflix อีกครั้ง ซึ่งมีการพูดถึงอย่างแพร่หลายบนโซเชียลมีเดีย ผู้เขียนจึงขอนำเกร็ดความรู้จากหนังมาเล่าเพื่อช่วยเพิ่มอรรถรสในการชมภาพยนตร์คลาสสิกเรื่องนี้ให้มากขึ้น

พระเอกของเรื่อง แอนดี้ ดูเฟรส์น เป็นนายธนาคารเก่า ได้ติดคุกที่เรือนจำชอว์แชงก์เป็นเวลาทั้งหมด 19 ปี ในระหว่างที่แอนดี้อยู่ในเรือนจำก็ได้ช่วยผู้คุมเรือนจำฟอกเงินคอร์รัปชัน ทำให้มีเงินในบัญชีทั้งหมดประมาณ 370,000 ดอลลาร์ เมื่อแอนดี้แหกคุกออกมาในปี 1966 ก็ได้มาถอนเงินก้อนนี้ไปใช้ชีวิตบั้นปลายอย่างสุขสบายบนเกาะในประเทศเม็กซิโก
คำถามคือ เงินจำนวน 370,000 ดอลลาร์ในปี 1966 มีมูลค่าเทียบกับเท่าไรในปัจจุบัน (2021) ซึ่งทุกคนคงทราบดีว่าเงินในอดีตมีค่ามากกว่าเงินในปัจจุบัน แต่การจะตีว่าเป็นตัวเลขเท่าไรนั้นเราจำเป็นต้องมีการเปรียบเทียบค่าครองชีพของปี 1966 กับปี 2021
ในทางเศรษฐศาสตร์เวลาเปรียบเทียบค่าครองชีพในสองช่วงเวลาจะใช้ดัชนีราคาที่เราเรียกว่า CPI (Consumer Price Index) ถ้าเราเปรียบเทียบค่าครองชีพในเดือนนี้กับเดือนหน้าก็คงจะไม่ต่างกันมาก แต่ในกรณีนี้เรากำลังเปรียบเทียบค่าครองชีพในปี 1966 กับปี 2021 ซึ่งมีระยะเวลาห่างกันถึง 55 ปี
ค่าดัชนี CPI ของสหรัฐอเมริกาในเดือนมกราคม ปี 1966 อยู่ที่ 31.9 ซึ่งเมื่อเทียบกับ CPI ในเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2021 ที่อยู่ที่ระดับ 263.2 ชี้ให้เห็นว่าค่าครองชีพได้ปรับตัวสูงขึ้นหลายเท่า การตีความตัวเลขดัชนี เช่น ระดับ 31.9 หรือ 263.2 เพียงตัวของมันเดี่ยวๆ ไม่มีความหมายอะไรทั้งสิ้น แต่การที่เราเอาตัวเลข CPI มาใช้จำเป็นต้องนำค่าดัชนีของสองช่วงเวลามาเปรียบเทียบกัน จึงจะทำให้เราเห็นภาพว่าค่าครองชีพหรือภาพของเงินเฟ้อในสหรัฐฯ เปลี่ยนแปลงอย่างไรใน 55 ปีที่ผ่านมา
อธิบายง่ายๆ คือถ้าแอนดี้มีค่าครองชีพ 31.9 ในปี 1966 และในปี 2021 แอนดี้ต้องการคุณภาพชีวิตแบบเดียวกันในปัจจุบัน ค่าครองชีพนั้นจะต้องเพิ่มขึ้นเป็น 263.2 (ดัชนีนี้ไม่มีหน่วย ไม่ใช่ดอลลาร์สหรัฐ) คิดเป็น 8.25 เท่าของค่าครองชีพในปี 1966 นั่นหมายความว่าถ้าสินค้าและบริการมีราคา 1 ดอลลาร์เมื่อปี 1966 ในยุคปัจจุบันราคาของสินค้าและบริการอย่างเดียวกันจะกระโดดมาอยู่ที่ 8.25 ดอลลาร์
ในตอนนี้เราจึงสามารถเปรียบเทียบมูลค่าของเงิน 370,000 ดอลลาร์ในปี 1966 กับปี 2021 ได้แล้ว โดยการเอาตัวเลข 8.25 ไปคูณกับจำนวนเงินในปี 1966 ซึ่งแปลว่าเงินที่แอนดี้ได้มาในปี 1966 มีค่าเท่ากับ 3,052,500 ดอลลาร์ ถ้าตีเป็นเงินบาทก็จะอยู่ที่ประมาณ 96 ล้านบาท (อัตราแลกเปลี่ยนที่ใช้ 1 ดอลลาร์เท่ากับ 31.4 บาท) เราจะเห็นได้ว่าพระเอกของเราได้เงินจากการช่วยผู้คุมเรือนจำกว่า 3 ล้านดอลลาร์ เหลือเฟือกับการใช้ชีวิตอย่างสุขสบายบนเกาะที่เม็กซิโกได้
ต่อไปเวลาที่ทุกคนดูหนังแล้วอยากรู้ว่าค่าเงินในหนังนั้นมันเยอะขนาดไหน เรามีสูตรง่ายๆ ให้ใช้
อีกมุมมองหนึ่งที่น่าสนใจคือ การที่ 1 ดอลลาร์ในปี 1966 สามารถซื้อของได้มากกว่า 1 ดอลลาร์ในปัจจุบันถึง 8.25 เท่านั้น เป็นสิ่งที่ทำให้เราต้องระวังอันตรายจากเงินเฟ้ออย่างมาก ลองสมมติว่าถ้าแอนดี้เก็บเงินไว้ใต้เตียงตั้งแต่ปี 1966 เงิน 1 ดอลลาร์ที่เก็บไว้แล้วนำออกมาใช้ในวันนี้จะด้อยค่าไปกว่า 88% หรือเหลือมูลค่าแค่ 0.12 ดอลลาร์ เมื่อเทียบกับกำลังการซื้อของ 1 ดอลลาร์ในปี 1966
ในความเป็นจริงแล้ว ช่วง 30-40 ปีที่ผ่านมาอัตราเงินเฟ้อได้ปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง จึงทำให้หลายคนมองว่าเงินเฟ้อไม่ได้น่ากลัวเหมือนในยุคก่อนช่วง 1970-1980 แต่การที่อัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับต่ำเป็นเวลานานไม่ได้แปลว่าไม่มีโอกาสที่เงินเฟ้อจะเร่งตัวขึ้นในอนาคตอันใกล้นี้ ในช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมาความกังวลเรื่องเงินเฟ้อได้มีการพูดถึงอย่างมากอีกครั้ง หลังจากที่เศรษฐกิจโลกฟื้นตัวอย่างเร็วและแรง ประกอบกับนโยบายการเงินและการคลังที่ยังผ่อนคลายและการเร่งกิจกรรมทางเศรษฐกิจอย่างไม่เคยมีมาก่อนในประวัติศาสตร์ จึงอยากชวนทุกคนให้เริ่มจับตามองอัตราเงินเฟ้ออย่างใกล้ชิด
โดย บุรินทร์ อดุลวัฒนะ
Source: the standard wealth

คลิก

Cr.Bank of Thailand Scholarship Students
----------------------------------------------------------------------------------------

เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี !!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b 

Line ID:@fxhanuman

Web : https://www.fxhanuman.com
Web : https://www.eluforex.com/
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/

เยี่ยมชม partner ของเราที่ Eluforex รีวิวโบรกเกอร์ Forex

#forex #ลงทุน #peppers #xm #fbs #exness #icmarkets #avatrade #fxtm #tickmill #fxpro #fxopen #fxcl #forex4you

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"