forex_calendar

1.  ตั้งเวลาให้ตรงกับประเทศไทยคือ (GMT+7:00) Bangkok, Hanoi, Jakarta
2.  ไว้สำหรับเลือกวันที่ต้องการดูข่าว
3.  เวลาข่าวออก
4.  ตระกูลเงินของข่าว
5.  ความรุนแรงของข่าว
6.  เหตุการณ์ของข่าว
7.  ค่าตัวเลขจริงที่ออก
8.  ค่าตัวเลขคาดการณ์
9.  ค่าตัวเลขครั้งก่อน

forex_calendar

เมื่อถึงเวลาข่าวออกตัวเลขค่าจริงจะแสดงออกมาในช่อง Actual ซึ่งจะมีสีแตกต่างกันดังนี้

  • ตัวเลขออกเป็นสีเขียวแสดงตัวเลขดีกว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีแดงแสดงว่าตัวเลขแย่กว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีดำแสดงว่าตัวเลขเท่ากับค่าที่คาดการณ์หรือใกล้เคียงกับสถิติเดิม (Previous)

 

สิ่งที่ต้องสนใจในการเทรดข่าว Forex

 

1.  เรื่องค่าสกุลเงิน ถ้าเทรดสกุลไหนก็ต้องสนใจเฉพาะสกุลนั้น เช่นถ้าเราเช่น EUR/USD ก็สนใจเฉพาะข่าวของ USD และ EUR และเราต้องรู้ด้วยว่าถ้าข่าวออกมาจะทำให้ค่าเงินเราขึ้นหรือลง เช่น ถ้าเราเล่น EUR/USD ถ้าข่าวดอลลาร์สหรัฐออกมาดีแสดงคู่เงินที่มี USD อยู่หลังกราฟจะลง แต่ถ้าข่าว USD ออกมาไม่ดีกราฟจะขึ้น ในทางกลับกันถ้าข่าว EUR ออกมาดีกราฟจะขึ้นแต่ถ้าข่าว EUR ออกมาไม่ดีกราฟจะลง

2. เรื่องระดับความแรงของข่าว ระดับความแรงขอข่าวจะมีสามระดับดังรูป

forex_calendar

3. ค่าตัวเลขจริงที่ออก(Actual) ถ้าค่าตัวเล่นจริงที่ออกมาต่างจากค่าก่อนหน้า(Previous)มาก ยิ่งมีผลทำให้ค่าเงินวิ่งขึ้นลงแรงมาก แต่ก็ขึ้นอยู่กับความแรงของข่าวด้วย

EU & จีน กบฏสหรัฐฯ

มัวแต่สะสางสารพัดปัญหาที่อดีตผู้นำ Donald Trump ทิ้งไว้ให้เป็นมรดกฉาวมากมายก่ายกอง ประธานาธิบดีคนที่ 46 เมืองลุงแซม Joe Biden จึงต้องทุ่มเทพลังเกือบทั้งหมดรีบปัดกวาดเช็ดล้างแก้ไขอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะการรับมือกับโรคระบาดโควิด-19 ที่ทำลายชีวิต

ทรัพย์สิน ศรัทธาและศักดิ์ศรีของสหรัฐฯอย่างป่นปี้ งานนี้ Biden ได้พยายามฟื้นฟูความเชื่อมั่นของชาวอเมริกันอย่างสุดเหวี่ยง โดยประกาศจะสร้างผลงานให้เป็นรูปธรรมภายใน 100 วันแรกของการเข้าบริหารทำเนียบขาว

ท่ามกลางความขะมักเขม้นของ Biden กับภาระหนักหน่วงภายในดินแดนโคบาลเอง สถานการณ์ด้านต่างประเทศส่วนใหญ่ ก็หมกมุ่นอยู่กับการระบาดของโควิดทั้งรุ่นดั้งเดิมและรุ่นกลายพันธุ์ รวมถึงการผลิต การจัดสรร และประสิทธิภาพวัคซีนป้องกันโควิดที่มีเรื่องราวดราม่าไม่หยุดหย่อนในแต่ละประเทศ
แต่เชื่อหรือไม่ ในบรรยากาศหดหู่กับโรคร้าย ปรากฏว่ามีความเคลื่อนไหวที่ทำให้นักการเมืองและนักเศรษฐศาสตร์ฝั่งยุโรปและสหรัฐฯ ต้องมึนงงชั่วขณะ เมื่อสหภาพยุโรป (European Union : EU) กับจีน หันมาจู๋จี๋กัน และตกลงเกี่ยวกับสนธิสัญญาว่าด้วยการลงทุนระหว่างกัน หรือ A Comprehensive Investment Agreement ก่อนฉลองศักราชใหม่ 2021 ไม่กี่ชั่วโมง
ทั้งๆ ที่การเจรจาว่าด้วยเรื่องการลงทุนระหว่างกันของทั้งสองฝ่ายคาราคาซังมานาน 6-7 ปี แทบจะต้องทิ้งร่างข้อตกลงฯไว้ในลิ้นชักด้วยซ้ำไป แต่แล้วจู่ๆ กลับเอาออกมาปัดฝุ่น และต่างฝ่ายต่างเออออเห็นดีเห็นงามไร้ดิสก์เบรก
ความจริง การที่ชาติมหาอำนาจทางเศรษฐกิจรักใคร่กลมเกลียวกัน ถือว่าเป็นเรื่องดีในแวดวงเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะช่วงนี้ที่ต้องการความร่วมมือผลักดันให้เศรษฐกิจและการค้าได้ลืมตาอ้าปากทุกหย่อมหญ้า แต่ปรากฏว่าการที่อียูเดินหน้าสร้างความสัมพันธ์กับจีนอย่างสบายใจ ทั้งๆ ที่ ประธานาธิบดี Biden ได้เคยแถลงอย่างชัดเจนไว้ว่า ชาติตะวันตกควรรวมเป็นหนึ่งเดียว ในกรณีนโยบายจีน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเศรษฐกิจ การค้า การเงิน หรือ เรื่องอะไรๆ ก็ตาม เพื่อที่ชาติตะวันตกจะได้มีอำนาจต่อรองกับแดนมังกรได้อย่างเป็นระบบและสัมฤทธิ์ผล
ดังนั้น การดำเนินการของอียูในครั้งนี้ จึงเสมือนมองข้ามคำเรียกร้องจากสหรัฐฯ หรือมิฉะนั้น ก็ต้องการเช็กฝีมือและท่าทีของประธานาธิบดี Biden และทีมงานสักหน่อยว่าจะมีน้ำยาในเวทีการเมืองและเศรษฐกิจโลกแค่ไหน
ตลอดช่วง 4 ปีที่ผ่านมา ที่อียูต้องเจอพิษและเขี้ยวเล็บของอดีตผู้นำ Trump นับว่าปวดหัวประสาทสาหัสสากรรจ์ เพราะทัศนคติของ Trump ไม่คิดว่าอียูเป็นสหายเก่าแก่ แต่เห็นเป็นแค่ชาติตะวันตกงุ่มง่าม จึงไม่แคร์ความรู้สึกอะไรทั้งนั้น ทำให้เกิดเรื่องราวขัดแย้งระหว่างกันเป็นระยะๆ ทั้งเศรษฐกิจและการเมือง เช่น กรณี Trump ขึ้นภาษีนำเข้าเหล็กและอะลูมิเนียมจากอียู กรณีบาดหมางเกี่ยวกับ Boeing และ Airbus กรณีบริษัท Big Techs หรือ กรณี NATO กรณีอิหร่าน กรณีเกี่ยวกับฐานทัพสหรัฐฯในเยอรมนี เป็นต้น เรื่องราวตึงเครียดระหว่างอียูกับ Trump เยอะแยะ จนเป็นที่เอือมระอาของอียู
จึงเป็นธรรมดา เมื่อผู้นำใหม่ Joe Biden เข้ามากุมบังเหียนชาติมหาอำนาจอันดับ 1 ของโลก อียูก็ต้องมีการพิสูจน์ความเฉียบคมในการบริหารกิจการต่างประเทศกันก่อนที่จะยอมเชื่อฟังคำพูดใดๆ จาก Biden โดยเฉพาะในประเด็นเกี่ยวกับนโยบายจีน ที่ Biden ต้องการให้ชาติพันธมิตรกอดคอกันจัดระเบียบจีน
เป็นที่น่าสังเกตว่า ในยุค Trump อียูก็ไม่เชิงขัดใจสหรัฐฯในประเด็นเกี่ยวกับจีน แถมยังให้ความร่วมมืออย่างชัดเจน เช่น สมาชิกชาติอียูหลายประเทศ ได้ยุติความสัมพันธ์กับ Huawei ตามคำเรียกร้องของ Trump ที่กล่าวหาว่า Huawei เป็นจารชนของรัฐบาลจีน ตามมาด้วยการกดดันบริษัทไฮเทคจีนอีกหลายแห่ง ตามลมปากของทีมงานสหรัฐฯ
แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อก้าวสู่ศักราช 2021 สถานการณ์เศรษฐกิจและการเมืองระหว่างประเทศเปลี่ยนไป ถึงแม้สหรัฐฯจะมีประธานาธิบดีคนใหม่แล้วก็ตาม แต่แนวนโยบายของ Biden ก็ยังมีส่วนสร้างความหวาดระแวงกับอียูอยู่ดี อาทิ นโยบาย Buy American ที่รัฐบาลใหม่มะกัน ออกเป็นคำสั่งให้หน่วยงานภาครัฐต้องซื้อสินค้า หรือใช้บริการจากบริษัทอเมริกันก่อนเป็นอันดับแรก หรือพูดตรงๆ ก็คือ อียูหวั่นว่าจะเป็นนโยบายกีดกันทางการค้าในรูปแบบของ Biden ยิ่งไปกว่านั้น ท่าทีสหรัฐฯกับจีน ก็ส่งสัญญาณสับสนไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเมืองเกี่ยวกับชนกลุ่มน้อยในจีน หรือ เรื่องการระงับบริษัทจีนจดทะเบียนในตลาดหุ้นสหรัฐฯ ก็พลิกเปลี่ยนไปมา จนตลาดและนักลงทุนงงกันไปหมดในช่วงที่ผ่านๆ มา
อียูพอที่จะเข้าใจว่า Biden และทีมงาน คงมีงานล้นมือมหาศาล เมื่อต้องเข้าไปรับช่วงต่อจาก Trump แต่การที่จะให้อียูนั่งตบยุงรอฟังนโยบายจีนจากรัฐบาลใหม่สหรัฐฯและประสานความร่วมมือกัน ก่อนที่จะตัดสินใจใดๆ เกี่ยวกับจีน คงไม่ทันสถานการณ์เศรษฐกิจในอียู ที่ได้รับผลกระทบอย่างหนักจากโควิด-19 และที่สำคัญก็คือ ข้อตกลงเกี่ยวกับการลงทุนระหว่างอียูกับจีนที่ยืดเยื้อกันมานาน กำลังจบลงด้วยดี ทั้งๆ ที่จีนเคยเล่นลิ้นเล่นตัวหลายตลบ แต่ตอนนี้กลับยอมเงื่อนไขของอียูง่ายดาย แม้กระทั่งเรื่องการใช้แรงงานชนกลุ่มน้อย Uyghurs ก็ตาม
กูรูแดนมังกรมองว่า ประธานาธิบดี Xi Jinping ถือว่าปีฉลู “วัวทอง” เป็นช่วงที่จีนจะได้แสดงพลังความยิ่งใหญ่ในเวทีโลกได้อย่างเต็มที่ ท่ามกลางความอ่อนแอทางเศรษฐกิจของชาติตะวันตกส่วนใหญ่ และความชุลมุนวุ่นวายทางการเมืองภายในของประเทศเหล่านั้นเอง
ทั้งนี้ ในประเด็นข้อตกลงเกี่ยวกับการลงทุนระหว่างจีนกับอียู รัฐบาลบู๊ลิ้มเห็นว่าเป็นเรื่องดีที่จีนเปิดกว้างให้ธุรกิจชั้นนำจากชาติสมาชิกอียูเข้ามาทำธุรกิจ จะได้กระตุ้นการแข่งขันในตลาดจีน และช่วยให้บริษัทท้องถิ่นจีนได้พัฒนาปรับปรุงตัวเองรวดเร็ว โดยเฉพาะพวกกลุ่มรัฐวิสาหกิจจีน เพราะถ้าสู้ไม่ได้ ก็ต้องม้วนเสื่อไปเลย ยิ่งไปกว่านั้น สนธิสัญญาฯดังกล่าวได้มีการลงนามกับอียู ก่อนที่ Biden จะได้ทันตั้งตัว ถือว่าเป็นเกมที่ผู้นำจีนพออกพอใจ ชี้ว่าอียูเห็นความสำคัญของจีน มากกว่าที่จะรอท่าทีจากประธานาธิบดี Biden
สถานการณ์เปราะบางทางเศรษฐกิจของอียู เป็นที่รู้ๆ กันดีในวงการเซียนเศรษฐศาสตร์ระดับโลก จนพูดได้ว่า ยุโรปน่าจะเป็นกลุ่มชาติอุตสาหกรรมที่อ่อนแอสุดจากผลกระทบโควิด-19 ดังนั้น จึงจำเป็นที่อียูต้องดิ้นร้นทุกวิถีทางเพื่อรักษาหน้าตาและความอยู่รอดทางเศรษฐกิจไว้ให้ได้ ในรอบปี 2020 เศรษฐกิจกลุ่มยูโรหดตัวถึง -6.8% พี่เบิ้มของกลุ่มอย่างเยอรมนี ยังร่อแร่ ด้วยเศรษฐกิจถดถอย -5%
ส่วนเพื่อนบ้านใกล้เคียงอย่างฝรั่งเศสและสเปน ก็นอนฝันร้ายไม่แพ้กัน ด้วยอัตราหดตัว -8.3% และ -11% ตามลำดับ ซึ่งนับเป็นเหตุการณ์เศรษฐกิจย่ำแย่สุดตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2 โดยเฉพาะเมืองเบียร์ที่ถือว่าเป็นหัวจักรสำคัญของกลุ่มอียู ยอมรับอย่างไม่อายว่า เศรษฐกิจยุโรปและเยอรมนีปี 2021 น่าจะยังคงชีช้ำอีกพักใหญ่ คาดการณ์ว่าในไตรมาสแรกปีนี้ เศรษฐกิจเมืองไส้กรอกอาจหดตัวไม่ต่ำกว่า -1% เนื่องจากรัฐบาล Angela Merkel ได้ล็อกดาวน์หลายเมืองเพราะโควิดอาละวาดรอบ 2 หนักกว่ารอบแรก ในเมื่อเศรษฐกิจเยอรมนี ยังต้องหยอดน้ำซุป ชาติสมาชิกอียูอื่นๆ ที่ล้วนเจอวิกฤติโควิดซ้ำแล้วซ้ำอีก จึงตกอยู่ในอาการโคม่าทางเศรษฐกิจไปตามๆ กัน
ด้วยสถานการณ์เศรษฐกิจอียูที่มืดมน เมื่อเจอแสงสว่างโผล่ให้เห็นลิบๆ จากเมืองมังกร ก็ย่อมต้องรีบฉวยโอกาสทันที จะมามัวยืดยาดไม่ได้แล้ว แม้ว่าจะโดนโจมตีวิพากษ์วิจารณ์ว่าอียูรีบลงนามข้อตกลงว่าด้วยการลงทุนระหว่างอียูกับจีนเร็วเกินไป จนดูเหมือนว่าอียูจะไม่สนใจเรื่องสิทธิมนุษยชนในจีน ทั้งนี้ ใครจะว่ายังไง อียูแทบจะไม่ตอบโต้ พูดตัดรำคาญเพียงว่า เจรจากับจีนรู้เรื่องกันหมดแล้ว คนนอกคอยดูเอาเอง
ในยามนี้ ต้องยอมรับว่า จีนเป็นประเทศที่มีอนาคตสดใสมากที่สุด ดูแค่ตัวเลขเศรษฐกิจปี 2020 จีนเติบโตในอัตราราว 2.3% และเป็นเพียงชาติมหาอำนาจที่มีเศรษฐกิจขยายตัว แม้ว่าจะอยู่ในเกณฑ์ที่ต่ำมากๆ สำหรับมาตรฐานจีน แต่ก็ยังถือว่าเป็นเรื่องเชิดหน้าชูตา สะท้อนว่าจีนสามารถรับมือกับโรคระบาดโควิดได้อย่างเหมาะสม และทำให้เศรษฐกิจบอบช้ำน้อยที่สุด
เศรษฐกิจบู๊ลิ้มสลัดความถดถอยมาตั้งแต่ช่วงครึ่งปีหลัง 2020 โดยเศรษฐกิจขยายตัวในไตรมาส 3 และต่อเนื่องมาในไตรมาส 4 ด้วยอัตรา 4.9% และ 6.5% ตามลำดับ แถม บรรดากูรูเศรษฐศาสตร์ ยังคาดการณ์กันว่าในไตรมาสแรก 2021 เศรษฐกิจจีนจะผงาดได้ถึง 8% ด้วยซ้ำไป
จุดเด่นที่ช่วยให้เศรษฐกิจจีนฟื้นตัวจนน่าอิจฉาก็คือ การควบคุมโรคโควิดอย่างเฉียบขาด พร้อมๆ กับรัฐบาลใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจไม่อั้น ขณะที่ภาคการผลิตอุตสาหกรรม ก็ปรับตัวรวดเร็วตอบสนองความต้องการสินค้าในตลาดโลก ไม่ว่าจะเป็นเครื่องมือทางการแพทย์ หรือ สินค้าที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตใหม่ พวกไฮเทคทั้งหลายที่ต้องช่วยผู้คนที่ต้องอยู่ห่างกัน หรือ ทำงานไกลกันนั่นเอง จึงไม่แปลกที่การส่งออกของจีนในปีที่แล้ว เติบโตประมาณ 3.6% ทั้งๆ ที่ค่าเงินหยวนแพงสุดในรอบ 3 ปี จนทำให้สินค้าออกของจีนราคาสูง แต่ไม่เป็นอุปสรรคต่อการขายค้าในตลาดโลกแต่อย่างใด
ความโดดเด่นของจีนอีกประการหนึ่ง ก็คือ จีนได้กลายเป็นแหล่งลงทุนจากต่างประเทศมากสุดในปี 2020 กระชากเข็มขัดแชมป์จากสหรัฐฯได้สำเร็จ ทั้งๆ ที่โรคระบาดโควิด ได้ปลุกกระแสให้นักลงทุนและนักธุรกิจต่างชาติ ต้องทบทวนเรื่องการลงทุนในจีนอย่างรอบคอบ โดยเฉพาะเรื่องห่วงโซ่อุปทาน หรือ Supply Chain ที่ไม่ควรกระจุกตัวอยู่ในแผ่นดินมังกรมากเกินไป เพราะตอนเกิดโรคระบาดช่วงแรกๆ จีนล็อกดาวน์ประเทศ สร้างความปั่นป่วนวุ่นวายเกี่ยวกับการผลิตภาคอุตสาหกรรม กระบวนการห่วงโซ่อุปทาน และ การส่งออกอย่างมาก แต่การที่จีนรับมือโควิดอย่างเข้มข้นและเด็ดขาด ทำให้สถานการณ์คลี่คลายได้เร็ว
การลงทุนใหม่จากต่างประเทศในสหรัฐฯรอบปีที่แล้ว ลดลงราว 49% ขณะที่การลงทุนดังกล่าวในจีนเพิ่มขึ้นประมาณ 4% และทำให้จีนแซงผ่านสหรัฐฯได้ในที่สุด หลังจากที่ต้องยืนอยู่ในอันดับ 2 ของโลกมาอย่างยาวนาน เมืองลุงแซมเป็นสุดยอดแหล่งลงทุนจากต่างประเทศมาหลายทศวรรษ และมีเม็ดเงินลงทุนใหม่จากต่างประเทศมูลค่าสูงสุดในปี 2016 คิดเป็นจำนวน 472,000 ล้านดอลลาร์ ขณะที่จีนมีมูลค่าราว 134,000 ล้านดอลลาร์
แต่น่าเศร้าเมื่ออดีตผู้นำ Trump กุมบังเหียนประเทศ ยอดเงินลงทุนใหม่จากต่างประเทศของมะกันก็ชะลอลงเรื่อยๆ นับตั้งแต่ปี 2017 สวนทางกับจีนที่เม็ดเงินลงทุนจากต่างชาติกลับเพิ่มทวีคูณ ว่ากันว่า การที่เงินลงทุนใหม่จากต่างประเทศในเมืองลุงแซมแผ่วลงในยุค Trump เป็นเพราะ Trump ไม่ค่อยสนับสนุนให้ต่างชาติเข้ามาวุ่นวายในประเทศเท่าใดนัก โดยเฉพาะนักลงทุนจีน ซึ่งโดนขู่ว่าจะมีการตรวจสอบเกี่ยวกับความมั่นคงอย่างละเอียด ทั้งนี้ Trump สนับสนุนให้บริษัทอเมริกันที่ทำมาหากินในต่างประเทศ กลับมาทำธุรกิจในบ้านเกิดดีกว่า
แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาตัวเลขยอดการลงทุนจากต่างชาติสะสม แน่นอนว่าสหรัฐฯย่อมมีจำนวนเงินมากสุด เพราะครองแชมป์ต่อเนื่องมาหลายสิบปี แต่ประมาทไม่ได้ว่า หากปล่อยให้จีน เป็นที่ชื่นชอบของเม็ดเงินลงทุนต่างชาติมากขึ้นเรื่อยๆ สักวันหนึ่งเมืองมังกร คงได้เบียดสหรัฐฯอีกรอบ องค์การสหประชาชาติว่าด้วยเรื่องการค้าและพัฒนา ระบุไว้ว่า การที่จีนกลายเป็นแหล่งลงทุนยอดฮิตของต่างชาติ สะท้อนว่า ศูนย์กลางเศรษฐกิจโลก กำลังเคลื่อนออกจากสหรัฐฯ มายังจีน และภูมิภาคย่านเอเชีย ซึ่งมีสัดส่วนการลงทุนจากต่างประเทศคิดเป็น 1 ใน 3 ของการลงทุนทั้งหมดในรอบปีที่แล้ว ยกตัวอย่าง อินเดีย ที่ดูเหมือนอะไรๆ จะขลุกขลักไปหมด ก็ยังมียอดการลงทุนจากต่างประเทศเพิ่มขึ้นราว 13% เทียบกับชาติตะวันตกอย่างอียู กลับสดลง 71% ในปี 2020
ความเคลื่อนไหวของทิศทางเศรษฐกิจโลกที่โน้มเอื้อประโยชน์แก่จีนในช่วงโควิดข้างต้น นับเป็นแรงจูงใจสำคัญที่ทำให้อียู ต้องหันมาสร้างความสัมพันธ์กับดินแดนดอกท้ออย่างเร่งด่วน มากกว่าที่จะคำนึงถึงมิตรภาพใหม่จากสหรัฐฯ เพราะหากพิจารณาให้ดีๆ จะพบว่า บริษัทสหรัฐฯจำนวนไม่น้อย ก็ยังไม่ยอมถอนตัวออกจากจีน แม้ว่ารัฐบาลสองชาติจะมีปัญหาทะเลาะกัน แต่เอกชนสหรัฐฯยังคงทำมาหากินอย่างเป็นล่ำเป็นสันในแผ่นดินจีน เช่น Walmart Inc, Starbucks Corp, Tesla Inc, Walt Disney และ บริษัทผลิตเครื่องมือทางการแพทย์ และ ผลิตภัณฑ์ยา เป็นต้น
ด้วยเหตุนี้ บริษัทเอกชนของชาติสมาชิกอียู จึงสนับสนุนให้อียูลงนามข้อตกลงเกี่ยวกับการลงทุนระหว่างอียูกับจีนให้เรียบร้อยเสียที ซึ่งจะเป็นผลดีให้ธุรกิจเอกชนค่ายอียู ได้เข้าไปทำมาหากินคล่องตัวยิ่งขึ้น เนื่องจากจีนยอมผ่อนปรนเงื่อนไขต่างๆ อย่างไม่เคยมาก่อน ซึ่งจะทำให้บริษัทจากอียูลงทุนในจีนอย่างเต็มที่ โดยเฉพาะกลุ่มผู้ผลิตเครื่องมือเครื่องจักร และ ผู้ผลิตรถยนต์หรู จากเยอรมนี หรือแม้แต่ชาติสมาชิกอียูอย่างสวีเดน ซึ่งรัฐบาลต่อต้านจีนอย่างไม่ค่อยเกรงใจ
แต่เมื่อหันมามองภาคเอกชนสวีเดน กลับดีอกดีใจที่จะได้เข้าตลาดจีนสะดวกมากขึ้น ปัจจุบัน สวีเดนมีบริษัทเอกชนที่เปิดบริษัทสาขาในจีนราวๆ 600 แห่ง อีกทั้งบริษัทชั้นนำสวีเดนไม่ต่ำกว่า 30 บริษัท มียอดขายเพิ่มขึ้นเกือบ 20% ในตลาดจีนช่วงก่อนโควิด พูดง่ายๆ ก็คือ ท่าทีรัฐบาลจะเป็นยังไงก็แล้วแต่ บริษัทเอกชนของชาติสมาชิกอียู ยอมรับว่าจีน เป็นตลาดและแหล่งลงทุนที่สามารถทำเงินได้อย่างเป็นกอบเป็นกำ
ทางด้านจีน ตอนนี้กำลังยิ้มแก้มปริ เพราะดูเหมือนเส้นทางชาติมหาอำนาจอันดับหนึ่งใกล้เข้ามาทุกที โดยเฉพาะด้านเศรษฐกิจ ที่จีนพยายามสร้างภาพลักษณ์ว่าเป็นประเทศสนับสนุนการค้าและการลงทุนเสรี นอกจากการทำข้อตกลงฯกับอียูแล้ว ก่อนหน้านี้ จีนก็ลงนามในข้อตกลงการค้าเสรีกับ 14 ประเทศ หรือ Regional Comprehensive Economic Partnership (RCEP) และมีท่าทีสนใจที่จะลงนามเป็นสมาชิกกับกลุ่มการค้าเสรีขนาดใหญ่อีกกลุ่มหนึ่ง ได้แก่ the Comprehensive and Progressive Trans-Pacific Partnership (CPTPP) อีกด้วย
จีนไม่ได้เรียกคะแนนนิยมจากกลุ่มประเทศอุตสาหกรรม หรือประเทศย่านเอเชีย-แปซิฟิกเท่านั้น แม้แต่ชาติอาหรับ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นพันธมิตรดั้งเดิมของสหรัฐฯ เมืองมังกรก็ย่องเข้าไปตีสนิทได้อย่างแนบเนียน โดยเฉพาะช่วงโควิด ด้วยการเสนอวัคซีนที่พร้อมอำนวยความสะดวกอย่างเพียงพอ ทำให้หลายประเทศย่านตะวันออกกลางไว้วางใจ และพร้อมเปิดไมตรีเต็มที่ ดูได้จากหลายประเทศยอมเปิดทางให้ Huawei เข้าไปทำธุรกิจด้านโทรคมนาคมสื่อสาร แถม พัฒนาไฮเทคโนโลยีแขนงอื่นๆ อีกด้วย เฮ้อ...เห็นเกมรุกของจีนแล้ว เหนื่อยแทน Joe Biden วัย 78 ปี เสียจริงๆ !!
Source: การเงินธนาคารออนไลน์

คลิก

Cr.Bank of Thailand Scholarship Students
----------------------------------------------------------------------------------------

เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี !!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b 

Line ID:@fxhanuman

Web : https://www.fxhanuman.com
Web : https://www.eluforex.com/
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/

เยี่ยมชม partner ของเราที่ Eluforex รีวิวโบรกเกอร์ Forex

#forex #ลงทุน #peppers #xm #fbs #exness #icmarkets #avatrade #fxtm #tickmill #fxpro #fxopen #fxcl #forex4you

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"