forex_calendar

1.  ตั้งเวลาให้ตรงกับประเทศไทยคือ (GMT+7:00) Bangkok, Hanoi, Jakarta
2.  ไว้สำหรับเลือกวันที่ต้องการดูข่าว
3.  เวลาข่าวออก
4.  ตระกูลเงินของข่าว
5.  ความรุนแรงของข่าว
6.  เหตุการณ์ของข่าว
7.  ค่าตัวเลขจริงที่ออก
8.  ค่าตัวเลขคาดการณ์
9.  ค่าตัวเลขครั้งก่อน

forex_calendar

เมื่อถึงเวลาข่าวออกตัวเลขค่าจริงจะแสดงออกมาในช่อง Actual ซึ่งจะมีสีแตกต่างกันดังนี้

  • ตัวเลขออกเป็นสีเขียวแสดงตัวเลขดีกว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีแดงแสดงว่าตัวเลขแย่กว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีดำแสดงว่าตัวเลขเท่ากับค่าที่คาดการณ์หรือใกล้เคียงกับสถิติเดิม (Previous)

 

สิ่งที่ต้องสนใจในการเทรดข่าว Forex

 

1.  เรื่องค่าสกุลเงิน ถ้าเทรดสกุลไหนก็ต้องสนใจเฉพาะสกุลนั้น เช่นถ้าเราเช่น EUR/USD ก็สนใจเฉพาะข่าวของ USD และ EUR และเราต้องรู้ด้วยว่าถ้าข่าวออกมาจะทำให้ค่าเงินเราขึ้นหรือลง เช่น ถ้าเราเล่น EUR/USD ถ้าข่าวดอลลาร์สหรัฐออกมาดีแสดงคู่เงินที่มี USD อยู่หลังกราฟจะลง แต่ถ้าข่าว USD ออกมาไม่ดีกราฟจะขึ้น ในทางกลับกันถ้าข่าว EUR ออกมาดีกราฟจะขึ้นแต่ถ้าข่าว EUR ออกมาไม่ดีกราฟจะลง

2. เรื่องระดับความแรงของข่าว ระดับความแรงขอข่าวจะมีสามระดับดังรูป

forex_calendar

3. ค่าตัวเลขจริงที่ออก(Actual) ถ้าค่าตัวเล่นจริงที่ออกมาต่างจากค่าก่อนหน้า(Previous)มาก ยิ่งมีผลทำให้ค่าเงินวิ่งขึ้นลงแรงมาก แต่ก็ขึ้นอยู่กับความแรงของข่าวด้วย

จับตา“สงครามการเงิน” ของประเทศมหาอำนาจ

เมื่อเร็วๆนี้ แวดวงการเงินระหว่างประเทศทางซีกโลกตะวันตก ได้เล็งเห็นวิกฤตทางการเงินที่ค่อยๆ ก่อตัวในเชิงของ “สงครามเย็น” หรือพูดง่ายๆ ก็คือการใช้เงินเป็นอาวุธในการทำลายล้างเศรษฐกิจของประเทศใดประเทศหนึ่ง

ซึ่งวิธีนี้สามารถสร้างความย่อยยับได้มากกว่าการใช้อาวุธชีวภาพในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 1 และ 2 อีกด้วย

สงครามการเงินส่งผลให้หลายประเทศต้องปรับนโยบายเศรษฐกิจและการเงินระหว่างประเทศให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันมากที่สุด เพื่อให้พร้อมรับมือกับวิกฤตทางการเงินที่กำลังก่อตัวขึ้น
เมื่อเดือนกันยายนปีที่แล้ว ญี่ปุ่นปรับนโยบายทางการเงิน ตั้งเป้าจะทำให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 10 ปี อยู่ ที่ 0% เพื่อช่วยให้ต้นทุนกู้ยืมของภาคธุรกิจอยู่ในระดับต่ำอย่างต่อเนื่อง

และเมื่อเดือนธันวาคมของปีที่แล้ว ธนาคารกลางยุโรปขยายมาตรการ QE อีก 6 เดือน พร้อมลดดอกเบี้ยติดลบมากขึ้นเช่นกัน ในขณะที่ธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) ได้ออกแถลงการณ์ผลการประชุมคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงิน (FOMC) ว่า คณะกรรมการฯ มีมติปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยระยะสั้น ทำให้ค่าเงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้น การปรับตัวเหล่านี้ล้วนเป็นสาเหตุชี้ชัดว่าเกมการเงิน ของชาติตะวันตก ยุโรป สหรัฐและชาติตะวันออกอย่าง ญี่ปุ่น ได้นำไปแล้ว 1 แต้ม

ทำไมธนาคารแห่งชาติของประเทศมหาอำนาจต้องทำสงครามเย็นทางการเงิน? สรุปสาเหตุได้ 3 ข้อดังนี้

1. การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกไม่สู้ดีนัก และเป็นไปอย่างไม่เท่าเทียมกัน บวกกับทรัพยากรทางการเงินคงเหลือน้อยลง

2. ยุโรป ญี่ปุ่น ไม่กล้าดำเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายอีก เพราะการทำ QE ของสหรัฐฯก็สร้างผลเสียไว้เยอะ และเมื่อเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัว สหรัฐฯ อาจดำเนินนโยบายการเงินแบบหดตัว ตอนนี้หากยุโรปหรือญี่ปุ่นทำมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณก็เท่ากับว่าจะขัดแย้งกับสหรัฐฯ

3. การซื้อพันธบัตรของธนาคารกลางของประเทศใดประเทศหนึ่ง สามารถทำได้อย่างเปิดเผย ซึ่งสิ่งนี้จะค่อยๆส่งผลต่อค่าเงินของประเทศนั้นๆอย่างมีนัยแอบแฝง ดังที่ญี่ปุ่นเริ่มเพิ่งจะมารู้ตัวว่าตอนนี้หนี้ที่ถืออยู่นั้นคิดเป็นร้อยละ40ของหนี้สินทั้งหมดของประเทศแล้ว

ทั้งนี้ทั้งนั้น “สงครามการเงิน” จะเป็นอย่างไรต่อไปและจะพัฒนาจนกลายเป็น “สงครามโลกครั้งที่ 3 “ ต่อไปหรือไม่? คงต้องรอดูและติดตามข่าว

China Xinhua News

เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี!!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b 
Line ID:@fxhanuman

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"