forex_calendar

1.  ตั้งเวลาให้ตรงกับประเทศไทยคือ (GMT+7:00) Bangkok, Hanoi, Jakarta
2.  ไว้สำหรับเลือกวันที่ต้องการดูข่าว
3.  เวลาข่าวออก
4.  ตระกูลเงินของข่าว
5.  ความรุนแรงของข่าว
6.  เหตุการณ์ของข่าว
7.  ค่าตัวเลขจริงที่ออก
8.  ค่าตัวเลขคาดการณ์
9.  ค่าตัวเลขครั้งก่อน

forex_calendar

เมื่อถึงเวลาข่าวออกตัวเลขค่าจริงจะแสดงออกมาในช่อง Actual ซึ่งจะมีสีแตกต่างกันดังนี้

  • ตัวเลขออกเป็นสีเขียวแสดงตัวเลขดีกว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีแดงแสดงว่าตัวเลขแย่กว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีดำแสดงว่าตัวเลขเท่ากับค่าที่คาดการณ์หรือใกล้เคียงกับสถิติเดิม (Previous)

 

สิ่งที่ต้องสนใจในการเทรดข่าว Forex

 

1.  เรื่องค่าสกุลเงิน ถ้าเทรดสกุลไหนก็ต้องสนใจเฉพาะสกุลนั้น เช่นถ้าเราเช่น EUR/USD ก็สนใจเฉพาะข่าวของ USD และ EUR และเราต้องรู้ด้วยว่าถ้าข่าวออกมาจะทำให้ค่าเงินเราขึ้นหรือลง เช่น ถ้าเราเล่น EUR/USD ถ้าข่าวดอลลาร์สหรัฐออกมาดีแสดงคู่เงินที่มี USD อยู่หลังกราฟจะลง แต่ถ้าข่าว USD ออกมาไม่ดีกราฟจะขึ้น ในทางกลับกันถ้าข่าว EUR ออกมาดีกราฟจะขึ้นแต่ถ้าข่าว EUR ออกมาไม่ดีกราฟจะลง

2. เรื่องระดับความแรงของข่าว ระดับความแรงขอข่าวจะมีสามระดับดังรูป

forex_calendar

3. ค่าตัวเลขจริงที่ออก(Actual) ถ้าค่าตัวเล่นจริงที่ออกมาต่างจากค่าก่อนหน้า(Previous)มาก ยิ่งมีผลทำให้ค่าเงินวิ่งขึ้นลงแรงมาก แต่ก็ขึ้นอยู่กับความแรงของข่าวด้วย

มินิซีรี่ส์เรื่องทอง 1 ทำไมทองถึงโงหัวไม่ขึ้น?

ปีที่แล้ว ทองทำท่าจะดี แต่มาโดนทุบในช่วงปลายปี ทำให้ทองคำหัวขม้ำอย่างไม่เป็นท่า ในปีนี้คนเริ่มเชื่อว่าทองน่าจะกลับมาดีอีกครั้ง แล้วจะผิดหวังกันอีกหรือไม่?

ขึ้นอยู่กับว่านักทุบทองที่ตลาด Comex จะเอาอย่างไร ราคาทองคำถูกควบคุม หรือถูกปั่นอย่างเข้นข้นมาตลอดโดยผู้เล่นรายใหญ่
ใครที่บอกว่าตลาดทองคำถูกควบคุม หรือถูกปั่นจะถูกกล่าวหาว่าเป็นพวกสมคบคิด ตลาดทองคำใหญ่อย่างนั้นใครจะไปคุมได้
เรื่องนี้มีที่มาที่ไปดังนี้

พวกที่คุมธนาคารกลางสหรัฐ ธนาคารกลางอังกฤษหรือระบบการเงินโลกไม่ชอบทอง เพราะว่าทำให้พิมพ์เงินตามอำเภอใจไม่ได้
ในอดีตก่อนที่จะมีการยกเลิกระบบมาตรฐานทองคำในปี ค.ศ.1971 เงินที่พิมพ์ออกมาต้องมีทองคำหรือเงิน (silver) รองรับ มิเช่นนั้นจะเป็นเพียงกระดาษเปล่าๆ ธนาคารกลางจึงจำเป็นต้องมีทองหรือเงินสำรอง แล้วพิมพ์เงินกระดาษออกมาตามสัดส่วนของทองหรือเงินสำรองที่มี โดยอาจจะสำรอง100% หรือ 50%ก็ได้ ยิ่งมีสำรองทองสูง คนที่ถือเงินกระดาษยิ่งมั่นใจเพิ่มมากขึ้นในความน่าเชื่อถือของค่าเงิน เพราะว่ามีทรัพย์สินทองคำหรือเงินหนุนหลัง

เขาเรียกระบบการเงินนี้ว่ามาตรฐานทองคำ (Gold Standard)
คำว่า ”เงิน” ที่เราใช้กันทุกวันนี้ มาจากแร่เงินที่รัฐบาลสยามสำรองในท้องพระคลังเพื่อหนุนเงินเงินเหรียญ หรือเงินธนบัตรที่พิมพ์ออกมานั้นเองในยุคมาตรฐานเงิน (Silver Standard)

ข้อดีของระบบมาตรฐานทองคำ หรือมาตรฐานเงิน คือวินัยทางการเงินของประเทศ เพราะว่าธนาคารกลางหรือกระทรวงการคลัง จะไม่พิมพ์เงินออกมามากเกินไป ซึ่งจะมีผลทำให้ค่าเงินเสื่อม หรือทำให้เกิดเงินเฟ้อ

การเสื่อมค่าของเงิน หรือเงินเฟ้อ เป็นปรากฎการณ์ของนโยบายการเงินที่ไม่มีวินัย หรือการพิมพ์เงินเพิ่มสภาพคล่องเข้าไปในระบบเศรษฐกิจ ในขณะที่ซับไพลหรือดีมานด์ในระบบยัคงที่ แต่ธนาคารกลางของสหรัฐฯหรืออังกฤษ จะแอบพิมพ์เงินเพิ่มเกินทองคำสำรองในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 เพราะว่ารัฐบาลมีการใช้จ่ายเกินตัวทางการคลัง และแอบเตรียมเงินเอาไว้ในการทำสงคราม

ในช่วง The Great Depression สหรัฐฯมีการพิมพ์เงินดอลล่าร์มากเกินไป ทำให้นักลงทุนแห่ไปแลกดอลลาร์เป็นทองมาถือไว้ แลกมากๆ ธนาคารกลางสหรัฐฯเจ๊ง ในปี 1933ประธานาธิบดีรูสเวลต์จึงออกประกาศห้ามไม่ให้คนอเมริกันถือครองทอง ใครถือทองจะนับว่าฝ่าฝืนกฎหมาย จะโดนทั้งปรับทั้งจับติดคุก และให้คนอเมริกันเอาทองมาแลกกับกระทรวงคลังที่ $20 ต่อออนซ์

หลังจากได้ทองมาแล้ว รัฐบาลสหรัฐฯลดค่าเงินสหรัฐฯเทียบทองทันทีเป็น $35 ต่อออนซ์ เท่ากับว่าคนอเมริกันโดนปล้นกลางวันแสกๆ พวกรัฐบาลและพวกนายธนาคารกลางรวยไป

ราคาทองคำนี้ยืนหยัดมานานจนถึงช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่มีการก่อตั้งระบบการเงินโลกใหม่ที่รู้จักกันว่าระบบเบรตตันวูดส์
ภายใต้ระบบเบรตตันวูดส์นี้ ค่าของดอลล่าร์จะอิงกับทองคำที่ระดับ $35 ต่อออนซ์ เงินดอลลาร์เป็นเงินสกุลหลักของโลกแทนเงินปอนด์ การค้าขายระหว่างประเทศใช้ดอลลาร์เป็นหลัก ธนาคารกลางประเทศต่างๆ สามารถถือดอลลาร์เป็นเงินทุนสำรองระหว่างประเทศแทนทองได้ เพราะว่าธนาคารกลางสหรัฐฯรับประกันราคาทองที่ $35 ต่อออนซ์

มีการจัดตั้งธนาคารโลกเพื่อช่วยประเทศด้อยพัฒนา หรือประเทศที่กำลังฟื้นจากภาวะสงครามโลก โดยให้ไฟแนนซ์ในโครงการพื้นฐาน และมีการจัดตั้งกองทุนการเงินระหว่างประเทศเพื่อช่วยเหลือประเทศที่มีปัญหาดุลชำระเงิน หรือเงินทุนไหลออกจากประเทศอย่างกระทันหันทีละมากๆ ค่าเงินตกต่ำอย่างรุนแรง เกิดวิกฤติทางการเงิน กองทุนการเงินระหว่างประเทศจะเอาดอลลาร์ไปให้กู้ แลกกับการปฏิรูปโครงสร้างทางเศรษฐกิจเพื่อให้ต่างชาติเข้าไปถือครองทรัพย์สินในประเทศนั้นได้

ช่วงปลาย 1950s สหรัฐฯมีการพิมพ์ดอลลาร์มาก ธนาคารกลางของประเทศต่างๆเอาดอลลาร์ที่ถือมาแลกทองคำคืน เพราะว่าไม่มั่นใจในค่าเงินดอลลาร์ ทำให้สำรองทองคำของรัฐบาลสหรัฐฯหายไปถึง 1 ใน 3

พวกนักการเมืองในสภาคองเกรสมีการถกกันหนักว่าจะเปลี่ยนการบริหารทองคำสำรองที่ตรึงระดับที่ราคา $35 ต่อออนซ์อย่างไร เพราะว่าเอาไม่อยู่แล้ว

หลังจากนั้นมีการจัดตั้งลอนดอนโกลด์พูล (The London Gold Pool) ในปี 1961 มี 7ประเทศเข้าร่วมในการซื้อขายทองในระดับ $35 ต่อออนซ์ เพื่อแบ่งเบาภาระของสหรัฐฯ ทั้งนี้เพื่อที่จะชะลอการไถ่ถอนทองจากรีเซิร์ฟของธนาคารกลาง หรือกระทรวงการคลังของสหรัฐฯ

แต่โครงการลอนดอนโกลพูลต้องยกเลิกไปในปี 1968 หรือเพียง 7 ปีหลังจากการก่อตั้ง เพราะว่ามีการไถ่ถอนทองมากกว่าที่จะรับมือได้ เนื่องการความไม่มีวินัยทางการเงินการคลังของรัฐบาลสหรัฐฯโดยเฉพาะนั้นเอง ที่กำลังพิมพ์เงินเพิ่มเพื่อก่อสงครามเวียดนาม
ด้วยเหตุนี้สหรัฐฯถูกลอยแพให้ดูแลค่าเงินดอลลาร์และราคาทองที่ระดับ $35 ต่อออนซ์เพียงประเทศเดียว

มาถึงสมัยของประธานาธิบดีนิกสันจึงมีการยกเลิกระบบมาตรฐานทองคำ โดยสหรัฐฯปิดหน้าต่างแลกทองในวันที่ 15 สิงหาคม 1971 ตั้งแต่บัดนั้น ผู้ที่ถือดอลลาร์ไม่สามารถไปไถ่ถอนทองจากธนาคารกลางสหรัฐฯได้อีก ให้ถือว่าดอลลาร์มีค่า เพราะความน่าเชื่อถือของรัฐบาลสหรัฐฯในการเก็บภาษี หรือการบริหารประเทศ ให้เจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างมั่นคงก็แล้วกัน

ตั้งแต่บัดนั้น โลกได้ออกจากระบบมาตรฐานทองคำเข้าสู่ระบบมาตรฐานดอลลาร์ (Dollar Standard) หรือระบบเงินกระดาษ (fiat monetary system) ที่พิมพ์ออกมาโดยไม่มีหลักทรัพย์อะไรหนุนหลัง

ในวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1975 ชาวอเมริกันได้รับสิทธิเสรีภาพอีกครั้งที่จะครอบครองทอง โดยรัฐบาลได้ยกเลิกการห้ามถือครองทองที่มีมาตั้งแต่ปี 1933

แต่ก่อนที่จะยกเลิกการห้ามถือครองทอง มีสิ่งที่สำคัญมากเกิดขึ้น คือในวันที่ 31 ธันวาคม ค.ศ. 1974 ตลาด Commodity Exchange Inc หรือรู้จักกันดีว่าตลาด Comex เริ่มที่จะมีการเทรดทองคำฟิวเจอร์ หรือการซื้อขายทองคำเพื่อส่งมอบในวันที่กำหนดในอนาคต
ตราสารอนุพันธ์ทองคำกลายเป็นเครื่องมือที่สำคัญที่สมบูรณ์สุด ที่ทำให้พวกนายธนาคารกลางแก้ไขปัญหาการไถ่ทอง หรือความไม่เชื่อมั่นในค่าเงินที่ตัวเองพิมพ์ออกมาอย่างล้นเหลือได้ เทียบเท่ากับศาสตร์ alchemy หรือศาสตร์ที่เปลี่ยนโลหะให้เป็นทอง ซึ่งเป็นศาสตร์ที่นักเคมีหรือนักวิทยาศาสตร์สมัยโบราณพยายามคิดและทดลอง แต่ไม่สำเร็จ

วิกิลีกส์ได้เอาข้อมูลมาเผยแพร่ในรายงาน "Public Library of US Diplomacy" ในนั้นมีข้อเขียนในวันที่ 10 ธันวาคม ค.ศ.1974 ที่ส่งทางเคเบิลว่า:

“จะมีการสร้างตลาดทองคำฟิวเจอร์ที่ใหญ่ตามความคาดหมายของดีลเลอร์ทุกคน ดีลเลอร์แต่ละคนต้องแสดงออกถึงความเชื่อที่ว่า ตลาดทองคำฟิวเจอร์จะมีขนาดใหญ่ ส่วนการเทรดทองคำแท่งจะเล็กกว่ามากเมื่อเปรียบเทียบกันแล้ว สิ่งที่ต้องแสดงความเห็นออกไปคือปริมาณการเทรดทองคำฟิวเจอร์จะทำให้ตลาดมีความผันผวนอย่างมาก ด้วยเหตุนี้ การเคลื่อนไหวของราคาทองที่ผันผวน จะทำให้เกิดการลดการถือทองคำแท่งลง และจะทำให้มีแนวโน้มว่าคนอเมริกันจะไม่ถือครองทองในระยะยาว”

ใครที่เชื่อว่ากลไกเทรดทองในตลาดทองฟิวเจอร์ ต่อเนื่องมากับการเทรดทองคำแท่ง เป็นไปอย่างบริสุทธิยุติธรรม ปราศจากการควบคุม หรือการปั่น เพื่อปกป้องการพิมพ์เงินกระดาษออกมาโดยไม่อั้น ให้คิดใหม่

https://www.sprottmoney.com/Blog/42-years-of-fractional-reserve-alchemy-craig-hemke.html 

thanong
20/2/2017

เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี!!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b 
Line ID:@fxhanuman

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"