forex_calendar

1.  ตั้งเวลาให้ตรงกับประเทศไทยคือ (GMT+7:00) Bangkok, Hanoi, Jakarta
2.  ไว้สำหรับเลือกวันที่ต้องการดูข่าว
3.  เวลาข่าวออก
4.  ตระกูลเงินของข่าว
5.  ความรุนแรงของข่าว
6.  เหตุการณ์ของข่าว
7.  ค่าตัวเลขจริงที่ออก
8.  ค่าตัวเลขคาดการณ์
9.  ค่าตัวเลขครั้งก่อน

forex_calendar

เมื่อถึงเวลาข่าวออกตัวเลขค่าจริงจะแสดงออกมาในช่อง Actual ซึ่งจะมีสีแตกต่างกันดังนี้

  • ตัวเลขออกเป็นสีเขียวแสดงตัวเลขดีกว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีแดงแสดงว่าตัวเลขแย่กว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีดำแสดงว่าตัวเลขเท่ากับค่าที่คาดการณ์หรือใกล้เคียงกับสถิติเดิม (Previous)

 

สิ่งที่ต้องสนใจในการเทรดข่าว Forex

 

1.  เรื่องค่าสกุลเงิน ถ้าเทรดสกุลไหนก็ต้องสนใจเฉพาะสกุลนั้น เช่นถ้าเราเช่น EUR/USD ก็สนใจเฉพาะข่าวของ USD และ EUR และเราต้องรู้ด้วยว่าถ้าข่าวออกมาจะทำให้ค่าเงินเราขึ้นหรือลง เช่น ถ้าเราเล่น EUR/USD ถ้าข่าวดอลลาร์สหรัฐออกมาดีแสดงคู่เงินที่มี USD อยู่หลังกราฟจะลง แต่ถ้าข่าว USD ออกมาไม่ดีกราฟจะขึ้น ในทางกลับกันถ้าข่าว EUR ออกมาดีกราฟจะขึ้นแต่ถ้าข่าว EUR ออกมาไม่ดีกราฟจะลง

2. เรื่องระดับความแรงของข่าว ระดับความแรงขอข่าวจะมีสามระดับดังรูป

forex_calendar

3. ค่าตัวเลขจริงที่ออก(Actual) ถ้าค่าตัวเล่นจริงที่ออกมาต่างจากค่าก่อนหน้า(Previous)มาก ยิ่งมีผลทำให้ค่าเงินวิ่งขึ้นลงแรงมาก แต่ก็ขึ้นอยู่กับความแรงของข่าวด้วย

มาตรการห้ามเดินทางยุคโควิดดัน'ราคาอาหารโลก'พุ่งสูงสุด

มาตรการคุมเข้มในรูปแบบต่างๆ เพื่อสกัดการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ ต้นตอโรคโควิด-19 โดยเฉพาะการห้ามเดินทาง จุดชนวนให้ราคาอาหารทั่วโลกปรับตัวขึ้น เนื่องจากข้อห้ามด้านการเดินทางทำให้เกิดปัญหาขาดแคลนแรงงาน

ในภาคการเกษตรส่งผลให้ดัชนีราคาอาหารสำคัญๆ พุ่งสูงสุด

ราคาอาหารทั่วโลกกำลังปรับตัวเพิ่มขึ้น เพราะการระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้แรงงาน ในภาคการเกษตรในฤดูเก็บเกี่ยวพืชผลจากประเทศหนึ่งเข้าไปค้าแรงงานในอีกประเทศหนึ่งไม่ได้ โดยการจ้างงานใน ภาคการเกษตรในช่วงเดือน ก.ค.-ก.ย.ปี 2563 ลดลง 5.4% ถือเป็นการปรับตัวลงมากที่สุดในประวัติศาสตร์ ขณะที่การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศก็ส่งผลกระทบต่อ ผลผลิตทางการเกษตร ซึ่งสองปัจจัยนี้ ดันให้ดัชนีราคาอาหารโลกทะยานสูงสุดในรอบ 6 ปี
องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ(เอฟเอโอ) ระบุว่า ดัชนี ราคาอาหารโลกเดือน ม.ค. อยู่ที่ 113.3 เป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือน ก.ค.ปี 2557 เพิ่มขึ้น 11% เมื่อเทียบกับช่วงเดือนเดียวกันของปีที่แล้ว และเพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็น เดือนที่ 6 โดยราคาเมล็ดพันธุ์พืชปรับตัวขึ้น 24% ระดับสูงสุดในรอบ 6 ปี 8 เดือน ส่วนราคาน้ำตาลเพิ่มขึ้น 8% และราคาผลิตภัณฑ์นมเพิ่มขึ้น 7%
หนึ่งในหลายปัจจัยที่ดันราคาอาหารโลก ทะยานคือ การเปลี่ยนแปลงของ สภาพภูมิอากาศ ซึ่งรวมถึง การที่ฝนตกหนัก ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และการเกิดสภาพอากาศแห้งแล้ง ในอเมริกาใต้ ส่งผลกระทบต่อผลผลิตด้านการเกษตร ส่วนการระบาดของโรคโควิด-19 ก็เป็นอุปสรรคต่อการเคลื่อนย้ายของแรงงานอพยพที่ต้องการเข้าไปรับจ้างใน ภาคการเกษตรในต่างประเทศ
ข้อมูลจากองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ไอแอลโอ) และองค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ(โออีซีดี) ระบุว่า แรงงานต่างชาติในภาคการเกษตรมีประมาณ 17 ล้านคน มากกว่าจำนวนประชากรในภาคการเกษตรภายในประเทศในประเทศก้าวหน้าที่มีอยู่ 13 ล้านคน
แต่เนื่องจากการแพร่ระบาดของ ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ ทำให้การจ้างงานในภาคการเกษตรลดลง 490,000 ตำแหน่งในช่วงเดือนก.ค.-ก.ย.ปี 2563 เมื่อเทียบกับ ช่วงเดือนเดียวกันของปีที่แล้วในญี่ปุ่น สหรัฐ และยุโรป ซึ่งตัวเลขนี้มากกว่าตัวเลข ที่ลดลงในอุตสาหกรรมการผลิตที่ 3.4% และ อุตสาหกรรมภาคบริการซึ่งลดลง 4%
มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด ระบุว่า ในฝรั่งเศส ประมาณ 80% ของแรงงานในภาคการเกษตรเป็นแรงงานอพยพ ทำให้เกิดปัญหาขาดแคลนแรงงานอย่างรุนแรง และนับจนถึงปลายเดือนม.ค.ที่ผ่านมา มี 101 ประเทศที่ยังคงห้ามต่างชาติเดินทาง เข้าประเทศ ทำให้บรรดาเกษตรกรไม่สามารถ ว่าจ้างแรงงานต่างชาติให้เข้าไปทำงาน ที่ฟาร์มของตัวเองได้ ขณะที่รายงานว่าด้วยอุปสงค์และอุปทานสินค้าเกษตรของกระทรวงเกษตรสหรัฐ คาดการณ์ว่าผลผลิตข้าวโพดในตลาดโลกสำหรับปีการตลาด 2563/2564 อยู่ที่ 1,134.05 ล้านตัน ปรับลดลงประมาณ 4.4% จากการคาดการณ์ล่าสุดเมื่อเดือนพ.ค.ปีที่แล้ว
นอกจากนี้ ความต้องการที่เพิ่มขึ้น ยิ่งเพิ่มแรงกดดันให้ราคาอาหารโลกอยู่ ในช่วงขาขึ้น โดยสถิติจากศูนย์กลางการค้า ระหว่างประเทศ(ไอทีซี) ระบุว่า การค้าในผลิตภัณฑ์อาหารมีมูลค่า 1.6 ล้านล้านดอลลาร์ ในปี 2562 เพิ่มขึ้น 50% ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ขณะที่การเติบโตของประชากรในประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ทำให้ความต้องการอาหารเพิ่มขึ้น และหนึ่งในนั้นคือจีนที่เป็นผู้ซื้อสินค้าเกษตรรายใหญ่ในตลาดโลก
นอกจากนี้ ประเทศเศรษฐกิจก้าวหน้าก็พึ่งพาการนำเข้าอาหารมากขึ้นเพราะผลพวงของกระแสโลกาภิวัฒน์ ทำให้สถานการณ์ราคาอาหารทะยานมากขึ้น โดยมูลค่านำเข้าสำหรับผลิตภัณฑ์อาหารในญี่ปุ่น สหรัฐและยุโรปเพิ่มขึ้นเกือบสามเท่าในปี 2560 เมื่อเทียบกับตัวเลขในปี 2544
ส่วนข้อมูลจากไอแอลโอ ระบุว่า ในบรรดา 68 ประเทศราคาอาหารสูงกว่าอัตราเงินเฟ้อโดยรวมใน 62 ประเทศ ในเดือน มิ.ย.ปี 2563 ถือเป็นตัวเลขสูงสุด ในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา และขณะที่เศรษฐกิจโลก เริ่มฟื้นตัวเพราะอานิสงส์จากการเติบโต ของอุตสาหกรรมรถยนต์และอุตสาหกรรม เซมิคอนดักเตอร์ แต่การที่ราคาอาหาร ทะยานขึ้นอาจส่งผลกระทบต่อการบริโภคและทำให้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก ไม่เป็นผล
Source: กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

คลิก

Cr.Bank of Thailand Scholarship Students
-----------------------------------------------------------------------------

เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี !!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b 

Line ID:@fxhanuman

Web : https://www.fxhanuman.com
Web : https://www.eluforex.com/
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/

เยี่ยมชม partner ของเราที่ Eluforex รีวิวโบรกเกอร์ Forex

#forex #ลงทุน #peppers #xm #fbs #exness #icmarkets #avatrade #fxtm #tickmill #fxpro #fxopen #fxcl #forex4you

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"