forex_calendar

1.  ตั้งเวลาให้ตรงกับประเทศไทยคือ (GMT+7:00) Bangkok, Hanoi, Jakarta
2.  ไว้สำหรับเลือกวันที่ต้องการดูข่าว
3.  เวลาข่าวออก
4.  ตระกูลเงินของข่าว
5.  ความรุนแรงของข่าว
6.  เหตุการณ์ของข่าว
7.  ค่าตัวเลขจริงที่ออก
8.  ค่าตัวเลขคาดการณ์
9.  ค่าตัวเลขครั้งก่อน

forex_calendar

เมื่อถึงเวลาข่าวออกตัวเลขค่าจริงจะแสดงออกมาในช่อง Actual ซึ่งจะมีสีแตกต่างกันดังนี้

  • ตัวเลขออกเป็นสีเขียวแสดงตัวเลขดีกว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีแดงแสดงว่าตัวเลขแย่กว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีดำแสดงว่าตัวเลขเท่ากับค่าที่คาดการณ์หรือใกล้เคียงกับสถิติเดิม (Previous)

 

สิ่งที่ต้องสนใจในการเทรดข่าว Forex

 

1.  เรื่องค่าสกุลเงิน ถ้าเทรดสกุลไหนก็ต้องสนใจเฉพาะสกุลนั้น เช่นถ้าเราเช่น EUR/USD ก็สนใจเฉพาะข่าวของ USD และ EUR และเราต้องรู้ด้วยว่าถ้าข่าวออกมาจะทำให้ค่าเงินเราขึ้นหรือลง เช่น ถ้าเราเล่น EUR/USD ถ้าข่าวดอลลาร์สหรัฐออกมาดีแสดงคู่เงินที่มี USD อยู่หลังกราฟจะลง แต่ถ้าข่าว USD ออกมาไม่ดีกราฟจะขึ้น ในทางกลับกันถ้าข่าว EUR ออกมาดีกราฟจะขึ้นแต่ถ้าข่าว EUR ออกมาไม่ดีกราฟจะลง

2. เรื่องระดับความแรงของข่าว ระดับความแรงขอข่าวจะมีสามระดับดังรูป

forex_calendar

3. ค่าตัวเลขจริงที่ออก(Actual) ถ้าค่าตัวเล่นจริงที่ออกมาต่างจากค่าก่อนหน้า(Previous)มาก ยิ่งมีผลทำให้ค่าเงินวิ่งขึ้นลงแรงมาก แต่ก็ขึ้นอยู่กับความแรงของข่าวด้วย

เศรษฐกิจโลกปีนี้

วัคซีนกับโควิด-19 ใครจะชนะ: การระบาดของไวรัสโควิด-19 ตั้งแต่ปลายปี 2019 ต้องถือเป็นมหันตภัยใหญ่หลวงต่อคนทั้งโลก ล่าสุดมีผู้ติดเชื้อกว่า 105 ล้านคน เสียชีวิตกว่า 2.2 ล้านคน แม้ทุกประเทศจะพยายามทุ่มทรัพยากรเต็มที่เพื่อแก้ปัญหา

แต่ถึงขณะนี้การระบาดยังไม่หยุด และส่งผลกระทบรุนแรงต่อเศรษฐกิจโลก ความหวังจึงมีอย่างเดียวคือ “วัคซีน” ที่จะหยุดการระบาด นำเศรษฐกิจโลกและชีวิตความเป็นอยู่ของคนทั่วโลกกลับสู่ภาวะปกติ

ด้วยเหตุนี้ ข่าวการรับรองวัคซีนป้องกันโควิด-19 เมื่อเดือนธันวาคมปีที่แล้ว และการเริ่มนำวัคซีนมาฉีดให้กับประชากรกลุ่มเสี่ยงต่างๆในหลายประเทศ จึงเป็นข่าวดีทั้งต่อตลาดการเงินและเศรษฐกิจโลก ให้ความหวังว่าการระบาดอาจหยุดได้ ล่าสุดกองทุนการเงินระหว่างประเทศหรือไอเอ็มเอฟได้ปรับประมาณการการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกปีนี้สูงขึ้นเป็นร้อยละ 5.5 สะท้อนความหวังนี้โดยมองสามปัจจัยที่จะช่วยให้เศรษฐกิจโลกฟื้นตัวปีนี้
หนึ่ง คือ โมเมนตัมการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกปีที่แล้วที่ดีกว่าคาด คือ หดตัวน้อยกว่าที่ประเมินไว้ โดยเฉพาะช่วงครึ่งหลังของปี ที่การใช้จ่ายภาคครัวเรือนฟื้นตัวเข้มแข็งในไตรมาสสาม หลังหลายประเทศผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์ ทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจกระเตื้องขึ้นอย่างชัดเจน แต่การฟื้นตัวแผ่วลงในไตรมาสสี่ เมื่อเกิดการระบาดรอบใหม่ในหลายประเทศ รวมถึงในเอเชียและประเทศไทย ไอเอ็มเอฟประเมินว่าเศรษฐกิจโลกปีที่แล้วหดตัวร้อยละ 3.5 เลวร้ายสุดคือประเทศอุตสาหกรรมที่หดตัวร้อยละ 4.9 เทียบกับประเทศตลาดเกิดใหม่ที่หดตัวร้อยละ 2.4
สอง คือ มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่ออกมาเพิ่มเติมช่วงปลายปีที่แล้วโดยสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น ที่จะเป็นผลดีต่อเศรษฐกิจโลก รวมถึงมาตรการที่จะมาจากรัฐบาลใหม่ของสหรัฐอเมริกาในปีนี้ ที่มุ่งมั่นจะทำเต็มที่เพื่อหยุดการแพร่ระบาดและฟื้นเศรษฐกิจสหรัฐที่กำลังถดถอย มาตรการเหล่านี้จะทำให้เศรษฐกิจโลกมีศักยภาพที่จะฟื้นตัวได้ต่อเนื่องจากปีที่แล้ว และจะเข้มแข็งกว่าที่ประเมินไว้เดิม
สาม คือ วัคซีน โดยคาดว่ากิจกรรมทางเศรษฐกิจในประเทศอุตสาหกรรมและในประเทศตลาดเกิดใหม่บางประเทศ จะฟื้นตัวได้มากขึ้นในปีนี้จากการชะลอตัวของการระบาดที่เป็นผลจากการฉีดวัคซีนที่ได้เริ่มมาตั้งแต่เดือนธันวาคมปีที่แล้ว ประมาณว่าการฉีดวัคซีนให้กับประชากรในประเทศเหล่านี้จะมีต่อเนื่องถึงปลายปี ซึ่งหมายถึงคนส่วนใหญ่จะได้รับการฉีดวัคซีน ขณะที่ประเทศตลาดเกิดใหม่ที่เหลือก็จะเริ่มฉีดวัคซีนในปีนี้เช่นกัน และจะใช้เวลาไปถึงปลายปีหน้า
ไอเอ็มเอฟมองว่าการมีวัคซีนและการฉีดวัคซีนอย่างกว้างขวางต่อเนื่องถึงปลายปีหน้า รวมถึงวิธีการรักษาที่ดีขึ้นจะส่งผลให้การระบาดของโควิด-19 ลดลง เอื้อให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจกลับมาขยายตัว และกระตุ้นให้เศรษฐกิจทั่วโลกฟื้นตัว เป็นการฟื้นตัวที่ขับเคลื่อนด้วยความปลอดภัยของการใช้ชีวิตที่มาจากวัคซีน โดยประเมินว่าปีนี้เศรษฐกิจโลกจะขยายตัวร้อยละ 5.5 และที่จะขยายตัวมากสุด คือ กลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ รวมจีนและอินเดียที่จะขยายตัวร้อยละ 6.3 ปีนี้ อย่างไรก็ตาม ในระดับประเทศ ความสามารถในการขยายตัวจะต่างกัน ขึ้นอยู่กับสมรรถภาพของระบบสาธารณสุขของแต่ละประเทศ ความรวดเร็วในการเข้าถึงวัคซีน ประสิทธิภาพของนโยบายที่แต่ละประเทศใช้ในการฟื้นเศรษฐกิจ และความอ่อนแอของเศรษฐกิจที่ประเทศมีอยู่เดิม สำหรับกลุ่มประเทศอาเซียน ซึ่งรวมไทย ไอเอ็มเอฟประเมินว่าปีนี้จะขยายตัวร้อยละ 5.2 ต่ำกว่าอัตรารวมของเศรษฐกิจโลก
จากสามปัจจัยนี้ ชัดเจนว่าที่สำคัญสุดและเป็นตัวเปลี่ยนเกมส์จากปีที่แล้วก็คือ วัคซีน ที่จะทำให้การระบาดของโควิด-19 สามารถชะลอและ/หรือยุติลง นำเศรษฐกิจโลกและกิจกรรมทางเศรษฐกิจกลับเข้าสู่ภาวะปกติ ยิ่งถ้าวัคซีนพิสูจน์ผลออกมาว่ามีประสิทธิภาพ สามารถกระจายไปสู่พื้นที่ต่างๆ ของโลกได้เร็ว รวมทั้งประเทศตลาดเกิดใหม่ และการใช้วัคซีนถูกต่อยอดไปสู่วิธีการรักษาและป้องกันโควิด-19 ได้ดีกว่าที่มีขณะนี้
การระบาดของโควิด-19 ทั่วโลกก็อาจจบหรือยุติลงเร็วกว่าคาด สร้างความเชื่อมั่นให้กับภาคธุรกิจและครัวเรือน นำมาสู่การฟื้นตัวของการบริโภค การลงทุนและการจ้างงาน สิ่งเหล่านี้เมื่อรวมกับการใช้จ่ายของภาครัฐที่จะมีอยู่ต่อไป บวกกับนโยบายทางการเงินที่ผ่อนคลาย ก็จะสร้างโมเมนตัมการฟื้นตัวที่เข้มแข็งให้เศรษฐกิจโลกกลับสู่การขยายตัว นี่คือ ความหวังที่มากับวัคซีน
อย่างไรก็ตาม ทุกอย่างมีความไม่แน่นอนและวัคซีนก็อาจเป็นปัจจัยลบต่อเศรษฐกิจได้ ถ้าผลพิสูจน์ออกมาว่าวัคซีนไม่สามารถป้องกัน หรือลดการระบาดได้อย่างที่หวัง คือไม่มีประสิทธิภาพ ทำให้การระบาดจะยังไม่หยุดง่ายๆ เพราะในทางการแพทย์ยังไม่ชัดเจนว่า ผู้ที่ได้รับการฉีดวัคซีนแล้วจะสามารถแพร่เชื้อไปสู่คนอื่นได้หรือไม่ ทำให้มีความเสี่ยงที่ผู้ที่ได้รับการฉีดวัคซีน อาจนึกว่าตัวเองปลอดภัยเลยใช้ชีวิตอย่างไม่ระวัง การ์ดตกในแง่การสวมหน้ากาก ล้างมือ รักษาระยะห่างและเดินทางไปทั่วรวมถึงต่างประเทศ โดยไม่ตระหนักว่า แม้วัคซีนจะช่วยป้องกันตนเองไม่ให้เจ็บป่วยถ้ามีการติดเชื้อ แต่เชื้อที่ตนมีอาจแพร่ไปสู่ผู้อื่นได้ ทำให้การระบาดจะไม่หยุดง่าย นี่คือเป็นประเด็นสำคัญที่ทางการแพทย์ยังไม่มีข้อสรุปและทุกฝ่ายกำลังรวบรวมข้อมูลเพื่อหาคำตอบ
ดังนั้นความเสี่ยงที่วัคซีนอาจไม่มีประสิทธิภาพพอ มีความล่าช้าในการแจกจ่ายและฉีดวัคซีนให้ประชากรรวมถึงการอุบัติขึ้นของเชื้อไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์ (strains) ใหม่ ที่วัคซีนที่ผลิตมาอาจต่อกรหรือปราบไม่ได้ เหล่านี้เป็นความเสี่ยงที่ทำให้การระบาดอาจจะยังไม่จบลงง่ายๆ รวมถึงผลที่จะมีต่อเศรษฐกิจ
ที่สำคัญถ้าการระบาดลากยาว ผลต่อเศรษฐกิจ ต่อธุรกิจ และต่อความเป็นอยู่ของประชากรก็จะลากยาวตามไปด้วย สร้างความเสี่ยงเพิ่มเติมให้กับเสถียรภาพของภาคธุรกิจ เสถียรภาพของระบบการเงิน และเสถียรภาพของสังคม และในประเทศที่สถานการณ์การเมืองของประเทศอ่อนไหว ความยืดเยื้อดังกล่าวก็จะมีผลต่อความเชื่อมั่นที่ประชาชนมีต่อภาครัฐและต่อสถานการณ์การเมืองของประเทศ
ท่ามกลางข่าวดีของวัคซีน ซึ่งต้องถือว่าเป็นข่าวดีจริง เพราะย้อนกลับไปหกเดือนคงไม่มีใครกล้าบอกว่าโลกจะพัฒนาวัคซีนป้องกันโควิด-19 ได้เร็วขนาดนี้ จึงต้องตระหนักถึงความไม่แน่นอนต่างๆ ที่ยังมีอีกมาก ทำให้การทำนโยบายของประเทศต้องไม่ประมาทและต้องเตรียมพร้อมกับความเป็นไปได้ที่สถานการณ์การระบาดจะยืดเยื้อ และกระทบกิจกรรมทางเศรษฐกิจต่อเนื่อง
ในบริบทนี้นอกเหนือจากการช่วยเหลือกลุ่มเปราะบางในสังคมที่ได้รับผลกระทบ สิ่งที่นโยบายของประเทศต้องให้ความสำคัญคือ รักษาความเข้มแข็งของระบบสาธารณสุข สร้างงานให้คนในประเทศทำเพื่อให้มีรายได้ และสนับสนุนการปรับตัวของภาคธุรกิจเพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขันให้กับประเทศในเศรษฐกิจโลกหลังยุคโควิด
นี่คือสามเรื่องที่จะสำคัญในแง่นโยบายปีนี้ ปีที่วัคซีนกับโควิดทำสงครามกัน โดยยังไม่รู้ว่าใครจะชนะ
คอลัมน์เศรษฐศาสตร์บัณฑิต โดย ดร.บัณฑิต นิจถาวร
Source: กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

คลิก

Cr.Bank of Thailand Scholarship Students
-----------------------------------------------------------------------------

เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี !!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b 

Line ID:@fxhanuman

Web : https://www.fxhanuman.com
Web : https://www.eluforex.com/
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/

เยี่ยมชม partner ของเราที่ Eluforex รีวิวโบรกเกอร์ Forex

#forex #ลงทุน #peppers #xm #fbs #exness #icmarkets #avatrade #fxtm #tickmill #fxpro #fxopen #fxcl #forex4you

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"