forex_calendar

1.  ตั้งเวลาให้ตรงกับประเทศไทยคือ (GMT+7:00) Bangkok, Hanoi, Jakarta
2.  ไว้สำหรับเลือกวันที่ต้องการดูข่าว
3.  เวลาข่าวออก
4.  ตระกูลเงินของข่าว
5.  ความรุนแรงของข่าว
6.  เหตุการณ์ของข่าว
7.  ค่าตัวเลขจริงที่ออก
8.  ค่าตัวเลขคาดการณ์
9.  ค่าตัวเลขครั้งก่อน

forex_calendar

เมื่อถึงเวลาข่าวออกตัวเลขค่าจริงจะแสดงออกมาในช่อง Actual ซึ่งจะมีสีแตกต่างกันดังนี้

  • ตัวเลขออกเป็นสีเขียวแสดงตัวเลขดีกว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีแดงแสดงว่าตัวเลขแย่กว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีดำแสดงว่าตัวเลขเท่ากับค่าที่คาดการณ์หรือใกล้เคียงกับสถิติเดิม (Previous)

 

สิ่งที่ต้องสนใจในการเทรดข่าว Forex

 

1.  เรื่องค่าสกุลเงิน ถ้าเทรดสกุลไหนก็ต้องสนใจเฉพาะสกุลนั้น เช่นถ้าเราเช่น EUR/USD ก็สนใจเฉพาะข่าวของ USD และ EUR และเราต้องรู้ด้วยว่าถ้าข่าวออกมาจะทำให้ค่าเงินเราขึ้นหรือลง เช่น ถ้าเราเล่น EUR/USD ถ้าข่าวดอลลาร์สหรัฐออกมาดีแสดงคู่เงินที่มี USD อยู่หลังกราฟจะลง แต่ถ้าข่าว USD ออกมาไม่ดีกราฟจะขึ้น ในทางกลับกันถ้าข่าว EUR ออกมาดีกราฟจะขึ้นแต่ถ้าข่าว EUR ออกมาไม่ดีกราฟจะลง

2. เรื่องระดับความแรงของข่าว ระดับความแรงขอข่าวจะมีสามระดับดังรูป

forex_calendar

3. ค่าตัวเลขจริงที่ออก(Actual) ถ้าค่าตัวเล่นจริงที่ออกมาต่างจากค่าก่อนหน้า(Previous)มาก ยิ่งมีผลทำให้ค่าเงินวิ่งขึ้นลงแรงมาก แต่ก็ขึ้นอยู่กับความแรงของข่าวด้วย

ถอดบทเรียนปี 2563 ผ่านงบธนาคาร

เมื่อธนาคารกำไรร่วง-หนี้เสียพุ่ง-สำรองสูง และต้องประคองลูกหนี้ไปด้วยกัน : เมื่อโควิด-19 ส่งผลกระทบไปทั่วโลกรวมถึงไทยด้วย เลยทำให้เศรษฐกิจไทยปี 2563 น่าจะติดลบอย่างน้อย 6% แน่นอนว่าธุรกิจแนวหลังอย่างธนาคารก็ได้รับผลกระทบไปด้วย

และเห็นได้ชัดในผลการดำเนินงานทั้งปีที่กำไรก็ลดลง ความเสี่ยงหนี้เสียก็เพิ่มขึ้น แล้ววิกฤตปีที่ผ่านมา ธุรกิจธนาคารต้องเจอกับอะไรบ้างและการอยู่ในวิกฤตโควิด-19 ต่อ ปีนี้จะเป็นอย่างไร? 

เมื่อธนาคารกำไรสุทธิปี 2563 ทรุด 31.54% ต่ำสุดในรอบ 9 ปี
ปีที่ผ่านมาธุรกิจธนาคารได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ตั้งแต่ความเสี่ยงด้านเครดิตของลูกหนี้ที่เพิ่มขึ้น และต้นทุนที่เพิ่มขึ้นจากการออกมาตรการช่วยเหลือลูกค้าจากโควิด-19 (ตอนนี้มีถึงระยะ 3 แล้ว) ซึ่งไม่ว่าจะการพักชำระหนี้ ลดดอกเบี้ย ก็ส่งผลโดยตรงต่อรายได้ของธนาคาร ขณะเดียวกันสาเหตุหลักที่ทำให้กำไรของแบงก์ลดลงคือ การตั้งสำรองเผื่อหนี้เสียที่อาจะเกิดขึ้นจากผลกระทบของโควิด-19
จากปัจจัยทั้งหมดนี้ทำให้ปี 2563 ธนาคารพาณิชย์ในไทยมีกำไรสุทธิ 138,968 ล้านบาท ลดลง 31.54% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ถือว่ากำไรลดลงมากที่สุดในรอบ 9 ปี นับจากปี 2555 มา (ข้อมูลจากศูนย์วิจัยกสิกรไทย)
ทั้งนี้ ธนาคารที่กำไรสุทธิลดลงมากที่สุดคือ ธนาคารกรุงเทพ ปี 2563 กำไรลดเหลือ 17,546 ลดลง 51.55% จากปี 2562 โดยมีการตั้งสำรองหนี้เสียตลอดทั้งปีถึง 31,196 ล้านบาท ขณะที่คนที่มีกำไรสุทธิมากที่สุดในปีนี้คือธนาคารกสิกรไทย ที่มีกำไรสุทธิรวม 29,487 ล้านบาท ลดลง 23% จากปี 2562 ขณะที่มีธนาคารเดียวที่กำไรยังเพิ่มขึ้นคือ ทีเอ็มบีธนชาต ที่อยู่ระหว่างการควบรวมกัน ทำให้ทั้งกำไร หนี้เสีย และตัวเลขอื่นๆ เพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด
แต่ในขณะเดียวกันหากวิกฤตหมดไป เงินส่วนที่ไปตั้งสำรองหนี้เสียจะกลับมาเป็นกำไรสุทธิอีกครั้ง ดังนั้นเมื่อสถานการณ์คลี่คลาย ความเสี่ยงลดลง น่าจะเห็นธนาคารตัดส่วนนี้กลับมาเป็นกำไรสุทธิอีกครั้ง
เสี่ยงสูงธนาคารไทยต้องตั้งสำรองเพิ่ม แต่ปี 2563 หนี้เสียเพิ่มขึ้นหรือยัง?
นริศ สถาผลเดชา เจ้าหน้าที่บริหาร ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจทีเอ็มบี ธนาคารทหารไทย TMB Analytics เปิดเผยกับ THE STANDARD WEALTH ว่า ทั้งปี 2563 ประเมินว่าหนี้เสีย หรือ NPL จะไม่สูงมากนัก โดยมองว่าจะไม่เกิน 3.5% เพราะช่วงที่ผ่านมายังมีมาตรการดูแลประชาชน รวมถึงการปรับโครงสร้างหนี้
ทั้งนี้ มองว่าหนี้เสียธนาคารพาณิชย์ไทยจะขยับขึ้นสู่จุดสูงสุดในช่วงไตรมาส 1/64 หรือปลายไตรมาส 2/64 แต่มองว่าจะไม่เกิน 4%
ขณะที่ยอดปฏิเสธสินเชื่ออาจเพิ่มสูงขึ้นบ้าง จากการระมัดระวังการปล่อยสินเชื่อ เพราะธนาคารจะเลือกในการปล่อยสินเชื่อมากขึ้น และอาจระมัดระวังกลุ่มที่มีสัดส่วนหนี้ค่อนข้างสูง กลุ่มที่ได้รับกระทบ และกลุ่มที่กำลังปรับโครงสร้างหนี้อยู่ น่าจะมีการคัดกรองเพิ่มเติม แต่จากช่วงต้นปี 2564 มายังเห็นการการปล่อยสินเชื่อใหม่ เพราะยอดสินเชื่อยังเติบโตอยู่ เช่น สินเชื่อรถยนต์ใหม่ ฯลฯ แต่ระยะต่อไปเชื่อว่า ธนาคารพาณิชย์จะมีทางเลือกให้ลูกค้ามากขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มลูกหนี้มีวินัย เช่น อัตราดอกเบี้ยที่ลดลง
ทั้งนี้ ปี 2563 ธนาคารที่มีจำนวนหนี้เสียสูงสุดคือ ธนาคารกรุงไทย มีมูลค่าหนี้เสียราว 107,138 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 4.36% จากปี 2562 ขณะที่ธนาคารกรุงเทพมีหนี้เสียเพิ่มขึ้นมากที่สุดราว 31.91% มูลค่าหนี้เสียรวมอยู่ที่ 104,405 ล้านบาท โดยธนาคารที่มีมูลค่าหนี้เสียลดลง ได้แก่ เกียรตินาคินภัทร (ลดลง 11.55%) และธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย (ลดลง 7.08%)
ด้าน ผยง ศรีวณิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงไทย เล่าว่า ธนาคารตั้งสำรองผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในระดับที่สูง โดยพิจารณาอย่างรอบคอบถึงปัจจัยแวดล้อมในการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง ทั้งภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวและมีความไม่แน่นอนสูงที่อาจส่งผลต่อคุณภาพสินเชื่อ หรือ NPLs Cliff ทำให้ธนาคารออกมาตรการช่วยเหลือลูกค้าอย่างต่อเนื่อง ควบคู่กับการบริหารจัดการคุณภาพสินทรัพย์ของธนาคาร โดยมีอัตราส่วนหนี้เสียต่อสินเชื่อรวมอยู่ที่ 3.81% ลดลงจาก 4.33% ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562
ฝั่ง อาทิตย์ นันทวิทยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและประธานกรรมการบริหาร ธนาคารไทยพาณิชย์ กล่าวว่า ปี 2563 กำไรสุทธิเจอแรงกดดันจากการตั้งสำรองที่สูงขึ้น รวมถึงธนาคารออกมาตรการช่วยเหลือลูกค้ามากกว่า 1 ล้านราย โดยช่วงครึ่งปีหลังพบว่า ลูกค้าทยอยออกจากโครงการ ทำให้ยอดสินเชื่อภายใต้โครงการช่วยเหลือทางการเงินลดลงสิ้นปี 2563 ลงมาอยู่ที่ 402,000 ล้านบาท หรือ 18% ของยอดสินเชื่อรวมของธนาคาร
ปี 2564 ธุรกิจธนาคารจะเป็นอย่างไร?
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยเปิดเผยว่า ปี 2564 การฟื้นตัวของธุรกิจธนาคารยังมีความไม่แน่นอนสูง และขึ้นอยู่กับความเสี่ยงในการระบาดของโรคโควิด-19 รอบใหม่
ขณะเดียวกันหากแนวโน้มเศรษฐกิจไทยในปี 2564 สามารถเติบโตที่ 2.6% (คาดการณ์ศูนย์วิจัยกสิกรไทย) คาดว่า กำไรสุทธิของระบบธนาคารพาณิชย์ไทยปี 2564 มีโอกาสเพิ่มขึ้นประมาณ 3.0-7.0% จากเทียบกับฐานที่ต่ำในปี 2563 แต่โจทย์สำคัญสำหรับธุรกิจธนาคารพาณิชย์ในปี 2564 คือจะเน้นหนักอยู่ที่การประคองรายได้จากธุรกิจหลักและเร่งจัดการปัญหาคุณภาพหนี้ในพอร์ต
ปี 2564 ธนาคารพาณิชย์ยิ่งต้องเร่งดูแล ประเมินความเสี่ยง และความสามารถในการชำระหนี้ของลูกค้าอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการให้ความช่วยเหลือตามมาตรการขั้นต่ำของ ธปท. ซึ่งเจาะจงไปที่กลุ่มรายย่อยและ SMEs ซึ่งรวมถึงการปรับโครงสร้างหนี้ที่จะช่วยให้การบริหารหนี้ดีขึ้นในระยะยาว
โดยที่ผ่านมา ธปท. เน้นย้ำเรื่องผลข้างเคียงจากมาตรการช่วยเหลือที่จะไม่ทำให้เกิด Moral Hazard (พฤติกรรมที่ไม่ดี) ทำให้ระยะหลังเน้นให้ธนาคารพาณิชย์ช่วยเหลือในรูปแบบเฉพาะบุคคลหรือเพิ่มทางเลือกให้ลูกหนี้มากขึ้น
ฝั่ง อาทิตย์ นันทวิทยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและประธานกรรมการบริหาร ธนาคารไทยพาณิชย์ กล่าวว่า ปีนี้การแพร่ระบาดของโควิด-19 รอบใหม่ในไทยส่งผลให้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยยังคงมีความไม่แน่นอนสูง จึงต้องประคับประคองลูกค้าต่อไป
ในส่วนของธุรกิจธนาคารต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่อง โดยการพัฒนาธุรกิจที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี การขยายฐานรายได้จากธุรกิจการขายผลิตภัณฑ์ประกันผ่านธนาคาร ธุรกิจการบริหารความมั่งคั่ง และการปรับเปลี่ยนองค์กรเข้าสู่ยุคดิจิทัลอย่างเต็มศักยภาพ
ส่วน เซอิจิโระ อาคิตะ กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารกรุงศรีอยุธยา กล่าวว่า เศรษฐกิจไทยต้องใช้เวลาอย่างน้อย 2 ปี เพื่อฟื้นตัวกลับไปสู่สภาวะก่อนเกิดการระบาด ซึ่งปี 2564 นี้ GDP จะอยู่ที่ 2.5% จากฐานต่ำในปี 2563 ที่หดตัว 6.4% ซึ่งยังมีความท้าทายจากการฟื้นตัวแต่ละธุรกิจ แต่ละอุตสาหกรรมยังแตกต่างกันออกไป
“ในปี 2564 ในฐานะธนาคารพาณิชย์ที่มีความสำคัญเชิงระบบ (D-SIB) ควบคู่ไปกับความแข็งแกร่งทางการเงิน กรุงศรีจะยังคงดำเนินงานตามนโยบายการบริหารความเสี่ยงอย่างรอบคอบระมัดระวัง และดำเนินมาตรการความช่วยเหลือเชิงรุก เพื่อช่วยเหลืออุตสาหกรรมและกลุ่มลูกค้าที่ได้รับผลกระทบ พร้อมทั้งสนับสนุนการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของประเทศไทยอย่างเต็มที่”
ธุรกิจธนาคารที่ต้องดูแลทั้งฝั่งผู้ถือหุ้น ผู้ฝากเงิน และลูกค้าที่มาขอสินเชื่อ รวมถึงการอยู่ภายใต้การกำกับของ ธปท. ปี 2564 ยังคงต้องรักษาสมดุลในทุกด้านและประคับประคองลูกค้าในทุกส่วนให้ค่อยๆ ขยับไปกับเศรษฐกิจที่กำลังฟื้นตัว
โดย ชุตินันท์ สงวนประสิทธิ์
Source: The Standard Wealth

คลิก


Cr.Bank of Thailand Scholarship Students
-----------------------------------------------------------------------------

เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี !!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b 

Line ID:@fxhanuman

Web : https://www.fxhanuman.com
Web : https://www.eluforex.com/
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/

เยี่ยมชม partner ของเราที่ Eluforex รีวิวโบรกเกอร์ Forex

#forex #ลงทุน #peppers #xm #fbs #exness #icmarkets #avatrade #fxtm #tickmill #fxpro #fxopen #fxcl #forex4you

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"