forex_calendar

1.  ตั้งเวลาให้ตรงกับประเทศไทยคือ (GMT+7:00) Bangkok, Hanoi, Jakarta
2.  ไว้สำหรับเลือกวันที่ต้องการดูข่าว
3.  เวลาข่าวออก
4.  ตระกูลเงินของข่าว
5.  ความรุนแรงของข่าว
6.  เหตุการณ์ของข่าว
7.  ค่าตัวเลขจริงที่ออก
8.  ค่าตัวเลขคาดการณ์
9.  ค่าตัวเลขครั้งก่อน

forex_calendar

เมื่อถึงเวลาข่าวออกตัวเลขค่าจริงจะแสดงออกมาในช่อง Actual ซึ่งจะมีสีแตกต่างกันดังนี้

  • ตัวเลขออกเป็นสีเขียวแสดงตัวเลขดีกว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีแดงแสดงว่าตัวเลขแย่กว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีดำแสดงว่าตัวเลขเท่ากับค่าที่คาดการณ์หรือใกล้เคียงกับสถิติเดิม (Previous)

 

สิ่งที่ต้องสนใจในการเทรดข่าว Forex

 

1.  เรื่องค่าสกุลเงิน ถ้าเทรดสกุลไหนก็ต้องสนใจเฉพาะสกุลนั้น เช่นถ้าเราเช่น EUR/USD ก็สนใจเฉพาะข่าวของ USD และ EUR และเราต้องรู้ด้วยว่าถ้าข่าวออกมาจะทำให้ค่าเงินเราขึ้นหรือลง เช่น ถ้าเราเล่น EUR/USD ถ้าข่าวดอลลาร์สหรัฐออกมาดีแสดงคู่เงินที่มี USD อยู่หลังกราฟจะลง แต่ถ้าข่าว USD ออกมาไม่ดีกราฟจะขึ้น ในทางกลับกันถ้าข่าว EUR ออกมาดีกราฟจะขึ้นแต่ถ้าข่าว EUR ออกมาไม่ดีกราฟจะลง

2. เรื่องระดับความแรงของข่าว ระดับความแรงขอข่าวจะมีสามระดับดังรูป

forex_calendar

3. ค่าตัวเลขจริงที่ออก(Actual) ถ้าค่าตัวเล่นจริงที่ออกมาต่างจากค่าก่อนหน้า(Previous)มาก ยิ่งมีผลทำให้ค่าเงินวิ่งขึ้นลงแรงมาก แต่ก็ขึ้นอยู่กับความแรงของข่าวด้วย

ออมสิน’ ลงทะเบียนพักหนี้ 28 จังหวัดพื้นที่สีแดง ‘โควิด-19’ เริ่มวันนี้

“ออมสิน”ออกมาตรการด่วนพักหนี้ ลดจ่ายดอกเบี้ย 3-6 เดือน ช่วยลูกค้าพื้นที่เสี่ 28 จังหวัด จำนวน 1.9 ล้านราย วงเงิน 6.7 แสนล้าน เปิดลงทะเบียน​ 8​ ม.ค. ด้านสอท. เสนอมาตรการช่วยเอสเอ็มอีจาก “โควิด-19” รอบใหม่ เสนอปรับพรก.ซอฟท์โลน ช่วยเอสเอ็มอี

นายวิทัย รัตนากร ผู้อำนวยการ ธนาคารออมสิน เปิดเผยว่า ล่าสุดธนาคารได้ออกมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ของธนาคารออมสินในพื้นที่สีแดง หรือพื้นที่ที่มีการเข้มงวดและควบคุมสูงสุด รวม 28 จังหวัด ตามคำสั่งของศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส โคโรนา สายพันธุ์ใหม่หรือโควิด-19รอบใหม่
เบื้องต้น ธนาคารจะพิจารณาให้ลูกค้าสามารถขอพักชำระเงินต้นไว้ก่อน โดยจ่ายเฉพาะดอกเบี้ย หรือ ขอลดการจ่ายดอกเบี้ยบางส่วนได้ แล้วแต่กรณีขึ้นอยู่กับความหนักเบาของผลกระทบที่ได้รับ ซึ่งมาตรการครั้งนี้มีระยะเวลา 3 - 6 เดือน
ทั้งนี้พบว่า ธนาคารมีลูกค้าสินเชื่อจาก 28 จังหวัด กว่า 1.9 ล้านราย วงเงินสินเชื่อกว่า 670,000 ล้านบาท ดังนั้นคาดว่าการระบาดของโควิด-19 รอบใหม่ จะมีลูกค้าจำนวนไม่น้อย ที่ประสบปัญหาและได้รับผลกระทบ ธนาคารจึงได้เร่งเปิดให้ลูกค้าลงทะเบียน แจ้งความประสงค์เข้ามาตรการผ่านเว็บไซต์ธนาคารออมสิน www.gsb.or.th พร้อมทั้งระบุข้อมูลส่วนบุคคลและข้อมูลการติดต่อให้ชัดเจนครบถ้วน โดยเริ่มเปิดให้ลงทะเบียนในวันศุกร์ที่ 8 มกราคม 2564 นี้เป็นต้นไป
แหล่งข่าววงการการเงินกล่าวว่า ล่าสุดสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(สอท.) ได้มีการทำมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 รอบใหม่ เพื่อเสนอรัฐบาล และธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) เนื่องจากมองว่าภาคธุรกิจเอสเอ็มอีเป็นภาคที่ต้องเร่งเข้าไปช่วยเหลือเร็วที่สุด จากฐานะธุรกิจที่แย่ลากยาวมาตั้งแต่โควิด-19รอบแรก
ล่าสุดมีการจัดทำมาตรการเพื่อช่วยเหลือทางการเงินแก่ธุรกิจเอสเอ็มอี โดยจะมีการนำเสนอแก่กระทรวงการคลัง และสมาคมธนาคารไทยต่อไป มาตรการเบื้องต้น คือเสนอปรับ พรก.เงินกู้ ซอฟท์โลน เพื่อเพิ่มโอกาสเอสเอ็มอีเข้าถึงสินเชื่อ โดยกำหนดให้บุริมสิทธิสูงกว่าเงินกู้ไม่มีหลักประกันเดิม, อย่างที่ ธนาคารออมสินกำลังดำเนินการ
รวมถึงให้แบงก์กำหนดดอกเบี้ยที่ธนาคารรับความเสี่ยงได้ สำหรับการปล่อยกู้ซอฟท์โลนรอบใหม่ ต้องมากกว่า 5% และไม่ต้องจำกัดการขอกู้ที่ 20%ของยอดสินเชื่อคงค้าง ณ สิ้นปี 2562 รวมถึงให้บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.)เข้ามาค้ำประกันเงินกู้เกิน 50% ตลอดระยะเวลา 7ปี
นอกจากนี้ การเปิดให้การปล่อยกู้ซอทฟ์โลนครั้งนี้ ครอบคลุมไปถึงลูกหนี้ที่เป็นเอ็นพีแอลด้วย เพราะเป็นกลุ่มที่ได้รับผลกระทบต่อเนื่องจากโควิด-19 นอกจากนี้เสนอให้มีการตั้ง Asset Warehousing เพื่อโอนลูกหนี้กลุ่มท่องเที่ยวมาแยกไว้กับกองทุน และเปิดให้ซื้อกลับได้หลังปี 2565 เป็นต้น
ด้านนายเกรียงไกร เธียรนุกุล รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.)กล่าวว่า ล่าสุดสภาอุตสาหกรรมได้มีการจัดทำมาตรการเพื่อช่วยเหลือเอสเอ็มอีจริง
โดยวันนี้ (8 ม.ค.)จะมีการนำมาตรการต่างๆเข้าที่ประชุมคณะกรรมบริหารของสภาอุตสาหกรรม ก่อนที่นำข้อเสนอดังกล่าว ให้กระทรวงการคลังรับทราบต่อไป เนื่องจากมองว่า เอสเอ็มอีเป็นกลุ่มที่ต้องช่วยเหลือเร่งด่วน และจำเป็นต้องให้สภาพคล่องเข้าไปถึงกลุ่มนี้เร็วที่สุด
ตั้งแต่มาตรการพักหนี้ของธนาคารออมสิน ไปจนถึงนโยบายด้านการเงิน ทั้งหมดก็เพื่อลดผลกระทบของประชาชนจากการระบาดของ โควิด-19
Source: กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

ออมสินเปิดลงทะเบียนพักชำระหนี้ วันนี้ (8 ม.ค.) วันแรก : แบงก์ออมสินเปิดลงทะเบียนพักชำระหนี้ วันนี้(8 ม.ค.)วันแรก ในเขตพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวดรวม 28 จังหวัด
วันที่ 8 มกราคม ผู้สื่อข่าวรายงานว่าวันนี้ เป็นวันแรกที่ ธนาคารออมสิน เปิดให้ลงทะเบียนมาตรการด่วนช่วยเหลือลูกค้าสินเชื่อของธนาคาร จำนวนกว่า 1.9 ล้านราย ในพื้นที่ควบคุมสูงสุด/พื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวดรวม 28 จังหวัด ซึ่งเป็นลูกค้าที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ระลอกใหม่ ( คลิกลงทะเบียนได้ที่นี่ )
ทั้งนี้ธนาคารจะพิจารณาให้ลูกค้าสามารถขอพักชำระเงินต้นไว้ก่อน โดยจ่ายเฉพาะดอกเบี้ย หรือขอลดการจ่ายดอกเบี้ยบางส่วนได้ แล้วแต่กรณีขึ้นอยู่กับความหนักเบาของผลกระทบที่ได้รับ ซึ่งมาตรการครั้งนี้มีระยะเวลา 3 – 6 เดือน
โดยลูกค้าสินเชื่อธนาคารออมสินในพื้นที่จังหวัดที่กำหนดเป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุด/พื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวดรวม 28 จังหวัด สามารถลงทะเบียนเข้ามาตรการช่วยเหลือได้ที่เว็บไซต์ธนาคารออมสิน www.gsb.or.th พร้อมทั้งระบุข้อมูลส่วนบุคคลและข้อมูลการติดต่อให้ชัดเจนครบถ้วน ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป โดยสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Call Center ธนาคารออมสิน โทร.1115
Source: ประชาชาติธุรกิจออนไลน์

คลิก

คลิก


Cr.Bank of Thailand Scholarship Students
-------------------------------------------------------------------------

เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี !!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b 

Line ID:@fxhanuman
Web : https://www.fxhanuman.com
Web : https://www.eluforex.com/
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/

เยี่ยมชม partner ของเราที่ Eluforex รีวิวโบรกเกอร์ Forex

#forex #ลงทุน #peppers #xm #fbs #exness #icmarkets #avatrade #fxtm #tickmill #fxpro #fxopen #fxcl #forex4you

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"