forex_calendar

1.  ตั้งเวลาให้ตรงกับประเทศไทยคือ (GMT+7:00) Bangkok, Hanoi, Jakarta
2.  ไว้สำหรับเลือกวันที่ต้องการดูข่าว
3.  เวลาข่าวออก
4.  ตระกูลเงินของข่าว
5.  ความรุนแรงของข่าว
6.  เหตุการณ์ของข่าว
7.  ค่าตัวเลขจริงที่ออก
8.  ค่าตัวเลขคาดการณ์
9.  ค่าตัวเลขครั้งก่อน

forex_calendar

เมื่อถึงเวลาข่าวออกตัวเลขค่าจริงจะแสดงออกมาในช่อง Actual ซึ่งจะมีสีแตกต่างกันดังนี้

  • ตัวเลขออกเป็นสีเขียวแสดงตัวเลขดีกว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีแดงแสดงว่าตัวเลขแย่กว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีดำแสดงว่าตัวเลขเท่ากับค่าที่คาดการณ์หรือใกล้เคียงกับสถิติเดิม (Previous)

 

สิ่งที่ต้องสนใจในการเทรดข่าว Forex

 

1.  เรื่องค่าสกุลเงิน ถ้าเทรดสกุลไหนก็ต้องสนใจเฉพาะสกุลนั้น เช่นถ้าเราเช่น EUR/USD ก็สนใจเฉพาะข่าวของ USD และ EUR และเราต้องรู้ด้วยว่าถ้าข่าวออกมาจะทำให้ค่าเงินเราขึ้นหรือลง เช่น ถ้าเราเล่น EUR/USD ถ้าข่าวดอลลาร์สหรัฐออกมาดีแสดงคู่เงินที่มี USD อยู่หลังกราฟจะลง แต่ถ้าข่าว USD ออกมาไม่ดีกราฟจะขึ้น ในทางกลับกันถ้าข่าว EUR ออกมาดีกราฟจะขึ้นแต่ถ้าข่าว EUR ออกมาไม่ดีกราฟจะลง

2. เรื่องระดับความแรงของข่าว ระดับความแรงขอข่าวจะมีสามระดับดังรูป

forex_calendar

3. ค่าตัวเลขจริงที่ออก(Actual) ถ้าค่าตัวเล่นจริงที่ออกมาต่างจากค่าก่อนหน้า(Previous)มาก ยิ่งมีผลทำให้ค่าเงินวิ่งขึ้นลงแรงมาก แต่ก็ขึ้นอยู่กับความแรงของข่าวด้วย

เศรษฐกิจไทยปี 2564 เสี่ยงถดถอยซ้ำซ้อน ฟื้นตัว K-Shaped ช่องว่างระหว่าง ‘คนรวย-คนจน’ ถ่างขึ้น หากยังคุมโควิด-19 ไม่อยู่

ปี 2563 เรียกได้ว่าเป็นปีเผาจริง เพราะไม่มีใครคาดคิดว่าเศรษฐกิจไทยในปีดังกล่าวจะตกอยู่ในภาวะยากลำบากเช่นนี้ …ช่วงต้นปีสำนักวิจัยหลายแห่ง รวมทั้งธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ยังประเมินว่าตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) จะขยายตัวได้ราว 2.6%

แต่หลังการระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ หรือโควิด-19 ก็ทำให้ภาพทุกอย่างเปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิง 

ล่าสุดคาดการณ์กันว่าเศรษฐกิจไทยในปี 2563 น่าจะหดตัวไม่น้อยกว่า 6.6% ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 22 ปี นับจากปี 2541 ที่ GDP ในขณะนั้นหดตัว 7.6%
การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ซึ่งถือเป็นโรคอุบัติใหม่แบบที่ไม่เคยมีมาก่อนบนโลกใบนี้ ในทางการแพทย์จึงไม่มีวัคซีนป้องกันหรือแม้แต่ยารักษา อีกทั้งการแพร่ระบาดยังเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้ภาครัฐต้องสั่งล็อกดาวน์ประเทศเพื่อหยุดการแพร่เชื้อ ส่งผลต่อเนื่องไปยังกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่หยุดชะงักอย่างฉับพลัน
แม้เวลานี้จะเริ่มมียารักษาและมีวัคซีนป้องกัน แต่การแจกจ่ายวัคซีนยังไม่ทั่วถึงและเป็นไปอย่างล่าช้า อีกทั้งการแพร่ระบาดเริ่มกลับมาใหม่ในช่วงปลายปี 2563 และมีทีท่าว่าจะแพร่กระจายต่อเนื่องไปอีกระยะหนึ่ง ผลที่เกิดขึ้นจึงทำให้ ‘การประเมิน’ ภาพเศรษฐกิจในปี 2564 มีความยากลำบาก
อย่างไรก็ตาม สำนักวิจัยทางเศรษฐกิจส่วนใหญ่ยังเชื่อว่าหากการระบาดรอบใหม่ไม่มีความรุนแรงเหมือนในรอบแรก เศรษฐกิจไทยปี 2564 น่าจะขยายตัวได้ไม่น้อยกว่า 3% ขึ้นไป
พิพัฒน์ เหลืองนฤมิตชัย ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์ภัทร
พิพัฒน์ เหลืองนฤมิตชัย ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ภัทร กล่าวกับ THE STANDARD ว่า เศรษฐกิจไทยปี 2564 ยังมีความท้าทายอยู่มาก และต้องขึ้นอยู่กับสองปัจจัยใหญ่คือ วัคซีนและสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 รอบใหม่ในประเทศ โดยทั้งสองปัจจัยมีผลต่อเศรษฐกิจไทยอย่างชัดเจน
สำหรับกรณีฐาน บล. ภัทร ประเมินว่า เศรษฐกิจไทยปี 2564 จะขยายตัวได้ราว 3.5% ซึ่งตัวเลขนี้อยู่บนสมมติฐานว่ามีนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามาไทยราว 6 ล้านคน และการระบาดของโควิด-19 รอบใหม่ไม่นำไปสู่การปิดเมืองเป็นการทั่วไป
อย่างไรก็ตาม หากรัฐบาลไม่สามารถคุมการระบาดได้ และต้องกลับไปล็อกดาวน์เหมือนที่เคยทำในช่วงเดือนมีนาคมและเมษายนที่ผ่านมา กรณีนี้นอกจากจะทำให้การท่องเที่ยวปี 2564 หดตัวแล้ว การบริโภคภาคเอกชนอาจจะต่ำกว่าที่เราประเมินไว้ได้เช่นกัน ซึ่งจะทำให้ GDP ปี 2564 เติบโตที่ 0% หรือไม่เติบโตเลย
“เบสไลน์เรายังมองเติบโต 3.5% แต่ก็ต้องขึ้นอยู่กับสองเรื่องสำคัญคือ พัฒนาการของวัคซีน และสถานการณ์การแพร่ระบาดรอบใหม่ว่าจะรุนแรงจนต้องกลับไปล็อกดาวน์เหมือนเดิมหรือไม่”
พิพัฒน์กล่าวว่า ถ้าภาครัฐคุมสถานการณ์โควิด-19 รอบใหม่ไม่อยู่และต้องกลับไปล็อกดาวน์อีกครั้ง ก็มีความเป็นไปได้สูงที่เศรษฐกิจไทยจะเผชิญกับภาวะถดถอยซ้ำซ้อน (Double-dip Recession) เพราะตัวเลขเศรษฐกิจไตรมาสแรกของปี 2564 คงหดตัวเมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ของปี 2563 อย่างแน่นอน
“จริงๆ ต้องบอกว่าตัวขับเคลื่อนหลักของเศรษฐกิจไทยปี 2564 ที่เรามองไว้คือการบริโภคภาคเอกชน แต่ถ้าโควิด-19 กลับมาจนต้องล็อกดาวน์อีกครั้ง ห้างสรรพสินค้าเปิดไม่ได้ คนไม่เดินทางไปไหนมาไหน แบบนี้กระทบแน่นอน ซึ่งตอนนี้ก็เริ่มเห็นผลกระทบบ้างแล้ว เพราะเมื่อมีรายงานว่าพบผู้ติดเชื้อในจังหวัดไหน ยอดการยกเลิกจองที่พักก็เพิ่มขึ้นทันที กรณีแบบนี้น่าเป็นห่วง”
ส่วนภาคการส่งออกในปี 2564 อาจจะพอช่วยพยุงเศรษฐกิจได้บ้าง แต่ บล.ภัทร ไม่ได้มองว่าจะขยายตัวโดดเด่นมากนัก โดยปี 2564 ประเมินการเติบโตของการส่งออกไว้ราว 6.5% ขณะที่การลงทุนภาคเอกชนในปีหน้าเองประเมินว่ายังไม่โดดเด่น
สำนักวิจัยเศรษฐกิจส่วนใหญ่ประเมินภาพเศรษฐกิจไทยปี 2564 ยังฟื้นตัวช้าในระดับ 3.2-3.8% บนสมมติฐานการแพร่ระบาดของโควิด-19 รอบใหม่ไม่นำไปสู่การล็อกดาวน์ประเทศ โดยที่ ‘การบริโภคภาคเอกชน’ และ ‘การส่งออก’ ถือเป็นพระเอกหลักที่ช่วยขับเคลื่อนการเติบโตของเศรษฐกิจไทยในปี 2564
คาดการณ์เศรษฐกิจไทยปี 2564
สำหรับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ พิพัฒน์เชื่อว่ายังคงเป็นภาพของ K-Shaped โดยที่กลุ่มคนรวยจะอยู่ในส่วนของ ‘เคขาขึ้น’ เพราะต้องยอมรับว่าสินทรัพย์การลงทุนต่างๆ ขยายตัวได้ดี ไม่ว่าจะเป็นในตลาดหุ้นหรือสินทรัพย์การลงทุนอื่นๆ ทำให้คนรวยรวยมากขึ้น เราจึงเห็นสินค้าราคาแพง ไม่ว่าจะเป็นบ้านหรู รถหรู ยังขายได้ดี
ส่วน ‘เคขาลง’ ยังอยู่ในเศรษฐกิจภาคบริการเป็นส่วนใหญ่ โดยเฉพาะธุรกิจโรงแรม ตลอดจนแรงงานระดับล่างที่ยังได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19
“แม้ว่าสินทรัพย์การลงทุนต่างๆ จะดีขึ้น ทำให้คนกลุ่มหนึ่งได้ประโยชน์ แต่ฐานเศรษฐกิจใหญ่ยังไม่ได้ดีขึ้น คนส่วนใหญ่จึงยังได้รับผลกระทบ ที่เรากังวลคือ จากวันนี้ไปจนถึงวันที่เริ่มมีนักท่องเที่ยวกลับมา คาดว่าต้องใช้เวลาอีก 6-7 เดือน คนที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจนี้เขาจะทนได้นานแค่ไหน คนกลุ่มนี้เหมือนกำลังถูกบังคับให้ดำน้ำลึกและยังต้องดำไปอีกกว่าครึ่งปี”
อมรเทพ จาวะลา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานวิจัย ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย
อมรเทพ จาวะลา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานวิจัย ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย
อมรเทพ จาวะลา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานวิจัย ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย กล่าวกับ THE STANDARD ว่า เศรษฐกิจไทยปี 2564 ยังคงเผชิญความท้าทายอยู่มาก ซึ่งเดิมเราประเมินว่าตัวเลข GDP ในปี 2564 จะเติบโตได้ราว 4.1% แต่การกลับมาระบาดรอบใหม่ของโรคโควิด-19 ทำให้เราต้องทบทวนตัวเลขดังกล่าวใหม่
“ปัญหาสำคัญของเราคือการระบาดรอบใหม่ ซึ่งทำให้ตัวเลขการบริโภคน่าจะต่ำกว่าตัวเลขที่เราประเมินไว้ในขณะนี้ เพราะการกลับมาของโควิด-19 มีผลต่อการท่องเที่ยวและการใช้จ่ายของคน เรากำลังดูอยู่ว่าจะปรับสินค้ากลุ่มไหนลงมาบ้าง”
อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าสินค้าในกลุ่มอาหารหรือของใช้ในชีวิตประจำวันคงไม่ได้รับผลกระทบมากนัก ที่กระทบมากหน่อยจะเป็นกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับการเดินทางและกลุ่มเครื่องดื่มต่างๆ แต่ผลกระทบเหล่านี้คงไม่รุนแรงเท่ากับการล็อกดาวน์ในรอบก่อน
ส่วนพระเอกที่เป็นตัวขับเคลื่อนหลักของเศรษฐกิจไทยปี 2564 คือ การส่งออก โดยมองว่าในปี 2564 แม้หลายประเทศจะเผชิญแรงกดดันจากการระบาดรอบใหม่ของโควิด-19 แต่ด้วยนโยบายการเงินและการคลังจากประเทศอุตสาหกรรมหลัก ทำให้เศรษฐกิจโลกยังคงขยายตัวต่อไปได้ การส่งออกของไทยก็น่าจะได้รับอานิสงส์จากส่วนนี้ด้วย
อย่างไรก็ตาม โจทย์สำคัญของเศรษฐกิจไทยปี 2564 ไม่ได้อยู่ที่การขยายตัวทางเศรษฐกิจว่าจะเป็นเท่าไร แต่อยู่ที่ปัญหาความเหลื่อมล้ำในระบบเศรษฐกิจที่อาจจะถ่างขึ้น ทำให้เศรษฐกิจฟื้นตัวในรูปของ K-Shaped ซึ่งเป็นเชฟที่แตกต่างกันระหว่าง ‘คนรวย’ และ ‘คนจน’
“เราห่วงการฟื้นตัวที่ไม่ทั่วถึง โดยเศรษฐกิจกลุ่มบนยังไปได้แม้ว่าจะเผชิญการระบาดของโรคโควิด-19 ในขณะที่คนกลุ่มล่าง แม้ปัญหาการว่างงานไม่ได้สูง แต่ชั่วโมงการทำงานลดลงไปมาก กระทบต่อรายได้ของคนกลุ่มนี้ จึงอยากชวนคิดว่า เราจะแก้ปัญหานี้อย่างไร เพราะวันนี้ภาครัฐทำได้เพียงการแจกเงินเพื่อประคับประคอง ในอนาคตคงต้องดูว่าจะมีอะไรที่ทำให้เศรษฐกิจระดับล่างพัฒนาได้อย่างยั่งยืนบ้าง โดยเฉพาะเศรษฐกิจต่างจังหวัดซึ่งถือเป็นโจทย์ที่ค่อนข้างยาก”
อมรเทพ จาวะลา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานวิจัย ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย
นริศ สถาผลเดชา หัวหน้าเจ้าหน้าที่บริหาร ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจทีเอ็มบี
นริศ สถาผลเดชา หัวหน้าเจ้าหน้าที่บริหาร ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจทีเอ็มบี ประเมินว่า เศรษฐกิจไทยปี 2564 น่าจะขยายตัวได้เพียง 3.5% หรือกลับมาขยายตัวได้เพียงครึ่งเดียวจากที่คาดว่าจะหดตัวระดับ 7% ในปี 2563 โดยการประเมินดังกล่าวอยู่บนสมมติฐานว่าไม่มีการกลับมาล็อกดาวน์เป็นการทั่วไป เพราะถ้าเป็นกรณีนี้ การขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในปี 2564 คงต่ำกว่าระดับ 3% อย่างแน่นอน
สำหรับพระเอกของปี 2564 คือ การบริโภคภาคเอกชน ซึ่งในกรณีที่ไม่กลับมาล็อกดาวน์อีกรอบ เชื่อว่าการบริโภคภาคเอกชนจะเป็นกำลังขับเคลื่อนหลักที่ทำให้เศรษฐกิจไทยขยายตัวได้
“ถ้าดูการบริโภคสินค้าคงทนถือว่าฟื้นตัวได้ดี โดยเฉพาะยอดขายรถยนต์ที่กลับมาเท่ากับช่วงก่อนเกิดโควิด-19 แล้ว สะท้อนว่าคนมีกำลังซื้อแต่ไม่กล้าใช้จ่ายเต็มที่ พอสถานการณ์เริ่มดีขึ้นก็เริ่มกลับมาใช้จ่าย ดังนั้นหากเราคุมสถานการณ์โควิด-19 อยู่ และไม่กลับไปล็อกดาวน์ใหม่ ในปี 2564 การบริโภคภาคเอกชนน่าจะเป็นพระเอกของปี”
ส่วนการลงทุนภาคเอกชนเชื่อว่ายังไม่ฟื้นตัว เพราะถ้าดูยอดการปล่อยสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ในช่วงที่ผ่านมาจะเห็นว่าขยายตัวเฉพาะสินเชื่อรายใหญ่ ในขณะที่สินเชื่อ SMEs ยังหดตัวราว 4-5% ดังนั้นการลงทุนในปี 2564 จึงยังไม่ใช่พระเอกหลัก
นริศกล่าวว่า สาเหตุที่การลงทุนภาคเอกชนยังไม่ฟื้นตัว ส่วนหนึ่งมาจากการส่งออกที่มีแนวโน้มฟื้นตัวช้า ทำให้ความจำเป็นในการเพิ่มกำลังการผลิตเพื่อการส่งออกลดลงตามไปด้วย ซึ่งอาจจะต้องรอการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) แต่นักลงทุนกลุ่มนี้ก็รอดูความชัดเจนจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ในประเทศไทยอยู่
“ปี 2564 ดูแล้วการลงทุนในส่วนของงานก่อสร้างคงชะลอตัว เพราะภาคอสังหาริมทรัพย์เองก็ยังมีซัพพลายที่เหลืออยู่เยอะ ส่วนการลงทุนพวกเครื่องจักรก็ต้องไปลุ้นให้บริษัทใหญ่ๆ ลงทุนเพิ่ม แต่ถ้าดูกำลังผลิตของผู้ส่งออกเวลานี้ยังเหลืออยู่อีกเยอะ ยกเว้นจะเป็นการลงทุนในอุตสาหกรรมใหม่ๆ แต่พวกนี้ก็ต้องรอต่างชาติเข้ามา ซึ่งเวลานี้ยังทำได้ไม่เต็มที่นักเพราะติดปัญหาเรื่องโควิด-19”
ส่วนภาคการส่งออก ในปี 2564 อาจทำได้เพียงการพยุงเศรษฐกิจเท่านั้น โดย ศูนย์เคราะห์เศรษฐกิจทีเอ็มบีประเมินการส่งออกปี 2564 ขยายตัวราว 4.2% มาจากปัจจัยทั้งภายในและภายนอกประเทศ โดยปัจจัยภายในเป็นเรื่องโครงสร้างสินค้าส่งออกของไทยที่ไม่ตรงกับความต้องการของโลก สะท้อนผ่านการส่งออกเดือนพฤศจิกายนที่ยังคงหดตัวในระดับ 3.6% เทียบกับอีกหลายประเทศในภูมิภาคที่เริ่มกลับมาขยายตัว
นอกจากนี้เศรษฐกิจโลกยังมีแนวโน้มฟื้นตัวช้าจากการกลับมาระบาดรอบใหม่ของโควิด-19 ทำให้เศรษฐกิจหลายประเทศเริ่มสะดุด ส่งผลต่อการค้าโลกที่อาจชะลอตัวลง
สำหรับภาคการท่องเที่ยวในปี 2564 ยังประเมินสถานการณ์ได้ค่อนข้างยาก เพราะยังมีความไม่ชัดเจนอยู่มาก
นริศกล่าวด้วยว่า ในส่วนของนโยบายการเงิน เชื่อว่าธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จะคงดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 0.5% ตลอดทั้งปี 2564 แต่หากสถานการณ์เศรษฐกิจชะลอตัวลงมากกว่าคาด เชื่อว่า ธปท. จะใช้วิธีให้ธนาคารพาณิชย์ลดการนำส่งค่าธรรมเนียมบนฐานเงินฝากเข้าสู่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาสถาบันการเงิน (FIDF) เพิ่มเติม
โดย ศรัณย์ กิจวศิน
Source: The Standard Wealth

คลิก


Cr.Bank of Thailand Scholarship Students
-------------------------------------------------------------------------

เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี !!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b 

Line ID:@fxhanuman
Web : https://www.fxhanuman.com
Web : https://www.eluforex.com/
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/

เยี่ยมชม partner ของเราที่ Eluforex รีวิวโบรกเกอร์ Forex

#forex #ลงทุน #peppers #xm #fbs #exness #icmarkets #avatrade #fxtm #tickmill #fxpro #fxopen #fxcl #forex4you

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"