forex_calendar

1.  ตั้งเวลาให้ตรงกับประเทศไทยคือ (GMT+7:00) Bangkok, Hanoi, Jakarta
2.  ไว้สำหรับเลือกวันที่ต้องการดูข่าว
3.  เวลาข่าวออก
4.  ตระกูลเงินของข่าว
5.  ความรุนแรงของข่าว
6.  เหตุการณ์ของข่าว
7.  ค่าตัวเลขจริงที่ออก
8.  ค่าตัวเลขคาดการณ์
9.  ค่าตัวเลขครั้งก่อน

forex_calendar

เมื่อถึงเวลาข่าวออกตัวเลขค่าจริงจะแสดงออกมาในช่อง Actual ซึ่งจะมีสีแตกต่างกันดังนี้

  • ตัวเลขออกเป็นสีเขียวแสดงตัวเลขดีกว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีแดงแสดงว่าตัวเลขแย่กว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีดำแสดงว่าตัวเลขเท่ากับค่าที่คาดการณ์หรือใกล้เคียงกับสถิติเดิม (Previous)

 

สิ่งที่ต้องสนใจในการเทรดข่าว Forex

 

1.  เรื่องค่าสกุลเงิน ถ้าเทรดสกุลไหนก็ต้องสนใจเฉพาะสกุลนั้น เช่นถ้าเราเช่น EUR/USD ก็สนใจเฉพาะข่าวของ USD และ EUR และเราต้องรู้ด้วยว่าถ้าข่าวออกมาจะทำให้ค่าเงินเราขึ้นหรือลง เช่น ถ้าเราเล่น EUR/USD ถ้าข่าวดอลลาร์สหรัฐออกมาดีแสดงคู่เงินที่มี USD อยู่หลังกราฟจะลง แต่ถ้าข่าว USD ออกมาไม่ดีกราฟจะขึ้น ในทางกลับกันถ้าข่าว EUR ออกมาดีกราฟจะขึ้นแต่ถ้าข่าว EUR ออกมาไม่ดีกราฟจะลง

2. เรื่องระดับความแรงของข่าว ระดับความแรงขอข่าวจะมีสามระดับดังรูป

forex_calendar

3. ค่าตัวเลขจริงที่ออก(Actual) ถ้าค่าตัวเล่นจริงที่ออกมาต่างจากค่าก่อนหน้า(Previous)มาก ยิ่งมีผลทำให้ค่าเงินวิ่งขึ้นลงแรงมาก แต่ก็ขึ้นอยู่กับความแรงของข่าวด้วย

เงินฝากท่วม-แบงก์แห่ดัมพ์ดอกเบี้ยกู้ เปิดศึกแย่งลูกค้ารายใหญ่

เงินฝากท่วม-แบงก์เปิดศึกดัมพ์ดอกเบี้ยชิงลูกค้าธุรกิจขนาดใหญ่เครดิตดี “ศูนย์วิจัยกสิกรไทย” เผยตลาดหันใช้ราคาแข่งขันดึงลูกค้าเสี่ยงต่ำ หลังต้นทุนออกหุ้นกู้เพิ่มขึ้น 0.30-1.45% “กรุงไทย” ยอมรับแข่งดุ โดยเฉพาะสินเชื่อระยะสั้น 1-3 เดือน ชี้ให้ดอกเบี้ยถูกยังไงก็ไม่ขาดทุน

“เกียรตินาคินภัทร” เผยเงินฝากแบงก์ท่วมทั้งระบบ เร่งระบายปล่อยกู้ลูกค้าน้ำดี ดอกเบี้ยต่ำ 1-1.50% คุ้มกว่าฝาก ธปท.ย้ำตลาดระดมทุนผันผวน บริษัทขนาดกลาง-ใหญ่พับแผนออกหุ้นกู้แห่ใช้บริการสินเชื่อแทน

ต้นทุนออกหุ้นกู้ขยับ
นางสาวธัญญลักษณ์ วัชระชัยสุรพล รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เปิดเผยกับ “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า หากดูแนวโน้มอัตราการเติบโตสินเชื่อธนาคารพาณิชย์ทั้งระบบในปี 2563 จะพบว่าในช่วงไตรมาส 2-3 สินเชื่อที่ขยายตัวได้ดีจะมาจากสินเชื่อธุรกิจขนาดใหญ่ โดยเฉพาะกลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่ที่มีความเสี่ยงน้อยและขยายตัวได้ จะเห็นธนาคารพาณิชย์หันไปแข่งขันปล่อยสินเชื่อด้วยการเสนอดอกเบี้ยต่ำมากขึ้น เพราะตลาดกลุ่มนี้ค่อนข้างเล็ก จึงต้องใช้ราคาในการชิงเค้กพร้อมเสนอโซลูชั่นให้ลูกค้า ทั้งมองว่าแนวโน้มการแข่งขันราคาจะเห็นภาพต่อเนื่องไปในปี 2564
แม้ว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบาย (RP) มีทิศทางลดลงอีกในระยะข้างหน้าตามการผ่อนคลายนโยบายการเงินของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) แต่จะเห็นว่าแนวโน้มการระดมทุนผ่านตลาดหุ้นกู้ของธุรกิจอาจไม่ได้รับอานิสงส์จากดอกเบี้ยต่ำอย่างเต็มที่ เพราะหากดูส่วนต่างอัตราผลตอบแทนของตราสารหนี้ภาคเอกชน (หุ้นกู้) ที่เพิ่มขึ้น เทียบกับพันธบัตรรัฐบาลอายุไม่เกิน 3 ปี โดยเฉพาะบริษัทที่อยู่ในกลุ่มเครดิตเรตติ้งต่ำที่ถูกมองว่ามีความเสี่ยงสูง ทำให้มีต้นทุนการระดมทุนออกหุ้นกู้สูงขึ้น
โดยพบว่าช่วง 10 เดือนแรก ต้นทุนระดมทุนผ่านตลาดหุ้นกู้ยังสูงกว่าช่วงก่อนโควิด-19 ราว 0.30-1.45% โดยสัดส่วนหุ้นกู้ออกใหม่แบ่งตามอันดับเครดิต พบว่า ประมาณ 60% จะอยู่ในเรตติ้ง A และ BBB สำหรับเรตติ้ง AA มีประมาณ 11.8% และเรตติ้ง AAA อยู่ที่ประมาณ 20.8%
“ขณะที่การปล่อยสินเชื่อแบงก์ จะเห็นอยู่ในโหมดการใช้ราคาในการชิงเค้กกลุ่มลูกค้าครีม ๆ ที่มีจำนวนรายไม่มาก เพื่อแย่งปล่อยกู้ เนื่องจากกลุ่มนี้มีอำนาจในการต่อรอง เพราะความเสี่ยงต่ำ ได้ราคาต้นทุนการเงินดี อัตราดอกเบี้ยใช้ MLR ลบเยอะ ๆ แต่ทั้งนี้ลูกค้าก็ต้องมีแผนธุรกิจที่ชัดเจนด้วย”
แบงก์หั่นดอกเบี้ยแย่งลูกค้าดี
ด้านนายเอกชัย เตชะวิริยะกุล รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสายงาน ธุรกิจขนาดใหญ่ 1 ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยกับ “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ภาพรวมการแข่งขันการปล่อยสินเชื่อให้ลูกค้าธุรกิจขนาดใหญ่ ยอมรับว่าทุกธนาคารเริ่มหันมาแข่งปล่อยสินเชื่อด้วยการเสนออัตราดอกเบี้ยที่ต่ำมากขึ้น เนื่องจากลูกค้าเหล่านี้มีความเสี่ยงน้อยและเกรดค่อนข้างดี และใช้บริการหลายธนาคาร ซึ่งลูกค้าจะนิยมใช้บริการธนาคารที่เสนออัตราดอกเบี้ยเงินกู้ต่ำที่สุด
“ที่เห็นว่าแบงก์หันมาแข่งขันปล่อยกู้ดอกเบี้ยต่ำ จะเป็นกลุ่มลูกค้าขนาดใหญ่และมีความเสี่ยงต่ำ ซึ่งลูกค้ากลุ่มนี้จะดูว่าใครให้ต้นทุนที่ถูกที่สุด ประกอบกับส่วนใหญ่เป็นการปล่อยสินเชื่อหมุนเวียนระยะสั้น 1-3 เดือน ทำให้ธนาคารสามารถเสนออัตราดอกเบี้ยที่ถูกได้ เพราะปล่อยสินเชื่อเหล่านี้ไม่ได้มีความเสี่ยงมากนัก และไม่ได้ขาดทุนจึงเสนอดอกเบี้ยที่ต่ำได้ แต่ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับเครดิตของลูกค้าแต่ละราย เพราะต้นทุนการปล่อยสินเชื่อจะคิดตามความเสี่ยง”
สำหรับแนวโน้มสินเชื่อธุรกิจขนาดใหญ่ในปี 2564 มองว่าอัตราการขยายตัวจะสอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจโดยรวม ซึ่งธนาคารต้องมองหาโอกาสในการเติบโตของกลุ่มธุรกิจและกลุ่มลูกค้าใหม่ ๆ ควบคู่กับการดูแลลูกค้าเก่า อย่างไรก็ดี มองว่าภาคธุรกิจเริ่มมีการปรับตัวได้ระดับหนึ่งจากผลกระทบการแพร่ระบาดของโควิด-19 และพ้นภาวะวิกฤตความเสี่ยงแล้ว ซึ่งลูกค้าเองมีช่องทางการใช้แหล่งเงินทุนได้จากสินเชื่อธนาคารและการระดมทุนผ่านตลาดตราสารหนี้ได้
เงินฝากล้น-ตลาดหุ้นกู้ผันผวน
นายสำมิตร สกุลวิระ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ และประธานสายสินเชื่อธุรกิจ ธนาคารเกียรตินาคินภัทร กล่าวกับ “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ตอนนี้ทุกธนาคารมีสภาพคล่องค่อนข้างมาก หากนำไปฝาก ธปท.จะได้ดอกเบี้ย 0.50% ซึ่งในสถานการณ์ที่มีความเสี่ยงหนี้เสีย (เอ็นพีแอล) ที่จะเพิ่มขึ้น และอยู่ในจังหวะที่หลายบริษัทชะลอการออกหุ้นกู้จากภาวะตลาดตราสารหนี้ค่อนข้างผันผวน และต้นทุนการออกแพงกว่าสินเชื่อ ธนาคารจึงหันไปปล่อยสินเชื่อให้กับลูกค้าที่ได้รับการจัดอันดับเครดิต (เรตติ้ง) ดี ด้วยการเสนออัตราดอกเบี้ยต่ำลง
ทั้งนี้ ส่วนหนึ่งมาจากสภาพคล่องที่เหลือในระบบ ถือเป็นโอกาสของลูกค้าที่จะได้ช็อปดอกเบี้ยถูก โดยเฉพาะสินเชื่อหมุนเวียนระยะสั้น หรือตั๋ว P/N ระยะเวลา 1-2 สัปดาห์ หรือ 1-2 เดือน ซึ่งสินเชื่อประเภทนี้อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ยอยู่ที่ 1-5% หากลูกค้าเรตติ้งระดับ A อัตราดอกเบี้ยที่ได้จะเฉลี่ยที่ 1-1.50% อย่างไรก็ดี ลูกค้ากลุ่มนี้อาจจะต้องรับความเสี่ยงเรื่อง market risk ในกรณีที่
อัตราดอกเบี้ยในตลาดปรับเปลี่ยนไปอาจทำให้การต่ออายุสัญญา (rollover) ดอกเบี้ยครั้งต่อไปจะเพิ่มขึ้นตามภาวะตลาด
“ตอนนี้หลายธนาคารรับเงินฝากมากกว่าปล่อยสินเชื่อ ถ้าเอาไปฝาก ธปท.ได้ดอกเบี้ย 0.50% แต่ถ้าไปปล่อยสินเชื่อลูกค้าเครดิตดีหน่อยได้ดอกเบี้ย 1% แบงก์น่าพร้อมปล่อยสินเชื่อ ขณะที่บริษัทขนาดกลางจะออกหุ้นกู้ก็มีต้นทุนดอกเบี้ยแพงกว่าสินเชื่อแบงก์ กลุ่มนี้ก็หันมาใช้สินเชื่อมากขึ้น ซึ่งสอดคล้องกัน เป็นจังหวะที่ลูกค้าเองก็สามารถหาแบงก์ที่เสนอดอกเบี้ยต่ำสุดได้”
สอดคล้องกับนายเสนธิป ศรีไพพรรณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารลูกค้าธุรกิจ ธนาคารทหารไทย กล่าวว่า การแข่งขันในการปล่อยสินเชื่อในกลุ่มลูกค้าธุรกิจขนาดใหญ่จะยังคงเห็นต่อเนื่องไปในปี 2564 เนื่องจากกลุ่มลูกค้าธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) ยังเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยง ทำให้ธนาคารหันไปปล่อยกลุ่มที่มีความเสี่ยงน้อยที่สุด ด้วยการเสนออัตราดอกเบี้ยที่ต่ำลง เช่น เอสเอ็มอีเฉลี่ยดอกเบี้ยอยู่ที่ 7-9% ต่อปี แต่กลุ่มลูกค้าขนาดใหญ่ดอกเบี้ยเฉลี่ยมีตั้งแต่ 1-4% ซึ่งขึ้นอยู่กับขนาดธุรกิจความเสี่ยงและเครดิตของลูกค้า เป็นต้น
รายใหญ่พับแผนหุ้นกู้
ขณะที่นางสาวอริยา ติรณะประกิจ รองกรรมการผู้จัดการ สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย เปิดเผยว่า ยอดรวมการออกหุ้นกู้ถึงสิ้นปีนี้น่าจะอยู่ที่ 7 แสนล้านบาท ต่ำกว่าที่เคยประมาณการไว้ที่ 8 แสนล้านบาท เนื่องจากแผนการระดมทุนออกหุ้นกู้ของบริษัทเอกชนขนาดใหญ่หลายแห่งเปลี่ยนไปขอวงเงินสินเชื่อจากธนาคารแทน เพราะแบงก์เริ่มแข่งขันปล่อยกู้ให้กับธุรกิจรายใหญ่ โดยให้อัตราดอกเบี้ยที่ค่อนข้างจูงใจ
“ช่วงนี้แบงก์เงินเหลือในพอร์ตมาก แต่ก็ระมัดระวังการปล่อยกู้กลุ่มเสี่ยง ดังนั้น กลุ่มลูกค้าดี ๆ เช่น บมจ.ไทยเบฟเวอเรจ และ บมจ.แอสเสทเวิรด์ คอร์ป (AWC) ที่เคยประกาศแผนจะออกหุ้นกู้เพื่อระดมทุนทำโครงการต่าง ๆ ตอนนี้เงียบหายไป เชื่อว่าน่าจะกลับไปขอวงเงินจากแบงก์” นางสาวอริยากล่าว
Source: ประชาชาติธุรกิจออนไลน์

คลิก

----------------------------------------------------------------------------
Cr.Bank of Thailand Scholarship Students

เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี !!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b 

Line ID:@fxhanuman
Web : https://www.fxhanuman.com
Web : https://www.eluforex.com/
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/

เยี่ยมชม partner ของเราที่ Eluforex รีวิวโบรกเกอร์ Forex

#forex #ลงทุน #peppers #xm #fbs #exness #icmarkets #avatrade #fxtm #tickmill #fxpro #fxopen #fxcl #forex4you

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"