forex_calendar

1.  ตั้งเวลาให้ตรงกับประเทศไทยคือ (GMT+7:00) Bangkok, Hanoi, Jakarta
2.  ไว้สำหรับเลือกวันที่ต้องการดูข่าว
3.  เวลาข่าวออก
4.  ตระกูลเงินของข่าว
5.  ความรุนแรงของข่าว
6.  เหตุการณ์ของข่าว
7.  ค่าตัวเลขจริงที่ออก
8.  ค่าตัวเลขคาดการณ์
9.  ค่าตัวเลขครั้งก่อน

forex_calendar

เมื่อถึงเวลาข่าวออกตัวเลขค่าจริงจะแสดงออกมาในช่อง Actual ซึ่งจะมีสีแตกต่างกันดังนี้

  • ตัวเลขออกเป็นสีเขียวแสดงตัวเลขดีกว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีแดงแสดงว่าตัวเลขแย่กว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีดำแสดงว่าตัวเลขเท่ากับค่าที่คาดการณ์หรือใกล้เคียงกับสถิติเดิม (Previous)

 

สิ่งที่ต้องสนใจในการเทรดข่าว Forex

 

1.  เรื่องค่าสกุลเงิน ถ้าเทรดสกุลไหนก็ต้องสนใจเฉพาะสกุลนั้น เช่นถ้าเราเช่น EUR/USD ก็สนใจเฉพาะข่าวของ USD และ EUR และเราต้องรู้ด้วยว่าถ้าข่าวออกมาจะทำให้ค่าเงินเราขึ้นหรือลง เช่น ถ้าเราเล่น EUR/USD ถ้าข่าวดอลลาร์สหรัฐออกมาดีแสดงคู่เงินที่มี USD อยู่หลังกราฟจะลง แต่ถ้าข่าว USD ออกมาไม่ดีกราฟจะขึ้น ในทางกลับกันถ้าข่าว EUR ออกมาดีกราฟจะขึ้นแต่ถ้าข่าว EUR ออกมาไม่ดีกราฟจะลง

2. เรื่องระดับความแรงของข่าว ระดับความแรงขอข่าวจะมีสามระดับดังรูป

forex_calendar

3. ค่าตัวเลขจริงที่ออก(Actual) ถ้าค่าตัวเล่นจริงที่ออกมาต่างจากค่าก่อนหน้า(Previous)มาก ยิ่งมีผลทำให้ค่าเงินวิ่งขึ้นลงแรงมาก แต่ก็ขึ้นอยู่กับความแรงของข่าวด้วย

 '4แบงก์ใหญ่'ชะลอขายหนี้ ภาวะไม่เอื้อ ถูกกดราคา มั่นใจคุมอยู่

“4 แบงก์ใหญ่” เร่งบริหารจัดการหนี้เสียต่อเนื่องส่งท้ายปีหวังคุมหนี้เสียไม่ให้เพิ่มขึ้น กรุงไทยชี้แผนการขายหนี้เสียยังอยู่ในแผนแต่ขอดูภาวะตลอดเอื้อ หากราคาต่ำอาจไม่คุ้ม
ขณะที่ แบงก์กสิกรไทย-กรุงเทพ ยังเน้นบริหารเองเป็นหลัก

ส่วนทีเอ็มบีตั้งเป้าคุมหนี้เสียปีนี้ไม่เกิน 3% ชะลอแผนขายหนี้หวั่นถูกกดราคา

นายผยง ศรีวนิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ปัจจุบันธนาคารยังคงให้ความสำคัญกับการดูแลคุณภาพหนี้ และดูแลลูกหนี้ของธนาคาร ซึ่งเป็นสิ่งที่ธนาคารทำต่อเนื่อง ซึ่งแนวโน้มหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ หรือ เอ็นพีแอล คาดว่าจะทรงตัว หากเทียบกับช่วงไตรมาส 3 ที่ผ่านมา ที่อยู่ที่ 4.21% เนื่องจากลูกหนี้บางส่วน ยังได้รับการช่วยเหลือจากธนาคารตามมาตราการต่างๆ
ทั้งนี้แผนการบริหารหนี้เสียของธนาคาร การขายหนี้เสียออกมาสู่ตลาด ก็ถือว่าเป็นปกติอยู่แล้วที่อยู่ในแผนของธนาคาร เพื่อบริหารหนี้เสียให้อยู่ในระดับที่บริหารจัดการได้ แต่ภาวะแบบนี้ต้องยอมรับว่า เป็นช่วงที่หนี้ที่ขายทอดตลาดมีราคาถูก เพราะอุปทานอุปสงค์ไม่สอดคล้องกัน ดังนั้นหากราคาต่ำมาก ราคาไม่เหมาะสม ธนาคารก็ยังไม่ขายออกมา
“ขายหนี้ตอนนี้ก็ขายหมู เพราะเป็นเทศกาลขายของดีราคาถูก ดังนั้นการขายหนี้ออกมาทอดตลาด เราจำเป็นต้องดูแนวโน้มราคาตลาดด้วยว่าเหมาะสมหรือไม่ หากราคาไม่ได้ เราก็ไม่ขาย ขณะเดียวกันที่ผ่านมาธนาคารพยายามบริหารคุณภาพของพอร์ตสินเชื่อ โดยพยายามถอยออกมาจากพอร์ตที่มีความเสี่ยงสูง และมีความกระจุกตัว เช่น การปล่อยกู้ในอุตสาหกรรมข้าว ที่อดีตมีสัดส่วนสูงถึง 60% ของอุตสาหกรรมรวม หรือการปล่อยกู้ให้กับกลุ่มสหกรณ์ โดยไม่มีหลักประกันที่สูงถึง 70,000 ล้านบาท วันนี้เราลดลงมามาก เหลือปล่อยกู้สหกรณ์เพียง 3 หมื่นล้านบาท และเป็นการปล่อยสินเชื่อที่มีหลักประกัน เหล่านี้ก็ทำให้ความเสี่ยงของตลาดลดลง”
นางสาวขัตติยา อินทรวิชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารกสิกรไทย จำกัด(มหาชน) กล่าวว่า การบริหารหนี้เสียของธนาคาร ยังคงเป็นทิศทางที่ธนาคารยังคงเข้มข้น แม้ในระยะนี้หนี้เสียอาจยังไม่ได้เพิ่มมากนัก เพราะธนาคารมีการเข้าไปดูแลลูกหนี้อย่างใกล้ชิด และช่วยเหลือลูกหนี้ โดยเร่งกระบวนการปรับโครงสร้างหนี้ เพื่อลดความสูญเสีย ที่มีต่อลูกค้าให้มากที่สุด ดังนั้นเชื่อว่าหนี้เสียยังอยู่ในระดับที่สามารถควบคุมได้
ส่วนกลยุทธ์การบริหารหนี้เสียของธนาคาร ธนาคารยังคงใช้นโยบายนำหนี้เสียมาบริหารเอง ซึ่งปัจจุบันยังอยู่ระหว่างการเรียนรู้ในการบริหารหนี้ต่อเนื่อง และยังเชื่อมั่นว่าธนาคารยังสามารถบริหารหนี้ได้มากกว่ากว่าการตัดขายหนี้เสียเหมือนอดีต
นายเดชา ตุลานันท์ ประธานกรรมการบริหาร ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ธนาคารยังคงยึดแนวทางการบริหารหนี้เสียอย่างเข้มงวด และเน้นการบริหารหนี้เสียอย่างระมัดระวัง เพื่อลดโอกาสการเกิดหนี้เสียใหม่ในระบบ ทั้งการเข้าไปดูแลลูกค้า และมีการบริหารดูแลหนี้เสียอย่างเข้มข้นต่อเนื่องไปจนถึงปี 2564 แต่การบริหารหนี้ดังกล่าว ธนาคารยังคงใช้กลยุทธ์บริหารหนี้เสียมากกว่าการขายหนี้ เพราะมองการบริหารหนี้เอง น่าจะเป็นจุดคุ้มทุนมากกว่า และเชื่อว่า หนี้เสียปัจจุบันยังอยู่ในระดับที่บริหารได้ ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนกลยุทธ์ไปสู่การขายหนี้ทอดตลอด
“วันนี้กลยุทธ์เรายังเน้นบริหารเอง ก็ยังเป็นแบบนั้นเหมือนอดีตที่เราเคยทำ เพราะเราบริหารเอง เราก็บริหารได้ และดูแลลูกหนี้ได้ด้วย และเชื่อว่าภายใต้มาตรการของธปท.ที่ผ่อนปรน จะช่วยให้แบงก์เข้าไปดูแลลูกหนี้ และลดโอกาสเกิดหนี้เสียใหม่ได้
นายปิติ ตัณฑเกษม ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ในไตรมาส 4 ธนาคารยังคงเน้น การสำรองหนี้เสียในระดับสูงต่อเนื่อง จากช่วงไตราส 3 ที่ผ่านมา เพื่อรองรับหนี้เอ็นพีแอลที่มีโอกาสเพิ่มขึ้น และคาดจะเห็นธนาคารต้องสำรองหนี้เสียระดับสูงต่อเนื่องไปจนถึงปี 2564 เหมือนทุกธนาคาร
ขณะที่ปัจจุบันหนี้เสียของธนาคารอยู่ที่ระดับ 2.3-2.4% ถือว่าอยู่ในระดับที่ดีมาก ด้วยการบริหารจัดการหนี้เสียอย่างมีประสิทธิภาพ เชื่อว่าสิ้นปี 2563 ธนาคารบริหารหนี้เสียไม่เกินระดับที่ 3% ส่วนแผนการตัดขายหนี้เสียในช่วงเดือนที่เหลือของปีนี้คงชะลอแผนออกไปก่อน เพื่อไม่ให้หนี้เสียกระจุกตัวในท้องตลาดจนทำให้ราคาสินทรัพย์ถูกกดดัน
Source: กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

 

คลิก

----------------------------------------------------------------------------
Cr.Jeerachart Jongsomchai

เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี !!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b 

Line ID:@fxhanuman
Web : https://www.fxhanuman.com
Web : https://www.eluforex.com/
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/

เยี่ยมชม partner ของเราที่ Eluforex รีวิวโบรกเกอร์ Forex

#forex #ลงทุน #peppers #xm #fbs #exness #icmarkets #avatrade #fxtm #tickmill #fxpro #fxopen #fxcl #forex4you

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"