forex_calendar

1.  ตั้งเวลาให้ตรงกับประเทศไทยคือ (GMT+7:00) Bangkok, Hanoi, Jakarta
2.  ไว้สำหรับเลือกวันที่ต้องการดูข่าว
3.  เวลาข่าวออก
4.  ตระกูลเงินของข่าว
5.  ความรุนแรงของข่าว
6.  เหตุการณ์ของข่าว
7.  ค่าตัวเลขจริงที่ออก
8.  ค่าตัวเลขคาดการณ์
9.  ค่าตัวเลขครั้งก่อน

forex_calendar

เมื่อถึงเวลาข่าวออกตัวเลขค่าจริงจะแสดงออกมาในช่อง Actual ซึ่งจะมีสีแตกต่างกันดังนี้

  • ตัวเลขออกเป็นสีเขียวแสดงตัวเลขดีกว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีแดงแสดงว่าตัวเลขแย่กว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีดำแสดงว่าตัวเลขเท่ากับค่าที่คาดการณ์หรือใกล้เคียงกับสถิติเดิม (Previous)

 

สิ่งที่ต้องสนใจในการเทรดข่าว Forex

 

1.  เรื่องค่าสกุลเงิน ถ้าเทรดสกุลไหนก็ต้องสนใจเฉพาะสกุลนั้น เช่นถ้าเราเช่น EUR/USD ก็สนใจเฉพาะข่าวของ USD และ EUR และเราต้องรู้ด้วยว่าถ้าข่าวออกมาจะทำให้ค่าเงินเราขึ้นหรือลง เช่น ถ้าเราเล่น EUR/USD ถ้าข่าวดอลลาร์สหรัฐออกมาดีแสดงคู่เงินที่มี USD อยู่หลังกราฟจะลง แต่ถ้าข่าว USD ออกมาไม่ดีกราฟจะขึ้น ในทางกลับกันถ้าข่าว EUR ออกมาดีกราฟจะขึ้นแต่ถ้าข่าว EUR ออกมาไม่ดีกราฟจะลง

2. เรื่องระดับความแรงของข่าว ระดับความแรงขอข่าวจะมีสามระดับดังรูป

forex_calendar

3. ค่าตัวเลขจริงที่ออก(Actual) ถ้าค่าตัวเล่นจริงที่ออกมาต่างจากค่าก่อนหน้า(Previous)มาก ยิ่งมีผลทำให้ค่าเงินวิ่งขึ้นลงแรงมาก แต่ก็ขึ้นอยู่กับความแรงของข่าวด้วย

ธปท.พยุงค่าเงินหวั่นหลุด30บาท หวังลดผลกระทบผู้ส่งออก-เศรษฐกิจ

ธปท.ชี้ ไม่ได้นิ่งนอนใจเงินบาทแข็งค่า-เข้าดูแลเพื่อชะลอความผันผวน บล.ไทยพาณิชย์ ชี้ ค่าเงินบาทวานนี้หลุด 30 บาท เหตุ เม็ดเงินต่างชาติไหลเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้น ส่งผล ธปท.เข้ามาดูแลค่าเงินบาท เพื่อพยุงไม่ให้ค่าเงินแข็งค่ามากไป

นางสาววชิรา อารมย์ดี ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า หลังจากข่าวความคืบหน้าการพัฒนาวัคซีนและทิศทางการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกที่มีแนวโน้มดีขึ้นในช่วงเดือน พ.ย. เงินดอลลาร์ อ่อนค่าลงอย่างรวดเร็วประมาณ 3.5% ซึ่งเป็นระดับอ่อนค่าที่สุดในรอบ 2 ปีครึ่ง ทำให้สกุลเงินภูมิภาคหลายประเทศปรับแข็งค่าขึ้นมาก อาทิ เงินหยวนแตะระดับแข็งค่าในรอบ 2 ปีครึ่ง เงินวอนเกาหลีใต้และเงินดอลลาร์สิงคโปร์แตะระดับแข็งค่าในรอบ 3 ปี เงินดอลลาร์ไต้หวันแตะระดับแข็งค่าในรอบ 23 ปี
ขณะที่ เงินบาทก็ได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกเช่นเดียวกัน โดยตั้งแต่เดือน พ.ย. ที่ผ่านมา เงินบาทแข็งค่าขึ้น 3.5% เทียบกับเงินวอนเกาหลีใต้ 4.5% และเงินรูเปียห์อินโดนีเซีย 3.9% อย่างไรก็ตาม เมื่อเทียบกับต้นปี เงินบาทยังอ่อนค่าอยู่เล็กน้อย
ทั้งนี้ ธปท. ไม่ได้นิ่งนอนใจต่อการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทและได้เข้าดูแลเพื่อชะลอความผันผวนที่จะกระทบต่อการปรับตัวของภาคเศรษฐกิจจริง รวมถึงจะติดตามสถานการณ์ในตลาดการเงินอย่างใกล้ชิด
นายจิติพล พฤกษาเมธานันท์ ผู้อำนวยการอาวุโส Chief Investment Office บริษัทหลักทรัพย์ไทยพาณิชย์ (SCBS CIO) กล่าวว่า หากดูทิศทางค่าเงินบาทวานนี้ (9 ธ.ค.) ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น โดยหลุดที่ระดับ 30.00 บาทต่อดอลลาร์ ไปที่ระดับ 29.98 บาทต่อดอลลาร์ และกลับมาปิดที่ระดับ 30.04 บาทต่อดอลลาร์ ไม่เปลี่ยนแปลงเทียบกับวันก่อนหน้า
สำหรับสาเหตุผลที่ค่าเงินบาทแข็งค่ามากขึ้นหลุดระดับ 30.00 บาทต่อดอลลาร์ เชื่อว่า มาจากการเข้ามาเก็งกำไรของนักลงทุนต่างชาติ ที่เข้ามาลงทุนในหลักทรัพย์ โดยเฉพาะตลาดหุ้น ซึ่งส่งผลให้ตลาดเคลื่อนไหวผันผวน ส่งผลให้เห็นการเคลื่อนไหวของธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)ในการเข้ามาดูแลเงินบาท เพื่อพยุงไม่ให้บาทแข็งค่ามากไปกว่าระดับดังกล่าว เพื่อลดผลกระทบที่มีต่อภาคธุรกิจ ขณะเดียวกัน เชื่อว่าหลังจากนี้จนไปถึงสิ้นปี 2563 อาจเห็นค่าเงินบาทหลุดระดับ 30.00 บาทต่อดอลลาร์อีกได้ เพราะยังเห็นการเข้ามาลงทุนต่างชาติอย่างต่อเนื่องจนถึงสิ้นปี
“แต่ระยะถัดไป ธปท.ไม่ควรยึดติดกับระดับราคามากเกินไป หากค่าเงินบาทแข็งค่า 30 บาทต่อดอลลาร์หรือ ลงไปที่ 29.90 บาทต่อดอลลาร์ ก็ไม่ได้ทำให้ตลาดเปลี่ยนแปลงขนาดนั้น แต่ควรจะปล่อยตามกลไกตลาด และควรสื่อสารถึงแนวโน้มค่าเงินบาท ว่าอ่อนค่าหรือแข็งค่า เพื่อให้ผู้ส่งออกมองเป็นสัญญาณเตือนภัยว่าดอลลาร์มีโอกาสอ่อน และ 30 บาทต่อดอลลาร์ เพื่อดูแลปรับพอร์ตรับความเสี่ยงในอนาคต
นายยรรยง ไทยเจริญ รองผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสูงสุด Economic Intelligence Center ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ระยะข้างหน้า มองดอลลาร์น่าจะอ่อนค่าต่อเนื่อง จากเศรษฐกิจโลกฟื้นตัว สงครามการค้าลดความรุนแรงขึ้น ดังนั้นน่าจะเห็นการไหลข้าวของเงินต่างชาติเข้ามาเอเชีย และไทยต่อเนื่องถึงปี 2564 และดุลบัญชีเดินสะพัดที่เกินดุลต่อเนื่อง กดดันค่าเงินบาทให้แข็งค่าต่อเนื่อง โดยคาดปีหน้าอยู่ในกรอบ 29.50-30.50 บาทต่อดอลลาร์
โดยหากดูการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาท พบว่า ตั้งแต่ต้นปี จนถึง 8 ธ.ค. ค่าเงินบาทอ่อนค่าลง 1.2% แต่หากเทียบกับสิ้นต.ค. จนถึงปัจจุบันพบว่าค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น 3.6% แต่หากย้อนดูข้อมูลในอดีตพบว่าค่าเงินบาทแข็งค่าสะสมต่อเนื่อง โดย 7 ปีที่ผ่านมา ค่าเงินบาทหากเทียบกับค่าเงินประเทศคู่ค้าคู่แข่งของไทย พบว่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น 20.6% นับตั้งแต่ปี 2557 ขณะที่ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น 9.8% หากเทียบกับดอลลาร์ ซึ่งเป็นผลมาจากการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดของไทยที่สูงต่อเนื่อง ทำให้ไทยมีสถานะเป็น Regiomal Safe Haven
นายกอบสิทธิ์ ศิลปชัยผู้บริหารงานวิจัยเศรษฐกิจและตลาดทุน ธนาคารกสิกรไทย กล่าวว่า ค่าเงินบาทที่แข็งค่าหลุดระดับ 30.00 บาท มาจากนักลงทุนที่คลายความกังวลเกี่ยวกับการออกมาตรการดูแลค่าเงินบาทของธปท.หลังจากมีการยกเลิก แถลง เมื่อวันที่ 9 ธ.ค.ที่ผ่านมา ส่งผลให้มีแรงซื้อกลับมาในตลาดหุ้น บอนด์ไทย โดยเฉพาะในตลาดหุ้น บางกลุ่มที่ราคายังไม่ได้ปรับตัวเพิ่มขึ้น เพราะนักลงทุนมองว่า น่าจะเป็นช่วงที่เหมาะสมในการเข้ามาลงทุน เนื่องจากอาจได้กำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน และโอกาสที่จะได้ผลตอบแทนจากการลงทุนมากขึ้น ซึ่งหนุนให้มีแรงเข้ามาซื้อลงทุนในหลักทรัพย์มากขึ้น
Source: กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

คลิก

----------------------------------------------------------------------------
Cr.Bank of Thailand Scholarship Students

เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี !!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b 

Line ID:@fxhanuman
Web : https://www.fxhanuman.com
Web : https://www.eluforex.com/
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/

เยี่ยมชม partner ของเราที่ Eluforex รีวิวโบรกเกอร์ Forex

#forex #ลงทุน #peppers #xm #fbs #exness #icmarkets #avatrade #fxtm #tickmill #fxpro #fxopen #fxcl #forex4you

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"