forex_calendar

1.  ตั้งเวลาให้ตรงกับประเทศไทยคือ (GMT+7:00) Bangkok, Hanoi, Jakarta
2.  ไว้สำหรับเลือกวันที่ต้องการดูข่าว
3.  เวลาข่าวออก
4.  ตระกูลเงินของข่าว
5.  ความรุนแรงของข่าว
6.  เหตุการณ์ของข่าว
7.  ค่าตัวเลขจริงที่ออก
8.  ค่าตัวเลขคาดการณ์
9.  ค่าตัวเลขครั้งก่อน

forex_calendar

เมื่อถึงเวลาข่าวออกตัวเลขค่าจริงจะแสดงออกมาในช่อง Actual ซึ่งจะมีสีแตกต่างกันดังนี้

  • ตัวเลขออกเป็นสีเขียวแสดงตัวเลขดีกว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีแดงแสดงว่าตัวเลขแย่กว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีดำแสดงว่าตัวเลขเท่ากับค่าที่คาดการณ์หรือใกล้เคียงกับสถิติเดิม (Previous)

 

สิ่งที่ต้องสนใจในการเทรดข่าว Forex

 

1.  เรื่องค่าสกุลเงิน ถ้าเทรดสกุลไหนก็ต้องสนใจเฉพาะสกุลนั้น เช่นถ้าเราเช่น EUR/USD ก็สนใจเฉพาะข่าวของ USD และ EUR และเราต้องรู้ด้วยว่าถ้าข่าวออกมาจะทำให้ค่าเงินเราขึ้นหรือลง เช่น ถ้าเราเล่น EUR/USD ถ้าข่าวดอลลาร์สหรัฐออกมาดีแสดงคู่เงินที่มี USD อยู่หลังกราฟจะลง แต่ถ้าข่าว USD ออกมาไม่ดีกราฟจะขึ้น ในทางกลับกันถ้าข่าว EUR ออกมาดีกราฟจะขึ้นแต่ถ้าข่าว EUR ออกมาไม่ดีกราฟจะลง

2. เรื่องระดับความแรงของข่าว ระดับความแรงขอข่าวจะมีสามระดับดังรูป

forex_calendar

3. ค่าตัวเลขจริงที่ออก(Actual) ถ้าค่าตัวเล่นจริงที่ออกมาต่างจากค่าก่อนหน้า(Previous)มาก ยิ่งมีผลทำให้ค่าเงินวิ่งขึ้นลงแรงมาก แต่ก็ขึ้นอยู่กับความแรงของข่าวด้วย

ประเทศไทยในกับดักเทคโนโลยีปานกลาง

เมื่อนรกเป็นของเราและสวรรค์เป็นของคนอื่น - Kunal Sen นักเศรษฐศาสตร์การเมืองผู้มีชื่อเสียงแห่ง University of Manchester ชี้ว่า ตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 จนถึงปี 2005 มีเพียงประเทศ 13 ประเทศในโลกเท่านั้นที่สร้างการขยายตัวทางเศรษฐกิจได้มากกว่าหรือเท่ากับ 7%

ต่อปี ต่อเนื่องเป็นระยะเวลา 25 ปีหรือมากกว่า และหากตัดประเทศพัฒนาแล้วอย่างญี่ปุ่น นครรัฐอย่างมอลตา ฮ่องกง และสิงคโปร์ รวมทั้งประเทศที่มีทรัพยากรน้ำมันล้นเหลืออย่างโอมานออกไป ก็จะเหลือเพียงบอตสวานา บราซิล จีน อินโดนีเซีย เกาหลีใต้ มาเลเซีย ไต้หวัน และไทย รวม 8 ประเทศเท่านั้น

เมื่อพิจารณา 8 ประเทศดังกล่าว มีเพียงเกาหลีใต้และไต้หวันเท่านั้นที่สามารถปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจจนกลายเป็นประเทศ ‘รายได้สูง’ และ ‘ผลิตสินค้าเทคโนโลยีสูง’ ได้ในช่วงปลายทศวรรษที่ 1990 ทั้งสองประเทศจึงถูกหยิบยกขึ้นมาพิจารณาในฐานะตัวแบบที่ประสบความความสำเร็จเสมอ ในทางกลับกัน ประเทศที่เหลือ โดยเฉพาะในกลุ่มเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างอินโดนีเซีย มาเลเซีย และไทย แม้ว่าจะพัฒนาเศรษฐกิจขึ้นมาในระยะเวลาไล่เลี่ยกัน แต่กลับมีทิศทางการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลง รวมทั้งยังคงมีรายได้และเทคโนโลยีระดับปานกลางเท่านั้น
ในกรณีของไทย หากพิจารณาการเติบโตทางเศรษฐกิจเฉลี่ยในระยะยาว [1] จากภาพที่ 1 [2] จะพบว่าการเจริญเติบโตมีลักษณะลดลงมาเป็นลำดับ โดยลดลงจากเฉลี่ยอยู่ที่ 7.8% ต่อปีในช่วงปี 1986 ถึง 1995 มาอยู่ที่ 3.9% ระหว่างปี 2001 ถึง 2010 และลดลงมาอีกจนอยู่ที่ 2.8% หลังจากปี 2011 จนถึงปัจจุบัน การที่ค่าเฉลี่ยการเติบโตทางเศรษฐกิจไทยตกต่ำลงมาตลอด 20 ปีที่ผ่านมานี้ สะท้อนถึงปัญหาเชิงโครงสร้างของเศรษฐกิจไทย มากกว่าที่จะเป็นเพียงปัญหาการจัดทำนโยบายผิดพลาด หรือวิกฤตเศรษฐกิจเพียงครั้งคราว
ในบทความนี้ผู้เขียนขอเสนอว่า ปัญหาเชิงโครงสร้างที่สำคัญอย่างมากคือ การที่ไทยไม่สามารถปรับโครงสร้างการผลิตไปสู่เทคโนโลยีระดับสูงได้อย่างว่องไวมากเพียงพอ
บทความนี้จะค่อยๆ พาผู้อ่านสำรวจ 3 ประเด็นสำคัญ ประเด็นแรกได้แก่ ดัชนีต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการผลิตและส่งออกสินค้าเทคโนโลยีสูง ซึ่งชี้ให้เห็นอย่างชัดเจนว่าประเทศไทยไม่สามารถไล่กวดประเทศผู้นำอย่างเกาหลีใต้ได้ทัน และถูกประเทศจีนซึ่งเติบโตว่องไวแซงหน้าไปแล้ว ประเด็นที่สอง การติดกับดักเทคโนโลยีปานกลางที่เกิดจาก ‘โครงสร้างเศรษฐกิจแบบช่วงชั้น’ มีทุนขนาดใหญ่ครอบงำเศรษฐกิจ ซึ่งทำให้การเติบโตทางเศรษฐกิจมาจากการกดค่าจ้างและการขยายส่วนแบ่งตลาดมากกว่าการใช้เทคโนโลยี และประเด็นสุดท้าย บทความจะชี้ให้เห็นสาเหตุสำคัญว่าทำไมรัฐไทยไม่สามารถช่วยแก้ปัญหา หรือพาประเทศก้าวข้ามกับดักเทคโนโลยีปานกลางไปได้
กับดักเทคโนโลยีปานกลาง
นักเศรษฐศาสตร์เชื่อว่า ระดับเทคโนโลยีเป็นปัจจัยสำคัญกำหนดการเติบโตทางเศรษฐกิจในระยะยาว นักเศรษฐศาสตร์พัฒนาจำนวนมากจึงมุ่งความสนใจไปที่การปรับโครงสร้างการผลิตให้มีสินค้าและอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีอย่างเข้มข้นมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเชื่อว่าจะทำให้รายได้ประชากรต่อหัวสูงขึ้น ในบทความนี้จะลองยกตัวแปรจำนวนหนึ่งขึ้นมาฉายให้เห็นสถานการณ์ด้านเทคโนโลยีของไทยเมื่อเทียบเคียงกับ
(1) เกาหลีใต้ ประเทศที่พัฒนาขึ้นมาพร้อมไทยแต่ปรับตัวจนกลายเป็นประเทศรายได้สูงสำเร็จ และ
(2) จีน ประเทศที่เติบโตอย่างว่องไวแต่ยังไปไม่ถึงระดับรายได้สูง
ตัวแปรแรกได้แก่ สัดส่วนการส่งออกสินค้าเทคโนโลยีขั้นกลางและสูง (medium and high-tech exports ratio) จากภาพที่ 2 จะเห็นว่า เกาหลีใต้มีสัดส่วนการส่งออกสินค้าเทคโนโลยีขั้นกลางและสูงเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจากราว 50% ของสินค้าส่งออกกลุ่มอุตสาหกรรมในปี 1990 มาแตะที่ 70% ในปี 2000 และค่อยๆ เพิ่มสูงขึ้นมาอยู่ที่ 74.2% ในปัจจุบัน เมื่อหันกลับมามองไทย จะพบว่าตลอดสามทศวรรษที่ผ่านมา เราไม่สามารถถมช่องว่างระหว่างไทยและเกาหลีราว 10-15% ให้หดแคบลงได้เลย กลับกลายเป็นประเทศจีนที่สามารถปรับตัวได้อย่างรวดเร็ว และมีสัดส่วนการส่งออกสินค้าเทคโนโลยีปานกลางและสูงเพิ่มมากขึ้นจากราว 28.4% ในปี 1990 มาใกล้เคียงกับประเทศไทยที่ราว 60.5% ในปัจจุบัน
ยิ่งไปกว่านั้น หากพิจารณาเฉพาะสัดส่วนการส่งออกสินค้า ‘เทคโนโลยีสูง’ ตามภาพที่ 3 โดยพิจารณาจากการใช้งบวิจัยและพัฒนาในการผลิตสินค้าอย่างเข้มข้น เช่น การผลิตเครื่องบิน คอมพิวเตอร์ ยารักษาโรค หรือเครื่องจักรกลไฟฟ้า ฯลฯ จะพบว่า จีนก้าวข้ามไทยไปอยู่ระดับเดียวกับเกาหลีใต้เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ในปี 2018 ทั้งเกาหลีใต้และจีนต่างมีสัดส่วนการส่งออกสินค้าเทคโนโลยีสูงอยู่ที่มากกว่า 30% ของมูลค่าการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมทั้งหมด แต่ไทยกลับมีสัดส่วนอยู่ที่เพียง 23.3% เท่านั้น ข้อมูลเบื้องต้นเหล่านี้ สะท้อนให้เห็นจังหวะการก้าวที่ล่าช้าของไทยเมื่อเปรียบเทียบกับเกาหลีใต้ที่ประสบความสำเร็จแล้ว และจีนที่พัฒนามาทีหลัง
เมื่อเราเห็นภาพรวมของการส่งออกสินค้าเทคโนโลยีระดับกลางและสูงแล้ว ถัดมาเราจะลองพิจารณาลงลึกระดับ ‘อุตสาหกรรม’ เพื่อให้เห็นภาพชัดเจนมากยิ่งขึ้น แต่ด้วยพื้นที่เนื้อหาที่จำกัด บทความจึงอยากชวนผู้อ่านพิจารณาเพียงแค่อุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (information and communications technology: ICT) อย่างเดียว [3] ตัวอย่างสินค้าในอุตสาหกรรมนี้ก็เช่น คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ มือถือและอุปกรณ์สื่อสัญญาณ ซอฟต์แวร์ และบริการที่เกี่ยวข้องกับ ICT เป็นต้น
3 สาเหตุที่อุตสาหกรรม ICT มีความสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ
ประการแรก William R. Thompson แห่ง Indianna University วิเคราะห์การพัฒนาของเศรษฐกิจโลกระยะยาว ซึ่งเรียกว่าช่วงคลื่นคอนดราทีฟ (Kondratieff waves: K-waves) [4] เขาพบว่าหลังทศวรรษที่ 1970 เป็นต้นมา ระบบทุนนิยมโลกได้พัฒนาอุตสาหกรรม ICT ขึ้นมาเป็นลำดับ และภายหลังจากปี 2000 อุตสาหกรรม ICT กลายเป็นอุตสาหกรรมหลักที่ขับเคลื่อนทุนนิยมโลกให้เติบโต นัยนี้ การเข้าไปมีส่วนร่วมผลิตและส่งออกสินค้าและบริการในอุตสาหกรรม ICT จึงหมายถึงการเข้าไปมีปฏิสัมพันธ์กับอุตสาหกรรมหลักของระบบเศรษฐกิจโลก
ประการที่สอง นักเศรษฐศาสตร์พบว่า มีเทคโนโลยีบางแบบที่ถูกใช้งานและสร้างประโยชน์ข้ามอุตสาหกรรม เราเรียกเทคโนโลยีแบบนี้ว่าเทคโนโลยีสารพันประโยชน์ (General-Purpose Technologies: GPTs) ในยุคเริ่มต้นปฏิวัติอุตสาหกรรม เทคโนโลยีที่จัดว่าเป็น GPTs คือบรรดาเครื่องจักรไอน้ำ แต่ในปัจจุบันได้เปลี่ยนมาเป็นกระแสไฟฟ้าและ ICT งานของ John Fernald [5] ยืนยันแนวคิดนี้ เขาพบว่าการใช้งานเทคโนโลยี ICT มีผลต่อการปรับตัวสูงขึ้นของผลิตภาพของอุตสาหกรรมอื่นๆ ในระบบเศรษฐกิจอย่างมีนัยสำคัญ การพัฒนาอุตสาหกรรม ICT จึงเป็นเรื่องพึงประสงค์และสำคัญต่อเศรษฐกิจภาพรวม
ประการที่สุดท้าย Keun Lee นักเศรษฐศาสตร์แห่ง Seoul National University เสนอว่า สินค้าและบริการ ICT เป็นอุตสาหกรรมที่เทคโนโลยีมีวัฏจักรสั้น (short-cycle tech) จึงเป็นอุตสาหกรรมที่ทำให้ประเทศกำลังพัฒนาได้เปรียบในการเข้าไปร่วมแข่งขัน ในอุตสาหกรรมเหล่านี้ ความได้เปรียบของผู้นำด้านเทคโนโลยีจะน้อย เนื่องจากเทคโนโลยีที่ถือครองอยู่จะหมดความทันสมัยลงอย่างรวดเร็ว และเปิดโอกาสให้คู่แข่งรายใหม่ๆ เติบโตมาแข่งขันได้ [6] ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ อุตสาหกรรมมือถือ ซึ่งผู้ครอบครองเทคโนโลยีสูงสุดในช่วงทศวรรษที่ 1990 อย่าง Nokia ก็ต้องเผชิญกับเทคโนโลยีสมาร์ตโฟนในช่วงปลายทศวรรษที่ 2000 เป็นต้น
เมื่อพิจารณาภาพที่ 4 จะพบว่า การส่งออก ‘สินค้า’ ICT ของไทยมีสัดส่วนลดลงเป็นลำดับ โดยลดจากราว 28.9% ของมูลค่าส่งออกสินค้าทั้งหมดในปี 2000 มาอยู่ที่ราว 15.6% ในปี 2018 สัดส่วนดังกล่าว น้อยกว่าประเทศเกาหลีใต้และจีนอย่างมาก โดยทั้งสองประเทศมีสัดส่วนการส่งออกสินค้า ICT อยู่ที่ราว 27-28% ในปี 2018
เมื่อพิจารณา ‘บริการ’ ที่เกี่ยวข้องกับ ICT เช่น การให้บริการทางธุรกิจที่เกี่ยวกับการส่งผ่านข้อมูลและข่าวสาร จะเห็นถึงระดับความซับซ้อนของอุตสาหกรรม ICT ที่มากไปกว่าการผลิตสินค้า จากภาพที่ 5 จะพบว่าไทยส่งออกบริการที่เกี่ยวข้องกับ ICT น้อยมาก มีสัดส่วนน้อยกว่า 2% ของมูลค่าการส่งออกบริการทั้งหมดของประเทศมาโดยตลอด และลดลงมาเป็นลำดับจนปัจจุบันเหลือเพียง 0.6% เท่านั้น ในทางกลับกัน เกาหลีใต้และจีนส่งออกบริการ ICT เพิ่มขึ้นจนมีสัดส่วนในปัจจุบันคิดเป็น 4.8% และ 12.7% ตามลำดับ
โดยสรุปแล้ว ช่องว่างการส่งออกสินค้าเทคโนโลยีปานกลางและสูงระหว่างไทยและเกาหลีใต้ไม่หดแคบลงเลยตลอดสามทศวรรษที่ผ่านมา และไทยยังปรับตัวได้ล่าช้ากว่าจีนมาก ในระดับอุตสาหกรรม การที่ประเทศไทยยังให้น้ำหนักกับอุตสาหกรรม ICT ไม่มากเท่าที่ควรสะท้อนว่า เรามีส่วนร่วมกับเทคโนโลยีซึ่งเป็นแก่นของวัฏจักรเศรษฐกิจโลกน้อย รวมทั้งเราไม่ได้ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารพันประโยชน์และเทคโนโลยีวัฏจักรสั้นมากเพียงพอ นอกเหนือจากหลักฐานเหล่านี้ ยังมีดัชนีอีกหลายตัวที่สามารถนำมาร่วมพิจารณาได้ เช่น Global Innovation Index หรือสัดส่วนบริษัทเทคโนโลยีสูงในตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งทั้งหมดชี้ไปในทิศทางเดียวกันคือ ประเทศไทยยังไม่ขีดความสามารถทางเทคโนโลยีระดับกลางเท่านั้น
“เศรษฐกิจแบบช่วงชั้น” : ปัญหาที่ฝังลึกในโครงสร้าง
เมื่อพบว่าประเทศไทยติดกับดักเทคโนโลยีปานกลาง รายงานศึกษาจำนวนมากก็พาเรากระโจนลงไปสู่มาตรการต่างๆ เพื่อกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาเทคโนโลยีทันที
ทว่า บทความนี้จะขอชักชวนให้เราค่อยเป็นค่อยไป และหยุดพิจารณาให้ละเอียดขึ้นอีกนิดถึงปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น คำถามที่อยากชวนท่านผู้อ่านคิดต่อคือ “หากกับดักรายได้ปานกลางเป็นสิ่งที่ไม่ดีสำหรับทุกคน การจะสร้างแนวร่วมทางเศรษฐกิจเพื่อยกระดับเทคโนโลยี ก็ควรจะเป็นสิ่งที่ทำได้ไม่ยาก… แล้วทำไมแนวร่วมดังกล่าวจึงไม่เกิดขึ้น?”
คำตอบฝังตัวอยู่ในโครงสร้างของระบบเศรษฐกิจไทยนั่นเอง
แล้วโครงสร้างของระบบเศรษฐกิจไทยนั้นเป็นอย่างไร?
งานศึกษาล่าสุดของประจักษ์ ก้องกีรติ และวีระยุทธ กาญจน์ชูฉัตร นิยามโครงสร้างเศรษฐกิจไทยว่าเป็นระบบเศรษฐกิจแบบช่วงชั้น (Hierarchical Market Economy: HME) หากอ้างอิง Ben Ross Schneider ผู้คิดค้นแนวคิด HME จะพบว่าระบบเศรษฐกิจแบบช่วงชั้นมีลักษณะสำคัญอยู่ด้วยกัน 2 อย่าง อย่างแรกในด้านของทุนคือ มีหัวหอกทางเศรษฐกิจเป็นบรรษัทข้ามชาติ ทุนขนาดใหญ่ภายในประเทศทำธุรกิจอย่างหลากหลาย แต่ไม่เหลือที่ยืนให้แก่ทุนขนาดเล็ก อย่างที่สองในด้านแรงงานคือ แรงงานจะมีทักษะต่ำ ได้รับค่าจ้างต่ำ และมีการรวมตัวที่อ่อนแอ
องค์ประกอบทั้งสองด้านนี้ ส่งผลให้มีแรงจูงใจลงทุนด้านเทคโนโลยีต่ำ (ภาพที่ 6) ประกอบกับเศรษฐกิจนอกภาคทางการ (informal sector) ขนาดใหญ่ซึ่งเป็นปัจจัยที่ทำให้สถานการณ์แย่ลงอีก
ทุนข้ามชาติมักเข้ามาแสวงประโยชน์จากแรงงานราคาถูกในไทย จึงย้ายฐานการผลิตที่ใช้แรงงานเข้มข้นมากถึงปานกลางเข้ามา แต่ไม่ย้ายห่วงโซ่การผลิตส่วนที่มีเทคโนโลยีและมูลค่าสูงเข้ามามากนัก ส่วนทุนขนาดใหญ่ในไทยก็เน้นความสามารถทางการแข่งขันผ่านการผูกขาด [7] การผลิตปริมาณมาก (economy of scale) และการลดความเสี่ยงทางธุรกิจด้วยการกระจายไปทำธุรกิจหลายๆ อุตสาหกรรม (diversified risks) โดยที่อาจไม่ได้มีความสัมพันธ์กันในทางเทคโนโลยีเลยก็เป็นได้ เช่น ขยับจากการขายเครื่องดื่มไปทำธุรกิจก่อสร้าง หรือขยับจากธุรกิจเกษตรไปทำระบบขนส่งมวลชน เป็นต้น ลักษณะเหล่านี้จะทำให้กลุ่มทุนขนาดใหญ่มีกำไรมาก และมีความจำเป็นที่จะต้องลงทุนด้านเทคโนโลยีน้อยลง
ส่วนด้านแรงงาน เนื่องจากสหภาพแรงงานไม่เข้มแข็ง (ยกเว้นสหภาพรัฐวิสาหกิจ) ทำให้การต่อรองค่าจ้างเป็นไปอย่างยากลำบาก และส่งผลให้ค่าจ้างปรับตัวช้า เมื่อค่าจ้างปรับตัวช้าจะส่งผลไปในสองทิศทาง ทิศทางแรกคือ ทำให้กลุ่มทุนไม่มีแรงจูงใจที่จะนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้งาน แต่จะใช้แรงงานราคาถูกไปเรื่อยๆ หรือใช้อำนาจผูกขาดเข้าแสวงหากำไรเกินปกติแทน ทิศทางที่สองคือ ตัวแรงงานเองก็จะไม่มีทรัพยากรเพียงพอที่จะลงทุนเพื่อพัฒนาทักษะของตนเอง และไม่เพียงพอสำหรับลงทุนเพื่อการศึกษาของลูก การปรับตัวด้านทักษะแรงงานจึงเป็นไปอย่างล่าช้า ปัจจัยเหล่านี้ถูกซ้ำเติมด้วยลักษณะเศรษฐกิจที่มีภาคนอกทางการขนาดใหญ่ ทำให้แรงงานจำนวนมากไม่มีรายได้ประจำและไม่มีความมั่นคงในอาชีพ
โดยสรุป ในระบบเศรษฐกิจแบบช่วงชั้น ไม่ใช่แค่แรงงานเท่านั้นที่ถูกขูดรีดผ่านการสะสมทุน (capital accumulation) แม้แต่นายทุนรายย่อยเองก็ถูกดูดกลืนและทำลายผ่านกระบวนการผูกขาดรวมศูนย์ตลาด (capital concentration) เช่นกัน ผลลัพธ์คือ กลุ่มทุนขนาดใหญ่และบรรษัทข้ามชาติมีแรงจูงใจต่ำที่จะลงทุนทางเทคโนโลยี เพราะการขูดรีดแรงงานและผูกขาดตลาดเป็นหนทางที่ได้กำไรบนความเสี่ยงที่ต่ำกว่าการลงทุนไปกับเทคโนโลยีอย่างมาก โครงสร้างทางเศรษฐกิจแบบช่วงชั้นนี้สอดประสานกัน มีความคงตัวและเปลี่ยนแปลงได้ยาก เพราะกลุ่มทุนหลักล้วนได้ประโยชน์และเติบโตได้ดีบนโครงสร้างเศรษฐกิจเช่นนี้
ภาพที่ 7 แสดงให้เห็นถึงโครงสร้างทางเศรษฐกิจแบบช่วงชั้นในไทยได้เป็นอย่างดี กราฟดังกล่าวการพิจารณารายรับรวมของกลุ่มทุนไทย ซึ่งจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) และมีมูลค่าตามราคาตลาดสูงที่สุด 10 อันดับแรก กลุ่มทุนเหล่านี้มีรายรับที่เพิ่มขึ้นจากราว 3.7 ล้านล้านบาทในปี 2016 มาอยู่ที่ราว 4.65 ล้านล้านบาทในปี 2018 และลดลงเล็กน้อยมาอยู่ที่ราว 4.59 ล้านล้านบาทในปี 2019 หากเทียบตลอดระยะเวลา 4 ปีจะพบว่า รายรับของทุนขนาดใหญ่เหล่านี้เพิ่มขึ้นราว 5.48% ต่อปี (คิดแบบ cumulative growth rate) โดยมีมูลค่ารายรับรวมปีล่าสุดคิดเป็นราว 27% ของมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ ซึ่งถือว่ามีขนาดใหญ่มาก และสะท้อนถึงบทบาทนำของกลุ่มทุนขนาดใหญ่ในประเทศไทยได้พอสมควร
งานศึกษาล่าสุดของ Kevin Hewison เรื่อง Crazy Rich Thais ซึ่งมีหน่วยวิเคราะห์อยู่ที่ตัว ‘นายทุน’ ได้ให้ข้อมูลสนับสนุนสมมติฐานนี้เช่นกัน เขาพบว่า ในขณะที่การเติบโตทางเศรษฐกิจและเทคโนโลยีของไทยชะลอตัวลงในสองทศวรรษหลัง ความมั่งคั่งของคนที่รวยที่สุด 10 ตระกูลเพิ่มขึ้นจาก 14.5 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2006 ไปเป็น 108.6 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2019 ก้าวกระโดดมากกว่า 7 เท่าตัวในระยะเวลาเพียงทศวรรษครึ่งเท่านั้น ดังที่แสดงให้เห็นในภาพที่ 8 กล่าวอีกอย่างหนึ่งก็คือ “ถึงแม้กับดักเทคโนโลยีปานกลางจะเป็นนรกสำหรับทุนขนาดเล็กและแรงงาน แต่มันคือสวรรค์เทคโนโลยีปานกลางของกลุ่มทุนขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นผู้ปกครองในระบบเศรษฐกิจแบบช่วงชั้น”
บทบาทของรัฐกับปัญหาที่ซับซ้อนยิ่งขึ้น
หากพิจารณาประสบการณ์ของรัฐเกิดใหม่หลังสงครามโลกครั้งที่สองที่พัฒนาได้อย่างรวดเร็วอย่างเกาหลีใต้และไต้หวัน จะพบว่าภาครัฐมีบทบาทอย่างมากในการร่วมมือกับเอกชนเพื่อก้าวข้ามโครงสร้างเศรษฐกิจแบบช่วงชั้นไปสู่เศรษฐกิจในรูปแบบที่พึ่งพิงเทคโนโลยีมากยิ่งขึ้น และพึ่งพิงการขูดรีดแรงงานกับการผูกขาดน้อยลง งานที่กล่าวถึงบทบาทภาครัฐในประเทศเหล่านี้ก็เช่น งานของ Alice Amsden และ Robert Wade เป็นต้น ทว่ารัฐไทยไม่อาจจะแสดงบทบาทดังเช่นรัฐตัวแบบเหล่านี้ได้ โดยสามารถจัดกลุ่มคำอธิบายสาเหตุออกได้เป็นสามกลุ่มดังต่อไปนี้ [8]
ความกลัวการสูญเสียอำนาจทางการเมือง (political loser hypothesis)
คำอธิบายในกลุ่มนี้ประกอบไปด้วย 3 ส่วน ได้แก่ ส่วนแรก ต้องเข้าใจก่อนว่า ทรัพยากรทางการเงินคือรูปแบบหนึ่งของอำนาจชี้ขาดทางการเมือง เพราะเงินทุนสามารถนำไปใช้ขับเคลื่อนการเมืองได้จากหลายๆ แง่มุม
ส่วนที่สอง เมื่อเกิดเทคโนโลยีใหม่ ย่อมทำให้การถือครองทรัพยากรการเงินเปลี่ยนแปลงไป ผู้ผูกขาดตลาดสินค้า A จะไม่สามารถจะผูกขาดได้อีกต่อไป เพราะเกิดคู่แข่งขันใหม่เพิ่มขึ้นมาในตลาด ส่วนที่สาม เมื่อทรัพยากรทางเศรษฐกิจกระจายตัวออกไปมากขึ้น ก็สร้างความเสี่ยงให้แก่ชนชั้นนำทางการเมือง เพราะทุนเกิดใหม่ทั้งหลายอาจสนับสนุนกลุ่มการเมืองอื่นที่อยู่นอกวงผู้มีอำนาจดั้งเดิม ทำให้ดุลอำนาจทางการเมืองพลิกผัน
เมื่อนำตรรกะ 3 ส่วนนี้มาประกอบกัน ก็จะอธิบายได้ว่าทำไมผู้มีอำนาจทางการเมืองจึง ‘กลัว’ หรือลังเลใจที่จะยอมให้เทคโนโลยีใหม่ๆ เกิดขึ้น รวมถึงจำกัดการสนับสนุนความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีจนกว่าจะมั่นใจว่า นายทุนซึ่งเป็นพวกของตนจะเป็นผู้ครอบครองเทคโนโลยีใหม่เหล่านั้น เมื่อกลับมามองย้อนถึงประเทศไทย การสนับสนุนและการลงทุนในเทคโนโลยีใหม่จึงมิได้เกิดขึ้นจากผู้เล่นรายใหม่ๆ มากนัก แต่มักจะเกิดจากการลงทุนอย่างจำกัดของผู้เล่นดั้งเดิมในตลาด โดยผู้เล่นเหล่านั้นมีอำนาจผูกขาดในทางเศรษฐกิจ และมีสายสัมพันธ์ทางการเมืองแน่นแฟ้นกับรัฐอยู่แล้วระดับหนึ่ง
การขาดขีดความสามารถและอิสระในการทำนโยบาย
เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปในบรรดาผู้ศึกษาเกาหลีใต้และไต้หวันว่า ทั้งสองรัฐนี้เป็นรัฐซึ่งมีขีดความสามารถสูง คำว่าขีดความสามารถสูงนี้ครอบคลุมหลายมิติ แต่สองมิติที่สำคัญที่สุดได้แก่
(1) ขีดความสามารถในการทำนโยบายให้สอดคล้องกับความต้องการของเอกชน และ
(2) ขีดความสามารถในการรับรู้และปรับตัวได้ว่องไวตามผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นและตามเงื่อนไขของระบบเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไป ขีดความสามารถทั้งสองด้านนี้มีรากฐานอยู่กับคุณลักษณะที่ Peter Evans เรียกว่า ’embedded autonomy’
คำว่า embedded autonomy มีองค์ประกอบสองส่วน ส่วนแรกได้แก่ ’embedded’ หมายถึงการผนึกประสานความร่วมมือของกลุ่มทุนต่างๆ เข้ามามีส่วนร่วมอย่างใกล้ชิดในการทำนโยบายอุตสาหกรรม ตั้งแต่การทำนโยบาย การดำเนินนโยบาย และการปรับนโยบายตามผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น ส่วนที่สองได้แก่ ‘autonomy’ ซึ่งหมายความว่า แม้รัฐจะดึงทุนเข้ามาทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิด แต่รัฐต้องยังมีอิสระที่จะดำเนินนโยบายได้ ให้แรงจูงใจ ให้คุณให้โทษแก่นายทุนได้ตามผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง
การที่รัฐมีคุณลักษณะ ‘ผนึกประสานทุนเข้ามาได้อย่างมีอิสระ’ เช่นนี้เอง จึงจะทำให้มีขีดความสามารถสูงพอที่จะขับเคลื่อนเศรษฐกิจและยกระดับเทคโนโลยีของประเทศ
ปัญหาของรัฐไทยคือ เราเป็นรัฐที่มีขีดความสามารถปานกลางเท่านั้น (intermediate state) รัฐไทยไม่ถึงกับว่ามีขีดความสามารถต่ำมากจนขับเคลื่อนนโยบายไม่ได้ แต่ขณะเดียวกันก็ไม่ถึงกับทำได้ดีหรือแข็งขัน จุดที่เราอ่อนแออย่างมากก็คือ รัฐไม่ได้มีอิสระเหนือทุน แต่หน่วยงานรัฐจำนวนมากถูกจับกุมโดยกลุ่มทุนขนาดใหญ่ทั้งภายในและภายนอกประเทศ (regulatory capturing) [9] เมื่อเป็นเช่นนี้ จึงเป็นการยากที่รัฐจะเป็นตัวขับเคลื่อนหลักให้ระบบเศรษฐกิจไทยหลุดจากระบบเศรษฐกิจแบบช่วงชั้น และยิ่งยากขึ้นไปอีก หากจะกำกับหรือกดดันให้ทุนขนาดใหญ่พัฒนาตัวเองทางด้านเทคโนโลยีแทนการขูดรีดแรงงานและการใช้อำนาจเหนือตลาด
การขาดแคลนโลกทัศน์และความรู้ที่สนับสนุนนโยบายอุตสาหกรรม
กล่าวได้ว่า ประเทศไทยไม่ตื่นตัวที่จะนำเข้าองค์ความรู้ด้านนโยบายอุตสาหกรรม หรืออาจถึงขั้นปฏิเสธ เพราะไม่เชื่อว่านโยบายอุตสาหกรรมจะเหมาะสมกับไทย นโยบายส่วนใหญ่ของไทยจึงมีลักษณะสร้างโครงสร้างพื้นฐานและแรงจูงใจในภาพรวม มากกว่าจะมีแผนและกลไกขับเคลื่อนระดับอุตสาหกรรม ซึ่งต่างจากประเทศเติบโตไวอื่นๆ อาทิ เกาหลีใต้ ไต้หวัน สิงคโปร์ และจีนค่อนข้างมาก เพราะประเทศเหล่านี้ รัฐมีส่วนอย่างสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจระดับ ‘อุตสาหกรรม’ ทั้งสิ้น
สาเหตุของเรื่องนี้มีความซับซ้อน แต่หากกล่าวแบบกระชับที่สุด สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ส่วน ส่วนแรกเกิดจากแนวคิด (ideas) ของกลุ่มเทคโนแครต (technocrat) [10] หรือผู้กำหนดนโยบายในประเทศไทย กลุ่มคนเหล่านี้มีแนวคิดที่ให้น้ำหนัก ‘การนำเข้าเงินลงทุนจากต่างประเทศ’ และ ‘การสร้างเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ’ มากกว่า ‘การปรับโครงสร้างการผลิต’ ส่วนที่สอง มีเหตุมาจากสถาบัน (institutions) ดังที่ได้กล่าวไปแล้วว่า รัฐไทยมีขีดความสามารถปานกลางและมีระดับการคอร์รัปชันที่สูง ทำให้การทำนโยบายเชิงรุกที่เอกชนต้องเข้าไปสนับสนุนอย่างใกล้ชิดไม่ได้รับความนิยม
คำอธิบายเหล่านี้ช่วยให้เราเข้าใจว่า ทำไมรัฐไทยจึงไม่ได้มีส่วนร่วมอย่างแข็งขันในการปรับโครงสร้างระบบเศรษฐกิจและเทคโนโลยี ยิ่งไปกว่านั้น แทนที่จะช่วยปรับโครงสร้างของระบบเศรษฐกิจให้ก้าวหน้ามากขึ้น รัฐไทยกลับกลายเป็นพลังสำคัญที่ช่วยรักษาสภาพของระบบเศรษฐกิจแบบช่วงชั้นให้คงทนมากยิ่งขึ้นไปอีก ผ่านการเน้นให้น้ำหนักเรื่องเสถียรภาพทางเศรษฐกิจระยะสั้นและเครือข่ายผลประโยชน์
การเข้าใจปัญหาเหล่านี้มีนัยยะทางนโยบาย เพราะจะทำให้เราสามารถออกแบบข้อเสนอเชิงนโยบายได้รัดกุมมากขึ้น โดยคำนึงถึงปัจจัยภายในภาครัฐ (และตัวผู้ออกนโยบายเอง) เข้ามาประกอบการออกแบบนโยบายด้วย
การหลุดพ้นจากกับดัก เป็นเรื่องยาก… แต่เป็นไปได้
จากที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ จะพบว่าปัญหากับดักเทคโนโลยีปานกลางเป็นเพียงยอดภูเขาน้ำแข็งที่ทรงตัวอยู่บนปัญหาใหญ่สำคัญอีกสองประการ ได้แก่ โครงสร้างเศรษฐกิจแบบช่วงชั้น และโครงสร้างของรัฐไทยที่ไม่เข็มแข็งและไม่มีบทบาทพัฒนาเชิงรุกในระดับอุตสาหกรรมเท่าที่ควร การก้าวข้ามกับดักเทคโนโลยีปานกลางจึงเป็นภารกิจที่ยาก เพราะต้องทำอย่างรอบด้าน ไม่ว่าจะเป็น
(1) ด้านเทคนิค/เทคโนโลยี
(2) ด้านโครงสร้างเศรษฐกิจ และ
(3) ด้านการเมือง ไปพร้อมๆ กัน ในบทความชิ้นถัดไป ผู้เขียนจะทยอยนำโจทย์และวิธีการแก้ปัญหาในแต่ละด้านมานำเสนอต่อไปเป็นลำดับ
แบ๊งค์ งามอรุณโชติ เรื่อง
กฤตพร โทจันทร์ ภาพประกอบ
Source: 101

คลิก

--------------------------------------------------------
Cr.Bank of Thailand Scholarship Students

เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี !!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b 

Line ID:@fxhanuman
Web : https://www.fxhanuman.com
Web : https://www.eluforex.com/
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/

เยี่ยมชม partner ของเราที่ Eluforex รีวิวโบรกเกอร์ Forex

#forex #ลงทุน #peppers #xm #fbs #exness #icmarkets #avatrade #fxtm #tickmill #fxpro #fxopen #fxcl #forex4you

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"