forex_calendar

1.  ตั้งเวลาให้ตรงกับประเทศไทยคือ (GMT+7:00) Bangkok, Hanoi, Jakarta
2.  ไว้สำหรับเลือกวันที่ต้องการดูข่าว
3.  เวลาข่าวออก
4.  ตระกูลเงินของข่าว
5.  ความรุนแรงของข่าว
6.  เหตุการณ์ของข่าว
7.  ค่าตัวเลขจริงที่ออก
8.  ค่าตัวเลขคาดการณ์
9.  ค่าตัวเลขครั้งก่อน

forex_calendar

เมื่อถึงเวลาข่าวออกตัวเลขค่าจริงจะแสดงออกมาในช่อง Actual ซึ่งจะมีสีแตกต่างกันดังนี้

  • ตัวเลขออกเป็นสีเขียวแสดงตัวเลขดีกว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีแดงแสดงว่าตัวเลขแย่กว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีดำแสดงว่าตัวเลขเท่ากับค่าที่คาดการณ์หรือใกล้เคียงกับสถิติเดิม (Previous)

 

สิ่งที่ต้องสนใจในการเทรดข่าว Forex

 

1.  เรื่องค่าสกุลเงิน ถ้าเทรดสกุลไหนก็ต้องสนใจเฉพาะสกุลนั้น เช่นถ้าเราเช่น EUR/USD ก็สนใจเฉพาะข่าวของ USD และ EUR และเราต้องรู้ด้วยว่าถ้าข่าวออกมาจะทำให้ค่าเงินเราขึ้นหรือลง เช่น ถ้าเราเล่น EUR/USD ถ้าข่าวดอลลาร์สหรัฐออกมาดีแสดงคู่เงินที่มี USD อยู่หลังกราฟจะลง แต่ถ้าข่าว USD ออกมาไม่ดีกราฟจะขึ้น ในทางกลับกันถ้าข่าว EUR ออกมาดีกราฟจะขึ้นแต่ถ้าข่าว EUR ออกมาไม่ดีกราฟจะลง

2. เรื่องระดับความแรงของข่าว ระดับความแรงขอข่าวจะมีสามระดับดังรูป

forex_calendar

3. ค่าตัวเลขจริงที่ออก(Actual) ถ้าค่าตัวเล่นจริงที่ออกมาต่างจากค่าก่อนหน้า(Previous)มาก ยิ่งมีผลทำให้ค่าเงินวิ่งขึ้นลงแรงมาก แต่ก็ขึ้นอยู่กับความแรงของข่าวด้วย

ปรับจับแบงก์ยักษ์สหรัฐฯ

JPMorgan Chase ธนาคารขนาดใหญ่อันดับ 1 ของสหรัฐฯ ออกมายอมรับผิดเมื่อไม่นานมานี้ว่าพนักงานของธนาคารได้บิดเบือนการซื้อขายในตลาดทองคำและตลาดพันธบัตรรัฐบาล ด้วยการใช้คำสั่งปลอมเพื่อให้นักลงทุนในตลาดหลงเข้าใจผิด

และสร้างผลกำไรแก่ตนเองและธนาคาร จนก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้เกี่ยวข้อง โดยได้กระทำความผิดดังกล่าวเป็นระยะเวลายาวนานในช่วงปี 2008-2016

JPMorgan ตกลงที่จะจ่ายเงินค่าปรับตามที่คณะกรรมการผู้คุมกฎของสหรัฐฯเรียกร้องเป็นค่าเสียหาย คิดเป็นจำนวนเงินประมาณ 920 ล้านดอลลาร์ โดยจำแนกเป็นค่าปรับราว 436.4 ล้านดอลลาร์ ค่าชดใช้ความเสียหายแก่ผู้ที่ได้รับผลกระทบจำนวนประมาณ 311.7 ล้านดอลลาร์ และส่งคืนผลกำไรจากการกระทำผิดจริยธรรมทางการเงินการธนาคารจำนวนเงินราว 172 ล้านดอลลาร์ นอกจากนี้ พนักงานที่กระทำความผิดในช่วงระยะเวลาดังกล่าว จะต้องโดนดำเนินคดีทางอาญา และหากพบหลักฐานว่ามีความผิดจริง จะถูกพิจารณาคดีลงโทษถึงขั้นติดคุก
การบิดเบือนตลาดการเงิน ตลาดทองคำและตลาดพันธบัตร มักเกิดขึ้นเป็นประจำในแวดวงการเงินการธนาคาร และมีคดีความเกิดขึ้นแก่สถาบันการเงินและพนักงานเป็นระยะๆ ยกตัวอย่าง ในกรณี JPMorgan ซึ่งเกี่ยวข้องกับการค้าในตลาดทองคำและพันธบัตรรัฐบาล พนักงานที่ทำหน้าที่ค้าทองคำ มีความต้องการที่จะเทขายทองคำในพอร์ตออกเป็นจำนวนมาก แต่แกล้งหลอกตลาด ด้วยการมีคำสั่งซื้อทองคำเป็นจำนวนมาก เพื่อให้ผู้ลงทุนรายอื่นๆ หลงเชื่อว่าสถานการณ์ในตลาดขณะนั้นควรซื้อทองคำเก็บไว้
ด้วยเหตุนี้ ราคาทองคำจะขยับเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนอยู่ในระดับราคาที่นักค้าทองคำต้มตุ๋นพอใจ ก็จะนำทองคำที่ต้องการขาย เทออกมาขาย เพื่อทำกำไรทันทีในราคาที่สูง ส่วนคำสั่งซื้อที่นักค้ารายนั้นๆได้ดำเนินการไว้ก่อนหน้านี้ จะถูกยกเลิกอย่างรวดเร็ว และถือว่าเป็นคำสั่งปลอม
การกระทำดังกล่าวถือว่าเป็นเรื่องผิดกฎหมายสหรัฐฯ ที่กำหนดไว้ตั้งแต่ปี 2010 แต่ก็ยังมีการละเมิดทำความผิดอย่างต่อเนื่อง เพราะผู้ค้าที่ฉ้อฉล จะถูกจูงใจด้วยผลตอบแทนที่รวดเร็วและคุ้มค่าเสี่ยง ด้วยเหตุนี้ ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ธนาคารชั้นนำหลายแห่ง จึงตกอยู่ในวังวนทุจริตดังกล่าวจากพนักงานของตน เช่น Deutsche Bank, HSBC, Merrill Lynch และ UBS เป็นต้น จนธนาคารต้องเสียค่าปรับในคดีดังกล่าว
เป็นที่น่าสังเกตว่า กรณีของ JPMorgan ก็มีลักษณะคล้ายคลึงกับคดีของธนาคารชั้นนำอื่นๆ ที่ผ่านมา แต่ผู้คุมกฎและอัยการสหรัฐฯมีความเห็นว่า การลงโทษปรับครั้งนี้ จะรุนแรงมากกว่าคดีก่อนๆ เนื่องจาก JPMorgan ได้เคยกระทำความผิดในลักษณะบิดเบือนตลาดอัตราแลกเปลี่ยนในปี 2015 และได้รับโทษปรับไปแล้ว แต่ดูเหมือนธนาคารยังหละหลวมในการกำกับดูแลตรวจสอบภายในธนาคารอย่างจริงจัง อีกทั้งการกระทำความผิดครั้งนี้ ทางการสหรัฐฯเห็นว่าเป็นการร่วมมือกันของเจ้าหน้าที่ธนาคารในระดับต่างๆ จนแพร่หลายในกลุ่มธุรกิจค้าทองคำของธนาคาร ดังนั้น ทางการสหรัฐฯจึงเห็นควรที่จะต้องเรียกค่าเสียหายมากกว่ารายอื่นๆ และมีการจับกุมผู้กระทำความผิดทุกราย เพื่อดำเนินคดีอย่างเฉียบขาด เป็นตัวอย่างแก่วงการค้าในตลาดต่างๆ ต่อไป
Citigroup Inc ก็เป็นธนาคารสหรัฐฯอีกแห่งหนึ่งที่เกิดเรื่องฉาว โดย Citigroup เป็นแบงก์ขนาดใหญ่อันดับ 3 ของสหรัฐฯ ที่โดนทางการเรียกค่าปรับมูลค่าราว 400 ล้านดอลลาร์ และมีคำสั่งให้รีบปรับปรุงระบบการบริหารจัดการความเสี่ยงและปัญหาการดำเนินงานภายในองค์กรอย่างจริงจัง เนื่องจากเป็นต้นเหตุที่ทำให้ธนาคารละเมิดกฎหมายและโดนลงโทษ
สำนักข่าวชั้นนำ Reuters รายงานเมื่อต้นเดือนตุลาคมที่ผ่านมา ระบุว่า ธนาคารกลางสหรัฐฯ (The Federal Reserve : The Fed) และหน่วยงานกำกับดูแลด้านการเงินการธนาคาร (Office of the Comptroller of the Currency : OCC) ได้เคยเตือน Citigroup มาแล้วหลายครั้ง แต่ธนาคารยังคงละเลยคำแนะนำของทางการ ทั้งนี้ ธนาคารควรให้ความสนใจและดำเนินการปรับปรุงการบริหารความเสี่ยงครั้งใหญ่ รวมถึงการควบคุมภายในองค์กร การเก็บบันทึกข้อมูลและกระบวนการพิจารณาผลตอบแทน ควรดำเนินการอย่างโปร่งใส
OCC เห็นว่า Citigroup เป็นองค์กรใหญ่ มีโครงสร้างงานที่สลับซับซ้อน จึงควรให้ความสำคัญกับการบริหารความเสี่ยงและการกำกับดูแลให้เหมาะสมกับขนาดและเครือข่ายงานทั้งระบบ
ทางด้าน ธนาคาร Citigroup ได้แถลงต่อสาธารณชนว่า ธนาคารรู้สึกผิดหวังที่การปรับปรุงโครงสร้างงานของแบงก์ที่ผ่านมา ยังไม่ได้มาตรฐานของ OCC ทั้งๆ ที่ธนาคารได้ลงทุนเป็นมูลค่าราว 1,000 ล้านดอลลาร์ เพื่อแก้ไขจุดอ่อนในระบบธนาคาร มีการนำเทคโนโลยีและเครื่องมือทันสมัยมาช่วยตรวจสอบ เพื่อป้องกันความผิดพลาดได้อย่างรวดเร็ว
การที่ Fed และ OCC หันมาสนใจในประเด็นของ Citigroup อีกครั้ง ก็เนื่องมาจากธนาคารได้มีการบริหารจัดการเกี่ยวกับการโอนเงิน ซึ่งได้เกิดความผิดพลาด คิดเป็นมูลค่าราว 900 ล้านดอลลาร์เมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา และยังอยู่ในกระบวนการตรวจสอบและเรียกร้องความเสียหาย
เป็นที่น่าสังเกตว่า กรณีอื้อฉาวครั้งนี้ หัวหน้าเจ้าหน้าที่บริหารระดับสูง นาย Mike Corbat ได้ขอเกษียณอายุก่อนกำหนด ซึ่งควรจะเป็นเดือนกุมภาพันธ์ปีหน้า ส่งผลให้ว่าที่ CEO คนใหม่ นาง Jane Fraser ต้องรับบทบาทครั้งสำคัญเร็วขึ้น ทั้งในแง่ฟื้นฟูรายได้ของธนาคาร การสร้างภาพลักษณ์ขององค์กรให้ทันสมัยเข้มแข็ง และล่าสุด ต้องปฏิบัติตามคำสั่งของ OCC อย่างเคร่งครัด ทั้งในด้านการปรับปรุงองค์กรอย่างขนานใหญ่ โดยเฉพาะเกี่ยวกับการบริหารความเสี่ยงและการตรวจสอบกำกับดูแลกิจการ
ในขณะเดียวกัน การดำเนินการบางอย่างจำเป็นต้องได้รับการอนุญาตจาก OCC ก่อน เช่น การเข้าซื้อหรือควบรวมกิจการต่างๆ เป็นต้น ที่สำคัญก็คือ ผู้คุมกฎมีอำนาจเปลี่ยนแปลงเจ้าหน้าที่ระดับบริหาร และคณะกรรมการของแบงก์ได้ด้วย นอกจากนี้ ธนาคารจะต้องจัดตั้งหน่วยงานเฉพาะกิจ เพื่อการปรับปรุงประเด็นสำคัญต่างๆ ที่ OCC เสนอแนะให้แล้วเสร็จโดยเร็ว พร้อมกับมีการรายงานความคืบหน้าให้ OCC รับทราบเป็นระยะๆ ด้วย
การที่ Fed และ OCC หันมาเข้มงวดกับ Citigroup ตอนนี้ เนื่องจากเห็นว่าธนาคารปล่อยปละละเลยการปรับปรุงหน่วยงานภายในอย่างจริงจัง ซึ่งทางการได้เคยระบุไว้ตั้งแต่ปี 2013-2014 ซึ่งธนาคารสอบไม่ผ่าน Stress Tests ในช่วงนั้น ก็เพราะความบกพร่องเรื่องการบริหารจัดการความเสี่ยงเป็นสำคัญ และตลอดหลายปีที่ผ่านมา ธนาคารสาขาของ Citigroup ก็สร้างปัญหาให้แก่ธนาคารแม่ เช่น Banamex ในเม็กซิโก เป็นต้นยิ่งไปกว่านั้น ธนาคารยังมีคดีความเกี่ยวกับการละเมิดกฎระเบียบ และกฎหมายการเงินสหรัฐฯเป็นระยะๆ เช่น การฟอกเงิน การทุจริตบัตรเครดิต การเอาเปรียบผู้ซื้อที่อยู่อาศัย และกระบวนการยึดจำนองที่ยืดเยื้อ เป็นต้น ซึ่งล้วนเกิดจากระบบการบริหารจัดการภายในที่บกพร่อง และ ขาดการตรวจสอบกำกับดูแลอย่างเพียงพอ

ด้วยเหตุนี้ จึงเป็นสาเหตุให้ Fed และ OCC รีบเร่งรัดให้ Citigroup ยกเครื่องโครงสร้างการบริหารอย่างเข้มข้น ตามคำแนะนำของทางการสหรัฐฯ อนึ่ง ในช่วงวิกฤติการเงินปี 2008 Citigroup ถือว่าเป็นธนาคารชั้นนำที่ต้องได้รับความช่วยเหลือจากทางการสหรัฐฯในเวลานั้น ซึ่งวันนี้ Fed และ OCC ไม่ต้องการให้อดีตกลับมาซ้ำรอยเดิม
Source: การเงินธนาคารออนไลน์

คลิก

--------------------------------------------------------
Cr.Bank of Thailand Scholarship Students

เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี !!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b 

Line ID:@fxhanuman
Web : https://www.fxhanuman.com
Web : https://www.eluforex.com/
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/

เยี่ยมชม partner ของเราที่ Eluforex รีวิวโบรกเกอร์ Forex

#forex #ลงทุน #peppers #xm #fbs #exness #icmarkets #avatrade #fxtm #tickmill #fxpro #fxopen #fxcl #forex4you

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"