forex_calendar

1.  ตั้งเวลาให้ตรงกับประเทศไทยคือ (GMT+7:00) Bangkok, Hanoi, Jakarta
2.  ไว้สำหรับเลือกวันที่ต้องการดูข่าว
3.  เวลาข่าวออก
4.  ตระกูลเงินของข่าว
5.  ความรุนแรงของข่าว
6.  เหตุการณ์ของข่าว
7.  ค่าตัวเลขจริงที่ออก
8.  ค่าตัวเลขคาดการณ์
9.  ค่าตัวเลขครั้งก่อน

forex_calendar

เมื่อถึงเวลาข่าวออกตัวเลขค่าจริงจะแสดงออกมาในช่อง Actual ซึ่งจะมีสีแตกต่างกันดังนี้

  • ตัวเลขออกเป็นสีเขียวแสดงตัวเลขดีกว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีแดงแสดงว่าตัวเลขแย่กว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีดำแสดงว่าตัวเลขเท่ากับค่าที่คาดการณ์หรือใกล้เคียงกับสถิติเดิม (Previous)

 

สิ่งที่ต้องสนใจในการเทรดข่าว Forex

 

1.  เรื่องค่าสกุลเงิน ถ้าเทรดสกุลไหนก็ต้องสนใจเฉพาะสกุลนั้น เช่นถ้าเราเช่น EUR/USD ก็สนใจเฉพาะข่าวของ USD และ EUR และเราต้องรู้ด้วยว่าถ้าข่าวออกมาจะทำให้ค่าเงินเราขึ้นหรือลง เช่น ถ้าเราเล่น EUR/USD ถ้าข่าวดอลลาร์สหรัฐออกมาดีแสดงคู่เงินที่มี USD อยู่หลังกราฟจะลง แต่ถ้าข่าว USD ออกมาไม่ดีกราฟจะขึ้น ในทางกลับกันถ้าข่าว EUR ออกมาดีกราฟจะขึ้นแต่ถ้าข่าว EUR ออกมาไม่ดีกราฟจะลง

2. เรื่องระดับความแรงของข่าว ระดับความแรงขอข่าวจะมีสามระดับดังรูป

forex_calendar

3. ค่าตัวเลขจริงที่ออก(Actual) ถ้าค่าตัวเล่นจริงที่ออกมาต่างจากค่าก่อนหน้า(Previous)มาก ยิ่งมีผลทำให้ค่าเงินวิ่งขึ้นลงแรงมาก แต่ก็ขึ้นอยู่กับความแรงของข่าวด้วย

“เศรษฐกิจโลก” ยังระทม ฟื้นตัว “เปราะบาง-กระจุกตัว”

การฟื้นตัวของเศรษฐกิจทั่วโลกหลังการแพร่ระบาดของโควิด-19 แม้ว่าจะมีสัญญาณที่ดีขึ้น จากที่หลายประเทศสามารถควบคุมการแพร่กระจายของโรคได้ และกลับมาดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจอีกครั้ง แต่ยังคงเต็มไปด้วยความเปราะบางและกระจุกตัวอยู่ในบางกลุ่มประเทศเท่านั้น

“ไฟแนนเชียล ไทมส์” รายงานบทวิเคราะห์ที่ทำร่วมกับสถาบันโบรกกิงส์ (Brookings Institution) ระบุว่า แม้ขณะนี้เศรษฐกิจโลกจะฟื้นตัวจากจุดต่ำสุดจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ได้แล้ว แต่ยังมีความเปราะบางอย่างมาก เนื่องจากหลายภูมิภาคยังคงต้องเผชิญกับการแพร่ระบาดระลอกที่ 2 ซึ่งสั่นคลอนความเชื่อมั่นภาคธุรกิจ ภาคครัวเรือน และนักลงทุน ทั้งยังทำให้เศรษฐกิจต้องหยุดชะงักอีกครั้ง
แม้ว่ารัฐบาลของหลายประเทศจะออกมาตรการจำนวนมากเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ แต่โอกาสที่กลับมาสู่จุดเดิมก่อนเกิดโรคระบาดยังต้องใช้เวลาอีกยาวนาน “เอสวอร์ พราซาด” ศาสตราจารย์ด้านเศรษฐศาสตร์จากสถาบันโบรกกิงส์ระบุว่า “การฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่งในวงกว้างยังไม่ปรากฏ แต่ความเสี่ยงที่จะเกิดผลกระทบเศรษฐกิจที่รุนแรงและกินเวลายาวนานกำลังเพิ่มสูงขึ้น”
สอดคล้องกับมุมมองของ “คริสตาลินา กอร์เกียวา” กรรมการผู้จัดการกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ที่ระบุว่า การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจจากวิกฤตโควิด-19 มีแนวโน้มที่จะ “ยาวนาน ไม่สม่ำเสมอ ไม่แน่นอน และยังมีโอกาสที่จะถดถอยกลับลงไปอีกครั้งได้”
จากดัชนีเศรษฐกิจ “Tracking Indexes for the Global Economic Recovery (TIGER)” ของสถาบันโบรกกิงส์ ที่วิเคราะห์จากตัวชี้วัดกิจกรรมเศรษฐกิจจริง สถานการณ์ตลาดเงิน และความเชื่อมั่นระบุว่า การฟื้นตัวของเศรษฐกิจทั่วโลกได้ผ่านพ้นจุดเลวร้ายที่สุดแล้วในช่วงกลางปี 2020 แต่การฟื้นตัวยังคงแตกต่างกันมาก โดยกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วฟื้นตัวกลับขึ้นมาจากค่าดัชนีต่ำสุดที่ -8.87 ในเดือน มิ.ย. สู่ระดับ -4.05 ในเดือน ส.ค. ขณะที่ประเทศเกิดใหม่ฟื้นตัวจากค่าดัชนีต่ำสุด -38.07 ในเดือน มิ.ย. เป็น -32.63 ในเดือน ส.ค.
โดยการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่เห็นในปัจจุบันเป็นผลมาจากภาคการผลิตและการค้าโลกที่กลับมาเดินเครื่องอีกครั้ง และการใช้จ่ายภาคครัวเรือนที่แข็งแกร่งขึ้นเฉพาะในกลุ่มประเทศร่ำรวยที่รัฐบาลมีมาตรการเยียวยาการว่างงานและขาดรายได้อย่างมาก เช่น สหรัฐอเมริกาที่มีการอัดฉีดเม็ดเงินมหาศาลเพื่อช่วยเหลือผู้ว่างงานขณะที่การระบาดของโควิด-19 ยังไม่สามารถควบคุมได้
แต่การฟื้นตัวเช่นนี้ไม่ใช่การฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่ง เนื่องจากความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจและนักลงทุนยังคงอยู่ในระดับต่ำ เพราะยังกังวลต่อความไม่แน่นอนของการแพร่ระบาดระลอกที่ 2 ทำให้การลงทุนและการจ้างงานไม่สามารถฟื้นตัวได้ และเสี่ยงที่จะเป็นอุปสรรคต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในระยะยาว
นอกจากนี้ การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกยังขึ้นอยู่กับความสามารถในการรับมือกับโรคระบาดและการรักษากิจกรรมทางเศรษฐกิจ เช่น “เยอรมนี” ที่ประสบความสำเร็จในการป้องกันไวรัสและการรักษากิจกรรมเศรษฐกิจได้ดีกว่าประเทศอื่นในยุโรป ไม่ว่าจะเป็นอิตาลี สเปน และฝรั่งเศส
ขณะที่ในภูมิภาคเอเชีย เศรษฐกิจจีนกลับมาฟื้นตัวอย่างชัดเจน หลังจากที่สามารถควบคุมการแพร่ระบาดได้ด้วยมาตรการยาแรง ต่างจากอินเดียที่ยังคงไม่สามารถควบคุมโรคระบาดได้ ทำให้เศรษฐกิจอินเดียยังคงฟื้นตัวอย่างยากลำบาก เช่นเดียวกับอีกหลายประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ที่ต้องดิ้นรนอย่างหนักเพื่อควบคุมโรคและเยียวยาความเสียหาย ทางเศรษฐกิจจากวิกฤตครั้งนี้
Source: ประชาชาติธุรกิจออนไลน์

คลิก

เพิ่มเติม
- Global economic recovery from Covid pandemic is fragile and patchy

คลิก

Cr.Sayan Rujiramora

เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี !!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b 

Line ID:@fxhanuman
Web : https://www.fxhanuman.com
Web : https://www.eluforex.com/
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/

เยี่ยมชม partner ของเราที่ Eluforex รีวิวโบรกเกอร์ Forex

#forex #ลงทุน #peppers #xm #fbs #exness #uag #icmarkets #avatrade #fxtm #tickmill #fxpro #fxopen #fxcl #forex3d #forex4you

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"