forex_calendar

1.  ตั้งเวลาให้ตรงกับประเทศไทยคือ (GMT+7:00) Bangkok, Hanoi, Jakarta
2.  ไว้สำหรับเลือกวันที่ต้องการดูข่าว
3.  เวลาข่าวออก
4.  ตระกูลเงินของข่าว
5.  ความรุนแรงของข่าว
6.  เหตุการณ์ของข่าว
7.  ค่าตัวเลขจริงที่ออก
8.  ค่าตัวเลขคาดการณ์
9.  ค่าตัวเลขครั้งก่อน

forex_calendar

เมื่อถึงเวลาข่าวออกตัวเลขค่าจริงจะแสดงออกมาในช่อง Actual ซึ่งจะมีสีแตกต่างกันดังนี้

  • ตัวเลขออกเป็นสีเขียวแสดงตัวเลขดีกว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีแดงแสดงว่าตัวเลขแย่กว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีดำแสดงว่าตัวเลขเท่ากับค่าที่คาดการณ์หรือใกล้เคียงกับสถิติเดิม (Previous)

 

สิ่งที่ต้องสนใจในการเทรดข่าว Forex

 

1.  เรื่องค่าสกุลเงิน ถ้าเทรดสกุลไหนก็ต้องสนใจเฉพาะสกุลนั้น เช่นถ้าเราเช่น EUR/USD ก็สนใจเฉพาะข่าวของ USD และ EUR และเราต้องรู้ด้วยว่าถ้าข่าวออกมาจะทำให้ค่าเงินเราขึ้นหรือลง เช่น ถ้าเราเล่น EUR/USD ถ้าข่าวดอลลาร์สหรัฐออกมาดีแสดงคู่เงินที่มี USD อยู่หลังกราฟจะลง แต่ถ้าข่าว USD ออกมาไม่ดีกราฟจะขึ้น ในทางกลับกันถ้าข่าว EUR ออกมาดีกราฟจะขึ้นแต่ถ้าข่าว EUR ออกมาไม่ดีกราฟจะลง

2. เรื่องระดับความแรงของข่าว ระดับความแรงขอข่าวจะมีสามระดับดังรูป

forex_calendar

3. ค่าตัวเลขจริงที่ออก(Actual) ถ้าค่าตัวเล่นจริงที่ออกมาต่างจากค่าก่อนหน้า(Previous)มาก ยิ่งมีผลทำให้ค่าเงินวิ่งขึ้นลงแรงมาก แต่ก็ขึ้นอยู่กับความแรงของข่าวด้วย

รัฐบาลออกบอนด์ 10 ล้านล้านบาท ทำได้จริงหรือไม่?

มีข้อเสนอในสื่อสาธารณะเร็วๆ นี้ ว่าประเทศไทยน่าจะคิดการณ์ใหญ่ออกพันธบัตรอายุ 30 ปีเพื่อกู้เงิน 10 ล้านล้านบาท ด้วยต้นทุน 0.5% นอกจากเพื่อเยียวยา ฟื้นฟูเศรษฐกิจแล้ว จะต้องพลิกโฉม นโยบายขนานใหญ่และเดินหน้าผลักให้เศรษฐกิจขยายตัวอย่างรวดเร็ว

คำถามคือการก่อหนี้สาธารณะระดับซุปเปอร์โนวานี้ จะทำได้จริงมากน้อยเพียงใด เราจะตั้ง ข้อพิจารณาซัก 3 ประเด็น สำรวจเงื่อนไขต่างๆ ดูครับว่าจะต้องเจอกับเหตุการณ์ อะไรบ้างในระหว่างการเดินทางทางความคิดนี้

ประเด็นที่หนึ่ง เริ่มจากการพิจารณาขนาดตลาดพันธบัตร
ตลาดพันธบัตรในประเทศปัจจุบัน นับเฉพาะที่ผู้ออกเป็นรัฐบาลและรัฐวิสาหกิจ มีขนาดราว 10 ล้านล้านบาท หรือราว 3 แสนล้านเหรียญสหรัฐ ลำพังตลาด พันธบัตรในประเทศคงรองรับได้เพียง ส่วนเดียว จึงต้องหันไปมองตลาดตราสารหนี้ ในต่างประเทศที่เป็นสกุลเงินดอลลาร์ ซึ่งในที่นี้จะขอใช้ตัวเลขหนี้ต่างประเทศ หรือ External debt โดยเปรียบเทียบกับประเทศต่างๆ ที่น่าจะพอเทียบเคียงได้ดังตาราง
หากดูตัวเลขของอินโดนีเซียหรือ อินเดีย ก็ดูว่าพอจะมีความเป็นไปได้ แม้ขนาดเศรษฐกิจเราจะเล็กกว่า แต่ อย่างน้อยก็ชี้ให้เห็นว่า เม็ดเงินที่จะมีให้ไปขอกู้ก็พอจะมีอยู่ ทั้งนี้ต้องไม่ลืมว่า อันดับความน่าเชื่อถือของประเทศไทยดีกว่าประเทศทั้งสอง
ประเด็นที่สอง ต้องยอมรับว่ามี ความเสี่ยงจะถูกลดอันดับความน่าเชื่อถือ จากเว็บไซต์ของสำนักงานบริหาร หนี้สาธารณะ ตัวเลขหนี้สาธารณะ ของไทยปัจจุบันอยู่ที่ราว 7.7 ล้านล้านบาท หารด้วย GDP ที่ 16 ล้านล้านบาท เท่ากับว่าสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP อยู่ที่ 48%
หากเรากู้เพิ่มอีก 10 ล้านล้านบาท สำเร็จ เราจะมีหนี้สาธารณะเกือบ 18 ล้านล้านบาท หรือสัดส่วนหนี้สาธารณะ ต่อ GDP ที่ 110% แม้จะดูไม่สูงเลย หากเทียบในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว แต่สูงมากหากเทียบกับประเทศตลาด เกิดใหม่ด้วยกัน การถูกปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือ จะทำให้ต้นทุนการกู้เงินแพงขึ้น ยิ่งการกู้เงินต่างประเทศจะ ยิ่งแสลงใจบริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือ มากกว่าการกู้ในประเทศ เพราะมีเรื่องอัตราแลกเปลี่ยนและปัจจัยเงินทุน เคลื่อนย้ายระหว่างประเทศเข้ามาเกี่ยวข้อง
แน่นอนว่าเราไม่ได้จะกู้โครมเดียว 10 ล้านล้านบาท แต่เป็นการทยอยกู้ ทยอยเบิกเป็นโปรแกรม รวมทั้งเราต้อง มีความเชื่อมั่นว่า GDP เราจะไม่แน่นิ่ง อยู่ที่ 17 ล้านล้านบาทไปเรื่อยๆ การกู้ แล้วทำให้เศรษฐกิจขยายตัวได้จริง และสามารถทยอยชำระทั้งดอกเบี้ย และเงินต้น ค่อยๆ ลดสัดส่วนหนี้ ลงมาได้ ย่อมทำให้ประชาคมโลกเห็นว่า เราไม่ถังแตก
ประเด็นที่สาม ถ้าโจทย์มีอยู่ว่า ต้นทุนจะต้องอยู่ที่ 0.5% เห็นจะเหลือ วิธีการเดียวคือ Debt monetization หรือเรียกง่ายๆ ว่า ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยพิมพ์เงินออกมาซื้อพันธบัตร นั้นๆ เสียเอง
เมื่อเดือนมิ.ย.ปีนี้ ธนาคารกลาง และกระทรวงการคลังอินโดนีเซีย ทำข้อตกลงในลักษณะเช่นนี้ โดยให้ ธนาคารกลางซื้อพันธบัตรอายุ 10 ปี จากรัฐบาล คิดเป็นเงินไทยราว 8 แสนล้านบาท โดยกำหนดอัตราดอกเบี้ยที่ 0% เลยทีเดียว ทั้งนี้ ทางการระบุว่า จะใช้เพียงครั้งเดียว เพื่อรักษาความน่าเชื่อถือของธนาคารกลางและวินัยการคลัง
เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นและผ่านไป โดยปราศจากรอยขีดข่วนจากบริษัท จัดอันดับความน่าเชื่อถือ ด้วยเหตุผลว่า อินโดนีเซียมีหนี้สาธารณะต่ำและมีวินัย การคลังสูงมาก จึงมีพื้นที่เพียงพอให้กับมาตรการอย่างว่า
เกาหลีใต้ก็ทำในลักษณะคล้ายๆ กัน แต่เม็ดเงินน้อยกว่ามากในระดับ 2 แสนล้านบาท และเช่นเดียวกันคือไม่มีการ ถูกลดอันดับความน่าเชื่อถือแต่อย่างใด
แต่ก็ทำ debt monetization ใช่ว่าจะทำได้ไม่สิ้นสุด เมื่อเดือนก.ย. พลันที่ผู้นำรัฐบาลอินโดนีเซียเปรยว่า ปีหน้าอาจจะทำเพิ่มอีก ก็ทำให้เงินรูเปียห์ อ่อนค่าลงเกือบ 2% จนกระทั่งรัฐมนตรี กระทรวงคลังต้องออกมายืนยันว่า debt monetization เกิดขึ้นแค่ปีนี้ครั้งเดียว และจะไม่เกิดขึ้นอีกแล้ว ความสงบในตลาดการเงินจึงกลับคืนมาได้
ลองนึกภาพดูว่า หากทำ debt monetization ในปริมาณที่ตลาด ไม่ยอมรับ มีการลดอันดับความน่าเชื่อถือ เกิดการเทขายสินทรัพย์และค่าเงิน จนอ่อนเกินไป ครั้นจะไปบีบให้ธนาคารกลาง ต้องขึ้นดอกเบี้ยเพื่อชะลอการอ่อนค่า ของค่าเงิน ก็จะไปทำให้ต้นทุนการ กู้เงินแพงขึ้นอีก นำไปสู่ทางตันของ นโยบายการเงิน
เมื่อพิจารณากันอย่างหยาบๆ แม้ ตัวเลขอาจจะไปไม่ถึง 10 ล้านล้านบาท แต่การขยายเพดานหนี้พึงเป็นที่ยอมรับได้ แต่ที่สำคัญที่สุดคือ การคิดการณ์ใหญ่ เรื่องหนี้จำเป็นต้องมีโครงการฟื้นฟูเศรษฐกิจที่ชัดเจนและมีพลัง ให้สังคมไทยไว้วางใจ และให้สังคมโลกเชื่อมั่น ว่าทำแล้วจะ เกิดผลดีมีการเจริญเติบโตอย่างยั่งยืน ได้จริง จึงจะถือสำเร็จในการแปลงหนี้ ให้เป็นลาภอันประเสริฐ
คอลัมน์ world rate โดย สงวน จุงสกุล
ผู้อำนวยการฝ่ายอาวุโส ผู้บริหารฝ่าย
ทีมInvestment and Markets Research
สายงานธุรกิจตลาดเงินตลาดทุน ธนาคารกรุงไทย
Source: กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

คลิก


Cr.Bank of Thailand Scholarship Students

เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี !!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b 

Line ID:@fxhanuman
Web : https://www.fxhanuman.com
Web : https://www.eluforex.com/
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/

เยี่ยมชม partner ของเราที่ Eluforex รีวิวโบรกเกอร์ Forex

#forex #ลงทุน #peppers #xm #fbs #exness #uag #icmarkets #avatrade #fxtm #tickmill #fxpro #fxopen #fxcl #forex3d #forex4you

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"