forex_calendar

1.  ตั้งเวลาให้ตรงกับประเทศไทยคือ (GMT+7:00) Bangkok, Hanoi, Jakarta
2.  ไว้สำหรับเลือกวันที่ต้องการดูข่าว
3.  เวลาข่าวออก
4.  ตระกูลเงินของข่าว
5.  ความรุนแรงของข่าว
6.  เหตุการณ์ของข่าว
7.  ค่าตัวเลขจริงที่ออก
8.  ค่าตัวเลขคาดการณ์
9.  ค่าตัวเลขครั้งก่อน

forex_calendar

เมื่อถึงเวลาข่าวออกตัวเลขค่าจริงจะแสดงออกมาในช่อง Actual ซึ่งจะมีสีแตกต่างกันดังนี้

  • ตัวเลขออกเป็นสีเขียวแสดงตัวเลขดีกว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีแดงแสดงว่าตัวเลขแย่กว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีดำแสดงว่าตัวเลขเท่ากับค่าที่คาดการณ์หรือใกล้เคียงกับสถิติเดิม (Previous)

 

สิ่งที่ต้องสนใจในการเทรดข่าว Forex

 

1.  เรื่องค่าสกุลเงิน ถ้าเทรดสกุลไหนก็ต้องสนใจเฉพาะสกุลนั้น เช่นถ้าเราเช่น EUR/USD ก็สนใจเฉพาะข่าวของ USD และ EUR และเราต้องรู้ด้วยว่าถ้าข่าวออกมาจะทำให้ค่าเงินเราขึ้นหรือลง เช่น ถ้าเราเล่น EUR/USD ถ้าข่าวดอลลาร์สหรัฐออกมาดีแสดงคู่เงินที่มี USD อยู่หลังกราฟจะลง แต่ถ้าข่าว USD ออกมาไม่ดีกราฟจะขึ้น ในทางกลับกันถ้าข่าว EUR ออกมาดีกราฟจะขึ้นแต่ถ้าข่าว EUR ออกมาไม่ดีกราฟจะลง

2. เรื่องระดับความแรงของข่าว ระดับความแรงขอข่าวจะมีสามระดับดังรูป

forex_calendar

3. ค่าตัวเลขจริงที่ออก(Actual) ถ้าค่าตัวเล่นจริงที่ออกมาต่างจากค่าก่อนหน้า(Previous)มาก ยิ่งมีผลทำให้ค่าเงินวิ่งขึ้นลงแรงมาก แต่ก็ขึ้นอยู่กับความแรงของข่าวด้วย

ผู้ว่าฯ แบงก์ชาติกาง 3 แผนงานช่วย SME อยู่รอดในโลกยุคดิจิทัล

ผู้ว่าฯ แบงก์ชาติ เผยแผนงานพัฒนาฟิคเทคภายในงาน “Bangkok FinTech Fair 2020” หนุนประชาชนและภาคธุรกิจอยู่รอดในโลก New Normal ปักหมุดพัฒนาสารพัดโครงการดิจิทัลช่วยธุรกิจเอสเอ็มอี

นายวิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวปาฐกถาพิเศษในงาน “Bangkok FinTech Fair 2020″ ในรูปแบบออนไลน์ ภายใต้แนวคิด “Digital Transformation for the New Normal” ว่า ธปท.ได้จัดงาน Bangkok FinTech Fair ต่อเนื่องมาหลายปี เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนและภาคธุรกิจมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับเทคโนโลยีสมัยใหม่ รวมถึงสามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีทางการเงิน หรือที่เรียกว่า FinTech มาใช้ในชีวิตประจำวันและนำมาประยุกต์ใช้ในการทำธุรกิจได้ โดยปีนี้เป็นการจัดงานในรูปแบบ Virtual Conference เนื่องจากสถานการณ์โควิด-19

ทั้งนี้ FinTech มีบทบาทสำคัญมากในโลกยุคดิจิทัล เนื่องจากช่วยเพิ่มโอกาสใหม่ๆ ในการทำธุรกิจทั้งกับธนาคารและสถาบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคาร (Non-bank) รวมถึงช่วยเทคโนโลยีดังกล่าวช่วยให้ประชาชนได้ใช้บริการทางการเงินที่มีต้นทุนถูกลง และช่วยเพิ่มความปลอดภัยในการทำธุรกรรม
ขณะที่ในโลกหลังการแพร่นะบาดของโควิด-19 ที่เรียกว่าชีวิตวิถีใหม่ หรือ New Normal นั้น ทั้งสำหรับภาคประชาชนและธุรกิจจะเกิดการเปลี่ยนแปลงหลายด้าน โดย ธปท.เชื่อว่าเทคโนโลยีดิจิทัลจะเข้ามาเป็นหัวใจสำคัญในการปรับตัวเข้าสู่ยุคใหม่ที่มีการแข่งขันจะรุนแรงมากขึ้นจากกำลังการผลิตส่วนเกิน ดังนั้น ผู้ประกอบการที่ใช้เทคโนโลยีจะสามารถลดต้นทุนและยกระดับรูปแบบการทำธุรกิจของตน อีกด้านหนึ่ง เทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาเป็นตัวช่วยในยามที่ทุกคนต้องรักษาระยะห่างจากกัน ซึ่งธุรกิจที่ใช้ดิจิทัลจะก้าวข้ามความยากลำบากและปรับตัวได้ดีขึ้น
“การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 เป็นปัจจัยเร่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีดิจิทัลเร็วขึ้น หรือเรียกได้ว่าเสมือนมีคนกดปุ่ม ‘Fast Forward’ ซึ่งในโลกยุคใหม่นี้ ธุรกิจจึงต้องเร่งปรับตัวและเปลี่ยนแปลงตัวเอง” นายวิรไท กล่าว
นายวิรไท กล่าวอีกว่า ธปท.ตระหนักถึงความสำคัญของการปรับตัว ที่ต้องทำอย่างเร็วขึ้นและกว้างไกลขึ้นกว่าเดิม โดย ธปท.ได้พัฒนานวัตกรรมทางการเงินต่างๆ ออกมาในช่วงที่ผ่านมา ได้แก่ 1. ระบบชำระเงินพร้อมเพย์ (Promptpay) ที่เป็นการชำระเงินแบบ Instant Payment โดยได้รับการยอมรับเป็นวงกว้าง มียอดลงทะเบียนสูง 55.1 ล้านบัญชี และมียอดการใช้งานปัจจุบันประมาณ 20 ล้านรายการต่อวัน ขณะที่ระบบชำระเงินผ่าน QR Code ที่ต่อยอดจากพร้อมเพย์ ปัจจุบันมีผู้ใช้เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 6 ล้านบัญชี
“พฤติกรรมเหล่านี้ส่งผลให้การทำธุรกรรมรูปแบบเดิม เช่น การใช้เช็ค เบิกเงินสด หรือถอนเงินสดจากตู้และเคาท์เตอร์ ลดลงเรื่อยๆ เป็นสัญญาณดีว่าเศรษฐกิจไทยปรับตัว ซึ่งธุรกิจไหนก็ตามที่หันมาใช้ช่องทางใหม่ๆ ก็จะช่วยให้ทำธุรกิจได้ต่อเนื่อง ขยายโอกาสทางธุรกิจ รวมถึงตลาดใหม่ๆ ผ่านช่องทางออนไลน์ เชื่อว่าพร้อมเพย์ยังต่อยอดได้อีกมากเพื่อตอบโจทย์ภาคธุรกิจในระยะถัดไป” นายวิรไท กล่าว
2. โครงการอินทนนท์ ซึ่งเป็นโครงการพัฒนาสกุลเงินดิจิทัลที่ออกโดยธนาคารกลาง โดยได้มีการเริ่มทดลองทพธุรกรรมระหว่างธนาคารกลางและธนาคารในประเทศ รวมถึงระหว่างธนาคารกลางและธนาคารกลางต่างประเทศ ล่าสุเ ธปท.พึ่งทำการทดสอบการโอนเงินข้ามประเทศกับธนาคารกลางฮ่องกง รวมถึงอยู่ระหว่างพัฒนาระบบเพื่อให้สามารถชำระตราสารหรือพันธบัตรต่างๆ ต่อไป
และ 3. การยืนยันตัวตนผ่านเทคโนโลยีชีวมิติ (Biometrics) ซึ่งเป็นอุปสรรคสำคัญในการทำธุรกรรมการเงิน โดยปัจจุบันนี้นี้เริ่มเห็นการใช้ Biometric Facial Recognition หรือการยืนยันตัวตนผ่านใบหน้า ที่เป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาแพลตฟอร์ม National Digital ID (NDID) เริ่มถูกใช้ในภาคธนาคารเป็นมราเรียบร้อยแล้ว นอกจากนี้ ธปท.ร่วมกับกระทรวงการคลัง ส่งเสริมให้เกิด P2P Lending Platform เพื่อเพิ่มทางเลือกการเข้าถึงสินเชื่อแก่ประชาชน
นอกจากนี้ ธปท.อยู่ระหว่างจัดทำแผนงานและพัฒนาโครงการภายใต้การดูแลอีกหลายโครงการ อาทิ การวางระบบโครงสร้างพื้นฐานการชำระเงินสู่ภาคธุรกิจ ใช้ ISO 20022 เพื่อให้การส่งข้อมูลการเงินรูปแบบใหม่สามารถทำได้อย่างละเอียดมากขึ้น หรือกล่าวได้ว่าไม่ใช้แค่การแสดงข้อมูลธุรกรรมเบื้องต้น แต่เป็นข้อมูลเชิงลึกที่สามารถโยงไปสู่รายละเอียดธุรกรรมที่เกี่ยวข้อง รวมถึงอยู่ระหว่างการพัฒนาใบเสร็จระบเงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-Invoice) อย่างไรก็ดี การพัฒนาดังกล่าวต้องอาศัยความร่วมมือกับทุกฝ่ายทั้งสถาบันการเงิน ภาคธุรกิจ ห้างร้านต่างๆ โดยคาดว่าจะใช้เวลาอีก 1 ปีครึ่งนับจากนี้
ถัดมา การมีข้อมูลเชิงลึกรายธุรกิจ (Granular Data) ซึ่งสามารถนำมาตอบโจทย์ลูกค้าที่เป็นเจ้าของข้อมูลได้มากขึ้น เนื่องจากการทำธุรกรรมการเงินผ่านช่องทางดิจิทัลจะทิ้งรอยเท้าดิจิทัล (Digital Footprint) ซึ่งสามารถนำไปพัฒนาบริการทางการเงิน หรือปรับรูปแบบการบริการให้ตอบโจทย์ลูกค้าได้ดีขึ้น โดยปัจจุบันอยู่ในช่วงวางระบบสำหรับการจัดเก็บข้อมูลการชำระเงิน (Payment Data) ที่เป็นข้อมูลเชิงลึกเพื่อให้เกิดประโญชน์ต่อเจ้าของข้อมูลต่อไป
นอกจากนี้ ยังมีแผนงานอื่นๆ ในไปป์ไลน์ เช่น NDID ที่ยังจำกัดการให้บริการกับบางภาคส่วนอย่างธนาคารพาณิชย์ โดย ธปท.คาดว่าในอนาคต NDID จะสามารถพัฒนาเพื่อนำไปใช้ในธุรกิจการเงินอื่นๆ เช่น ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกรรมของภาครัฐ ฯลฯ รวมถึงเชื่อว่า NDID จะสามารถพัฒนาไปสู่การทำธุรกรรมได้หลากหลายมากกว่าการเงิน เช่น บัตรประชาชนดิจิทัลที่ทำธุรกรรมได้หลายประเภท เป็นต้น
รวมถึง Central Bank Digital Currency (CBDC) หรือสกุลเงินดิจิทัลที่ออกโดยธนาคารกลาง ปัจจุบันเริ่มทดสอบกับบริษัทขนาดใหญ่ ซึ่ง ธปท.หวังว่า CBDC จะเป็นกลไกสำคัญในการชำระเงินระหว่างภาคธุรกิจด้วยกันเองต่อไป
นายวิรไท กล่าวอีกว่า อีก 2 เรื่องใหม่ที่ ธปท.กำลังดำเนินการ ได้แก่
1. สินเชื่อบุคคลดิจิทัล ซึ่งคาดว่าจะช่วยให้ประชาชนสามารถขอสินเชื่อบนฐานข้อมูลที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น ไม่เพียงแต่สลิปเงินเดือนแบบที่ผ่านมา และยังจะช่วยให้ผู้ให้บริการทางการเงินรายใหม่ๆ สามารถใช้ข้อมูลดังกล่าวประเมินความเสี่ยงลูกค้าได้
และ 2. การสร้างระบบนิเวศน์ใหม่สำหรับ Digital Factoring เพื่อร่นระยะเวลาการรับเงินของ SME ซึ่งใบเสร็จการส่งมอบของต่างๆ เป็นอีกข้อมลที่ธุรกิจขนาดเล็กสามารถนำไปขอสินเชื่อได้ ซึ่งการปรับเปลี่ยนให้ข้อมูลเหล่านั้นมาอยู่บนดิจิทัลจะช่วยลดต้นทุนประมวลผล และลดการปลอมแปลงเอกสาร ซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างพัฒนาระบบฐานข้อมูลและขอความเห็นจากสาธารณะ
“ในงาน Bangkok FinTech Fair ในครั้งนี้ เชื่อว่านักลงทุนจะได้ประโยชน์ตลอดระยะเวลา 2 วัน ทั้งประโยชน์จากประสบการณ์ของสถาบันการเงิน ผู้กำกับดูแล และผู้ประกอบการหลายภาคส่วน ซึ่งเราเชื่อว่าจะเป็นประโยชน์ต่อทุกท่านในการปรับตัวรับโควิด-19 ในระยะสั้น และชีวิตวิถีใหม่ต่อจากนี้” นายวิรไท กล่าว
Source: ประชาชาติธุรกิจออนไลน์

คลิก

Cr.Bank of Thailand Scholarship Students
--------------------------------------------------------------------------------

เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี !!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b 

Line ID:@fxhanuman
Web : https://www.fxhanuman.com
Web : https://www.eluforex.com/
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/

เยี่ยมชม partner ของเราที่ Eluforex รีวิวโบรกเกอร์ Forex

#forex #ลงทุน #peppers #xm #fbs #exness #uag #icmarkets #avatrade #fxtm #tickmill #fxpro #fxopen #fxcl #forex3d #forex4you

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"