forex_calendar

1.  ตั้งเวลาให้ตรงกับประเทศไทยคือ (GMT+7:00) Bangkok, Hanoi, Jakarta
2.  ไว้สำหรับเลือกวันที่ต้องการดูข่าว
3.  เวลาข่าวออก
4.  ตระกูลเงินของข่าว
5.  ความรุนแรงของข่าว
6.  เหตุการณ์ของข่าว
7.  ค่าตัวเลขจริงที่ออก
8.  ค่าตัวเลขคาดการณ์
9.  ค่าตัวเลขครั้งก่อน

forex_calendar

เมื่อถึงเวลาข่าวออกตัวเลขค่าจริงจะแสดงออกมาในช่อง Actual ซึ่งจะมีสีแตกต่างกันดังนี้

  • ตัวเลขออกเป็นสีเขียวแสดงตัวเลขดีกว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีแดงแสดงว่าตัวเลขแย่กว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีดำแสดงว่าตัวเลขเท่ากับค่าที่คาดการณ์หรือใกล้เคียงกับสถิติเดิม (Previous)

 

สิ่งที่ต้องสนใจในการเทรดข่าว Forex

 

1.  เรื่องค่าสกุลเงิน ถ้าเทรดสกุลไหนก็ต้องสนใจเฉพาะสกุลนั้น เช่นถ้าเราเช่น EUR/USD ก็สนใจเฉพาะข่าวของ USD และ EUR และเราต้องรู้ด้วยว่าถ้าข่าวออกมาจะทำให้ค่าเงินเราขึ้นหรือลง เช่น ถ้าเราเล่น EUR/USD ถ้าข่าวดอลลาร์สหรัฐออกมาดีแสดงคู่เงินที่มี USD อยู่หลังกราฟจะลง แต่ถ้าข่าว USD ออกมาไม่ดีกราฟจะขึ้น ในทางกลับกันถ้าข่าว EUR ออกมาดีกราฟจะขึ้นแต่ถ้าข่าว EUR ออกมาไม่ดีกราฟจะลง

2. เรื่องระดับความแรงของข่าว ระดับความแรงขอข่าวจะมีสามระดับดังรูป

forex_calendar

3. ค่าตัวเลขจริงที่ออก(Actual) ถ้าค่าตัวเล่นจริงที่ออกมาต่างจากค่าก่อนหน้า(Previous)มาก ยิ่งมีผลทำให้ค่าเงินวิ่งขึ้นลงแรงมาก แต่ก็ขึ้นอยู่กับความแรงของข่าวด้วย

 เศรษฐกิจไทยจะไปต่อต้องก้าวข้ามเลขศูนย์

เมื่อช่วงต้นเดือนที่ผ่านมา ข่าวที่ทำให้ผู้คนตื่นเต้นต้อนรับวันหยุดยาวพอดี คงหนีไม่พ้นรายงานการพบ ผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในประเทศเป็น ครั้งแรกในรอบ 101 วัน ซึ่งอาจจะไม่ใช่เรื่องที่น่าแปลกใจมากนัก เพราะผลสำรวจโดยกระทรวงสาธารณสุขแสดงให้เห็นชัดเจนว่า

พฤติกรรมการป้องกันตัวเองของคนไทยแนวโน้มลดลงต่อเนื่องตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2563 ในทุกมิติ ไม่ว่าจะ เป็นการสวมใส่หน้ากาก การล้างมือ การรักษาระยะห่าง การระวังไม่เอามือไป จับหน้า จมูก และปาก หรือการกินอาหารร้อนและใช้ช้อนกลางของตัวเอง จริง ๆ แล้วอาจจะต้องบอกว่าเราโชคดีด้วยซ้ำที่อยู่กับตัวเลขศูนย์มาได้ถึง 100 วัน

นอกจากนี้ เรายังโชคดีซ้ำสองที่ ผู้ติดเชื้อคนนี้เป็นผู้กระทำความผิดที่เข้าสู่กระบวนการยุติธรรม ลองคิดดูว่าถ้าเขาไม่ได้เข้าเรือนจำ แต่ยังใช้ชีวิต ตามปกติจะมีคนที่อาจจะติดเชื้อจากเขาอีกมากน้อยแค่ไหน
กรณีล่าสุดที่เกิดขึ้นนี้คงทำให้คนไทย หันกลับมาระวังป้องกันตัวเองกันมากขึ้น เพราะชี้ให้เห็นว่ายังมีเชื้อโควิด-19 ที่อยู่ในประเทศรอการตรวจพบ (ผู้ติดเชื้อกรณี ล่าสุดไม่เคยเดินทางไปต่างประเทศ) ไม่นับ ว่าประเทศเพื่อนบ้านของเราดูจะมีอาการ หนักขึ้นทุกวัน ซึ่งอาจมีการนำเข้าเชื้อมาใน ประเทศได้ทุกเมื่อ ถึงตอนนี้ต้องนับว่า เราโชคดีต่อที่สามที่ผ่านมาหลายวันแล้วยัง ไม่พบผู้ติดเชื้อในประเทศเพิ่มเติม
มองอีกด้านหนึ่ง กรณีนี้เป็นโอกาส อันดีสำหรับภาครัฐในการสร้างความมั่นใจ ไม่ให้ประชาชนตื่นตระหนกจนเกินควร เวลาเห็นตัวเลขผู้ติดเชื้อในประเทศที่ไม่ใช่เลขศูนย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งไม่ให้ เกิดกระแสต่อต้านการเปิดรับนักท่องเที่ยว จากต่างประเทศในอนาคต การสร้างความมั่นใจนี้ไม่ใช่ว่ารัฐบาลจะต้องทำทุกอย่างให้กลับไปที่เลขศูนย์ แต่ต้องให้ประชาชนและธุรกิจส่วนใหญ่ของประเทศมั่นใจว่ารัฐบาล "เอาอยู่" ภายใต้ การระบาดที่ไม่รุนแรง
เช่น พบผู้ติดเชื้อใหม่ไม่เกิน 30 คนต่อวัน (จริง ๆ แล้วผู้อยู่ในแวดวงสาธารณสุขบางท่านบอกว่าได้ถึงวันละ 100 คน แต่ผมขอยืนตัวเลขที่เคยคุยกับกรมควบคุมโรคเมื่อหลายเดือนก่อนไว้ก่อน) ให้ถือว่าเป็นเรื่องปกติ ซึ่งหมายความว่า ภาครัฐ ต้องมีระบบการตรวจเชื้อ ติดตาม และ กักกัน (test, trace, isolate : TTI) ที่มี ประสิทธิภาพ ผนวกกับขีดความสามารถ ในการรองรับและรักษาผู้ป่วยที่เพียงพอ
ในขณะเดียวกัน ประชาชนเองต้องเข้าใจว่า การที่ตัวเลขผู้ติดเชื้อใหม่จะเป็นศูนย์ไปตลอดเป็นความคาดหวังที่แทบเป็นไปไม่ได้ และต้นทุนทางเศรษฐกิจ ที่ประเทศต้องจ่ายไปเพื่อตอบสนองความ คาดหวังนี้มีสูงมาก การดูแลตัวเอง ไม่ให้การ์ดตกจึงเป็นสิ่งที่จำเป็น การปฏิบัติตามแนวทางการป้องกันตัวเองของกระทรวงสาธารณสุขอย่างเคร่งครัด
นอกจากจะช่วยให้เราสามารถอยู่รอด ได้ภายใต้การระบาดอย่างอ่อน ๆ แล้ว ยังช่วยลดความเสี่ยงของการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ในวงกว้าง เป็นการ ลดทอนภาระของภาครัฐด้วย ซึ่งมี ตัวอย่างในหลายประเทศว่า เขาสามารถอยู่ร่วมกับการระบาดอย่างอ่อน ๆ ของโควิด-19 ได้ โดยอาจจะมีการระงับกิจกรรมบางประเภท หรือการล็อกดาวน์ บ้าง แต่ก็เป็นวงจำกัด และเป็นครั้งคราว ไม่ใช่ส่วนใหญ่ของประเทศ
ที่กล่าวมานี้ เนื่องจากในมุมมองทางเศรษฐกิจถ้าประเทศไทยไม่สามารถ เปิดรับนักท่องเที่ยวต่างประเทศได้ จนกว่าจะมีวัคซีนอย่างทั่วถึง ซึ่งคาดว่าคงเป็นปลายปีหน้า (วัคซีนอาจจะมีการค้นพบก่อน แต่ในระยะแรกคาดว่าจะจำกัดอยู่เพียงไม่กี่ประเทศ) เศรษฐกิจไทยปีหน้าอาจจะเกิดอาการที่ว่า "โลกฟื้น ไทยไม่ฟื้น" โดยประมาณการเศรษฐกิจเมื่อเดือนมิถุนายนของธนาคารแห่งประเทศไทยที่ให้ปี 2564 ขยายตัวได้ถึงร้อยละ 5 นั้น ตั้งอยู่บนสมมุติฐานว่า ปีหน้าจะมีนักท่องเที่ยวต่างชาติ เข้ามาประมาณ 16 ล้านคน สูงกว่าตัวเลขทางการของภาครัฐที่ออกมา ภายหลังที่ 12 ล้านคน
ซึ่งถ้ากระแสการเปิดรับนักท่องเที่ยวยังเป็นไปอย่างในปัจจุบัน กระทั่งตัวเลข 12 ล้านคนก็อาจจะยังโลกสวยเกินไป โดยจากการประเมินคร่าว ๆ ถ้านักท่องเที่ยว เข้ามาได้แค่ 3-4 ล้านคน เราอาจจะเห็น เศรษฐกิจปีหน้าติดลบเป็นปีที่ 2 ซึ่งจะมีนัยอย่างมากต่อภาคธุรกิจและตลาดแรงงาน
แน่นอนว่าการเปิดรับนักท่องเที่ยวเข้ามามีความเสี่ยงสูงมากที่จะนำเชื้อเข้ามาในประเทศ และถ้านำไปสู่การติดเชื้อจำนวนมาก เศรษฐกิจก็พังอยู่ดี กระทั่งหลังมีวัคซีนแล้วก็ไม่อาจจะวางใจได้ ผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ประเมินว่าวัคซีนที่หลายประเทศกำลังพัฒนาขึ้น อย่างดีที่สุดจะคล้ายกับวัคซีน ไข้หวัดใหญ่ กล่าวคือ ไม่สามารถป้องกัน การติดเชื้อได้ 100% และต้องฉีดซ้ำเป็น ระยะ ซึ่งหมายความว่าต่อให้นักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามาได้รับวัคซีนมาก่อนแล้ว ก็ยังอาจจะไม่สบายและแพร่เชื้อต่อได้
ดังนั้น การเปิดรับนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศจะต้องทำอย่างระมัดระวัง ค่อยเป็นค่อยไปและสอดคล้องกับสถานการณ์การแพร่ระบาดภายนอกประเทศ โดยในช่วงแรกอาจจะทำในรูปแบบของ sandbox โดยการจำกัดบริเวณท่องเที่ยว การคัดกรองและจำกัด จำนวนนักท่องเที่ยวเฉพาะกลุ่ม เฉพาะ ประเทศ ก่อนที่จะขยายเป็นวงกว้างขึ้น
เท่าที่ทราบรัฐบาลกำลังพิจารณา ข้อเสนอของเอกชนจังหวัดภูเก็ต ซึ่ง ได้รับผลกระทบรุนแรงที่สุดจากการ หายไปของนักท่องเที่ยวต่างประเทศ ว่าจะ ทำอย่างไรในรายละเอียดจึงจะเปิดรับ นักท่องเที่ยวเข้ามาได้ โดยมีความเสี่ยงที่เกิดการติดเชื้อจากนักท่องเที่ยวให้น้อยที่สุด รวมถึงมีแนวการควบคุมสถานการณ์ที่ชัดเจนและมีประสิทธิภาพ หากตรวจพบการแพร่ระบาดหลังจากการเปิดรับ นักท่องเที่ยว ซึ่งอาจจะไม่ต้องรีบร้อนในเดือนสองเดือนนี้ เพื่อให้การพิจารณาเป็นไปอย่างรอบด้าน
ทั้งนี้ รัฐและประชาชนต้องเข้าใจว่าทุกอย่างมีความเสี่ยง แต่ผมเชื่อว่าการเปิดรับนักท่องเที่ยวเป็นความเสี่ยงที่คุ้มผลตอบแทนและสามารถบริหารจัดการได้ ซึ่งการเปิด ๆ ปิด ๆ อาจเป็นองค์ประกอบหนึ่งที่จำเป็นในการควบคุมสถานการณ์ อย่างไรก็ดี รัฐต้องไม่อ่อนไหว จนเกินไป ไม่ใช่ว่าปิดทุกครั้งที่พบการติดเชื้อขึ้นมา 1-2 เคส ซึ่งการจะ ไม่ให้เกิดกระแสการต่อต้านนักท่องเที่ยว ต้องกลับไปที่ความเข้าใจและความมั่นใจของประชาชนในความสามารถในการควบคุมสถานการณ์ของภาครัฐในภาวะที่จำนวนผู้ติดเชื้อใหม่ไม่ใช่ เลขศูนย์อีกต่อไป และถ้าประชาชนมีความมั่นใจก็จะช่วยให้ภาครัฐบริหารจัดการได้ง่ายขึ้นด้วย
ข้อมูลล่าสุดชี้ว่า เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องจากช่วงเดือนเมษายน แต่เส้นทางการฟื้นตัวกลับเป็นปกติยังอีกยาวนานพอสมควร และมีโอกาสเกิดอุบัติเหตุระหว่างทางได้ตลอดเวลา ผมหวังว่าการฟื้นตัวจะไม่สะดุดลงเพราะเราไปยึดติดกับเลขศูนย์จนไม่สามารถเปิดรับนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศได้
คอลัมน์ ร่วมด้วยช่วยกันคิด: ดร.ดอน นาครทรรพ สายนโยบายการเงิน ธปท.
หมายเหตุ - บทความนี้เป็นข้อ คิดเห็นส่วนบุคคล ซึ่งไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกับข้อคิดเห็นของธนาคารแห่งประเทศไทย
Source: ประชาชาติธุรกิจออนไลน์

คลิก

Cr.Bank of Thailand Scholarship Students
--------------------------------------------------------------------------------

เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี !!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b 

Line ID:@fxhanuman
Web : https://www.fxhanuman.com
Web : https://www.eluforex.com/
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/

เยี่ยมชม partner ของเราที่ Eluforex รีวิวโบรกเกอร์ Forex

#forex #ลงทุน #peppers #xm #fbs #exness #uag #icmarkets #avatrade #fxtm #tickmill #fxpro #fxopen #fxcl #forex3d #forex4you

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"