forex_calendar

1.  ตั้งเวลาให้ตรงกับประเทศไทยคือ (GMT+7:00) Bangkok, Hanoi, Jakarta
2.  ไว้สำหรับเลือกวันที่ต้องการดูข่าว
3.  เวลาข่าวออก
4.  ตระกูลเงินของข่าว
5.  ความรุนแรงของข่าว
6.  เหตุการณ์ของข่าว
7.  ค่าตัวเลขจริงที่ออก
8.  ค่าตัวเลขคาดการณ์
9.  ค่าตัวเลขครั้งก่อน

forex_calendar

เมื่อถึงเวลาข่าวออกตัวเลขค่าจริงจะแสดงออกมาในช่อง Actual ซึ่งจะมีสีแตกต่างกันดังนี้

  • ตัวเลขออกเป็นสีเขียวแสดงตัวเลขดีกว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีแดงแสดงว่าตัวเลขแย่กว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีดำแสดงว่าตัวเลขเท่ากับค่าที่คาดการณ์หรือใกล้เคียงกับสถิติเดิม (Previous)

 

สิ่งที่ต้องสนใจในการเทรดข่าว Forex

 

1.  เรื่องค่าสกุลเงิน ถ้าเทรดสกุลไหนก็ต้องสนใจเฉพาะสกุลนั้น เช่นถ้าเราเช่น EUR/USD ก็สนใจเฉพาะข่าวของ USD และ EUR และเราต้องรู้ด้วยว่าถ้าข่าวออกมาจะทำให้ค่าเงินเราขึ้นหรือลง เช่น ถ้าเราเล่น EUR/USD ถ้าข่าวดอลลาร์สหรัฐออกมาดีแสดงคู่เงินที่มี USD อยู่หลังกราฟจะลง แต่ถ้าข่าว USD ออกมาไม่ดีกราฟจะขึ้น ในทางกลับกันถ้าข่าว EUR ออกมาดีกราฟจะขึ้นแต่ถ้าข่าว EUR ออกมาไม่ดีกราฟจะลง

2. เรื่องระดับความแรงของข่าว ระดับความแรงขอข่าวจะมีสามระดับดังรูป

forex_calendar

3. ค่าตัวเลขจริงที่ออก(Actual) ถ้าค่าตัวเล่นจริงที่ออกมาต่างจากค่าก่อนหน้า(Previous)มาก ยิ่งมีผลทำให้ค่าเงินวิ่งขึ้นลงแรงมาก แต่ก็ขึ้นอยู่กับความแรงของข่าวด้วย

ยอดช่วยเหลือลูกหนี้จากสถาบันการเงินแตะ ‘7.2ล้านล้าน’ ธปท.จ่องัดมาตรการดูแลเพิ่ม

“แบงก์ชาติ” เตรียมออกมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ต่อเนื่อง ขณะ ยอดเข้าโครงการช่วยเหลือล่าสุดแตะ 7.2 ล้านล้าน เป็นการช่วยเหลือในกลุ่ม “แบงก์-นอนแบงก์” 4.25 ล้านล้าน ขณะ สินเชื่อรายย่อยรับการช่วยเหลือราว 1.63 ล้านล้าน ด้าน “แบงก์รัฐ” เร่งช่วยเหลือ 3.02 ล้าน

ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เตรียมทยอยออกมาตรการดูแลกลุ่มลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 อย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุดมีลูกหนี้ที่ได้รับการช่วยเหลือจาก ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารเฉพาะกิจของรัฐ และ บริษัทที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน(นอนแบงก์) ณ สิ้นเดือนก.ค.2563 รวม 7.20 ล้านล้านบาท คิดเป็นจำนวนบัญชีรวม 12.52 ล้านบัญชี
ในจำนวนนี้ แบ่งเป็น การช่วยเหลือในส่วนของธนาคารพาณิชย์และนอนแบงก์ คิดเป็นยอดสินเชื่อรวม 4.25 ล้านล้านบาท จากจำนวนบัญชีรวม 6.12 ล้านบัญชี โดยการช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อยคิดเป็นยอดสินเชื่อรวม 1.63 ล้านล้านบาท และคิดเป็นจำนวนบัญชีรวม 5.74 ล้านบัญชี ซึ่งลดลงเล็กน้อย เนื่องจากลูกหนี้ทยอยสิ้นสุดมาตรการช่วยเหลือระยะที่ 1
อย่างไรก็ตาม การให้ความช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อยตามมาตรการระยะที่ 1 คิดเป็นสัดส่วน 90% ของการช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อยสะสมทั้งหมด
สำหรับอีก 10% เป็นการให้ความช่วยเหลือตามมาตรการให้ความช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อยในระยะที่ 2 ซึ่งประกอบด้วย
(1) ลูกหนี้ที่สิ้นสุดการให้ความช่วยเหลือมาตรการระยะที่ 1 และมาต่อมาตรการระยะที่ 2
(2) ลูกหนี้บัญชีใหม่ ที่ไม่เคยได้รับความช่วยเหลือมาก่อน
ทั้งนี้ ลูกหนี้ที่สิ้นสุดมาตรการช่วยเหลือระยะที่ 1 และไม่ขอต่อมาตรการช่วยเหลือระยะที่ 2 ส่วนใหญ่เป็นลูกหนี้เช่าซื้อ ที่สามารถกลับมาจ่ายค่างวดได้ปกติ
ส่วนการให้ความช่วยเหลือของธนาคารรัฐ ตามนโยบาย ธปท. และภาครัฐ คิดเป็นยอดสินเชื่อรวมเกือบ 3 ล้านล้านบาท จากจำนวนบัญชีประมาณ 6 ล้านบัญชี
**ธปท.ย้ำช่วยลูกหนี้เต็มที่
นายรณดล นุ่มนนท์ รองผู้ว่าการด้านเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธปท. กล่าวว่า ธปท. กำลังติดตามดูว่า หลังหมดมาตรการช่วยเหลือในระยะแรก จะมีลูกหนี้ที่ขอเข้าสู่การช่วยเหลือ(Opt in) ในระยะที่สอง ปริมาณเท่าใด ซึ่งธปท.เชื่อว่าจะน้อยลงมาก
“เราเชื่อว่ากิจกรรมทางเศรษฐกิจที่เริ่มกลับมา ทำให้ลูกหนี้หลายรายเริ่มมีความสามารถในการชำระหนี้ได้ตามปกติ และอาจจะเลือกไม่ Opt in เข้าสู่การช่วยเหลือในเฟสสอง แต่เราไม่ได้นิ่งนอนใจ ยังคงต้องติดตามดูต่อเนื่อง”
เขายอมรับว่า การจำแนกลูกหนี้แต่ละกลุ่มเป็นเรื่องท้าทาย เพราะลูกหนี้อาจมีสถานะเปลี่ยนไปหากเกิดการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในรอบที่สอง ดังนั้นสิ่งที่เราต้องให้ความสำคัญ คือ การช่วยเหลือลูกหนี้ และทาร์เก็ตลูกหนี้ให้ชัดเจน เพราะความไม่แน่นอนเยอะ
**เร่งช่วยลูกหนี้ปรับตัวหลังโควิด
นอกจากนี้ นายรณดล กล่าวด้วยว่า กลุ่มธุรกิจท่องเที่ยวและที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยว เช่น โรงแรม สายการบิน และรถทัวร์ ถือเป็นกลุ่มที่โดนผลกระทบโดยตรงจากโควิด-19 ดังนั้น ธปท. จำเป็นต้องหาแนวทางช่วยเหลือลูกหนี้เหล่านี้ โดยทำควบคู่ไปกับการปรับเปลี่ยนโมเดลธุรกิจใหม่ให้สอดคล้องกับโลกหลังโควิดด้วย เพราะปัจจุบันบางเซ็กเตอร์ยังมีอุปทานส่วนเกิน หรือการท่องเที่ยวที่ทุกอย่างจะไม่กลับมาเป็นเหมือนเดิม โดยเฉพาะจำนวนนักท่องเที่ยวหลังจากนี้คงยังไม่กลับมาสู่ระดับ 40 ล้านคนเหมือนอดีต ดังนั้นภาคธุรกิจจึงต้องเร่งปรับตัวเพื่อสอดรับกับบริบทที่เปลี่ยนไป
"ภาครัฐและเอกชนต้องหาแนวทางที่จะตอบโจทย์กลุ่มเหล่านี้ ทั้งด้านการเงินที่จำเป็นต้องเยียวยาต่อเนื่อง และหาแนวทางปรับโครงสร้างหนี้ควบคู่กันไปให้เหมาะสมกับการเปลี่ยนโครงสร้างทางธุรกิจด้วย"
**‘กสิกร’หวัง70%กลับมาชำระหนี้
ด้านนายสุรัตน์ ลีลาทวีวัฒน์ รองกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KBANK กล่าวว่า ลูกหนี้เอสเอ็มอีที่ได้รับการช่วยเหลือจากธนาคารผ่านมาตรการระยะที่ 1 และ 2 มีประมาณ 9.8 หมื่นบัญชี หรือคิดเป็นวงเงินราว 6 แสนล้านบาท
ทั้งนี้ หลังหมดมาตรการช่วยเหลือ ซึ่งส่วนใหญ่หมดในเดือน ต.ค.นี้ คาดว่า ลูกหนี้เหล่านี้มีศักยภาพกลับมาชำระหนี้ปกติได้ราว 60-70% สะท้อนจากลูกหนี้กลุ่มนี้แม้จะได้รับความช่วยเหลือ แต่ยังสามารถชำระหนี้ได้ตามปกติ และสามารถจ่ายได้เกินดอกเบี้ยที่ต้องชำระ
ส่วนอีกประมาณ 30% หรือราว 2 แสนล้านบาท ธนาคารอยู่ระหว่างประเมินว่า จะรับการช่วยเหลือต่อหรือไม่ ซึ่งไม่ได้หมายความว่าลูกหนี้ทั้ง 30% นี้ จะต้องเข้ารับการช่วยเหลือจากธนาคารต่อทั้งหมด เพราะยังมีอีกหลายธุรกิจที่สามารถไปต่อได้ เพียงแต่ในหมวดธุรกิจโรงแรม ท่องเที่ยว ยังจำเป็นต้องให้ความช่วยเหลืออย่างต่อเนื่อง
สำหรับลูกหนี้รายย่อย ที่เข้าโครงการถือว่าใกล้เคียงกันที่ราว 6 แสนบัญชี มูลหนี้ราว 1.9 แสนล้านบาท ซึ่งคาดว่าลูกหนี้กลุ่มนี้มีโอกาสกลับมาชำระหนี้ได้ปกติใกล้ 70% อย่างบัตรเครดิต สินเชื่อบุคคล ที่ปัจจุบันลูกหนี้มีภาระลดลง
**SCB สั่งประคองลูกหนี้ไม่ให้สะดุด
ด้านนางพิกุล ศรีมหันต์ รองผู้จัดการใหญ่อาวุโส ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจเอสเอ็มอี ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) กล่าวว่า ถ้าดูลูกหนี้ที่ได้รับการช่วยเหลือจากธนาคารทั้งหมดมีประมาณ 8 แสนล้านบาท หรือคิดเป็น 39% ของสินเชื่อคงค้างทั้งหมด ในจำนวนนี้มีทั้งการช่วยเหลือผ่านการพักชำระหนี้ เลื่อนการชำระหนี้เงินต้น รวมถึงการของสินเชื่อซอฟท์โลนดอกเบี้ย 2%
สำหรับลูกค้าที่เข้ามาตรการการช่วยเหลือและใกล้ครบกำหนดระยะการช่วยเหลือ ทางธนาคารพิจารณาการช่วยเหลือเป็นรายลูกค้า เพื่อทบทวนมาตรการเพื่อช่วยเหลือลูกค้าว่าเพียงพอต่อการให้การช่วยเหลือหรือไม่ เพื่อประคองให้ลูกค้าสามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้โดยไม่สะดุด
**BAYรุดช่วยเหลือเฟส2
ด้านธนาคารกรุงศรีอยุธยา (BAY) ระบุว่า มาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ที่ธนาคารให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ไปแล้ว ผ่านมาตรการต่างๆ เช่น การพักชำระหนี้ให้เอสเอ็มอี ออกไป 6 เดือน วงเงินไม่เกิน 100 ล้านบาท อยู่ที่ราว 8 พันราย ผ่านโครงการซอฟท์โลนออมสิน 1,200 ราย และซอฟท์โลนธปท. 4,000 ราย และยังมีการปรับโครงสร้างหนี้เพื่อยืดระยะเวลาผ่อนชำระหนี้ประมาณ 600 ราย
ด้านนางกฤติยา ศรีสนิท ประธานคณะเจ้าหน้าที่ด้านธุรกิจสินเชื่อยานยนต์ หรือกรุงศรีออโต้ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า หลายธุรกิจมีแนวโน้มจะฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป ซึ่งในระหว่างนี้ กรุงศรี ออโต้ ได้รวบรวมข้อมูลเพื่อนำมาประเมินมาตรการช่วยเหลือต่อไป โดยพร้อมให้การช่วยเหลือลูกค้าอย่างต่อเนื่องและเหมาะสม ตามแนวทางการให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบ (Responsible Lending)
อย่างไรก็ตามที่ผ่านมา กรุงศรี ออโต้ ได้ดำเนินมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้จากผลกระทบโควิด ในระยะแรกแล้ว 650,000 ราย โดยการพักหนี้สูงสุด 6 เดือนและปรับโครงสร้างหนี้ นอกจากนี้ยังไม่ได้ขยายการช่วยเหลือในเฟส2 โดยให้ลดค่างวดผ่อนชำระสูงสุด 30% ของค่างวดเดิม และพักเงินต้นดอกเบี้ย
นางกฤติยา กล่าวว่า มีลูกค้าที่เข้าร่วมโครงการในระยะแรก แจ้งความจำนงเข้าร่วมโครงการต่อในระยะที่สองแล้วประมาณ 15% ในขณะที่ลูกค้าส่วนใหญ่สามารถกลับมาชำระค่างวดได้ตามปกติ
ด้านกรุงศรีคอนซูมเมอร์ พบว่า มีลูกหนี้ที่ได้รับมาตรการช่วยเหลือในมาตรการระยะ1 ผ่านการปรับลดยอดผ่อนชำระขั้นต่ำโดยอัตโนมัติ มีลูกค้าร่วมโครงการ 4.2 ล้านบัญชี มาตรการที่ 2 พักชำระเงินต้นและดอกเบี้ยนานสูงสุด 2 รอบบัญชีแบบอัตโนมัติ มีลูกค้าเข้าร่วมโครงการกว่า 8 แสนบัญชี และ การปรับลดอัตราดอกเบี้ยเป็นกรณีพิเศษ (Refinance) ทั้งบัตรเครดิตและสินเชื่อบุคคลของกรุงศรี คอนซูมเมอร์ (ช่วงระยะดำเนินมาตรการ 13 เม.ย. 2563 - 30 มิ.ย. 2563)มีลูกค้าที่ได้รับการอนุมัติเข้าร่วมมาตรการแล้วกว่า 8 หมื่นบัญชี
ส่วนมาตรการระยะที่สอง มีลูกหนี้ที่ได้รับการช่วยเหลือเข้ามาตรการระยะสองแล้ว ตั้งแต่ 1 ก.ค.กว่า 1 หมื่นบัญชี ส่วนลูกหนี้จะสามารถออกจากโครงการและกลับมาชำระหนี้ปกติได้สัดส่วนเท่าไหร่นั้น อยู่ระหว่างการประเมิน
**‘กรุงไทย’เร่งประเมินลูกหนี้ลูกหนี้
ด้านธนาคารกรุงไทย เปิดเผยว่า ปัจจุบันมีลูกหนี้ ที่ได้รับการช่วยเหลือจากแบงก์ ผ่านมาตรการต่างๆ ในระยะที่ 1 และระยะที่ 2 แล้ว กว่า 200,000 ราย ส่วนลูกหนี้จะสามารถกลับมาจ่ายหนี้ได้ปกติสัดส่วนเท่าไหร่นั้นอยู่ระหว่างการประเมินเช่นเดียวกัน
ส่วนโครงการ แก้หนี้ให้ภาคธุรกิจ 50-500 ล้านบาท ในการเข้าไปเร่งปรับโครงสร้างหนี้ หรือโครงการ DR biz จากการสำรวจเบื้องต้นพบว่ามีลูกค้าที่เข้าข่าย ประมาณ 2,500 ราย วงเงินสินเชื่อประมาณ 150,000 ล้านบาท โดยจะประเมินว่าลูกค้าจะเข้าร่วมโครงการมากน้อยเพียงใดอีกครั้งเมื่อโครงการเริ่มมีผลบังคับใช้ เพราะการจะเข้าร่วมโครงการหรือไม่ขึ้นอยู่กับความสมัครใจของลูกค้าด้วย
Source: กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

คลิก


Cr.Bank of Thailand Scholarship Students
--------------------------------------------------------------------------------
เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี !!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b 

Line ID:@fxhanuman
Web : https://www.fxhanuman.com
Web : https://www.eluforex.com/
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/

เยี่ยมชม partner ของเราที่ Eluforex รีวิวโบรกเกอร์ Forex

#forex #ลงทุน #peppers #xm #fbs #exness #uag #icmarkets #avatrade #fxtm #tickmill #fxpro #fxopen #fxcl #forex3d #forex4you

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"