forex_calendar

1.  ตั้งเวลาให้ตรงกับประเทศไทยคือ (GMT+7:00) Bangkok, Hanoi, Jakarta
2.  ไว้สำหรับเลือกวันที่ต้องการดูข่าว
3.  เวลาข่าวออก
4.  ตระกูลเงินของข่าว
5.  ความรุนแรงของข่าว
6.  เหตุการณ์ของข่าว
7.  ค่าตัวเลขจริงที่ออก
8.  ค่าตัวเลขคาดการณ์
9.  ค่าตัวเลขครั้งก่อน

forex_calendar

เมื่อถึงเวลาข่าวออกตัวเลขค่าจริงจะแสดงออกมาในช่อง Actual ซึ่งจะมีสีแตกต่างกันดังนี้

  • ตัวเลขออกเป็นสีเขียวแสดงตัวเลขดีกว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีแดงแสดงว่าตัวเลขแย่กว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีดำแสดงว่าตัวเลขเท่ากับค่าที่คาดการณ์หรือใกล้เคียงกับสถิติเดิม (Previous)

 

สิ่งที่ต้องสนใจในการเทรดข่าว Forex

 

1.  เรื่องค่าสกุลเงิน ถ้าเทรดสกุลไหนก็ต้องสนใจเฉพาะสกุลนั้น เช่นถ้าเราเช่น EUR/USD ก็สนใจเฉพาะข่าวของ USD และ EUR และเราต้องรู้ด้วยว่าถ้าข่าวออกมาจะทำให้ค่าเงินเราขึ้นหรือลง เช่น ถ้าเราเล่น EUR/USD ถ้าข่าวดอลลาร์สหรัฐออกมาดีแสดงคู่เงินที่มี USD อยู่หลังกราฟจะลง แต่ถ้าข่าว USD ออกมาไม่ดีกราฟจะขึ้น ในทางกลับกันถ้าข่าว EUR ออกมาดีกราฟจะขึ้นแต่ถ้าข่าว EUR ออกมาไม่ดีกราฟจะลง

2. เรื่องระดับความแรงของข่าว ระดับความแรงขอข่าวจะมีสามระดับดังรูป

forex_calendar

3. ค่าตัวเลขจริงที่ออก(Actual) ถ้าค่าตัวเล่นจริงที่ออกมาต่างจากค่าก่อนหน้า(Previous)มาก ยิ่งมีผลทำให้ค่าเงินวิ่งขึ้นลงแรงมาก แต่ก็ขึ้นอยู่กับความแรงของข่าวด้วย

ภารกิจ ‘แบงก์ชาติ’ อุ้ม ‘ลูกหนี้’ ฝ่าวิกฤติโควิด

วิกฤติเศรษฐกิจรอบนี้ เป็นวิกฤติที่ไม่มีใครคาดคิดมาก่อนว่าจะเกิดขึ้น เป็นวิกฤติที่เกิดขึ้นแบบไม่ทันตั้งตัว เพราะเกิดจากโรคระบาดทำให้ต้อง “ปิดเมือง” เพื่อหยุดยั้งการแพร่เชื้อ ส่งผลกระทบต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่หยุดชะงักลงแบบฉับพลัน

แต่ด้วยความที่ ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) กำกับดูแลสถาบันการเงินอย่างเข้มงวดมาตลอด ได้เตรียมความพร้อมเพื่อรับมือกับวิกฤติที่อาจเกิดขึ้นได้ในทุกรูปแบบ และเตรียมตัวมาอย่างยาวนาน หลังได้บทเรียนจากวิกฤติต้มยำกุ้งเมื่อปี 2540 ทำให้สถาบันการเงินไทยเวลานี้มีความเข้มแข็งเพียงพอ พร้อมรับมือกับทุกสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้น
ในวิกฤติทุกครั้งจะเห็นว่า “คน” มักแห่ไปถอนเงินออกจากสถาบันการเงิน ตัวอย่างในปี 2540 คือ ภาพที่ชัดเจน ...แต่วิกฤติครั้งนี้ คนส่วนใหญ่กลับถอนการลงทุนในสินทรัพย์ต่างๆ เพื่อนำเงินมาฝากไว้กับสถาบันการเงินแม้จะได้ดอกเบี้ยน้อยนิด เรื่องนี้ถือเป็นเครื่องยืนยันว่า ประชาชนส่วนใหญ่ยังให้ความมั่นใจต่อสถาบันการเงินไทยอย่างดี แต่ไม่ว่าสถาบันการเงินจะแข็งแกร่งแค่ไหน หากปล่อยให้ลูกหนี้ที่มีปัญหาทั้งหมดล้มไปโดยไม่ช่วยเหลือ สถาบันการเงินเหล่านั้นก็อยู่ไม่ได้เช่นกัน ดังนั้นวิกฤติในคราวนี้เราจึงเห็นความช่วยเหลือพุ่งเป้าไปที่ตัว “ลูกหนี้” มากกว่า “เจ้าหนี้”
"รณดล นุ่มนนท์" รองผู้ว่าการด้านเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ให้สัมภาษณ์ “กรุงเทพธุรกิจ” โดยยืนยันว่า สถาบันการเงินไทยในปัจจุบันยังมีความเข้มแข็งและมั่นคงอย่างมาก สะท้อนจากระดับเงินกองทุนที่สูง คอยเป็นกลไกหลักในการช่วยเหลือลูกหนี้และช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยในระยะข้างหน้าได้
ด้วยความที่สถาบันการเงินไทยมีความเข้มแข็ง การแก้วิกฤติครั้งนี้จึงเน้นไปที่การช่วยดูแล “ลูกหนี้” แบบเฉพาะเจาะจงมากขึ้น ซึ่งในระยะข้างหน้าคงมีมาตรการออกมาดูแลอย่างต่อเนื่อง เพียงแต่ ธปท. จะไม่ออกมาตรการที่เป็นการทั่วไปที่อาจกินส่วนทุนของธนาคารพาณิชย์ได้ และการช่วยเหลือก็ต้องมองถึงความสมดุล ต้องทำให้มั่นใจว่าระบบธนาคารพาณิชย์ยังมีความเข็มแข็งอยู่ เนื่องจากไม่มีใครรู้ว่าวิกฤติโควิดจะจบลงเมื่อไหร่
รณดล บอกด้วยว่า ในส่วนของหนี้ครัวเรือน ยอมรับว่ามีความเปราะบางมากขึ้น ซึ่งวิกฤตโควิด-19 เป็นตัวที่เข้ามากระทบต่อความสามารถการชำระหนี้ของครัวเรือน ให้เปราะบางมากขึ้น จากก่อนหน้าที่ หนี้สินครัวเรือนอยู่ในระดับสูงอยู่แล้ว ดังนั้นมาตรการที่ธปท.ทำตั้งแต่ต้นปี คือ หาแนวทางลดภาระหนี้ของภาคครัวเรือนลง เช่น การลดดอกเบี้ย หรือการปรับเปลี่ยนสินเชื่อให้เป็นระยะยาว
ขณะเดียวกันต้องหาแนวทางลดภาระหนี้ครัวเรือนให้มากขึ้น เช่น การให้ความรู้ทางการเงิน การสร้างวินัยทางการเงิน และต้องทำให้ตระหนักถึง Responsible lending หรือ การปล่อยสินเชื่ออย่างมีความรับผิดชอบ โดยให้ดูรายได้สุทธิลูกหนี้ด้วยว่ามีเพียงพอในการดำรงชีพหรือไม่
สำหรับการให้สถาบันการเงินทำแบบทดสอบภาวะวิกฤติ (Stress test) เนื่องจาก ธปท. ต้องการเห็นภาพของระบบสถาบันการเงินในระยะข้างหน้า โดยเฉพาะในอีก 3 ปีข้างหน้า ว่าสถาบันการเงินจะเป็นอย่างไร ดังนั้น Stress test ก็คือผลลัพท์ที่จะนำมาตอบโจทย์ ประมาณการเงินกองทุน นโยบายปันผลและการตั้งสำรองของระบบสถาบันการเงินในระยะข้างหน้า เพราะธปท.อยากเห็นแบงก์ ยืนอยู่ด้วยความมั่นคง และเป็นกลไกในการช่วยเหลือลูกหนี้ เนื่องจากผลกระทบจากโควิด-19 อาจลากยาวก็เป็นได้
อย่างไรก็ตาม หากดูเงินกองทุนของระบบธนาคาพาณิชย์ในปัจจุบันมีสูงถึง 19.2% และมีเงินสำรองสูงถึง 144% หากเทียบกับหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้หรือเอ็นพีแอล ต้องถือว่ามีสำรองอยู่ค่อนข้างมาก
ทั้งนี้ การทำ Stress test เบื้องต้น อยู่บนสมมุติฐาน ตามคาดการณ์การขยายตัวเศรษฐกิจหรือจีดีพีที่ติดลบราว 8.1% ปีนี้ และกรณีร้ายแรงที่สุด คือ จีดีพี ติดลบที่ราวๆ 12%
“การให้แบงก์ทำ Stress test ถือเป็นเรื่องที่สำคัญ เพื่อวางแผน 3 ปีข้างหน้า ว่าเงินกองทุนจะเป็นอย่างไร ตอบคำถามไปถึง นโยบายปันผลด้วย ว่าจะสามารถจ่ายได้หรือไม่ ดังนั้นเราอยากดู Stress test ที่จะออกมาต.ค.นี้ก่อน สิ่งที่ทำเหมือนการจับควันให้ไว เพราะสถานการณ์เปลี่ยนทุกวัน สถานะลูกหนี้ก็เปลี่ยนตลอด ดังนั้นเราต้องจับควันให้ไว ต้องมอนิเตอร์ใกล้ชิด ส่วนสำรองก็เชื่อว่าน่าจะเพิ่มขึ้นทุกไตรมาส ไม่ได้หยุดอยู่แค่นี้”
อย่างไรก็ตาม การทำแผน Stress test ไม่เพียงแต่ ดูจากปัจจัยพื้นฐานเท่านั้น แต่บางสถาบันการเงินจำเป็นต้องทำแผนการเชื่อมโยงให้สอดรับกับสถานการณ์ต่างประเทศด้วย ให้สามารถเชื่อมโยงกับความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้น เพื่อให้แผนมีความสมจริงสมจังมากที่สุด หากต่างประเทศเกิดวิกฤต จะกระทบต่อลูกหนี้แบงก์อย่างไร ดังนั้นแต่ละแบงก์จะต้องมีอะไรเพิ่มเติม จากสมมุติฐานที่ธปท.วางไว้ ซึ่งเป็นสิ่งที่ธปท.อยากเห็น
ทั้งนี้ หากดูระบบแบงก์ปัจจุบัน พบว่าสถานการณ์กลับข้าง หากเทียบกับวิกฤตที่ผ่านมา ที่เกิด Bank Run คือ ประชาชนแห่มาถอนเงิน แต่วันนี้เราจะเห็นประชาชนนำเงินมาฝากไว้กับระบบธนาคารมากขึ้น แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า เงินฝากจะอยู่ตรงนี้ตลอด เพราะวันนี้ดอกเบี้ยเงินฝากอยู่ในระดับต่ำ ดังนั้นสิ่งที่ต้องติดตามใกล้ชิด คือ การ Search for yield
อีกทั้งจากเงินฝากที่เข้ามามาก ก็เป็นสิ่งที่แบงก์ต้องบริหารจัดการ และต้องบริหารจัดการด้าน ภาระค่าใช้จ่าย หรือ Credit cost ที่สูงขึ้น และแบงก์ต้องประเมินว่าภายใต้ Credit cost ปัจจุบันมีความสามารถปล่อยกู้ลูกหนี้ได้มากน้อยแค่ไหน แต่ทั้งนี้ไม่ใช่ว่า ดอกเบี้ยต่ำกว่านี้ แล้วจะช่วยให้แบงก์ปล่อยกู้ลูกหนี้ที่มีประสิทธิภาพได้
แต่หาก Cerdit cost สูง แบงก์ก็อาจลังเลในการปล่อยสินเชื่อลูกหนี้มากขึ้น ดังนั้น หลายมาตรการรัฐที่ออกมา ก็เพื่อลดภาระ Credit cost ให้ลดลง เช่นมาตรการซอฟท์โลน ที่เข้าไปชดเชยความเสี่ยง ถือเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ Credit cost แบงก์ดีขึ้น
รณดล บอกด้วยว่า อีกประเด็นที่ ธปท. ดูแลมาตลอด คือ ผลจากการลดเงินสมทบเข้ากองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบัน(FIDF) ที่ ธปท. ได้ลดค่าธรรมเนียมการนำส่งเงินจากฐานเงินฝากลงมาอยู่ที่ 0.23% จากเดิม 0.46% เป็นเวลา 2 ปี เพื่อต้องการให้สถาบันการเงิน นำไปส่งผ่านสู่ประชาชน และลูกหนี้ ดังนั้นขณะนี้ ธปท.อยู่ระหว่างการติดตามดูว่า การส่งผ่านทำได้เต็มที่แล้วหรือยัง เท่าที่ ธปท. ติดตามดู เชื่อว่า ยังมีช่องว่างที่ธนาคารพาณิชย์จะส่งผ่านไปยังลูกค้าได้อีก
เขาบอกด้วยว่า ธปท. ได้ให้สถาบันการเงินทำแผนเข้ามา เพราะลดดอกบี้ยเป็นเพียงส่วนหนึ่งที่ทำได้ แต่ก็ยังมีรูม การส่งผ่านต้นทุนเหล่านี้ได้อีก เช่น การลดค่าธรรมเนียม ให้กับประชาชน กับลูกหนี้ ไม่ว่าจะเป็นค่า Free Payment หรือค่าธรรมเนียมจากการชำระเงิน ค่าธรรมเนียมที่ผูกพันกับเงินกู้ หรือ Commitment fee เป็นต้น ซึ่งค่าฟีที่เก็บกับลูกหนี้ในช่วงที่ผ่านมา ถือว่ามีค่อนข้างมาก
“เราให้แบงก์ส่งแผนมาให้ว่า ถ้าจะให้ลด 0.23% เขาจะส่งผ่านในส่วนนี้ไปให้ลูกค้าได้อย่างไร ซึ่งการลดสมทบมีถึง 2ปี ดังนั้นต้องทำให้เราเห็นภาพ ตามที่สัญญากัน ว่าจะทำอะไร เช่น การลดดอกเบี้ย การลดค่าธรรมเนียม แต่วันนี้แบงก์ยังทำได้ไม่เต็มที่นัก ซึ่งเขาก็ต้องทำตามแผนที่บอกไว้ ยังมีรูมให้ทำได้ ไม่งั้นก็จะเป็นดินพอกหางหมู เพราะ 0.23% ที่ลดให้ปีนี้ ปีหน้าก็ลดอีก หากไม่ทำอะไรให้เราเห็น แล้วไปทำสิ้นปีที่สอง ก็คงไม่ทันกาลแล้ว”
สำหรับการปล่อยสินเชื่อซอฟท์โลน ปัจจุบันมีการเบิกจ่ายแล้ว 1.1 แสนล้านบาท ซึ่งยังมีรูมเหลืออีกมากที่สามารถปล่อยได้ ดังนั้นขณะนี้ ธปท. พยายามดึงกลุ่มลูกหนี้ที่มีศักยภาพ และมีหลักประกันเหลือเช่น ลูกหนี้ที่ใช้ LTVต่ำ 60-70% โดยเอาลูกหนี้กลุ่มนี้ส่งไปให้แบงก์ เพื่อให้แบงก์ใช้พิจารณาในการปล่อยสินเชื่อซอฟท์โลน ซึ่งแบงก์ต้องหาเหตุผลมาอธิบายกับธปท.ว่า ทำไมลูกหนี้กลุ่มนี้ยังไม่สามารถเข้าถึงสินเชื่อได้
เช่นกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่เริ่มกลับมาทำให้ลูกหนี้ไม่จำเป็นที่ต้องเข้าสู่การช่วยเหลือ หรือภาพเศรษฐกิจยังไม่ชัดเจน อาจไม่อยากมีภาระ2% ดังนั้นธปท.ก็อยากทราบเหตุผลเชิงลึก และอยากได้คำตอบ ว่าเพราะอะไร กลุ่มลูกหนี้หน้าตาดีเหล่านี้ ทำไมยังไม่สามารถเข้าถึงสินเชื่อ คาดว่าแบงก์จะส่งคำตอบมาให้ในช่วง 1-2สัปดาห์นี้
ส่วนกฎเกณฑ์กติกาต่างๆ ที่ไม่เอื้อต่อการปล่อยกู้ซอฟท์โลน เขาย้ำว่า ธปท.อยู่ระหว่างพิจารณา เพื่อลดอุปสรรคต่างๆ ลง นำไปสู่การปรับกฎเกณฑ์ต่างๆในการเอื้อให้เกิดการปล่อยกู้ในอนาคต ดังนั้นบางเรื่องหากไม่เกี่ยวกับ ตัวพ.ร.ก.ซอฟท์โลน ทาง ธปท.ก็สามารถทำได้เลย แต่หากเกี่ยวกับ พรก. ก็ต้องหารือผู้ที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม หากจะมีการแก้ไขในอนาคต แต่เบื้องต้นมีการพูดคุยกับสถาบันการเงิน ว่าหากติดที่หลักประกัน ไม่จำเป็นที่ต้องเรียกสูง เพราะบางแบงก์มีความคุ้นเคยกับลูกหนี้อยู่แล้ว ซึ่งหากแบงก์สามารถช่วยลูกหนี้ได้ เจ้าหนี้ก็พ้นวิกฤติด้วย
Source: กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

คลิก


Cr.Bank of Thailand Scholarship Students
--------------------------------------------------------------------------------
เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี !!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b 

Line ID:@fxhanuman
Web : https://www.fxhanuman.com
Web : https://www.eluforex.com/
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/

เยี่ยมชม partner ของเราที่ Eluforexhttps://www.eluforex.com/

#forex #ลงทุน #peppers #xm #fbs #exness #uag #icmarkets #avatrade #fxtm #tickmill #fxpro #fxopen #fxcl #forex3d #forex4you

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"