forex_calendar

1.  ตั้งเวลาให้ตรงกับประเทศไทยคือ (GMT+7:00) Bangkok, Hanoi, Jakarta
2.  ไว้สำหรับเลือกวันที่ต้องการดูข่าว
3.  เวลาข่าวออก
4.  ตระกูลเงินของข่าว
5.  ความรุนแรงของข่าว
6.  เหตุการณ์ของข่าว
7.  ค่าตัวเลขจริงที่ออก
8.  ค่าตัวเลขคาดการณ์
9.  ค่าตัวเลขครั้งก่อน

forex_calendar

เมื่อถึงเวลาข่าวออกตัวเลขค่าจริงจะแสดงออกมาในช่อง Actual ซึ่งจะมีสีแตกต่างกันดังนี้

  • ตัวเลขออกเป็นสีเขียวแสดงตัวเลขดีกว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีแดงแสดงว่าตัวเลขแย่กว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีดำแสดงว่าตัวเลขเท่ากับค่าที่คาดการณ์หรือใกล้เคียงกับสถิติเดิม (Previous)

 

สิ่งที่ต้องสนใจในการเทรดข่าว Forex

 

1.  เรื่องค่าสกุลเงิน ถ้าเทรดสกุลไหนก็ต้องสนใจเฉพาะสกุลนั้น เช่นถ้าเราเช่น EUR/USD ก็สนใจเฉพาะข่าวของ USD และ EUR และเราต้องรู้ด้วยว่าถ้าข่าวออกมาจะทำให้ค่าเงินเราขึ้นหรือลง เช่น ถ้าเราเล่น EUR/USD ถ้าข่าวดอลลาร์สหรัฐออกมาดีแสดงคู่เงินที่มี USD อยู่หลังกราฟจะลง แต่ถ้าข่าว USD ออกมาไม่ดีกราฟจะขึ้น ในทางกลับกันถ้าข่าว EUR ออกมาดีกราฟจะขึ้นแต่ถ้าข่าว EUR ออกมาไม่ดีกราฟจะลง

2. เรื่องระดับความแรงของข่าว ระดับความแรงขอข่าวจะมีสามระดับดังรูป

forex_calendar

3. ค่าตัวเลขจริงที่ออก(Actual) ถ้าค่าตัวเล่นจริงที่ออกมาต่างจากค่าก่อนหน้า(Previous)มาก ยิ่งมีผลทำให้ค่าเงินวิ่งขึ้นลงแรงมาก แต่ก็ขึ้นอยู่กับความแรงของข่าวด้วย

ภาวะเงินฝืดไทย...วันนี้มีไหม? เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ทางธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)

ได้อ้างอิงนิยามภาวะเงินฝืดของธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) ซึ่งต้องเข้าเงื่อนไข 4 ข้อดังนี้ 1.อัตราเงินเฟ้อติดลบเป็นเวลานานพอสมควร (prolonged period) 2.อัตราเงินเฟ้อติดลบกระจายในหลายๆ หมวดสินค้าและบริการ

3.การคาดการณ์เงินเฟ้อในระยะยาว (ปกติดูที่ระยะ 5 ปี) ต่ำกว่าเป้าหมายระยะปานกลางอย่างมีนัย และ

4.อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจติดลบและอัตราว่างงานมีแนวโน้มสูงขึ้น

ทางแบงก์ชาติประเมินว่าหากพิจารณาตามเงื่อนไขดังกล่าวพบว่าอัตราเงินเฟ้อไทยติดลบมาเพียง 3 เดือน แม้ประมาณการล่าสุดของ ธปท.จะให้อัตราเงินเฟ้อทั้งปีนี้ติดลบ แต่ยังมองว่าปีหน้าจะกลับเป็นบวกได้ อีกทั้งเป็นการติดลบจากราคาพลังงานเป็นสำคัญ ขณะที่การคาดการณ์เงินเฟ้อระยะ 5 ปีอยู่ที่ 1.8% ต่อปี ถือว่าใกล้เคียงกับกึ่งกลางของช่วงเป้าหมายเงินเฟ้อของ ธปท.ที่ 1-3% ต่อปี จึงยังไม่เข้าข่ายเงินฝืดตามนิยามของการดำเนินนโยบายการเงินอย่างไรก็ดี เศรษฐกิจไทยยังมีความเสี่ยงเข้าสู่ภาวะเงินฝืดได้ หากเศรษฐกิจไทยหดตัวลึกหรือฟื้นตัวช้ากว่าที่ประเมินมาก

ผมขอแชร์ความเห็นในมุมมองวิชาการล้วนๆ สำหรับประเด็นภาวะเงินฝืดของไทย ดังนี้

โดยนอกเหนือจากอีซีบีที่เคยให้นิยามของภาวะเงินฝืดแบบชัดเจน ยังมีธนาคารกลางอีกน่าจะเพียงแห่งเดียวที่เคยให้นิยามว่าด้วยภาวะเงินฝืดแบบชัดเจน ได้แก่ ธนาคารกลางของไอซ์แลนด์ที่ต่อยอดงานศึกษาของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ซึ่งศึกษาเรื่องภาวะอัตราเงินฝืดแบบละเอียดกว่า 35 ประเทศที่ครอบคลุมจีดีพีรวมกว่า 90% ของโลก อีกทั้งศึกษากลไกการส่งผ่านของภาวะเงินฝืดในเศรษฐกิจจีนอีกด้วย

ทั้งนี้ งานศึกษาของไอเอ็มเอฟนั้น สะท้อนภาวะเงินฝืดทั้งในมิติของระดับราคาโดยรวม ระดับผลผลิต อัตราการขยายตัวของสินเชื่อ ตัวแปรทางการเงินต่างๆ รวมถึงภาวะตลาดหุ้น และได้นิยามของภาวะอัตราเงินฝืดโดยแบ่งเป็น 11 ดัชนี ไว้ดังนี้

1.อัตราเงินเฟ้อแบบรายปี ซึ่งวัดโดยอัตราการเปลี่ยนแปลงของดัชนี CPI ต่ำกว่า 0.5% หรือไม่?

2.อัตราเงินเฟ้อแบบรายปี ซึ่งวัดโดยอัตราการเปลี่ยนแปลงของดัชนี GDP deflator ต่ำกว่า 0.5% หรือไม่?

3.อัตราเงินเฟ้อแบบรายปี ซึ่งวัดโดยอัตราการเปลี่ยนแปลงของดัชนี Core CPI (ไม่รวมราคาพลังงาน) ต่ำกว่า 0.5% หรือไม่?

4.ผลต่างระหว่างอัตราการเติบโตของจีดีพีของเศรษฐกิจแบบที่เกิดขึ้นจริงๆ กับอัตราการเติบโตของจีดีพีของเศรษฐกิจแบบเต็มศักยภาพ (Potential GDP) ได้ถ่างกว้างขึ้นเกินกว่า 2% ในรอบ 4 ไตรมาสที่ผ่านมาหรือไม่?

5.ผลต่างระหว่างอัตราการเติบโตของจีดีพีของเศรษฐกิจแบบที่เกิดขึ้นจริงๆ กับอัตราการเติบโตของจีดีพีของเศรษฐกิจแบบเต็มศักยภาพ (Potential GDP) ในขณะนี้ กว้างกว่า -2% หรือไม่?

6.อัตราการเติบโตของจีดีพีของเศรษฐกิจแบบที่ไม่คิดผลจากอัตราเงินเฟ้อ (Real GDP Growth) ในรอบ 3 ปีที่ผ่านมา มีค่าต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของ Real GDP Growth ในรอบ 10 ปีที่ผ่านมาหรือไม่?

7.ดัชนีตลาดหุ้นของไทยในรอบ 3 ปีที่ผ่านมา ลดลงเกินกว่า 30% หรือไม่?

8.อัตราการแลกเปลี่ยนที่คำนึงถึงระดับราคาเฉลี่ยสินค้าของต่างประเทศและไทย (Real Effective Exchange Rate) แข็งค่ามากกว่า 4% ในรอบ 4 ไตรมาสที่ผ่านมาหรือไม่?

9.อัตราการขยายตัวของสินเชื่อภาคเอกชนต่ำกว่าอัตราการเติบโตของจีดีพี ในรอบ 4 ไตรมาสที่ผ่านมาหรือไม่?

10.อัตราการขยายตัวของสินเชื่อภาคเอกชนเมื่อคิดสะสมในรอบ 3 ปีที่ผ่านมา เติบโตต่ำกว่า 10% หรือไม่?

11.อัตราการเติบโตของมาตรวัดปริมาณเงินแบบ M3 (เงินสดนอกแบงก์รวมกับเงินฝากทุกประเภท) เติบโตช้ากว่าปริมาณฐานเงิน base money (เงินสดนอกแบงก์รวมกับสำรองที่แบงก์พาณิชย์ฝากไว้ที่ธนาคารกลาง) เมื่อคิดแบบรายปี มากกว่า 2% หรือไม่เมื่อคิดย้อนหลังไป 8 ไตรมาสที่ผ่านมา? ทั้งนี้เมื่อได้วิเคราะห์ตัวเลขของประเทศไทยพบว่าเป็นดังนี้ (ตาราง)

โดยทางธนาคารไอซ์แลนด์และไอเอ็มเอฟได้นิยามว่า หากตัวเลขของเศรษฐกิจใดก็ตามที่ตอบคำถามข้างต้นว่า "ใช่" ตั้งแต่ 6 ข้อเป็นต้นไปเข้าข่ายว่าเกิดภาวะเงินฝืด ซึ่งของประเทศไทยตอบว่า "ใช่" อยู่ 7 ข้อ ซึ่งผมขอบอกว่าข้อที่ 6 นั้นตัวเลขที่คำนวณออกมาถือว่าใกล้เคียงกันมากระหว่างจะตอบว่า "ใช่" หรือ "ไม่ใช่" กระนั้นก็ดี ก็ยังต้องถือว่าหากอ้างอิงตามนิยามของธนาคารไอซ์แลนด์และไอเอ็มเอฟได้เกิดภาวะเงินฝืดขึ้นแล้วในเศรษฐกิจไทย แต่ก็ต้องบอกว่าเกิดแบบเฉียดฉิว ทีนี้มาดูว่าประเทศต่างๆ ทั่วโลกสมัยที่นิยามนี้เกิดขึ้นมาใหม่ๆ ว่าเป็นอย่างไรกันบ้าง

ซึ่งผลปรากฏว่าประเทศไทยก็เฉียดๆ จะเกิดภาวะเงินฝืดเมื่อปี 2003 อยู่เหมือนกัน สำหรับการที่จะคิดกันต่อสำหรับมุมมองของนโยบายการเงินของไทยในอนาคตนั้น เมื่อมีบางนิยามที่ชี้ชัดออกมาว่าเมืองไทยก็น่าจะเสี่ยงเกิดภาวะเงินฝืดอยู่เหมือนกันคงอาจต้องมีการเตรียมการเผื่อนโยบายการเงินแบบที่เป็นยาแรงไว้กระตุ้นเอาไว้ใน Menu List สักหน่อยก็ถือว่าน่าจะไม่เลวเหมือนกันครับ

โดย ดร.บุญธรรม รจิตภิญโญเลิศ
มุมคิดธนกิจ

Source: กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

คลิก

Cr.Bank of Thailand Scholarship Students

เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี !!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b 

Line ID:@fxhanuman
Web : https://www.fxhanuman.com
Web : https://www.eluforex.com/
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/

เยี่ยมชม partner ของเราที่ Eluforex รีวิวโบรกเกอร์ Forex

#forex #ลงทุน #peppers #xm #fbs #exness #uag #icmarkets #avatrade #fxtm #tickmill #fxpro #fxopen #fxcl #forex3d #forex4you

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"