forex_calendar

1.  ตั้งเวลาให้ตรงกับประเทศไทยคือ (GMT+7:00) Bangkok, Hanoi, Jakarta
2.  ไว้สำหรับเลือกวันที่ต้องการดูข่าว
3.  เวลาข่าวออก
4.  ตระกูลเงินของข่าว
5.  ความรุนแรงของข่าว
6.  เหตุการณ์ของข่าว
7.  ค่าตัวเลขจริงที่ออก
8.  ค่าตัวเลขคาดการณ์
9.  ค่าตัวเลขครั้งก่อน

forex_calendar

เมื่อถึงเวลาข่าวออกตัวเลขค่าจริงจะแสดงออกมาในช่อง Actual ซึ่งจะมีสีแตกต่างกันดังนี้

  • ตัวเลขออกเป็นสีเขียวแสดงตัวเลขดีกว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีแดงแสดงว่าตัวเลขแย่กว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีดำแสดงว่าตัวเลขเท่ากับค่าที่คาดการณ์หรือใกล้เคียงกับสถิติเดิม (Previous)

 

สิ่งที่ต้องสนใจในการเทรดข่าว Forex

 

1.  เรื่องค่าสกุลเงิน ถ้าเทรดสกุลไหนก็ต้องสนใจเฉพาะสกุลนั้น เช่นถ้าเราเช่น EUR/USD ก็สนใจเฉพาะข่าวของ USD และ EUR และเราต้องรู้ด้วยว่าถ้าข่าวออกมาจะทำให้ค่าเงินเราขึ้นหรือลง เช่น ถ้าเราเล่น EUR/USD ถ้าข่าวดอลลาร์สหรัฐออกมาดีแสดงคู่เงินที่มี USD อยู่หลังกราฟจะลง แต่ถ้าข่าว USD ออกมาไม่ดีกราฟจะขึ้น ในทางกลับกันถ้าข่าว EUR ออกมาดีกราฟจะขึ้นแต่ถ้าข่าว EUR ออกมาไม่ดีกราฟจะลง

2. เรื่องระดับความแรงของข่าว ระดับความแรงขอข่าวจะมีสามระดับดังรูป

forex_calendar

3. ค่าตัวเลขจริงที่ออก(Actual) ถ้าค่าตัวเล่นจริงที่ออกมาต่างจากค่าก่อนหน้า(Previous)มาก ยิ่งมีผลทำให้ค่าเงินวิ่งขึ้นลงแรงมาก แต่ก็ขึ้นอยู่กับความแรงของข่าวด้วย

กองทัพสหรัฐจะให้ทุนแก่ผู้ผลิต Rare Earths ในประเทศ

Federal Reseve พิมพ์เงินใหม่เพิ่มมาเป็นพายุในปีนี้ ..นับตั้งแต่ 11 มีนาคม ปริมาณเงินดอลลาร์ (US monetary base) เพิ่มมาอีกรวม $1.5 ล้านล้าน เอาเงินนับหลายล้านล้านใส่เข้าในระบบเศรษฐกิจ มันก็ทำให้เกิดเงินเฟ้อน่ะซี ...มันไปดันให้ราคาสินค้าโภคภัณท์สูงขึ้น

ครั้งล่าสุดที่มันเกิดขึ้นก็เมื่อปี 2008 และมันก็เป็นผลดีต่อทองคำซึ่งก็เป็นโภคภัณท์ตัวหนึ่ง เพราะราคามันเพิ่มขึ้นไป 71% จากเดือนพฤศจิกายน 2008 ถึงเดือนธันวาคม 2009

แต่ไม่ใช่แค่นั้น มันยังไปส่งผลให้โลหะอีกกลุ่มหนึ่งได้ดีกว่าอีกด้วย โดยที่นักลงทุนไม่รู้เรื่องราวของมันเลย

เรากำลังพูดกันถึงเรื่องของ rare earths และเมื่อปี 2010 ...บางตัวของแร่กลุ่มนี้ก็มีราคาขึ้นไปสูงกว่า 1000% ตามชาร์ตที่ 1

และมันก็ไม่ใช่เพราะเงินเฟ้ออย่างเดียวหรอกที่ทำให้แร่เหล่านี้มีราคาที่สูงขึ้น ...เวลานั้น จีนซึ่งเป็นผู้ผลิต rare earths รายใหญ่สุดของโลก ได้ขู่ว่าจะตัดซัพพลายทั้งหมดจากกรณีพิพาทเรื่องดินแดนกับญี่ปุ่น ..ทั้งสองเหตุนี้เองที่ส่งราคาของ rare earths พุ่งสูงลิ่ว

และมาวันนี้ ประวัติศาสตร์กำลังจะซ้ำรอยอีกครั้ง แต่ครั้งนี้จะเป็นโอกาสของนักลงทุนอย่างเรา

High-Tech Killer Metals

Rare earths เป็นแร่ที่มี a license to kill ...มีการใช้แร่เหล่านี้หลายตัวในระบบอาวุธที่ไฮเทคที่สุดในโลก รวมถึงเครื่องบินขับไล่ F-35 ..เรือพิฆาต ..เรือดำน้ำนิวเคลียร์ ..และแม้กระทั่งกล้อง night vision

และในเมื่อ Rare earths เป็นสิ่งจำเป็นต่อความมั่นคงของชาติ คุณ ๆ ก็คงคิดว่าสหรัฐคงเฝ้าดูแลรักษาซัพพลายของตนอย่างดีสินะ

แต่ที่จริง กลายเป็นว่า สหรัฐตั้งใจที่จะยุติการพัฒนาการผลิตในเหมือง rare earths ของตนมาหลายปีแล้วต่างหาก ...เรื่องราวมันเป็นอย่างนี้

Rare earths เป็นแร่ที่อยู่ปนกับธาตุอีกหลายตัว ส่วนใหญ่จะเป็นธาตุกัมมันตภาพ เช่นยูเรเนียม หรือธอเรี่ยม ซึ่งเอามาผลิตใช้เป็นเชื้อเพลิงนิวเคลียร์

ในช่วงปี 1970s และ 1980s มหาอำนาจของโลกตอนนั้นมีความกังวลเกี่ยวกับชาติอันธพาลบางแห่งอาจพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ ..กลุ่มประเทศซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในโลกตะวันตก..จึงจัดให้มีการประชุมการจำกัดการใช้วัตถุนิวเคลียร์ ที่รวมถึงการทำเหมืองแร่ยูเรเนียมหรือธอเรียม มีการร่วมลงนามในสัญญาจากการประชุมครั้งนั้น

ผลจากสัญญานั้น เหมืองแร่ของอเมริกันที่ผลิต rare earths ที่เป็นผลพลอยได้จากวัตถุดิบนิวเคลียร์ดังกล่าวต้องพลอยหยุดไปด้วย

แต่จีนไม่ได้ร่วมลงนามในสัญญานั้น เหมืองในจีนยังมีการผลิต rare earths ซึ่งเป็นผลพลอยได้ต้นทุนต่ำ ...ผู้นำจีนถือโอกาสที่โลกมีการ "ขอเวลานอก" การผลิตวัตถุนิวเคลียร์ ...คว้าธุรกิจ rare earths ไว้ในมือในลักษณะบีบคอคู่แข่งไว้เลย

ทุกวันนี้ จีนควบคุมเกือบทุก ๆ ฝีก้าวใน supply chains ของธุรกิจ rare earths ไว้แล้ว

ตรงข้ามกับอเมริกา ที่ปล่อยให้โครงสร้างการผลิต rare earths มันผุพังไปหมดแล้ว ...การผลิตของอเมริกันเปรียบเทียบกับจีน ตามชาร์ตที่ 2

ในช่วงปี 1980s ทั้งสองประเทศนี้แข่งกันชนิดหายใจรดต้นคอ แต่พอถึง 1990s จีนแซงหน้าสหรัฐ กลายเป็นผู้นำการผลิต rare earths แต่ผู้เดียวไปเลยตั้งแต่นั้นมา แต่ผลผลิตของสหรัฐกลับลดลงจนแทบไม่มีเลย

ปัจจุบันนี้ ไม่มีผู้ผลิต หรืออุตสาหกรรมการแยกหรือตกแต่งแร่ rare eaths เหลืออีกเลยในสหรัฐ ...เหมือง rare earths แห่งเดียวที่มีในอเมริกาก็มีเจ้าของร่วมรายใหญ่คือบริษัทจีน เรียกได้ว่าเทคโนฯการทหารที่ advance ที่สุดของอเมริกาตอนนี้ ขึ้นอยูกับจีน

แต่เมื่อไม่นานมานี้ เพนตากอนตัดสินใจจะทำอะไรบางอย่าง

The Plan to Save America’s Rare Earths Supply

เมื่อเดือนธันวาคม ฝ่ายทหารประกาศว่าจะเข้ามาจัดการกับเรื่องของ rare earths

จากการพูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญในกระทรวงกลาโหม ผู้เชี่ยวชาญเหล่านี้ได้เคยเข้าเบิกความในคณะกรรมาธิการของทำเนียบและกระทรวงกลาโหม เกี่ยวกับการจัดหา rare earths ...บางคนในนั้นก็ยังมีการเตรียมส่งร่างกฏหมายให้สภาอีกด้วย

พวกเขาบอกว่า เจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารกำลังมองหาแหล่งเหมือง rare earths ตลอดถึงแหล่งที่จะใช้แยกแร่และ upgrade ให้พร้อมใช้

แต่ก็ต้องไม่ลืมว่า อเมริกาน่ะ ไม่ได้ทำเหมืองแร่ขนิดนี้มานาน ไม่มีอุตสาหกรรมแปรรูปแร่นี้อยู่ในประเทศ เพื่อให้พร้อมสำหรับประยุกต์ใช้ในงานไฮเทค

การเริ่มประกาศของฝ่ายทหารได้สร้างกระแสตื่นตัวในหุ้นของ rare earths ...เพราะตั้งแต่หุ้นร่วงคราวก่อน หุ้นหลายตัวเหล่านี้ไม่เคยโงหัวได้เลย แต่เชื่อว่ามันจะต้องสูงขึ้นแน่ เมื่อรายละเอียดของแผนจากฝ่ายทหารประกาศออกมา

การสนับสนุนโดยการประกาศให้ทุนจะก่อให้เกิดผลต่อบริษัทเหล่านี้ที่เคยทำเหมือง rare earths ในประเทศ

กองทัพบกสหรัฐมีการศึกษาถึงความเป็นไปได้ทุกทางของโครงการในประเทศ ซึ่งมีหลายแหล่งเหมืองที่มีโอกาสเข้าเป็นผู้รับเลือกการได้รับทุนใหญ่ของกองทัพ

ที่จริง ราคาหุ้นของหลายบริษัทก็เพิ่มมาเท่าตัวแล้วตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว

Cr.Sayan Rujiramora

เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี !!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b 

Line ID:@fxhanuman
Web : https://www.fxhanuman.com
Web : https://www.eluforex.com/
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/

เยี่ยมชม partner ของเราที่ Eluforex รีวิวโบรกเกอร์ Forex

#forex #ลงทุน #peppers #xm #fbs #exness #uag #icmarkets #avatrade #fxtm #tickmill #fxpro #fxopen #fxcl #forex3d #forex4you

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"