forex_calendar

1.  ตั้งเวลาให้ตรงกับประเทศไทยคือ (GMT+7:00) Bangkok, Hanoi, Jakarta
2.  ไว้สำหรับเลือกวันที่ต้องการดูข่าว
3.  เวลาข่าวออก
4.  ตระกูลเงินของข่าว
5.  ความรุนแรงของข่าว
6.  เหตุการณ์ของข่าว
7.  ค่าตัวเลขจริงที่ออก
8.  ค่าตัวเลขคาดการณ์
9.  ค่าตัวเลขครั้งก่อน

forex_calendar

เมื่อถึงเวลาข่าวออกตัวเลขค่าจริงจะแสดงออกมาในช่อง Actual ซึ่งจะมีสีแตกต่างกันดังนี้

  • ตัวเลขออกเป็นสีเขียวแสดงตัวเลขดีกว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีแดงแสดงว่าตัวเลขแย่กว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีดำแสดงว่าตัวเลขเท่ากับค่าที่คาดการณ์หรือใกล้เคียงกับสถิติเดิม (Previous)

 

สิ่งที่ต้องสนใจในการเทรดข่าว Forex

 

1.  เรื่องค่าสกุลเงิน ถ้าเทรดสกุลไหนก็ต้องสนใจเฉพาะสกุลนั้น เช่นถ้าเราเช่น EUR/USD ก็สนใจเฉพาะข่าวของ USD และ EUR และเราต้องรู้ด้วยว่าถ้าข่าวออกมาจะทำให้ค่าเงินเราขึ้นหรือลง เช่น ถ้าเราเล่น EUR/USD ถ้าข่าวดอลลาร์สหรัฐออกมาดีแสดงคู่เงินที่มี USD อยู่หลังกราฟจะลง แต่ถ้าข่าว USD ออกมาไม่ดีกราฟจะขึ้น ในทางกลับกันถ้าข่าว EUR ออกมาดีกราฟจะขึ้นแต่ถ้าข่าว EUR ออกมาไม่ดีกราฟจะลง

2. เรื่องระดับความแรงของข่าว ระดับความแรงขอข่าวจะมีสามระดับดังรูป

forex_calendar

3. ค่าตัวเลขจริงที่ออก(Actual) ถ้าค่าตัวเล่นจริงที่ออกมาต่างจากค่าก่อนหน้า(Previous)มาก ยิ่งมีผลทำให้ค่าเงินวิ่งขึ้นลงแรงมาก แต่ก็ขึ้นอยู่กับความแรงของข่าวด้วย

เช็ค 'ดอกเบี้ย' พันธบัตรรัฐบาล 'เราไม่ทิ้งกัน' น่าลงทุนแค่ไหน?

เปิดอัตราดอกเบี้ย พร้อมคำนวณให้เห็นชัดๆ ว่า พันธบัตรออมทรัพย์พิเศษ "เราไม่ทิ้งกัน" จากกระทรวงการคลัง รุ่น 5 ปี และ 10 ปี จะมีดอกเบี้ยมากน้อยแค่ไหน เพื่อประกอบการตัดสินใจก่อนลงทุน 14 พ.ค. นี้

พันธบัตรออมทรัพย์พิเศษ "เราไม่ทิ้งกัน" จากกระทรวงการคลังที่กำลังจะเปิดขายวันที่ 14 พฤษภาคม 2563 นี้ กำลังเป็นที่สนใจทั้งในกลุ่มนักลงทุนและประชาชนทั่วไป

ก่อนจะตัดสินใจซื้อ "กรุงเทพธุรกิจ" จะพาไปดูว่า อัตราดอกเบี้ยมากของ "พันธบัตรออมทรัพย์พิเศษเราไม่ทิ้งกัน" ทั้งรุ่นอายุ 5 ปี และรุ่นอายุ 10 ปี ให้ผลตอบแทนอย่างไร บ้าง และหากลงทุนจนครบกำหนดไถ่ถอนจะมีโอกาสได้รับดอกเบี้ยมากน้อยแค่ไหน
สำหรับอัตราดอกเบี้ยที่ผู้ลงทุนจะได้รับจากพันธบัตรออมทรัพย์พิเศษ "เราไม่ทิ้งกัน" มีรายละเอียด ตามที่ปรากฏในหนังสือชี้ชวน มีดังนี้

- รุ่นอายุ 5 ปี : อัตราดอกเบี้ยต่อปี ปีที่ 1 = 2.00% ปีที่ 2-3 = 2.25% ปีที่ 4 = 2.50% ปีที่ 5 = 3.00%
- รุ่นอายุ 10 ปี : อัตราดอกเบี้ยต่อปี ปีที่ 1-3 = 2.50% ปีที่ 4-8 = 3.00% ปีที่ 9 = 3.50% ปีที่ 10 = 4.00%

ลองไปดูตัวอย่างการคำนวณการลงทุนด้วยเงินจำนวนต่างๆ เพื่อให้เห็นภาพที่ชัดเจนมากขึ้น โดยยกกรณีศึกษา ลงทุนด้วยเงิน 1,000 บาท (จำนวนเงินขั้นต่ำที่พันธบัตรกำหนด) 10,000 บาท และ 100,000 บาท จะทำให้ผู้ลงทุนจะมีโอกาสได้รับผลตอบแทนเมื่อครบกำหนดไถ่ถอน โดยยังไม่ถูกหักอัตราเงินเฟ้อที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ดังนี้

- ลงทุนด้วยเงิน 1,000 บาท
ตัวอย่างที่ 1 : ซื้อพันธบัตรออมทรัพย์พิเศษรุ่น “เราไม่ทิ้งกัน” อายุ 5 ปี (SBST255A) ในวันที่ 14 พ.ค. 2563 เป็นจำนวนเงิน 1,000 บาท
ปีที่ 1 อัตราดอกเบี้ย 2.00% ต่อปี = ปีที่ 1 จะได้ดอกเบี้ย 20 บาท
ปีที่ 2 อัตราดอกเบี้ย 2.25% ต่อปี = ปีที่ 2 จะได้ดอกเบี้ย 22.50 บาท
ปีที่ 3 อัตราดอกเบี้ย 2.25% ต่อปี = ปีที่ 3 จะได้ดอกเบี้ย 22.50 บาท
ปีที่ 4 อัตราดอกเบี้ย 2.50% ต่อปี = ปีที่ 4 จะได้ดอกเบี้ย 25 บาท
ปีที่ 5 อัตราดอกเบี้ย 3.00% ต่อปี = ปีที่ 5 จะได้ดอกเบี้ย 30 บาท
เพราะฉะนั้นเมื่อครบกำหนด 5 ปี ไถ่ถอนในวันที่ 14 พ.ค. 68 ผู้ซื้อพันธบัตรจะได้รับเงินต้น และผลตอบแทนรวมทั้งสิ้น 1,120 บาท
(เงินที่ซื้อ 1,000 + ดอกเบี้ยขั้นบันไดในแต่ละปี 20+22.50+22.50+25+30)

ตัวอย่างที่ 2 : ซื้อพันธบัตรออมทรัพย์พิเศษรุ่น “เราไม่ทิ้งกัน” อายุ 10 ปี (SBST305A) ในวันที่ 14 พ.ค. 2563 เป็นจำนวนเงิน 1,000 บาท
ปีที่ 1 อัตราดอกเบี้ย 2.50% ต่อปี = ปีที่ 1 จะได้ดอกเบี้ย 25 บาท
ปีที่ 2 อัตราดอกเบี้ย 2.50% ต่อปี = ปีที่ 2 จะได้ดอกเบี้ย 25 บาท
ปีที่ 3 อัตราดอกเบี้ย 2.50% ต่อปี = ปีที่ 3 จะได้ดอกเบี้ย 25 บาท
ปีที่ 4 อัตราดอกเบี้ย 3.00% ต่อปี = ปีที่ 4 จะได้ดอกเบี้ย 30 บาท
ปีที่ 5 อัตราดอกเบี้ย 3.00% ต่อปี = ปีที่ 5 จะได้ดอกเบี้ย 30 บาท
ปีที่ 6 อัตราดอกเบี้ย 3.00% ต่อปี = ปีที่ 6 จะได้ดอกเบี้ย 30 บาท
ปีที่ 7 อัตราดอกเบี้ย 3.00% ต่อปี = ปีที่ 7 จะได้ดอกเบี้ย 30 บาท
ปีที่ 8 อัตราดอกเบี้ย 3.00% ต่อปี = ปีที่ 8 จะได้ดอกเบี้ย 30 บาท
ปีที่ 9 อัตราดอกเบี้ย 3.50% ต่อปี = ปีที่ 9 จะได้ดอกเบี้ย 35 บาท
ปีที่ 10 อัตราดอกเบี้ย 4.00% ต่อปี = ปีที่ 10 จะได้ดอกเบี้ย 40 บาท
เพราะฉะนั้นเมื่อครบกำหนด 10 ปี ไถ่ถอนในวันที่ 14 พ.ค. 73 ผู้ซื้อพันธบัตรจะได้รับเงินต้น และผลตอบแทนรวมทั้งสิ้น 1,300 บาท
(เงินที่ซื้อ 1,000 + ดอกเบี้ยขั้นบันไดในแต่ละปี 25+25+25+30+30+30+30+30+35+40)

- ลงทุนด้วยเงิน 10,000 บาท

ตัวอย่างที่ 3 : ซื้อพันธบัตรบัตรออมทรัพย์พิเศษรุ่น “เราไม่ทิ้งกัน” อายุ 5 ปี (SBST255A) ในวันที่ 14 พ.ค. 2563 เป็นจำนวนเงิน 10,000 บาท
ปีที่ 1 อัตราดอกเบี้ย 2.00% ต่อปี = ปีที่ 1 จะได้ดอกเบี้ย 200 บาท
ปีที่ 2 อัตราดอกเบี้ย 2.25% ต่อปี = ปีที่ 2 จะได้ดอกเบี้ย 225 บาท
ปีที่ 3 อัตราดอกเบี้ย 2.25% ต่อปี = ปีที่ 3 จะได้ดอกเบี้ย 225 บาท
ปีที่ 4 อัตราดอกเบี้ย 2.50% ต่อปี = ปีที่ 4 จะได้ดอกเบี้ย 250 บาท
ปีที่ 5 อัตราดอกเบี้ย 3.00% ต่อปี = ปีที่ 5 จะได้ดอกเบี้ย 300 บาท

เพราะฉะนั้นเมื่อครบกำหนด 5 ปี ไถ่ถอนในวันที่ 14 พ.ค. 68 ผู้ซื้อพันธบัตรจะได้รับเงินต้น และผลตอบแทนรวมทั้งสิ้น 11,200 บาท
(เงินที่ซื้อ 10,000 + ดอกเบี้ยขั้นบันไดในแต่ละปี 200+225+225+250+300)

ตัวอย่างที่ 4 : ซื้อพันธบัตรออมทรัพย์พิเศษรุ่น “เราไม่ทิ้งกัน” อายุ 10 ปี (SBST305A) ในวันที่ 14 พ.ค. 2563 เป็นจำนวนเงิน 10,000 บาท
ปีที่ 1 อัตราดอกเบี้ย 2.50% ต่อปี = ปีที่ 1 จะได้ดอกเบี้ย 250 บาท
ปีที่ 2 อัตราดอกเบี้ย 2.50% ต่อปี = ปีที่ 2 จะได้ดอกเบี้ย 250 บาท
ปีที่ 3 อัตราดอกเบี้ย 2.50% ต่อปี = ปีที่ 3 จะได้ดอกเบี้ย 250 บาท
ปีที่ 4 อัตราดอกเบี้ย 3.00% ต่อปี = ปีที่ 4 จะได้ดอกเบี้ย 300 บาท
ปีที่ 5 อัตราดอกเบี้ย 3.00% ต่อปี = ปีที่ 5 จะได้ดอกเบี้ย 300 บาท
ปีที่ 6 อัตราดอกเบี้ย 3.00% ต่อปี = ปีที่ 6 จะได้ดอกเบี้ย 300 บาท
ปีที่ 7 อัตราดอกเบี้ย 3.00% ต่อปี = ปีที่ 7 จะได้ดอกเบี้ย 300 บาท
ปีที่ 8 อัตราดอกเบี้ย 3.00% ต่อปี = ปีที่ 8 จะได้ดอกเบี้ย 300 บาท
ปีที่ 9 อัตราดอกเบี้ย 3.50% ต่อปี = ปีที่ 9 จะได้ดอกเบี้ย 350 บาท
ปีที่ 10 อัตราดอกเบี้ย 4.00% ต่อปี = ปีที่ 10 จะได้ดอกเบี้ย 400 บาท
เพราะฉะนั้นเมื่อครบกำหนด 10 ปี ไถ่ถอนในวันที่ 14 พ.ค. 73 ผู้ซื้อพันธบัตรจะได้รับเงินต้น และผลตอบแทนรวมทั้งสิ้น 13,000 บาท
(เงินที่ซื้อ 10,000 + ดอกเบี้ยขั้นบันไดในแต่ละปี 250+250+250+300+300+300+300+300+350+400)

- ลงทุนด้วยเงิน 100,000 บาท

ตัวอย่างที่ 5 : ซื้อพันธบัตรบัตรออมทรัพย์พิเศษรุ่น “เราไม่ทิ้งกัน” อายุ 5 ปี (SBST255A) ในวันที่ 14 พ.ค. 2563 เป็นจำนวนเงิน 100,000 บาท
ปีที่ 1 อัตราดอกเบี้ย 2.00% ต่อปี = ปีที่ 1 จะได้ดอกเบี้ย 2,000 บาท
ปีที่ 2 อัตราดอกเบี้ย 2.25% ต่อปี = ปีที่ 2 จะได้ดอกเบี้ย 2,250 บาท
ปีที่ 3 อัตราดอกเบี้ย 2.25% ต่อปี = ปีที่ 3 จะได้ดอกเบี้ย 2,250 บาท
ปีที่ 4 อัตราดอกเบี้ย 2.50% ต่อปี = ปีที่ 4 จะได้ดอกเบี้ย 2,500 บาท
ปีที่ 5 อัตราดอกเบี้ย 3.00% ต่อปี = ปีที่ 5 จะได้ดอกเบี้ย 3,000 บาท
เพราะฉะนั้นเมื่อครบกำหนด 5 ปี ไถ่ถอนในวันที่ 14 พ.ค. 68 ผู้ซื้อพันธบัตรจะได้รับเงินต้น และผลตอบแทนรวมทั้งสิ้น 112,000 บาท
(เงินที่ซื้อ 100,000 + ดอกเบี้ยขั้นบันไดในแต่ละปี 2,000+2,250+2,250+2,500+3,000)

ตัวอย่างที่ 6 : ซื้อพันธบัตรออมทรัพย์พิเศษรุ่น “เราไม่ทิ้งกัน” อายุ 10 ปี (SBST305A) ในวันที่ 14 พ.ค. 2563 เป็นจำนวนเงิน 100,000 บาท
ปีที่ 1 อัตราดอกเบี้ย 2.50% ต่อปี = ปีที่ 1 จะได้ดอกเบี้ย 2,500 บาท
ปีที่ 2 อัตราดอกเบี้ย 2.50% ต่อปี = ปีที่ 2 จะได้ดอกเบี้ย 2,500 บาท
ปีที่ 3 อัตราดอกเบี้ย 2.50% ต่อปี = ปีที่ 3 จะได้ดอกเบี้ย 2,500 บาท
ปีที่ 4 อัตราดอกเบี้ย 3.00% ต่อปี = ปีที่ 4 จะได้ดอกเบี้ย 3,000 บาท
ปีที่ 5 อัตราดอกเบี้ย 3.00% ต่อปี = ปีที่ 5 จะได้ดอกเบี้ย 3,000 บาท
ปีที่ 6 อัตราดอกเบี้ย 3.00% ต่อปี = ปีที่ 6 จะได้ดอกเบี้ย 3,000 บาท
ปีที่ 7 อัตราดอกเบี้ย 3.00% ต่อปี = ปีที่ 7 จะได้ดอกเบี้ย 3,000 บาท
ปีที่ 8 อัตราดอกเบี้ย 3.00% ต่อปี = ปีที่ 8 จะได้ดอกเบี้ย 3,000 บาท
ปีที่ 9 อัตราดอกเบี้ย 3.50% ต่อปี = ปีที่ 9 จะได้ดอกเบี้ย 3,500 บาท
ปีที่ 10 อัตราดอกเบี้ย 4.00% ต่อปี = ปีที่ 10 จะได้ดอกเบี้ย 4,000 บาท
เพราะฉะนั้นเมื่อครบกำหนด 10 ปี ไถ่ถอนในวันที่ 14 พ.ค. 73 ผู้ซื้อพันธบัตรจะได้รับเงินต้น และผลตอบแทนรวมทั้งสิ้น 130,000 บาท
(เงินที่ซื้อ 100,000 + ดอกเบี้ยขั้นบันไดในแต่ละปี 2,500+2,500+2,500+3,000+3,000+3,000+3,000+3,000+3,500+4,000)

หมายเหตุ: อัตราดอกเบี้ยจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่จำนวนเงินที่ลงทุน และการคำนวณข้างต้นยังไม่หักอัตราเงินเฟ้อที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตระหว่างที่ถือครองพันธบัตร

- เทียบอัตราดอกเบี้ยพันธบัตร "เราไม่ทิ้งกัน" กับเงินฝากประจำ

อัตราดอกเบี้ยของพันธบัตรออมทรัพย์พิเศษ "เราไม่ทิ้งกัน" รุ่นอายุ 5 ปีเฉลี่ย 2.4% ต่อปี รุ่นอายุ 10 ปี เฉลี่ย 3% ต่อปี เมื่อเปรียบเทียบกับอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ ณ ปัจจุบัน (ปี 2563) เฉลี่ยอยู่ที่ 2.4% ต่อปี ถือว่าพันธบัตรรุ่นนี้มีผลตอบแทนใกล้เคียงกัน และสูงกว่าเงินฝากประจำในระยะยาว

ซึ่งส่วนใหญ่ผลิตภัณฑ์เงินฝากประจำที่ให้ดอกเบี้ยในอัตราที่สูงมักจะมีเงื่อนไขของผลิตภัณฑ์ เช่น การกำหนดวงเงินในการฝากที่ค่อนข้างสูง ซึ่งทำให้เข้าถึงผลตอบแทนได้น้อยกว่าการซื้อพันธบัตรของรัฐบาล

อย่างไรก็ตาม ลักษณะการลงทุนในพันธบัตรจะต้องถือครองยาวนานกว่าเงินฝากประจำ ดังนั้น ก่อนที่จะตัดสินใจลงทุนควรประเมินสภาพคล่อง และทำความเข้าใจเงื่อนไขต่างๆ ของผลิตภัณฑ์ก่อนตัดสินใจ เพื่อให้สอดคล้องกับการวางแผนการเงินส่วนบุคคลของตัวเองมากที่สุดด้วย

Source: กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

คลิก

Cr.Bank of Thailand Scholarship Students

เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี !!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b

Line ID:@fxhanuman
Web : https://www.fxhanuman.com
Web : https://www.eluforex.com/
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/

เยี่ยมชม partner ของเราที่ Eluforex รีวิวโบรกเกอร์ Forex

#forex #ลงทุน #peppers #xm #fbs #exness #uag #icmarkets #avatrade #fxtm #tickmill #fxpro #fxopen #fxcl #forex3d #forex4you

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"