forex_calendar

1.  ตั้งเวลาให้ตรงกับประเทศไทยคือ (GMT+7:00) Bangkok, Hanoi, Jakarta
2.  ไว้สำหรับเลือกวันที่ต้องการดูข่าว
3.  เวลาข่าวออก
4.  ตระกูลเงินของข่าว
5.  ความรุนแรงของข่าว
6.  เหตุการณ์ของข่าว
7.  ค่าตัวเลขจริงที่ออก
8.  ค่าตัวเลขคาดการณ์
9.  ค่าตัวเลขครั้งก่อน

forex_calendar

เมื่อถึงเวลาข่าวออกตัวเลขค่าจริงจะแสดงออกมาในช่อง Actual ซึ่งจะมีสีแตกต่างกันดังนี้

  • ตัวเลขออกเป็นสีเขียวแสดงตัวเลขดีกว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีแดงแสดงว่าตัวเลขแย่กว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีดำแสดงว่าตัวเลขเท่ากับค่าที่คาดการณ์หรือใกล้เคียงกับสถิติเดิม (Previous)

 

สิ่งที่ต้องสนใจในการเทรดข่าว Forex

 

1.  เรื่องค่าสกุลเงิน ถ้าเทรดสกุลไหนก็ต้องสนใจเฉพาะสกุลนั้น เช่นถ้าเราเช่น EUR/USD ก็สนใจเฉพาะข่าวของ USD และ EUR และเราต้องรู้ด้วยว่าถ้าข่าวออกมาจะทำให้ค่าเงินเราขึ้นหรือลง เช่น ถ้าเราเล่น EUR/USD ถ้าข่าวดอลลาร์สหรัฐออกมาดีแสดงคู่เงินที่มี USD อยู่หลังกราฟจะลง แต่ถ้าข่าว USD ออกมาไม่ดีกราฟจะขึ้น ในทางกลับกันถ้าข่าว EUR ออกมาดีกราฟจะขึ้นแต่ถ้าข่าว EUR ออกมาไม่ดีกราฟจะลง

2. เรื่องระดับความแรงของข่าว ระดับความแรงขอข่าวจะมีสามระดับดังรูป

forex_calendar

3. ค่าตัวเลขจริงที่ออก(Actual) ถ้าค่าตัวเล่นจริงที่ออกมาต่างจากค่าก่อนหน้า(Previous)มาก ยิ่งมีผลทำให้ค่าเงินวิ่งขึ้นลงแรงมาก แต่ก็ขึ้นอยู่กับความแรงของข่าวด้วย

แบ้งค์ชาติทั่วโลกกำลังทำ "Quantitative Easing"

***ธปท. ซื้อตราสารหนี้เอกชนทำไม*** รู้สึกราวกับผ่านมาแล้วเป็นเดือน ๆ ที่จริงก็แค่ไม่กี่สัปดาห์ที่ธนาคารกลางทั่วโลกเริ่มกดอัตราดอกเบี้ยลงต่ำเป็นประวัติการณ์ ในประเทศที่ไม่มีการลดดอกเบี้ย แบ้งค์ชาติก็มีการเตรียมแผนการทำ QE

...บางแห่งก็ลดดอกเบี้ยพร้อมกับทำ QE ไปด้วยเลย ธนาคารกลางบางแห่งก็ได้ทำไปก่อน ทั้ง ECB ของอียู และ Fed ของสหรัฐ รู้อยู่แล้วถึงความอ่อนแอของเศรษฐกิจ ก็ยังทำให้อ่อนแอหนักเข้าไปอีกเมื่อซัมเมอร์ปี 2019 ....Fed ลดอัตราดอกเบี้ยจาก 2.5% ไปเป็น 1.75% ตั้งแต่เดิอนมิถุนายนถึงเดิอนตุลาคม ..ส่วน ECB ก็ลดอัตราดอกเบี้ยจากทีติดลบอยู่แล้วที่ -0.4% ไปเป็น -0.5% เมื่อเดือนกันยายน

อัตราดอกเบี้ยเริ่ม collapse ลงเมื่อเดือนมีนาคม ..Fed ลดลงไปสองครั้ง ครั้งแรกไปที่ 1.25% และอีกครั้งไปที่ 0.25% .....ไม่นานจากนั้นในเดือนเดียวกัน ธนาคารกลางแคนาดาและออสเตรเลียก็ลดไปเหลือ 0.25% ส่วน Bank of England ลดไปเหลือ 0.1%

ส่วน Bank of Japan ประกาศว่าอัตรายังคงเดิมที่ -0.1%

(ชาร์ต)

New Quantitative Easing

แต่ญี่ปุ่นก็ยังคงทำ QE ....BoJ มีการซื้อกองทุนหุ้นถึง $56,000 ล้านต่อปี มีการแจ้งเมื่อวันจันทร์ว่าจะมีการเพิ่มเป้าไปอีกเท่าตัว และยังมีแผนให้ธนาคารปล่อยสินเชื่อให้กับบริษัทที่ได้รบผลกระทยจากไวรัส ...และเพิ่มการซื้อตราสารหนี้ระยะสั้นภาคเอกชนอีกด้วย

ส่วน Bank of England ก็ไม่ต้องเขิน ทำ QE แล้วก็ยื่นเงินส่งตรงเขามือกระทรวงการคลัง เพื่อใช้เติมงบประมาณที่กำลังขาดแคลน ..ดื้อ ๆ เลย

อังกฤษเป็นประเทศแรกที่ finance รัฐบาลเพื่อช่วยต่อสู้กับ Covid 19 ....โดยที่ BoE ยอมตามความต้องการของกระทรวงการคลังเพื่อการใช้จ่ายของรัฐบาลโดยตรงเลย ..แต่แค่ชั่วคราวเท่านั้น ....นี่เป็นการ bypass ไม่ต้องเข้าซื้อพันธบัตรจากตลาด

ในยุโรป เมื่อวันที่ 18 มีนาคม ECB ประกาศ "โครงการซื้อฉุกเฉิน" โดยใช้เงิน €50,000 ล้าน

ประเทศสมาชิกของกลุ่มยูโรตอนนี้มีอิสระที่จะสร้างหนี้มากกว่าก่อน แต่สถานการณ์การเมืองในยุโรปตอนนี้เดิมพันสูงมาก

แคนาดาก็เริ่ม QE ยกใหม่แล้วเมื่อสองสัปดาห์ที่ผ่านมา เมื่อเดือนมีนาคม Bank of Canada ประกาศว่าจะเริ่มซื้อพันธบัตรรัฐบาลจากตลาดรอง สัปดาห์ละอย่างน้อย $5,000

นั่นจะทำให้มีเงินหลายแสนล้านดอลล่าร์กระจายออกไปในอีกหลายเดือนข้างหน้า มีเงินต้นทุนต่ำให้กับผู้กู้ทั่ว ๆ ไป ...ตอนนี้ Bank of Canada ยังไม่กำหนดเพดานการซื้อเลย

A World without Savings

ตอนนี้เราก็ได้รู้แล้วว่า โลกที่ไม่มีการออมเงินเลยเป็นอย่างไร ...มีแต่ธนาคารกลางเท่านั้นที่ยังคงมีการซื้อทรัพย์สิน เพราะสามารถสร้างเงินมาจากกลางอากาศ ในขณะที่แบ้งค์ส่วนใหญ่ของโลกกำลังจะล้มละลาย บางแห่งอาจจะดูเหมือนมีกำไร แต่ที่จริงก็กำลังปากกัดตีนถีบ ที่ยังอยู่ได้ก็เพราะได้รับการ bail-out จากการทำ QE ครั้งที่ผ่านมา .....พวกนี้รวมเรียกว่า "zombies"

หลังจากอัตราดอกเบี้ยต่ำมานานนับสิบปี ...เราก็พบว่าตัวเองเป็นหนี้ท่วมหัวโดยไม่มีเงินออมเลย ....ถ้าไม่มีธนาคารกลาง ป่านนี้โลกก็ต้องประสบกับปัญหาเงินฝืดทั่วไปแน่ ๆ ซึ่งมันจะทำให้สถาบันการเงินทั้งหลายต้องเดี้ยงไป สร้างความฉิบหายให้กับราคาหุ้น ..เรียลเอสเตท และทรัพย์สินทั้งหลาย ที่ถูกปั่นราคาเป็นฟองสบู่ทำกำไรให้กับแบ้งเกอร์ ..ผู้จัดการ Hedge Funds ..และมหาเศรษฐีมานานนับสิบ ๆ ปี

ทางแก้ทางเดียวก็คือการปล่อยให้อัตราดอกเบี้ยเป็นอิสระ และต้องยอมให้ภาคการเงินรับแรงกระแทก ถ้าปล่อยให้ดีมานด์กำหนดอัตราดอกเบี้ย เราก็คงจะได้เห็นการออมในหมู่ประชาชนเพิ่มมากขึ้น เพราะมีแรงจูงใจการออมแทนที่จะเข้าตลาดหุ้นแล้วลงทุนในอุตสาหกรรมที่คิดว่าตนจะอยู่รอดได้เพราะรัฐบาลจะช่วย bail-out ได้ตลอดเวลา .....ทรัพยากรของภาคการผลิตแท้จริงจะเริ่มมีการหมุนเวียน การผลิตและการบริการจะเพิ่มขึ้น แก้ปัญหา

Cr. Sayan Rujiramora

เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี !!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b 

Line ID:@fxhanuman
Web : https://www.fxhanuman.com
Web : https://www.eluforex.com/
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/

เยี่ยมชม partner ของเราที่ Eluforex รีวิวโบรกเกอร์ Forex

#forex #ลงทุน #peppers #xm #fbs #exness #uag #icmarkets #avatrade #fxtm #tickmill #fxpro #fxopen #fxcl #forex3d #forex4you

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"