forex_calendar

1.  ตั้งเวลาให้ตรงกับประเทศไทยคือ (GMT+7:00) Bangkok, Hanoi, Jakarta
2.  ไว้สำหรับเลือกวันที่ต้องการดูข่าว
3.  เวลาข่าวออก
4.  ตระกูลเงินของข่าว
5.  ความรุนแรงของข่าว
6.  เหตุการณ์ของข่าว
7.  ค่าตัวเลขจริงที่ออก
8.  ค่าตัวเลขคาดการณ์
9.  ค่าตัวเลขครั้งก่อน

forex_calendar

เมื่อถึงเวลาข่าวออกตัวเลขค่าจริงจะแสดงออกมาในช่อง Actual ซึ่งจะมีสีแตกต่างกันดังนี้

  • ตัวเลขออกเป็นสีเขียวแสดงตัวเลขดีกว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีแดงแสดงว่าตัวเลขแย่กว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีดำแสดงว่าตัวเลขเท่ากับค่าที่คาดการณ์หรือใกล้เคียงกับสถิติเดิม (Previous)

 

สิ่งที่ต้องสนใจในการเทรดข่าว Forex

 

1.  เรื่องค่าสกุลเงิน ถ้าเทรดสกุลไหนก็ต้องสนใจเฉพาะสกุลนั้น เช่นถ้าเราเช่น EUR/USD ก็สนใจเฉพาะข่าวของ USD และ EUR และเราต้องรู้ด้วยว่าถ้าข่าวออกมาจะทำให้ค่าเงินเราขึ้นหรือลง เช่น ถ้าเราเล่น EUR/USD ถ้าข่าวดอลลาร์สหรัฐออกมาดีแสดงคู่เงินที่มี USD อยู่หลังกราฟจะลง แต่ถ้าข่าว USD ออกมาไม่ดีกราฟจะขึ้น ในทางกลับกันถ้าข่าว EUR ออกมาดีกราฟจะขึ้นแต่ถ้าข่าว EUR ออกมาไม่ดีกราฟจะลง

2. เรื่องระดับความแรงของข่าว ระดับความแรงขอข่าวจะมีสามระดับดังรูป

forex_calendar

3. ค่าตัวเลขจริงที่ออก(Actual) ถ้าค่าตัวเล่นจริงที่ออกมาต่างจากค่าก่อนหน้า(Previous)มาก ยิ่งมีผลทำให้ค่าเงินวิ่งขึ้นลงแรงมาก แต่ก็ขึ้นอยู่กับความแรงของข่าวด้วย

ต่างชาติโหมทิ้ง 'หุ้น-บอนด์' ไตรมาสแรกขาย2.3แสนล.

นักลงทุนต่างชาติถล่มขาย "หุ้น-บอนด์ไทย" ต่อเนื่อง เผย 3 เดือน ขายสุทธิกว่า 2.33 แสนล้าน กดดันเงินบาทอ่อนค่าร่วม 10% นักเศรษฐศาสตร์ประเมินแนวโน้มยังอ่อนต่อเนื่อง เชื่อระยะสั้นมีโอกาสแตะ 34 บาทต่อดอลลาร์ หวังบาทอ่อนแรงช่วยพยุงเศรษฐกิจไทยจากการส่งออก

ขณะระยะยาวยังมีโอกาสกลับมาแข็งค่าที่ระดับ 31.50 บาท ค่าเงินบาทไทยตั้งแต่ต้นปีถึงปัจจุบันอ่อนค่า ลงมาแล้วเกือบ 10% โดยอ่อนค่าจากระดับ 30.02 บาท ต่อดอลลาร์ ซึ่งเป็นราคาปิดตลาด ณ สิ้นปี 2562 มาอยู่ที่ระดับ 33 บาทต่อดอลลาร์ในปัจจุบัน หรืออ่อนค่าลงราว 3 บาทต่อดอลลาร์ สาเหตุการอ่อนค่า ดังกล่าวส่วนหนึ่งมาจากแรงเทขายสินทรัพย์ต่างๆ ทั้งในตลาดหุ้นและตลาดตราสารหนี้(บอนด์)

โดยตลาดหุ้นไทยตั้งแต่ต้นปีถึง ณ วันที่ 3 เม.ย.2563 นักลงทุนต่างชาติมียอดขายสุทธิถึง 1.21 แสนล้านบาท ขณะที่ตลาดบอนด์ นักลงทุนต่างชาติมียอดขายสุทธิรวม 1.12 แสนล้านบาท รวม 2 ตลาด นักลงทุนต่างชาติเทขายสุทธิออกมา รวมกว่า 2.33 แสนล้านบาท

นายพิพัฒน์ เหลืองนฤมิตชัย ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ภัทร กล่าวว่า ถือเป็นเรื่องปกติที่นักลงทุนเทขายสุทธิทั้งในตลาดหุ้นและตลาดบอนด์ไทย เพราะสถานการณ์ปัจจุบันต้องยอมรับว่าประเทศที่เข้มแข็งสุดคือประเทศที่สกุลเงิน ถูกใช้เป็นเงินทุนสำรองระหว่างประเทศ ดังนั้นเมื่อเกิดปัญหาอะไรนักลงทุนจะวิ่งถือหาสกุลเงินเหล่านี้ก่อน

สำหรับแนวโน้มเงินบาทเชื่อว่าจะยังอ่อนค่าต่อเนื่อง แต่กรอบการเคลื่อนไหวคงอยู่ในระดับ 32-33 บาทต่อดอลลาร์ ซึ่งเป็นผลจากความกังวลที่มีต่อการแพร่ระบาดของไวรัส กดดันให้เงินทุนไหลออกจากกลุ่มประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ อย่างไรก็ตามเงินบาทไทยคงไม่ได้อ่อนค่าลงมากนัก เพราะด้วยดุลบัญชีเดินสะพัดที่ยังเกินดุลต่อเนื่อง

"เมื่อก่อนเงินบาทเราแข็งเพราะมี ยอดเกินดุลบัญชีเดินสะพัดสูงต่อเนื่อง แต่พอนักท่องเที่ยวหายไปก็ทำให้การเกินดุล ลดลง ซึ่งไตรมาส 2 เผลอๆ อาจไม่มี นักท่องเที่ยวเข้ามาเลย ดังนั้นของเดิมที่เคยช่วยหนุนค่าเงินก็จะหายไปด้วย วันนี้จึงต้องตั้งคำถามใหม่ว่า เงินบาทจะยังแข็งได้อยู่หรือไม่ แต่ขณะเดียวกันยังเชื่อว่า แม้จะอ่อนลง ก็คงไม่มากนัก เพราะแม้นักท่องเที่ยว ไม่มี แต่ถ้าดูการส่งออกเทียบกับนำเข้าแล้ว เรายังเกินดุลสุทธิ ช่วยพยุงไม่ให้เงินบาทอ่อนลงไปแรง"

บาทส่ออ่อนค่าแตะ34ต่อดอลล์

นายอมรเทพ จาวะลา ผู้อำนวยการอาวุโส สำนักวิจัย ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย กล่าวว่า เงินบาทยังมีแนวโน้มอ่อนค่าลง ต่อเนื่อง โดยประเมินว่าระยะสั้นช่วงไตรมาส 2 มีโอกาสเห็นเงินบาทอ่อนค่าลงไปอยู่ที่ระดับ 34 บาทต่อดอลลาร์ ซึ่งการอ่อนค่าของ เงินบาทในช่วงนี้เกิดจากการเทขายสินทรัพย์ต่างๆ อย่างต่อเนื่อง

อย่างไรก็ตาม ประเด็นที่ควรต้องเฝ้าดู คือเมื่อความผันผวนของเงินทุนเคลื่อนย้ายหมดไป นักลงทุนจะหันมาโฟกัสที่ดุลบัญชีเดินสะพัด ซึ่งไทยยังคงเกินดุลต่อเนื่อง แม้รายได้จากการท่องเที่ยวจะลดลงไปมาก ก็ตาม สาเหตุเพราะการส่งออกของไทย เมื่อเทียบกับการนำเข้ายังเกินดุลการค้าจำนวนมาก ซึ่งจะทำให้เงินบาทพลิกกลับมา แข็งค่าได้

"การกลับมาแข็งค่าของเงินบาทหลังเหตุการณ์สงบ อาจดีสำหรับผู้ลงทุนในตลาดหุ้น เพราะจะมีเงินไหลเข้ามาลงทุนมากขึ้น แต่คง ไม่ใช่ข่าวดีสำหรับเศรษฐกิจที่ต้องอาศัย รายได้จากต่างประเทศในการขับเคลื่อน"

หวังค่าอ่อนแรงช่วยพยุงศก.

นายอมรเทพ กล่าวด้วยว่า โดยส่วนตัวอยากเห็นเงินบาทอ่อนค่ามากกว่าปัจจุบัน ซึ่งอย่างน้อยควรอ่อนค่าลงไปอยู่ในระดับ 36 บาทต่อดอลลาร์ เพราะจะช่วยปรับสมดุลรายได้ในรูปของดอลลาร์เมื่อแปลงกลับมาเป็นเงินบาทจะมีมูลค่ามากขึ้น ซึ่งน่าจะเป็นหนทางรอดของเศรษฐกิจไทยในระยะข้างหน้า

"ช่วงนี้ถือเป็นโอกาสดีที่มีไม่บ่อยนัก ที่เราจะปล่อยให้ค่าเงินบาทอ่อนลงแรงๆ จากมาตรการทางการเงินของแบงก์ชาติ ที่ต้องอัดฉีดสภาพคล่องเข้าสู่ระบบมากๆ เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการชำระ หนี้ของเอกชน อย่างน้อยก็ช่วยดึงความ เชื่อมั่นให้กลับมา และควรหาจังหวะให้ค่าเงินเป็นกลไกช่วยดูแลเศรษฐกิจใน ช่วงนี้อีกแรง"

อย่างไรก็ตาม ในภาวะที่เงินบาท อ่อนค่า กลุ่มธุรกิจที่มีสัดส่วนนำเข้าสูง และต้องนำมาใช้ในประเทศอาจเสียประโยชน์ เช่น เหล็ก เครื่องจักรกลในอุตสาหกรรม ปุ๋ย และอาหารสัตว์ แต่ก็มีกลุ่มที่ได้ประโยชน์จากการอ่อนค่าของเงินบาท เช่น สินค้าเกษตรและเกษตรแปรรูป โดยแนวทาง ที่ผู้ประกอบการทั้งนำเข้าและส่งออก น่าจะทำได้ในช่วงนี้ นอกจากป้องกัน ความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนแล้ว การเพิ่มมูลค่าสินค้าและเน้นวัตถุดิบในประเทศถือเป็นเรื่องสำคัญ

ฟันธงปลายปีกลับมาแข็งค่า

นายจิติพล พฤกษาเมธานันท์ ผู้อำนวยการ อาวุโสฝ่ายวิจัยตลาดเงิน บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ไทยพาณิชย์ กล่าวว่า แนวโน้มค่าเงินบาท ช่วง 1-2 เดือนข้างหน้า ยังมีโอกาสอ่อนค่าลงไป แตะระดับ 33.60-33.90 บาทต่อดอลลาร์ จากปัญหาสภาพคล่องฝั่งดอลลาร์ที่กดดันค่าเงินบาท ส่วนระยะยาวช่วงครึ่งหลังของ ปีนี้ หากคุมการแพร่ระบาดของโควิด-19 ได้ เงินบาทอาจกลับมาแข็งค่าที่ระดับ 31.50 บาท ต่อดอลลาร์ โดยจะเริ่มเห็นเงินทุนเคลื่อนย้าย ไหลกลับเข้าฝั่งเอเชียในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี

สำหรับแนวโน้มเงินบาทระยะข้างหน้า มี 3 ปัจจัยที่ต้องติดตาม คือ 1.ปัญหาสภาพคล่องที่ในช่วงวิกฤติคนส่วนใหญ่จะวิ่งหาเงินดอลลาร์ ซึ่งมีความปลอดภัยและมีสภาพคล่องสูงกว่าสินทรัพย์อื่น 2.การแพร่ระบาดของ โควิด-19 ที่กดดันเศรษฐกิจโลกอย่างหนัก และทำให้เงินบาทอ่อนค่า แต่เมื่อการระบาดจบลงมีโอกาสที่เงินจะไหลกลับเข้าภูมิภาค และ 3.จากนโยบายการเงินของ ฝั่งสหรัฐ ซึ่งจะกดดันค่าเงินบาท แต่คงต้องรอให้ความกังวลเรื่องโควิด-19 ลดลงก่อน นักลงทุนจึงกล้านำสภาพคล่องในรูปดอลลาร์ออกไปลงทุนนอกสหรัฐ

ช่วงที่ผ่านมาแม้นักลงทุนต่างชาติจะขายสุทธิในตลาดหุ้นและตลาดพันธบัตรรวมกันกว่า 2 แสนล้านบาท แต่เงินบาทไม่ได้อ่อนค่าลงมากนัก เนื่องจากการอ่อนค่าของเงินบาทลงมาอยู่ในระดับใกล้เคียงกับพื้นฐานเศรษฐกิจแล้ว เพราะหากเทียบกับช่วงวิกฤติปี 2551 จะเห็นว่าเงินทุนสำรองระหว่างประเทศของไทยในปัจจุบันสูงกว่าช่วงเวลานั้นกว่า 1แสนล้านดอลลาร์ หรือคิดเป็นราวๆ 3 ล้านล้านบาท ทำให้ช่วงเวลานั้น เงินบาทอ่อนค่าจากระดับ 31 บาทต่อดอลลาร์ เป็น 36 บาทต่อดอลลาร์ ขณะที่ปัจจุบัน เงินบาท อ่อนค่าจากระดับ 30 บาทต่อดอลลาร์มาที่บริเวณ 33 บาทต่อดอลลาร์ เท่านั้น

นางสาวกาญจนา โชคไพศาลศิลป์ ผู้บริหารงานวิจัย กลุ่มงานวิจัย บริษัทศูนย์วิจัยกสิกรไทย กล่าวว่า แนวโน้มเงินบาท ระยะสั้นมีโอกาสที่จะอ่อนค่าลงต่อเนื่อง โดยประเมินว่าช่วงกลางปีนี้มีโอกาสเห็นเงินบาทอ่อนค่าลงไปอยู่ที่ระดับ 33.00-33.50 บาทต่อดอลลาร์ โดยปัจจัยกดดันที่ทำให้เงินบาทอ่อนค่าลง มาจากผลกระทบการแพร่ระบาด โควิด-19 ต่อแนวโน้มกิจกรรมทางเศรษฐกิจของไทย สัญญาณงินทุนต่างชาติไหลออกทั้งในตลาดหุ้นและตราสารหนี้ และสภาพคล่อง ของดอลลาร์ในตลาดการเงินทั่วโลกอยู่ภาวะค่อนข้างตึงตัว ดอลลาร์ไม่อ่อนค่า หลังจากเงินดอลลาร์ได้รับแรงหนุนในฐานะสกุลเงินปลอดภัยในขณะนี้ อย่างไรก็ตามประเมินว่า สิ้นปีนี้เงินบาทจะกลับมาแข็งค่าในระดับ 32 บาทต่อดอลลาร์

Source: กรุงเทพธุรกิจ

Cr.Bank of Thailand Scholarship Students

เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี !!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b 

Line ID:@fxhanuman
Web : https://www.fxhanuman.com
Web : https://www.eluforex.com/
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/

เยี่ยมชม partner ของเราที่ Eluforex รีวิวโบรกเกอร์ Forex

#forex #ลงทุน #peppers #xm #fbs #exness #uag #icmarkets #avatrade #fxtm #tickmill #fxpro #fxopen #fxcl #forex3d #forex4you

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"