forex_calendar

1.  ตั้งเวลาให้ตรงกับประเทศไทยคือ (GMT+7:00) Bangkok, Hanoi, Jakarta
2.  ไว้สำหรับเลือกวันที่ต้องการดูข่าว
3.  เวลาข่าวออก
4.  ตระกูลเงินของข่าว
5.  ความรุนแรงของข่าว
6.  เหตุการณ์ของข่าว
7.  ค่าตัวเลขจริงที่ออก
8.  ค่าตัวเลขคาดการณ์
9.  ค่าตัวเลขครั้งก่อน

forex_calendar

เมื่อถึงเวลาข่าวออกตัวเลขค่าจริงจะแสดงออกมาในช่อง Actual ซึ่งจะมีสีแตกต่างกันดังนี้

  • ตัวเลขออกเป็นสีเขียวแสดงตัวเลขดีกว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีแดงแสดงว่าตัวเลขแย่กว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีดำแสดงว่าตัวเลขเท่ากับค่าที่คาดการณ์หรือใกล้เคียงกับสถิติเดิม (Previous)

 

สิ่งที่ต้องสนใจในการเทรดข่าว Forex

 

1.  เรื่องค่าสกุลเงิน ถ้าเทรดสกุลไหนก็ต้องสนใจเฉพาะสกุลนั้น เช่นถ้าเราเช่น EUR/USD ก็สนใจเฉพาะข่าวของ USD และ EUR และเราต้องรู้ด้วยว่าถ้าข่าวออกมาจะทำให้ค่าเงินเราขึ้นหรือลง เช่น ถ้าเราเล่น EUR/USD ถ้าข่าวดอลลาร์สหรัฐออกมาดีแสดงคู่เงินที่มี USD อยู่หลังกราฟจะลง แต่ถ้าข่าว USD ออกมาไม่ดีกราฟจะขึ้น ในทางกลับกันถ้าข่าว EUR ออกมาดีกราฟจะขึ้นแต่ถ้าข่าว EUR ออกมาไม่ดีกราฟจะลง

2. เรื่องระดับความแรงของข่าว ระดับความแรงขอข่าวจะมีสามระดับดังรูป

forex_calendar

3. ค่าตัวเลขจริงที่ออก(Actual) ถ้าค่าตัวเล่นจริงที่ออกมาต่างจากค่าก่อนหน้า(Previous)มาก ยิ่งมีผลทำให้ค่าเงินวิ่งขึ้นลงแรงมาก แต่ก็ขึ้นอยู่กับความแรงของข่าวด้วย

“อังกฤษ : เกาะเคย์แมน เลี่ยงภาษี ฟอกเงินคือรายได้ของชาติ”

... ในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 ยุคปลายของอาณานิคม “อังกฤษ” เปลี่ยนแนวคิดจากการเป็นผู้ควบคุมการผลิตสินค้าและบริการของดินแดนอาณานิคม มาเป็น “ผู้ควบคุมการเงินของโลก” ทั้งในดินแดนอาณานิคมและในอังกฤษเอง โดยมี

“ธนาคารต่างๆในลอนดอน” คอยช่วยเหลือ

... ในสารคดีเรื่อง The British spider’s web of tax havens, บอกว่าไม่เพียงแต่ “รัฐบาลอังกฤษ” ทำเป็นเอาหูไปนา เอาตาไปไร่ แต่ยังส่งเสริมให้บริษัทใหญ่เหล่านั้นหลีกเลี่ยงภาษีได้ง่ายขึ้นด้วยโดยการช่วยเหลือไม่ให้ต่างประเทศทั่วโลกใช้กฏหมายมาควบคุมและเล่นงานกับบริษัทที่ไปฟอกเงินหนีภาษีเหล่านั้น

... “อังกฤษ” ได้ลงมติโหวตต่อต้านอย่างต่อเนื่องต่อนานาชาติในการพยายามสร้างองค์กรระหว่างรัฐบาลที่เป็นตัวแทนระดับโลกเพื่อกำหนดกรอบกฏหมายเพื่อเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศใน “เรื่องภาษี” และอังกฤษก็ประสบความสำเร็จในการต่อต้านแรงกดดันจากนานาชาติที่พยายามเอาผิดต่อการพยายามหลีกหนีภาษีในช่องทางผ่านประเทศเกาะทั้งหลายทั้ง หมู่เกาะเคย์แมน, หมู่เกาะบริติชเวอร์จิน ได้อย่างดี

... เช่นในปี 2015 ไม่นานมานี้ อดีตนายกรัฐมนตรีเดวิด คาเมรอนได้คัดค้าน “การแลกเปลี่ยนข้อมูล” เกี่ยวกับพวก “ทรัสต์” (มีลักษณะเป็น “กองทรัพย์สิน” ที่ถือกรรมสิทธิ์โดยทรัสตี ไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคล ) ระหว่างองค์กรนานาชาติ ยิ่งแลกเปลี่ยนข้อมูลกันยากก็ยิ่งจะทำให้การสืบสาวหาต้นตอการฟอกเงินหรือการเลี่ยงภาษีทำได้ยากขึ้น

... มันเป็นปัญหาที่สำคัญมาก เนื่องจาก “ทรัสต์” ของคนรวยจากการโกงทั้งหลายทั่วโลกที่ไปจดทะเบียนในหมู่เกาะเคย์แมน และอีกหลายๆแห่งทั้งหลายเหล่านั้นเป็นกุญแจสำคัญในการรักษาสถานะ “ดินแดนสวรรค์ในการเลี่ยงเก็บภาษีของอังกฤษ” ต่อไป อังกฤษยังใช้เวลาหลายปีในการปิดกั้นความพยายามของ “สหภาพยุโรป” ในการพัฒนาวิธีการทั่วไปใน “การจัดเก็บภาษีบริษัทข้ามชาติ” มาตลอด เพราะอุ้มคนรวยให้จ่ายภาษีน้อยลง

... ยิ่งหลังวิกฤติเศรษฐกิจปี 2008 “อังกฤษก็ยิ่งต้องพึ่งพาการเงินจากคนรวยโกงกลุ่มนี้” คนรวยที่ต้องการหลีกเลี่ยงภาษีหรือฟอกเงินจากทั่วโลกมากขึ้น เป็นเหมือน “เครื่องยนต์ขับเคลื่อนเศรษฐกิจของอังกฤษ”

… เศรษฐกิจของอังกฤษในตอนนี้จึงพึ่งพา “การค้าจากต่างประเทศ” ในรูปของการให้บริการด้านการเงินเป็นหลัก ดังนั้น การเจอกับ “การช็อตกับภาคบริการทางการเงินใด ๆ เช่น ที่เกิดจากการถูกปฏิเสธการเข้าถึงตลาดการเงินของสหภาพยุโรปจะสร้างความเสียหายอย่างมากต่อเศรษฐกิจอังกฤษ”

... ที่ผ่านมา “ลอนดอน” เป็นฐานหลักในการตั้งธนาคารและบริษัททางกฏหมาย ที่ให้บริการในการค้าขายกับยุโรป แต่ตอนนี้ “อังกฤษ” เริ่มมองเห็นความเป็นไปได้ของ “ลูกค้าและตลาดใหม่ ๆ” ใน “จีน อินเดีย ตะวันออกกลางและแอฟริกาเขตซาฮารา” ที่กลุ่มนี้อาจจะเกี่ยวข้องกับ “การฟอกเงินสกปรก” จำนวนมากขึ้นและทำให้สามารถ “หลีกเลี่ยงภาษีได้มากขึ้น” กว่าลูกค้ากลุ่มเดิมได้อีก

... “คริสเตนเซน” ที่ให้ข้อมูลจากสารคดีนั้น มองเห็นว่า อังกฤษ ไม่ได้วางแผนที่จะสร้างความหลากหลายทาง “อุตสาหกรรม” มานานหลายทศวรรษแล้ว ( ทั้งที่ตัวเองเป็นผู้นำด้านนี้ในช่วงแรกๆของปฏิวัติอุตสาหกรรม ) และตอนนี้ต้องเผชิญกับทางเลือกการพัฒนาที่จำกัด เน้นแต่พัฒนาด้านการบริการทางการเงินอย่างเดียว ( ต่างกับจีน ที่พยายามพัฒนาทั้งสินค้าทางอุตสาหกรรม ไอที สินค้าหลายประเภท รวมทั้งพัฒนาทางการเงินด้วย กระจายความเสี่ยง )

... อดีตนายกรัฐมนตรีป้าเมย์และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้เคยบอกชัดเจนว่า “บทบาทด้านภาษีเป็นตัวเลือกหนึ่งของเศรษฐกิจอังกฤษ” เรื่องนี้คือสัญญาณของความอ่อนแอของอังกฤษ ยิ่งทั่วโลกมีระเบียบเรื่องการฟอกเงินและการหนีภาษีในนานาชาติมากขึ้น อังกฤษก็ยิ่งเสี่ยงต่อความมั่นคงและความยั่งยืนทางด้านการเงิน

... จึงมีคำถามว่า “นี่เป็นกลยุทธ์การพัฒนาที่มีศักยภาพหรือไม่?” เกมนี้จะมีผู้ชนะอย่างแน่นอน: oligarchs หรือ คนชนสูงร่ำรวยจำนวนน้อยที่ผูกขาดอำนาจ, kleptocrats หรือ รัฐบาลที่มีผู้นำที่โกงกิน และ aristocrats ขุนนางอำมาตย์ ข้าราชการชั้นสูง ที่หลากหลาย, นายธนาคาร, ทนายความ, spooks หรือ พวกผีห่าซาตานที่สูบเลือดประเทศ และนักการเมืองที่เกษียณอายุ แค่นั้น ที่ได้รับประโยชน์จาก เกาะเคย์แมน “สวรรค์เลี่ยงภาษีและฟอกเงินของอังกฤษ” และเกาะอื่นๆเหล่านั้น อย่างไรก็ตามสำหรับคนส่วนใหญ่ในประเทศนั้นไม่ได้มีประโยชน์อะไรเลยและ โอกาสที่ประเทศอังกฤษจะตกต่ำลงเรื่อยๆและความเหลื่อมล้ำทางสังคมระหว่างชนชั้นก็ยิ่งสูงขึ้นเท่านั้น

... ด้วยเหตุนี้ “สวรรค์ของนักโกงเมืองหนีภาษีและฟอกเงินจึงไม่เคยหายไปจากโลกเรา”

.
... As Christensen says in the interview, successive British governments have not only turned a blind eye to the British spider’s web of tax havens, they have actively supported its growth by blocking international attempts to tackle it:

คลิก

คลิก

Cr.Jeerachart Jongsomchai

เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี !!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b 

Line ID:@fxhanuman
Web : https://www.fxhanuman.com
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/

#forex #ลงทุน #peppers #xm #fbs #exness #uag #icmarkets #avatrade #fxtm #tickmill #fxpro #fxopen #fxcl #forex3d #forex4you

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"