forex_calendar

1.  ตั้งเวลาให้ตรงกับประเทศไทยคือ (GMT+7:00) Bangkok, Hanoi, Jakarta
2.  ไว้สำหรับเลือกวันที่ต้องการดูข่าว
3.  เวลาข่าวออก
4.  ตระกูลเงินของข่าว
5.  ความรุนแรงของข่าว
6.  เหตุการณ์ของข่าว
7.  ค่าตัวเลขจริงที่ออก
8.  ค่าตัวเลขคาดการณ์
9.  ค่าตัวเลขครั้งก่อน

forex_calendar

เมื่อถึงเวลาข่าวออกตัวเลขค่าจริงจะแสดงออกมาในช่อง Actual ซึ่งจะมีสีแตกต่างกันดังนี้

  • ตัวเลขออกเป็นสีเขียวแสดงตัวเลขดีกว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีแดงแสดงว่าตัวเลขแย่กว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีดำแสดงว่าตัวเลขเท่ากับค่าที่คาดการณ์หรือใกล้เคียงกับสถิติเดิม (Previous)

 

สิ่งที่ต้องสนใจในการเทรดข่าว Forex

 

1.  เรื่องค่าสกุลเงิน ถ้าเทรดสกุลไหนก็ต้องสนใจเฉพาะสกุลนั้น เช่นถ้าเราเช่น EUR/USD ก็สนใจเฉพาะข่าวของ USD และ EUR และเราต้องรู้ด้วยว่าถ้าข่าวออกมาจะทำให้ค่าเงินเราขึ้นหรือลง เช่น ถ้าเราเล่น EUR/USD ถ้าข่าวดอลลาร์สหรัฐออกมาดีแสดงคู่เงินที่มี USD อยู่หลังกราฟจะลง แต่ถ้าข่าว USD ออกมาไม่ดีกราฟจะขึ้น ในทางกลับกันถ้าข่าว EUR ออกมาดีกราฟจะขึ้นแต่ถ้าข่าว EUR ออกมาไม่ดีกราฟจะลง

2. เรื่องระดับความแรงของข่าว ระดับความแรงขอข่าวจะมีสามระดับดังรูป

forex_calendar

3. ค่าตัวเลขจริงที่ออก(Actual) ถ้าค่าตัวเล่นจริงที่ออกมาต่างจากค่าก่อนหน้า(Previous)มาก ยิ่งมีผลทำให้ค่าเงินวิ่งขึ้นลงแรงมาก แต่ก็ขึ้นอยู่กับความแรงของข่าวด้วย

การลงทุนหลักทรัพย์ต่างประเทศ เทรนด์ใหม่นักลงทุนไทย

ในช่วงที่ผ่านมา ประเทศไทยมีเงินตราต่างประเทศไหลเข้ามาในปริมาณมากจากการที่ต่างชาติมีความเชื่อมั่นในเสถียรภาพต่างประเทศของไทย เช่น การเกินดุลบัญชีเดินสะพัดในระดับสูงต่อเนื่อง นอกจากนั้นยังมีการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ

(Foreign Direct Investment : FDI) เพิ่มขึ้นด้วย ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เงินบาทมีแนวโน้มแข็งค่า

บทความนี้จะเล่าให้ผู้อ่านทราบถึงกระแสเงินทุนในอีกด้านหนึ่ง คือการออกไป ลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศของคนไทย ซึ่งมีพัฒนาการที่ดีขึ้นต่อเนื่องและมีส่วนช่วยลดแรงกดดันค่าเงินบาทได้ในระดับหนึ่ง

โดยผู้เขียนจะใช้ฐานข้อมูลยอดคงค้างของการลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศของนักลงทุนไทย (Portfolio Investment Aboard : PIA) ที่จัดเก็บโดย ธปท. ซึ่งครอบคลุมกองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศ (Foreign Investment Fund : FIF) กองทุนส่วนบุคคล กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ นิติบุคคลไทยที่มีสินทรัพย์ตั้งแต่ 5,000 ล้านบาท ขึ้นไป บริษัทประกัน บริษัทหลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม ผู้ลงทุน สถาบันอื่นๆ บุคคลธรรมดาที่ลงทุนผ่านนายหน้า (Broker)

รวมถึงนักลงทุนสถาบันที่บริหารเงินออม (Contractual Saving Institutions) ซึ่งประกอบด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) และกองทุนประกันสังคม

คนไทยลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศ เพิ่มขึ้น โดยนิยมตราสารหนี้มากที่สุด

จากข้อมูลพบว่าคนไทยมีแนวโน้มออกไปลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศ เพิ่มขึ้น สอดคล้องกับการผ่อนคลายกฎเกณฑ์ ที่เกี่ยวข้องมาอย่างต่อเนื่อง ข้อมูลยอดคงค้าง ณ สิ้นเดือน ก.ย.2562 สูงถึง 7.4 หมื่นล้านดอลลาร์ คิดเป็น 15% ต่อ GDP หรือเติบโตเพิ่มขึ้นเกือบเท่าตัวเทียบกับยอดคงค้าง 4.4 หมื่นล้านดอลลาร์ ในปี 2558

เมื่อวิเคราะห์ "ผลิตภัณฑ์ทางการเงิน" พบว่าตราสารหนี้เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้รับความนิยมสูงสุด โดยมียอดคงค้างเฉลี่ย 5 ปี อยู่ที่ 2.2 หมื่นล้านดอลลาร์ ตามมาด้วยการ ฝากเงินในบัญชีเงินฝากเงินตราต่างประเทศ (Foreign Currency Deposit : FCD) ในต่างประเทศ (1.9 หมื่นล้านดอลลาร์) และการลงทุนผ่านหน่วยลงทุนในต่างประเทศ (1.8 หมื่นล้านดอลลาร์) ตามลำดับ โดยการลงทุน ในตราสารหนี้ต่างประเทศของคนไทยเพิ่มขึ้นประมาณ 40% จากสิ้นปี 2558 เพื่อแสวงหาผลตอบแทนที่สูงขึ้นในภาวะที่อัตราดอกเบี้ยเงินฝากของไทยอยู่ในระดับต่ำ

ขณะเดียวกัน คนไทยมีการโยกย้ายเงินลงทุนตามสถานการณ์ความเสี่ยงในตลาดการเงินโลกเช่นกัน โดยในปี 2561 ซึ่งเป็นปีที่เศรษฐกิจโลกมีความไม่แน่นอนจากการกีดกันทางการค้า รวมทั้งความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์เพิ่มขึ้น ทำให้การลงทุนในตราสารหนี้ปรับลดลงจากปี 2560 และย้ายเงินลงทุนมาพักไว้ใน FCD ในต่างประเทศซึ่งมีความเสี่ยงต่ำกว่าแทน และล่าสุดในปี 2562 FCD ในต่างประเทศเพิ่มขึ้นจากปีก่อน จากการที่ธนาคารพาณิชย์และบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนบางแห่งออกไปลงทุนใน FCD ในต่างประเทศมากขึ้นเพื่อหาผลตอบแทนที่สูงขึ้น

ทั้งนี้ ผลิตภัณฑ์ทางการเงิน 3 รูปแบบข้างต้นคิดเป็น 95% ของยอดคงค้างการลงทุน ในหลักทรัพย์ต่างประเทศทั้งหมดในปัจจุบัน ขณะที่ตราสารทุนไม่ได้รับความนิยมนัก เนื่องจากส่วนใหญ่ไม่ได้ออกไปลงทุนในตราสารทุนโดยตรง แต่นิยมลงทุนผ่านหน่วยลงทุนต่างประเทศที่มีการบริหารจัดการ โดยผู้บริหารกองทุนในต่างประเทศอีกทอดหนึ่ง เพราะเชื่อว่าผู้บริหารกองทุนในต่างประเทศมีความรู้และความเชี่ยวชาญในการลงทุนที่ดีกว่า และจะลงทุนตามนโยบายที่ ได้กำหนดไว้

ครึ่งหนึ่งของการลงทุนกระจุกอยู่ใน 5 ประเทศ

เมื่อวิเคราะห์ "ประเภทผู้ลงทุน" พบว่า FIF จัดเป็นผู้เล่นสำคัญในการออกไปลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศ คิดเป็น 73% ของการลงทุนทั้งหมด เพราะคนไทย ส่วนใหญ่จะลงทุนผ่าน FIF เป็นหลัก ตามมาด้วยบริษัทประกัน (15%) และ contractual saving institutions (5%) ตามลำดับ นอกจากนี้ เมื่อพิจารณาประเทศที่นักลงทุนไทย นิยมออกไปลงทุน พบว่าเงินลงทุนกว่า 3.8 หมื่นล้านดอลลาร์ หรือคิดเป็นครึ่งหนึ่งของการลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศกระจุกอยู่ใน 5 ประเทศหลัก ได้แก่
1.กาตาร์
2.ลักเซมเบิร์ก
3.ฮ่องกง
4.สหรัฐ และ
5.จีน โดยคนไทยนิยมลงทุน FCD ในกาตาร์และฮ่องกง ตราสารหนี้ในจีน และลงทุนในหน่วยลงทุนของสหรัฐและลักเซมเบิร์กเป็นหลัก เนื่องจากทั้ง 2 ประเทศเป็นศูนย์กลางทางการเงินที่มีบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวมอยู่มาก

ธปท.ปรับเกณฑ์ส่งเสริมการลงทุนหลักทรัพย์ในต่างประเทศ

ล่าสุดเมื่อวันที่ 6 พ.ย.2562 ธปท.ได้ประกาศปรับกฎเกณฑ์เพื่อส่งเสริมการออกไปลงทุนหลักทรัพย์ในต่างประเทศ ได้แก่

1.การเปิดเสรีให้นักลงทุนไทยรายย่อยออกไปลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศได้เอง ภายในวงเงินไม่เกิน 2 แสนดอลลาร์ต่อปี จากเดิมที่ต้องลงทุนผ่านตัวกลางในประเทศ เช่นบริษัทหลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน หรือต้องเป็นนักลงทุนที่มีความมั่งคั่งสูงตามเกณฑ์ที่กำหนด (Qualified Investor) และ

2.เพิ่มวงเงินรวมสำหรับการลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศที่จัดสรรให้นักลงทุนสถาบันภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ได้แก่ กองทุน รวม กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ บริษัทหลักทรัพย์ ผู้ลงทุนรายย่อยที่ลงทุนผ่านตัวกลาง เป็น 1.5 แสนล้านดอลลาร์จากเดิมที่ 1 แสนล้านดอลลาร์

การผ่อนคลายข้างต้นนอกจากจะช่วยปรับสมดุลเงินทุนเคลื่อนย้ายให้มีฝั่งไหลออกมากขึ้นและช่วยลดแรงกดดันต่อค่าเงินบาทแล้ว ยังช่วยให้คนไทยมีทางเลือกในการลงทุนเพิ่มเติม สามารถบริหารความเสี่ยง และสร้างผลตอบแทนที่สูงขึ้นจากการเติบโตของเศรษฐกิจต่างประเทศ

ส่งผลให้การลงทุนมีประสิทธิภาพมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันคนไทยส่วนใหญ่ยังมีพฤติกรรมที่เน้นลงทุนในประเทศ ดังนั้น การสนับสนุนการลงทุนในต่างประเทศระยะต่อไปอาจทำได้โดยการส่งเสริมความรู้ทางการเงิน อาทิการฝากเงินใน FCD การลงทุน ผ่าน FIF ไปจนถึงการลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศด้วยตนเอง ซึ่งจะช่วยให้คนไทย มีความเชี่ยวชาญ สามารถประเมินความเสี่ยง ได้ดีขึ้น ทั้งความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนและความเสี่ยงของประเทศที่ไปลงทุน

ซึ่งจะทำให้การไปลงทุนในหลักทรัพย์ ต่างประเทศของคนไทยเพิ่มขึ้นอย่างมีคุณภาพ รวมถึงในระยะต่อไป ธปท.จะผ่อนคลาย เกณฑ์การออกไปลงทุนในต่างประเทศเพิ่มเติมตามความเหมาะสม เพื่อรองรับความ ต้องการของคนไทยที่มีแนวโน้มออกไปลงทุน ในหลักทรัพย์ต่างประเทศเพิ่มขึ้น ซึ่งจะช่วยกระจายความเสี่ยงและเพิ่มโอกาสในการสร้าง ผลตอบแทนที่สูงขึ้นในภาวะที่อัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำต่อเนื่องเป็นเวลานาน

คอลัมน์แจงสี่เบี้ย: โดย มุทิตา อริยะวุฒิกุล และ พัชรี พันธุ์พงศ์พิพัฒน์
ธนาคารแห่งประเทศไทย

บทความนี้เป็นข้อคิดเห็นส่วนบุคคล ซึ่งไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกับข้อคิดเห็นของธนาคารแห่งประเทศไทย

Source: กรุงเทพธุรกิจ


Cr.Bank of Thailand Scholarship Students

เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี !!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b 

Line ID:@fxhanuman
Web : https://www.fxhanuman.com
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/

#forex #ลงทุน #peppers #xm #fbs #exness #uag #icmarkets #avatrade #fxtm #tickmill #fxpro #fxopen #fxcl #forex3d #forex4you

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"