forex_calendar

1.  ตั้งเวลาให้ตรงกับประเทศไทยคือ (GMT+7:00) Bangkok, Hanoi, Jakarta
2.  ไว้สำหรับเลือกวันที่ต้องการดูข่าว
3.  เวลาข่าวออก
4.  ตระกูลเงินของข่าว
5.  ความรุนแรงของข่าว
6.  เหตุการณ์ของข่าว
7.  ค่าตัวเลขจริงที่ออก
8.  ค่าตัวเลขคาดการณ์
9.  ค่าตัวเลขครั้งก่อน

forex_calendar

เมื่อถึงเวลาข่าวออกตัวเลขค่าจริงจะแสดงออกมาในช่อง Actual ซึ่งจะมีสีแตกต่างกันดังนี้

  • ตัวเลขออกเป็นสีเขียวแสดงตัวเลขดีกว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีแดงแสดงว่าตัวเลขแย่กว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีดำแสดงว่าตัวเลขเท่ากับค่าที่คาดการณ์หรือใกล้เคียงกับสถิติเดิม (Previous)

 

สิ่งที่ต้องสนใจในการเทรดข่าว Forex

 

1.  เรื่องค่าสกุลเงิน ถ้าเทรดสกุลไหนก็ต้องสนใจเฉพาะสกุลนั้น เช่นถ้าเราเช่น EUR/USD ก็สนใจเฉพาะข่าวของ USD และ EUR และเราต้องรู้ด้วยว่าถ้าข่าวออกมาจะทำให้ค่าเงินเราขึ้นหรือลง เช่น ถ้าเราเล่น EUR/USD ถ้าข่าวดอลลาร์สหรัฐออกมาดีแสดงคู่เงินที่มี USD อยู่หลังกราฟจะลง แต่ถ้าข่าว USD ออกมาไม่ดีกราฟจะขึ้น ในทางกลับกันถ้าข่าว EUR ออกมาดีกราฟจะขึ้นแต่ถ้าข่าว EUR ออกมาไม่ดีกราฟจะลง

2. เรื่องระดับความแรงของข่าว ระดับความแรงขอข่าวจะมีสามระดับดังรูป

forex_calendar

3. ค่าตัวเลขจริงที่ออก(Actual) ถ้าค่าตัวเล่นจริงที่ออกมาต่างจากค่าก่อนหน้า(Previous)มาก ยิ่งมีผลทำให้ค่าเงินวิ่งขึ้นลงแรงมาก แต่ก็ขึ้นอยู่กับความแรงของข่าวด้วย

ระบบการเงินของโลก...หนีไม่พ้นการพังทลาย

จากกระแสข่าวที่ว่าการทำ repo ระหว่างแบ้งค์มีปัญหาจากการขาดสภาพคล่องในระบบ ที่จริงเรื่องนี้ไม่น่าเป็นประเด็น ถ้าดูจากชาร์ต Fiat Money Quantity (FMQ) จะเห็นถึงจำนวนมหาศาลของเงินเฟียตดอลล่าร์ที่อยู่ในระบบ

ปริมาณเงินเฟียตนี้หมุนเวียนอยู่ในระบบและอยู่ในทุนสำรองใน balance sheet ของธาคารกลางต่างๆทั่วไป ...ก่อนเกิดวิกฤติ Lehman การเพิ่มของปริมาณเงินก็เป็นไปอย่างสม่ำเสมอที่อัตรา 5.86% ต่อปี แต่หลังจากวิกฤติครั้งนั้น อัตราเพิ่มก็เป็นเฉลี่ย 9.45% ต่อปี

และถึงแม้อัตราการเพิ่มจะเริ่มลดลงตั้งแต่ มกราคม 2017 ...FMQ ก็ยังมีมากกว่าถึง $5 ล้านล้านจากที่ควรเป็นจริง ถ้าไม่มีการเพิ่มหลังจากวิกฤติ Lehman ..ที่จริงแล้วการที่ต้องเพิ่มเงินเข้าระบบเริ่อยๆ ก็เพราะการสร้างหนี้จำนวนมากมาเป็นค่าใช้จ่ายภาครัฐจนเกินตัวเกินการควบคุมนั่นแหละ

มันไม่ใช่แค่ในสหรัฐ แต่ตัวเลข FMQ ในประเทศใหญ่หลายแห่งก็เป็นเหมือนกัน ถ้าเอาปริมาณเงิน M3 ที่หมุนเวียนในประเทศไปรวมกับยอดเงินใน balance sheet ของธนาคารกลาง จะเห็นว่ามีการเพิ่มปริมาณในอัตราที่ต่างกันของแต่ละประเทศ ...เช่นในจีน อัตราการเพิ่มขึ้นต่อปีคือ 12% ถึงแม้ในญี่ปุ่นจะเพิ่ม 5.2% และยูโรโซนที่ 4.9% ที่น้อยกว่ามาก แสดงให้เห็นถึงระดับเครดิตของธนาคารที่ไม่หวือหวามาก

เมื่อไม่มีตัวชี้วัดที่ดีกว่า นักสถิติก็มักใช้ GDP ของประเทศ ...หรืออัตราการเพิ่มของปริมาณเงินมาตัดสินถึงการเติบโตทางเศรษฐกิจ ....ฉะนั้น เราก็อย่าแปลกใจเลยถ้าเขาจะบอกเราว่า ประเทศที่มีอัตราเพิ่มของปริมาณเงินมากที่สุดนั่นแหละ..best performing

และในเมื่อ GDP ไม่ได้บอกถึงความก้าวหน้าจริงๆของประเทศ ...การใช้เงินมาเป็นเครื่องมือบริหารเศรษฐกิจของประเทศก็เป็นไปอย่างผิดทิศผิดทางเช่นกัน ปริมาณเงินที่เพิ่มมาก็เป็นไปเพียงเพื่อจะอุดหนุนการใช้จ่ายแบบฟุ่มเฟือย ไม่ productive ของรัฐบาลนั่นเอง

ปริมาณเงินส่วนที่เกินจากการใช้จ่ายของรัฐบาล ก็ไปอยู่เป็นพลังขับเคลื่อนการเก็งกำไรในภาคการเงิน หรือไม่ก็ไปหนุนเครดิตให้กับการบริโภคของกลุ่มคน..ผู้ซึ่งเงินออมทั้งหมดถูกละลายหลอกแดกไปหมดแล้ว

ในส่วนที่ไม่เปิดเผย..ที่อยู่เบื้องหลังการเพิ่ม money supply นี้ก็คือ การผ่องถ่ายความมั่งคั่งจากกระเป๋าของคนทำงานทั่วไป ไปสู่ทั้ง รัฐบาล..ระบบธนาคาร..และลูกค้ารายใหญ่ของแบ้งค์อย่างเงียบๆ ซึ่งพวกนี้คือบริษัทยักษ์ๆทั้งหลาย ....ตลอดไปถึงพวก Hedge Funds

The Real Reason It Looks Like There's a Money Shortage

การกระจายความยากจน..จากกระแสเงินเฟ้อที่เกิดมาหลายสิบปี และมาเร่งเร็วขึ้นหลังวิกฤติ Lehman เป็นเรื่องซีเรียส ...เพราะมันทำให้ระบบเศรษฐกิจเปราะบางมากขึ้นจากที่มันแย่อยู่แล้วจากการใช้จ่ายที่ขาดดุลของรัฐบาล .....เหตุที่เงินไม่เพียงพอก็คือ รัฐบาลสร้างหนี้ได้ในอัตราเร่งที่คิดเป็นตัวเงินแล้ว..พอๆกับส่วนที่เพิ่มขึ้นมา

นักประเมิน Laurence Kotlikoff เคยทำประมาณการการสร้างภาระผูกพันธ์ในอนาคตของรัฐบาลสหรัฐ ออกมาเป็นมูลค่าปัจจุบันสุทธิ (Net Present Value ..NPV) มีมากกว่า $222 ล้านล้าน....

ด้วยตัวเลขขนาดนี้ ไม่ผิดเลยถ้าจะเรียกมันว่ากำลังจะเข้าสู่ infinity ..แล้วตอนนี้มันก็ infinity เรียบร้อยไปแล้วที่ญี่ปุ่นกับยูโรโซน ...เพราะมีการใช้อัตราดอกเบี้ยและบอนด์ยีลด์ติดลบแล้ว..จากการคำนวนหาค่า NPV ของมัน ...และก็เหมือนทุกเรื่องที่เกี่ยวกับการเงินน่ะแหละ ..สาธารณชนก็ยังไม่ตระหนักถึงความจริงของอัตราดอกเบี้ยต่ำหรือติดลบ..และบอนด์ยีลด์ที่ติดดินสุดๆว่ามันคืออะไรกันแน่ ....พวกเขาแค่เห็นว่าดอกเบี้ยต่ำๆทำให้รัฐบาลสามารถกู้เงินได้มากๆง่ายๆ และมาสร้างโรงพยาบาลโรงเรียนให้พวกเขาได้ ....วิธีง่ายๆของพวกนักการเมืองและธนาคารกลางที่ทำให้ทุกคนในประเทศเป็นไอ้โง่ ...คนส่วนน้อยที่ไม่โง่ก็ไม่มีหนทางจัดการอะไรได้ ได้แต่เฝ้าดูมูลค่าของเงินลดน้อยลงทุกทีๆ

ไม่มีใครจะดูออกเลย..ถึงจำนวนหนี้ที่แท้จริงของรัฐบาลสหรัฐในอนาคต นักการเมืองก็ดูเหมือนจะไม่เห็นถึงเรื่องล้มเหลวเหล่านี้ .....หลายๆรัฐบาลมาแล้วที่ได้ยกเรื่องประชานิยมโดยไม่คำนึงถึงหนี้เลย มันสามารถทำลายสิ่งที่ชาวตะวันตกเรียกกันว่าสังคมประชาธิปไตยที่ศิวิไลส์ได้ง่ายๆ ....แต่นั่นปล่อยให้เป็นปัญหาของคนรุ่นต่อไปเถอะ

ถ้าจะยกเอาประวัติศาสตร์หรือทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ที่ดีๆมาเป็นครูแล้วล่ะก็ การที่รัฐจะมักมากใช้เครดิตสร้างหนี้..จะสามารถทำลายระบบการเงินของรัฐบาลเองได้เลย ....เพราะความจริงคือ การปล่อยให้เงินเฟ้อโดยการสร้างเครดิตมากขึ้นก็คือการอยู่อย่างเกินตัว..จมไม่ลง เกินกว่าการหารายได้จากการสร้างผลผลิตของตน

ไม่มีใครที่จะตราเงินขึ้นมาได้อย่างเสรี นอกจากอำนาจของธนาคารกลาง..อำนาจที่เป็นรัฏฐาธิปัตย์ที่ยึดถือเอาโดยไม่ได้รับความเห็นชอบจากสาธารณชน

เงินส่วนเกินจำนวนมากนี่แหละที่รอเวลาที่จะ strike อย่างรุนแรง ......

Excerpted from "Monetary Failure is Becoming Inevitable"

Cr.Sayan Rujiramora

เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี !!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b 

Line ID:@fxhanuman
Web : https://www.fxhanuman.com
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/

#forex #ลงทุน #peppers #xm #fbs #exness #uag #icmarkets #avatrade #fxtm #tickmill #fxpro #fxopen #fxcl #forex3d #forex4you

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"