forex_calendar

1.  ตั้งเวลาให้ตรงกับประเทศไทยคือ (GMT+7:00) Bangkok, Hanoi, Jakarta
2.  ไว้สำหรับเลือกวันที่ต้องการดูข่าว
3.  เวลาข่าวออก
4.  ตระกูลเงินของข่าว
5.  ความรุนแรงของข่าว
6.  เหตุการณ์ของข่าว
7.  ค่าตัวเลขจริงที่ออก
8.  ค่าตัวเลขคาดการณ์
9.  ค่าตัวเลขครั้งก่อน

forex_calendar

เมื่อถึงเวลาข่าวออกตัวเลขค่าจริงจะแสดงออกมาในช่อง Actual ซึ่งจะมีสีแตกต่างกันดังนี้

  • ตัวเลขออกเป็นสีเขียวแสดงตัวเลขดีกว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีแดงแสดงว่าตัวเลขแย่กว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีดำแสดงว่าตัวเลขเท่ากับค่าที่คาดการณ์หรือใกล้เคียงกับสถิติเดิม (Previous)

 

สิ่งที่ต้องสนใจในการเทรดข่าว Forex

 

1.  เรื่องค่าสกุลเงิน ถ้าเทรดสกุลไหนก็ต้องสนใจเฉพาะสกุลนั้น เช่นถ้าเราเช่น EUR/USD ก็สนใจเฉพาะข่าวของ USD และ EUR และเราต้องรู้ด้วยว่าถ้าข่าวออกมาจะทำให้ค่าเงินเราขึ้นหรือลง เช่น ถ้าเราเล่น EUR/USD ถ้าข่าวดอลลาร์สหรัฐออกมาดีแสดงคู่เงินที่มี USD อยู่หลังกราฟจะลง แต่ถ้าข่าว USD ออกมาไม่ดีกราฟจะขึ้น ในทางกลับกันถ้าข่าว EUR ออกมาดีกราฟจะขึ้นแต่ถ้าข่าว EUR ออกมาไม่ดีกราฟจะลง

2. เรื่องระดับความแรงของข่าว ระดับความแรงขอข่าวจะมีสามระดับดังรูป

forex_calendar

3. ค่าตัวเลขจริงที่ออก(Actual) ถ้าค่าตัวเล่นจริงที่ออกมาต่างจากค่าก่อนหน้า(Previous)มาก ยิ่งมีผลทำให้ค่าเงินวิ่งขึ้นลงแรงมาก แต่ก็ขึ้นอยู่กับความแรงของข่าวด้วย

จีน : มหาอำนาจ Blockchain ในอนาคต

เมื่อประธานาธิบดีของจีน "สี จิ้นผิง" ประกาศว่าแผนยุทธศาสตร์ที่ต้องเร่งดำเนินการคือ การพัฒนา Blockchain ประกอบกับกฎหมายใหม่เกี่ยวกับสกุลเงินดิจิทัลจะออกมาบังคับใช้ต้นปี 2563 ต้องจับตามองก้าวสำคัญนี้ให้ดี

เพราะอาจทำให้จีนได้ครองมหาอำนาจในด้านนี้ในอนาคต...ความเดิมจากตอนที่แล้ว ผู้เขียนได้เล่าถึงทิศทางของคริปโทในอนาคต ซึ่งหนึ่งในประเด็นที่น่าสนใจคือ การพัฒนาสกุลเงินดิจิทัลของรัฐบาลจีน ที่ไม่ใช่เพียงการพัฒนาสกุลเงินดิจิทัลที่ทำให้จีนเป็นประเทศที่มีอิทธิพลในด้านเทคโนโลยีของโลก แต่จีนยังมีแนวนโยบายต่างๆ เพื่อสนับสนุนผู้ประกอบการด้านเทคโนโลยีภายในประเทศ รวมถึงการออกกฎหมายฉบับใหม่เพื่อรองรับเทคโนโลยีเข้ารหัส หรือ Cryptography Law ซึ่ง Cryptography ซึ่งเป็นเทคโนโลยีพื้นฐานในการพัฒนาระบบ Blockchain นั่นเอง

DCEP สกุลเงินดิจิทัลของจีน

DCEP : Digital Currency Electronic Payment คือ สกุลเงินดิจิทัลของจีนที่ทำงานบนระบบ Private Blockchain ซึ่งจำกัดผู้มีสิทธิเข้าถึงข้อมูล (แบบวงปิด) ซึ่งแน่นอนว่ารัฐบาลจีนต้องการจำกัดกลุ่มคนในการเข้าถึงและตรวจสอบข้อมูลที่รันอยู่บนระบบ

แม้ DCEP จะอิงอยู่กับสกุลเงินหยวนในอัตราส่วน 1:1 คล้ายการสร้าง Stable Coin ของบริษัทเอกชนต่างๆ แต่ในกรณีของ DCEP ผู้ออกและกำหนดนโยบายในการกำกับดูแลจะเป็นรัฐบาลจีน (โดยธนาคารกลาง) เท่านั้น ต่างจากกรณีของ Stable coin สกุลอื่นๆ ที่ออกโดยเอกชนแต่ใช้สกุลเงินหยวนของจีนมาค้ำประกันไว้ เช่น เหรียญ CNHT ของ Tether หรืออาจกล่าวได้ว่าวัตถุประสงค์ในการออก DCEP นั้นไม่ได้ต่างจากการออกธนบัตรและเหรียญกษาปณ์ในแบบเดิม แต่ DCEP คือการทำหยวนให้อยู่ในรูปแบบดิจิทัลและให้มีค่าไม่ต่างจากเงินในรูปแบบ Physical form ซึ่งร้านค้าและประชาชนทั่วไปสามารถใช้แทนกันได้ในระบบการเงินของประเทศจีน

ดังนั้นวัตถุประสงค์หลักของ DCEP คือการสร้างระบบการเงินแบบดิจิทัลที่สามารถส่งเสริมการทำธุรกรรมแบบ Real-time และการเพิ่มความสามารถในการเก็บข้อมูลการทำธุรกรรมเหล่านั้นได้อย่างทันท่วงที อันจะเป็นประโยชน์ต่อการส่งผ่านนโยบายทางการเงินของรัฐบาลได้อย่างมีประสิทธิภาพ และยังเป็นการลดปัญหาในเรื่องค่าใช้จ่ายและระยะเวลาในการโอนเงินผ่านระบบชำระเงินในแบบเดิม รวมถึงแก้ปัญหาความล่าช้าของระบบ SWIFT ที่ใช้ในระบบการชำระเงินระหว่าง Inter-Bank

สำหรับผู้เขียน เชื่อว่าคุณสมบัติที่โดดเด่นของสกุลเงินดิจิทัล เช่น การเป็นทรัพย์สินที่ไม่มีรูปร่างและทำงานผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ จะช่วยให้ DCEP ของจีนสามารถหมุนเวียนอยู่ในระบบการเงินทั่วโลกได้ไม่ยากนัก เหล่านี้คือแนวทางของจีนในการปูทางไปสู่การเป็น Digital global currency ในอนาคต

กฎหมาย Cryptography law
ที่ผ่านมาการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลในจีน เช่น Cryptocurrency Trading และ ICO นั้น ถูกควบคุมอย่างเข้มงวดจากรัฐบาลจีนมาโดยตลอด เนื่องจากจีนมองว่ากิจกรรมเหล่านี้เป็นการสร้างความเสี่ยงทางการเงินอย่างหนึ่งให้กับประเทศ

อย่างไรก็ดี เมื่อเดือน ต.ค.ที่ผ่านมา จีนได้ประกาศแผนพัฒนา Blockchain โดยประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ได้กล่าวชัดเจนว่าการพัฒนา Blockchain คือแผนยุทธศาสตร์หลักที่ต้องเร่งดำเนินการ และ Cryptography law คือหนึ่งในกฎหมายที่จะมีผลบังคับใช้ในเดือน ม.ค.2563 ทั้งนี้ จากการศึกษาข้อมูลที่เปิดเผยโดยรัฐบาลจีน พบว่ามีประเด็นที่น่าสนใจ ดังนี้

ประเด็นแรก มุ่งส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีเข้ารหัสในเชิงพาณิชย์ กล่าวคือกฎหมายฉบับนี้มุ่งศึกษาและวิจัย รวมถึงการแลกเปลี่ยนความรู้ในเชิงวิชาการในรูปแบบต่างๆ เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีเข้ารหัสและนำไปประยุกต์ใช้ในเชิงพาณิชย์ (เช่น สร้างผลิตภัณฑ์หรือการให้บริการในรูปแบบใหม่) ทั้งนี้ การพัฒนาดังกล่าวจะต้องไม่เป็นการละเมิดผลประโยชน์ส่วนบุคคลของผู้ใด และไม่เป็นการสร้างผลิตภัณฑ์หรือบริการที่กระทบต่อความมั่นคงของภาครัฐ

ดังนั้น ก่อนการขายสินค้าหรือนำเสนอบริการโดยใช้ Cryptography ผู้ประกอบการจะต้องเข้าสู่ระบบตรวจสอบตามหลักเกณฑ์ที่ภาครัฐกำหนด

ประเด็นที่สอง การให้ความคุ้มครองข้อมูลและการสร้างความปลอดภัยให้กับระบบ กล่าวคือเมื่อกฎหมายมุ่งส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาองค์ความรู้ แล้วกฎหมายยังได้ระบุชัดว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการปรับใช้เทคโนโลยีการเข้ารหัสจะต้องไม่บังคับให้ผู้พัฒนาระบบเปิดเผยข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาหรือข้อมูลที่เป็นความลับทางธุรกิจให้กับตน (เช่นข้อมูล Source Codes) และกฎหมายยังกำหนดให้การพัฒนา Cryptography ดังกล่าวจะต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ภายใต้กฎหมาย Cybersecurity Law อีกด้วย

ประเด็นที่สาม บทกำหนดโทษในกรณีมีการกระทำโดยมิชอบ เช่น กรณีที่มีการขโมยข้อมูลการเข้ารหัส (Encrypted Information) การ hack ระบบความปลอดภัยของระบบเข้ารหัสของบุคคลอื่น การใช้เทคโนโลยีเข้ารหัสเพื่อวัตถุประสงค์ในการทำลายความมั่นคงของรัฐ เป็นต้น ทั้งนี้หากภาครัฐตรวจพบบุคคลที่มีความเสี่ยงในการกระทำความผิดดังกล่าว สามารถสั่งให้บุคคลนั้นกำหนดนโยบายหรือปรับใช้มาตรการต่างๆ เพื่อป้องกันเหตุร้ายอันอาจเกิดขึ้นได้

นโยบายสนับสนุน Blockchain

ธนาคารกลางของจีนได้ประกาศเกณฑ์ Certification of FinTech Products (CFP) โดยเป็นการเร่งให้ใบอนุญาตกับผู้ประกอบการ digital payment ที่นำเอาเทคโนโลยี Blockchain มาใช้ในการให้บริการ ซึ่งการออกเกณฑ์ใหม่ในครั้งนี้ ถือเป็นการเร่งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการชำระเงินเพื่อรองรับสกุลเงินดิจิทัลที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งในปัจจุบันผู้ที่มายื่นขอรับใบอนุญาตดังกล่าว เช่น ผู้ให้บริการ point-of-sale mobile terminal และผู้พัฒนา Trusted Execution Environment (TEE) หรือเทคโนโลยีที่จะช่วยในการสร้าง Consortium Blockchain Network ซึ่งจะเป็นโครงข่ายที่สำคัญในการ Verify การทำธุรกรรมทางการเงินบนระบบ Blockchain

ท้ายที่สุด รัฐบาลจีนไม่ได้สนับสนุนการใช้ Blockchain ในภาคธุรกิจเพียงอย่างเดียว แต่รัฐบาลยังได้จัดให้มีวิดีโอสื่อการสอนจำนวน 25 รายการ เพื่อให้ความรู้ประชาชนเกี่ยวกับ Blockchain โดยยังรวมไปถึงการให้ข้อมูลเกี่ยวกับคริปโทสกุลต่างๆ เช่น Ethereum และ BitCoin อีกด้วย

สำหรับผู้เขียน นี่คือตัวอย่างที่น่าเลียนแบบในการส่งเสริมรัฐบาลและประชาชนในยุค 5G อย่างแท้จริง

โดย ดร.สุมาพร (ศรีสุนทร) มานะสันต์
[บทความนี้เป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน]

Source: กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

คลิก

Cr.Bank of Thailand Scholarship Students

เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี !!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b 

Line ID:@fxhanuman
Web : https://www.fxhanuman.com
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/

#forex #ลงทุน #peppers #xm #fbs #exness #uag #icmarkets #avatrade #fxtm #tickmill #fxpro #fxopen #fxcl #forex3d #forex4you

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"