forex_calendar

1.  ตั้งเวลาให้ตรงกับประเทศไทยคือ (GMT+7:00) Bangkok, Hanoi, Jakarta
2.  ไว้สำหรับเลือกวันที่ต้องการดูข่าว
3.  เวลาข่าวออก
4.  ตระกูลเงินของข่าว
5.  ความรุนแรงของข่าว
6.  เหตุการณ์ของข่าว
7.  ค่าตัวเลขจริงที่ออก
8.  ค่าตัวเลขคาดการณ์
9.  ค่าตัวเลขครั้งก่อน

forex_calendar

เมื่อถึงเวลาข่าวออกตัวเลขค่าจริงจะแสดงออกมาในช่อง Actual ซึ่งจะมีสีแตกต่างกันดังนี้

  • ตัวเลขออกเป็นสีเขียวแสดงตัวเลขดีกว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีแดงแสดงว่าตัวเลขแย่กว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีดำแสดงว่าตัวเลขเท่ากับค่าที่คาดการณ์หรือใกล้เคียงกับสถิติเดิม (Previous)

 

สิ่งที่ต้องสนใจในการเทรดข่าว Forex

 

1.  เรื่องค่าสกุลเงิน ถ้าเทรดสกุลไหนก็ต้องสนใจเฉพาะสกุลนั้น เช่นถ้าเราเช่น EUR/USD ก็สนใจเฉพาะข่าวของ USD และ EUR และเราต้องรู้ด้วยว่าถ้าข่าวออกมาจะทำให้ค่าเงินเราขึ้นหรือลง เช่น ถ้าเราเล่น EUR/USD ถ้าข่าวดอลลาร์สหรัฐออกมาดีแสดงคู่เงินที่มี USD อยู่หลังกราฟจะลง แต่ถ้าข่าว USD ออกมาไม่ดีกราฟจะขึ้น ในทางกลับกันถ้าข่าว EUR ออกมาดีกราฟจะขึ้นแต่ถ้าข่าว EUR ออกมาไม่ดีกราฟจะลง

2. เรื่องระดับความแรงของข่าว ระดับความแรงขอข่าวจะมีสามระดับดังรูป

forex_calendar

3. ค่าตัวเลขจริงที่ออก(Actual) ถ้าค่าตัวเล่นจริงที่ออกมาต่างจากค่าก่อนหน้า(Previous)มาก ยิ่งมีผลทำให้ค่าเงินวิ่งขึ้นลงแรงมาก แต่ก็ขึ้นอยู่กับความแรงของข่าวด้วย

กนง.ห่วง'บาทแข็ง'ฉุดเศรษฐกิจ สั่งเกาะติด พร้อมออกมาตรการทันที

หั่น'จีดีพี'ปีนี้เหลือ 2.8% : มติ กนง.เอกฉันท์ "คง"ดอกเบี้ย 1.5% พร้อมปรับลดคาดการณ์ เศรษฐกิจลงแตะ 2.8% ชี้เป็นการหั่น ประมาณการต่อเนื่องครั้งที่ 4 พิษสงครามการค้า ทำส่งออกวูบหนัก ขณะ"บาทแข็ง" กดดันเศรษฐกิจเพิ่ม เผยที่ประชุมสั่ง

จับตาเงินบาทใกล้ชิด ด้าน"เอดีบี"หั่น "จีดีพี"ไทยลงแตะ 3% ขณะ"กสิกร"จ่อปรับลงอีกรอบ

ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) วานนี้(25 ก.ย.) มีมติเอกฉันท์ 7 ต่อ 0 เสียง ให้ "คง" ดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 1.5% ขณะเดียวกันได้ปรับลดคาดการณ์ การเติบโตของเศรษฐกิจไทยในปีนี้ลง เหลือ 2.8% จากเดิมประเมินไว้เมื่อเดือนมิ.ย.2562 อยู่ที่ 3.3% ซึ่งการปรับลด คาดการณ์เศรษฐกิจไทยในครั้งนี้ ถือเป็น การปรับลดครั้งที่ 4 ติดต่อกัน จาก ประมาณการเดิมเมื่อเดือนมิ.ย.2561 ซึ่งขณะนั้นประเมินว่าเศรษฐกิจไทยใน ปี 2562 จะขยายตัวได้ราว 4.2%

นายทิตนันทิ์ มัลลิกะมาส ผู้ช่วย ผู้ว่าการ สายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) ในฐานะเลขานุการ กนง. กล่าวว่า สาเหตุการปรับลดคาดการณ์เศรษฐกิจไทยในครั้งนี้ เนื่องจาก กนง. ประเมินว่า แนวโน้มการขยายตัวในระยะข้างหน้า จะต่ำกว่าที่คาด จากภาคการส่งออกที่ลดลง ซึ่ง กนง.ได้ปรับคาดการณ์ส่งออกในปีนี้ เป็นหดตัว 1% จากเดิมประเมินว่าจะไม่เติบโตเลยหรือขยายตัวที่ 0% ซึ่งผลกระทบส่วนนี้ จะส่งผ่านไปยังอุปสงค์ในประเทศ เช่น การบริโภค และการลงทุนภาคเอกชน และจะมีผลต่อ การจ้างงานที่ปรับลดลงด้วย

นอกจากนี้ กนง.ได้ปรับลดการนำเข้า เป็นหดตัว 3.6% จากเดิมคาดการณ์หดตัว 0.3% ขณะเดียวกันยังปรับประมาณการการลงทุนภาครัฐลงเหลือ 2.5% จากเดิม 3.8% ซึ่งเป็นผลจากความล่าช้าของงบลงทุนปี 2563 ที่คาดว่าจะล่าช้าออกไปอีกสักระยะ

"ปัจจัยภายนอก จากสงครามการค้า คาดการณ์ได้ยาก ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ กนง.ปรับจีดีพีลง และเริ่มเห็นผลกระทบจากภาคส่งออกไปสู่อุปสงค์ในประเทศมากขึ้น ขณะที่ภาคการท่องเที่ยวมีแนวโน้มชะลอตัวลง อุปสงค์ในประเทศการบริโภคเอกชนชะลอตัว การจ้างงานลดลง และมีแรงกดดันจากหนี้ครัวเรือน ที่อยู่ในระดับสูง รวมทั้งผลจากภัยธรรมชาติเข้ามากดดันเพิ่มเติม ส่วนมาตรการภาครัฐถือว่า มีส่วนพยุงการบริโภคในประเทศ หากไม่มี จีดีพีจะต่ำกว่านี้"

กนง.ห่วง'บาทแข็ง'สั่งจับตา

ส่วนสถานการณ์ค่าเงินบาท ยอมรับว่า กนง.มีความกังวลมากขึ้น โดยเกรงว่าจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและกระทบต่อมาร์จิน ของผู้ประกอบการมากขึ้น ขณะเดียวกัน การแข็งค่าของเงินบาท อาจกระทบต่อเศรษฐกิจเพิ่มเติม โดยเฉพาะท่ามกลางความเสี่ยงจากต่างประเทศที่เพิ่มสูงขึ้น ดังนั้นกนง.จึงจับตาดูค่าเงินบาทและเงินทุนเคลื่อนย้ายอย่างใกล้ชิด รวมถึงให้มีการดำเนินมาตรการที่เหมาะสมเพิ่มเติมตามความจำเป็น แต่หากดูเงินทุนเคลื่อนย้ายปัจจุบัน ยังเป็นการไหลออกสุทธิ หลังจากมีการดำเนินมาตรการดูแลค่าเงินบาทในช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมา

นายทิตนันทิ์ กล่าวว่า กนง.ยังได้ปรับตัวเลขคาดการณ์การเกินดุลบัญชีเดินสะพัดด้วย โดยปรับเพิ่มเป็น 3.42 หมื่นล้านดอลลาร์ จากเดิมที่ 2.91 หมื่นล้านดอลลาร์ ขณะปีหน้าปรับเพิ่มเป็น 3.04 หมื่นล้านดอลลาร์ จากเดิม 2.63 หมื่นล้านดอลลาร์ แต่สาเหตุหลักมาจากการส่งออกทองคำที่มีปริมาณเพิ่มขึ้น ตามราคาทองคำที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นมติเอกฉันท์คงดอกเบี้ย1.5%

สำหรับอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ที่ประชุมมีมติเอกฉันท์ให้คงดอกเบี้ยไว้ที่ 1.50% แม้เศรษฐกิจขยายตัวต่ำกว่าที่คาด เงินเฟ้อทั่วไปต่ำกว่ากรอบล่างของเป้าหมาย แต่ยังมีปัจจัยเสี่ยงที่ต้องติดตาม โดยเฉพาะความเสี่ยงด้านต่างประเทศ จากภาวะกีดกันทางการค้า แนวโน้มการขยายตัวของเศรษฐกิจจีนและประเทศอุตสาหกรรมหลักที่อาจส่งผลมาสู่อุปสงค์ในประเทศ รวมถึงติดตามการดำเนินนโยบายของรัฐบาล และการใช้จ่ายภาครัฐต่างๆต่อด้วย

อย่างไรก็ตาม แม้ระบบการเงินโดยรวมจะมีเสถียรภาพ แต่ยังต้องติดตามความเสี่ยงที่อาจสร้างความเปราะบาง ต่อเสถียรภาพระบบการเงินในอนาคต ซึ่งยังต้องติดตามพฤติกรรมการแสวงหาผลตอบแทนที่สูงขึ้นในภาวะดอกเบี้ยต่ำ และอาจนำไปสู่ความเปราะบางในระบบการเงินได้ รวมทั้งต้องติดตามการก่อหนี้ครัวเรือน และความสามารถการชำระหนี้ของภาคครัวเรือนและเอสเอ็มอีต่างๆด้วย

"การพิจารณาอัตราดอกเบี้ยในอนาคต คงเป็นเรื่อง data dependent และต้องดูข้อมูลใหม่เพิ่มเติม ทั้งในและต่างประเทศ หากข้อมูลเหล่านี้ส่งผลทำให้แนวคิด หรือการคาดการณ์เปลี่ยนไปอย่างมีนัยสำคัญ หรือกระทบต่อเสถียรภาพ กนง.ก็พร้อมใช้เครื่องมือที่เหมาะสม หากมีอะไรที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างมีนัยสำคัญ"

'เอดีบี'หั่นจีดีพีไทยลงแตะ3%

นายเทียม ฮีอึง เศรษฐกรอาวุโส ประจำธนาคารพัฒนาเอเชีย หรือ เอดีบี กล่าวว่า เอดีบี ได้ปรับคาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจไทยปีนี้ลงเหลือ 3% จากคาดการณ์เดิมที่ 3.9% โดยการปรับลดดังกล่าว เป็นผลจากปัจจัยต่างประเทศ โดยเฉพาะสงครามการค้าระหว่างสหรัฐกับจีนที่มีความตรึงเคลียดมากขึ้น ทำให้การส่งออกหดตัว ขณะที่การท่องเที่ยวชะลอลง และเงินบาทที่แข็งค่า

การส่งออกสินค้าและบริการของไทยเดิมคาดว่าจะขยายตัวได้ 5.5% แต่ล่าสุดประเมินว่า อาจหดตัวในปีนี้ที่ราว 3.5% ส่วนเงินเฟ้อจะยังคงอยู่ในระดับต่ำที่ 1% ทั้งในปีนี้และปีหน้า เนื่องจากสภาวะการชะลอตัวทางเศรษฐกิจ ซึ่งไม่มีการปรับประมาณการในรายงานฉบับนี้ เช่นเดียวกับการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดที่ยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงจากประมาณการครั้งก่อน

ส่วนปัจจัยเสี่ยงที่ต้องจับตา นอกจากสถานการณ์สงครามการค้าที่เป็นปัจจัยภายนอกแล้ว ในประเทศต้องติดตามดูการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานว่าจะล่าช้าออกไปหรือไม่ รวมทั้งหนี้ครัวเรือนที่อยู่ระดับสูงแต่หลังจากธปท. เข้ามาดูแล หวังว่าระดับหนี้ครัวเรือนจะไม่เพิ่มขึ้นมากขึ้น

สำหรับการใช้เครื่องมือดอกเบี้ยนโยบายเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ประเมินว่าทำได้จำกัด เพราะอัตราดอกเบี้ยนโยบายในปัจจุบันอยู่ระดับต่ำมากแล้ว ถ้าจะลดลงอีกคงไม่ได้ผล จึงประเมินว่าการใช้นโยบายการคลัง จะสามารถช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้มากกว่า

อย่างไรก็ตาม เอดีบี ประเมินว่า เศรษฐกิจไทยปีหน้ามีแนวโน้มฟื้นตัวขึ้น จาก 3 ปัจจัย คือ 1.สงคราการค้ามีข้อดีที่จะให้มีเงินทุนโดยตรงจากต่างประเทศ(FDI)มาไทยเพิ่มขึ้น ปัจจุบันพบว่าแนวโน้มเงินทุนจากจีนและญี่ปุ่นมีเพิ่มขึ้น 2. ภาครัฐคงจะมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในลักษณะเดียวกับมาตรการ ชิมช้อปใช้ ออกมาต่อเนื่อง 3. การลงทุนในEECที่จะเริ่มเกิดขึ้นชัดเจนในปีหน้า

'กสิกร'จ่อหั่นจีดีพีต่ำกว่า3%

นายกอบสิทธิ์ ศิลปชัย ผู้บริหารงานวิจัยเศรษฐกิจและตลาดทุน ธนาคารกสิกรไทย กล่าวว่าปลายเดือนก.ย.นี้ธนาคารจะทบทวนตัวเลข เศรษฐกิจ ไทยอีกครั้ง ซึ่ง ต้องยอมรับ ว่า ตัวเลขคาดการณ์ที่ 3.1% เป็นไป ได้ยาก คงต้องปรับลดลง และมีโอกาสที่ จีดีพี ไทยในปีนี้ อาจลดลงต่ำกว่าระดับ 3% ส่วนแนวโน้ม ค่าเงินบาท ประเมินว่า น่าจะ ยังแข็งค่า อยู่ ในกรอบ 30-31บาทต่อดอลลาร์ โดยยังคงเป้าหมายค่าเงินบาทที่30.50บาทต่อดอลลาร์

Source: กรุงเทพธุรกิจ

ข่าว ธปท. เรื่อง ผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน ครั้งที่ 6/2562

คลิก

Cr.Bank of Thailand Scholarship Students

เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี!!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b  
Line ID:@fxhanuman
Web : https://www.fxhanuman.com
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/

#forex #ลงทุน #peppers #xm #fbs #exness #uag #icmarkets #avatrade #fxtm #tickmill #fxpro #fxopen #fxcl #forex3d #forex4you

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"