forex_calendar

1.  ตั้งเวลาให้ตรงกับประเทศไทยคือ (GMT+7:00) Bangkok, Hanoi, Jakarta
2.  ไว้สำหรับเลือกวันที่ต้องการดูข่าว
3.  เวลาข่าวออก
4.  ตระกูลเงินของข่าว
5.  ความรุนแรงของข่าว
6.  เหตุการณ์ของข่าว
7.  ค่าตัวเลขจริงที่ออก
8.  ค่าตัวเลขคาดการณ์
9.  ค่าตัวเลขครั้งก่อน

forex_calendar

เมื่อถึงเวลาข่าวออกตัวเลขค่าจริงจะแสดงออกมาในช่อง Actual ซึ่งจะมีสีแตกต่างกันดังนี้

  • ตัวเลขออกเป็นสีเขียวแสดงตัวเลขดีกว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีแดงแสดงว่าตัวเลขแย่กว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีดำแสดงว่าตัวเลขเท่ากับค่าที่คาดการณ์หรือใกล้เคียงกับสถิติเดิม (Previous)

 

สิ่งที่ต้องสนใจในการเทรดข่าว Forex

 

1.  เรื่องค่าสกุลเงิน ถ้าเทรดสกุลไหนก็ต้องสนใจเฉพาะสกุลนั้น เช่นถ้าเราเช่น EUR/USD ก็สนใจเฉพาะข่าวของ USD และ EUR และเราต้องรู้ด้วยว่าถ้าข่าวออกมาจะทำให้ค่าเงินเราขึ้นหรือลง เช่น ถ้าเราเล่น EUR/USD ถ้าข่าวดอลลาร์สหรัฐออกมาดีแสดงคู่เงินที่มี USD อยู่หลังกราฟจะลง แต่ถ้าข่าว USD ออกมาไม่ดีกราฟจะขึ้น ในทางกลับกันถ้าข่าว EUR ออกมาดีกราฟจะขึ้นแต่ถ้าข่าว EUR ออกมาไม่ดีกราฟจะลง

2. เรื่องระดับความแรงของข่าว ระดับความแรงขอข่าวจะมีสามระดับดังรูป

forex_calendar

3. ค่าตัวเลขจริงที่ออก(Actual) ถ้าค่าตัวเล่นจริงที่ออกมาต่างจากค่าก่อนหน้า(Previous)มาก ยิ่งมีผลทำให้ค่าเงินวิ่งขึ้นลงแรงมาก แต่ก็ขึ้นอยู่กับความแรงของข่าวด้วย

Ray Dalio คือผู้จัดการกองทุนที่ยิ่งใหญ่

นอกจากเป็นนักลงทุนที่ประสบความสำเร็จ เขายังเป็นผู้ที่แสดงความเห็นทางเศรษฐกิจในสื่อทางเลือกอีกด้วย เร็วๆนี้เขาได้ออกบทความ Paradigm Shift ...เป็นบทความวิเคราะห์ถึงวงจรเศรษฐกิจ ..ทั้งสาเหตุ..ผล..และผลกระทบต่อเนื่องของมัน

ในบทความ Dalio ได้วาดโครงร่างเศรษฐกิจเป็นช่วงๆ ช่วงละสิบปี ที่โยงถึงกันอย่างเป็นรูปแบบ

สิ่งที่เห็นได้ชัดคือ ในอนาคตอันใกล้นี้..มีโอกาสที่ตลาดจะทำให้เกิด scenario ในแบบที่เคยเกิดขึ้นแล้วในอดีต ถึงแม้บางเรื่องประวัติศาสตร์อาจไม่เคยบันทึกไว้เลย

ผลที่จะเกิดขึ้นจะเป็น paradigm ใหม่ ..(กระบวนทัศน์ - แนวความคิดที่อยู่นานจนคุ้นเคยและคิดว่าจะอยู่ได้ตลอดไป..ผู้แปล) ..ที่จะแตกต่างจากผลที่เคยเกิดในระหว่าง paradigm ก่อนหน้า

มาลองดูกระบวนทัศน์อย่างย่อๆของแต่ละช่วงในอดีต และความแตกต่างของมัน

1920s = “Roaring”
...จากช่วงบูมไปสู่ระเบิด (Boom to Bursting Bubble) ...มันเริ่มมาจากเศรษฐกิจถดถอยก่อนหน้านั้น มาสู่การเติบโตที่มาจากการเร่งของจำนวนหนี้ตลอดของช่วงสิบปีนี้ (เฟื่องฟูจนเรียกว่า Roaring '20s ..ผู้แปล) ....แต่มันก็จบลงด้วยฟองสบู่ที่ระเบิดในปี 1929 ซึ่งเป็นปีสุดท้ายในช่วงนี้

1930s = Depression
...ช่วงสิบปีนี้เป็นสิ่งที่ตรงข้ามกับ 1920s ..วิกฤติหนี้ที่เกิดขึ้นทำให้เกิดเศรษฐกิจถดถอย อัตราดอกเบี้ยเท่ากับ 0% ...มีการพิมพ์เงินเพิ่มและการด้อยค่าของดอลล่าร์ ช่องว่างความมั่งคั่งระหว่างชนชั้นถ่างมากขึ้นไปอีก ทำให้ประชานิยมเกิดขึ้นทั่วโลกที่ก่อให้เกิดความขัดแย้ง ....ช่วงนี้จบลงด้วยการเริ่มของสงคราม

1940s = War and Post-War
...รัฐบาลทุกประเทศทั่วโลกพิมพ์เงินเพิ่มและสร้างหนี้กันมากมาย เพื่อกระตุ้นให้เกิดการจ้างงาน และเพื่อเตรียมหนุนการทำสงคราม ...อุตสาหกรรมการผลิตยุทธปัจจัยทำให้สหรัฐเริ่มหลุดพ้นจากหลุมของ Great Depression

หลังสงคราม สหรัฐกลายมาเป็นมหาอำนาจที่เด่นเหนือทุกประเทศ เงินดอลล่าร์กลายมาเป็นทุนสำรองของทุกประเทศในโลก ดอลล่าร์อิงค่ากับทองคำในขณะที่สกุลเงินของทุกประเทศอิงกับดอลล่าร์อีกทอดหนึ่ง (Bretton Woods)

1950s = Post-War Recovery
...การฟื้นฟูช่วงหลังสงครามทำให้เศรษฐกิจทั่วโลกพุ่งขึ้น (GDP โตเฉลี่ย 4% ทุกปี) บางส่วนก็มาจากนโยบายการกระตุ้นและดอกเบี้ยต่ำ ...ส่งผลให้ตลาดหุ้นไปได้สวย รัฐบาลสหรัฐก็ไม่ได้ขาดดุลงบประมาณมากนัก หนี้ภาครัฐก็ลดลง ...ในขณะที่หนี้ภาคเอกชนก็สอดคล้องกับการเติบโต ช่วงสิบปีนี้จบลงด้วยความเข้มแข็งอย่างแรงของฐานะการเงินของประเทศ ....(แต่ไม่บอกว่าดูดเอาของทั้งโลกไปเท่าไหร่..อิอิ)...นี่คือช่วงเวลาที่แรงงานคนอเมริกันชั้นกลางรุ่งเรืองและเป็นที่ต้องการมาก

1960s = From Boom to Monetary Bust
...เศรษฐกิจเติบโตจากการเพิ่มหนี้ ทำให้ดุลการชำระเงินเป็นปัญหาในครึ่งหลังของช่วงนี้ ...มันลากไปจนต้องเกิด paradigm shift ที่ทำให้ต้องยกเลิกระบบการเงิน Bretton Woods จนได้

1970s = Low Growth and High Inflation (i.e., Stagflation) เกิดเศรษฐกิจชะงักงัน
...ในช่วงต้นของรอบสิบปีนี้ มีปัญหาจากหนี้ภาครัฐจำนวนมาก..การขาดดุลชำระเงิน..และการยกเลิกมาตรฐานทองคำในปี 1971 .....ทำให้มีการ "พิมพ์" เงินกันมหาศาลเพื่อมา "ผ่อนคลาย" หนี้ การเติบโตทางเศรษฐกิจลดลงในขณะที่เงินเฟ้อกลับพุ่งขึ้น

1980s = High Growth and Falling Inflation (i.e., Disinflation) เกิดเงินเฟ้อติดลบ
...สิบปีนี้อัตราเงินเฟ้อต่ำลงในขณะที่การเติบโตเพิ่มขึ้น

1990s = “Roaring” ..From Bust to Bursting Bubble
...จากเศรษฐกิจฟุบจนถึงฟองสบู่แตก รอบนี้เริ่มจากเศรษฐกิจถดถอยจากสงครามอ่าวครั้งแรก ...แต่นโยบายการพิมพ์เงิน..เพิ่มหนี้สร้างความเติบโตที่ทำให้ราคาหุ้นขึ้นสูง ...แต่จบลงด้วยวิกฤติฟองสบู่ดอทคอม

2000–10 = “Roaring”: From Boom to Bursting Bubble
...ช่วงนี้เหมือนกับช่วง 1920s ที่ฟองสบู่หนี้มหาศาลที่นำไปสู่การระเบิดปี 2008-09 แบบเดียวกับฟองสบู่หนี้เมื่อปี 1929-32 ทั้งสองกรณีดันให้อัตราดอกเบี้ยลงไปถึง 0% และทำให้ธนาคารกลางพิมพ์เงินจำนวนมากเพื่อซื้อทรัพย์สินทางการเงิน ...paradigm shift เกิดขึ้นอีกครั้งในปี 2008-09 เมื่อเริ่มเกิด QE ในขณะที่อัตราดอกเบี้ยลงไปเกือบ 0%

2010-Now = Reflation เพิ่มเงินเพื่อรักษาระดับราคาสินค้า
...จากการเปลี่ยนกระบวนทัศน์รอบนี้ ธนาคารกลางทำ Quantitative Easing อย่างบ้าคลั่งที่ทำให้ราคาทรัพย์สินพุ่งขึ้น ความเสี่ยงต่ำและผลตอบแทนของทรัพย์สินทุกตัวดีมาก สร้างผลประโยชน์มหาศาลให้กับผู้ถือทรัพย์สินทางการเงิน จนช่องว่างระหว่าชนชั้นถ่างเพิ่มขึ้น

ตราสารหนี้ราคาสูงขึ้น จากการที่อัตราดอกเบี้ยต่ำ ทำให้มีผลกำไรมากขึ้น ในขณะเดียวกันทั่วโลกก็เกิดนโยบายประชานิยมมากขึ้น ....ราคาทรัพย์สินขึ้นสูงอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน การเติบโตก็ยังเข้มแข็ง..เงินเฟ้อยังคงต่ำ

What happens now?

ตั้งแต่ปี 2009 เราได้เข้ามาใน paradigm ที่....

ธนาคารกลางมีการลดอัตราดอกเบี้ยพร้อมๆกับการทำ QE ในแบบที่ไร้เสถียรภาพ ....เรื่องการกระตุ้นนี้ทำมาตั้งแต่ปี 2009 เป็นนโยบายการเงินที่สร้างภาระหนี้ที่ยิ่งใหญ่มากให้กับรัฐบาล ภาคเอกชนและผู้บริโภคทั่วไป ..และจากปริมาณหนี้ที่มากมายนี้ อัตราดอกเบี้ยจึงต่ำแบบที่ไม่อาจจะต่ำไปกว่านี้ได้ ..Fed ไม่มีทางเลือกมาก นอกจากตั้งใจจะสร้างวิกฤติ (..และก็ต้องรับผืดชอบด้วย)

เราอาจได้เห็นการทำผ่อนคลายในรูปแบบอื่นๆอีกได้ เช่นการลดค่าเงินและการขายหนี้ ...ซึ่งแน่นอนว่าผลของมันต่อระบบเศรษฐกิจคือ การเกิดเงินเฟ้อและการเข้าถือทองคำมาเป็น stores of value (ทิ้งดอลล่าร์)

เงินต้นทุนต่ำและเครดิตที่ได้ง่ายๆ ทำให้ธุรกิจซื้อหุ้นคืนจากตลาด หรือการควบรวมกิจการ หรือลงทุนใน venture capital ...ทั้งหมดนี้เพิ่มราคาตราสารทุนและทรัพย์สินต่างๆ และกดให้ผลตอบแทนในอนาคตแทบไม่เหลือ

Overall:

ผู้ที่ถือหลักทรัพย์ทางการเงินเพิ่มความมั่งคั่งให้ตนเองในขณะที่ผู้ใช้แรงงานกลับเป็นตรงข้ามและมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น เหมือนเมื่อปี 1930s

อัตราผลตอบแทนในอนาคตลดลง และนั่นก็อีกปัญหาหนึ่ง ...การลดลงของอัตราดอกเบี้ยทำให้ทรัพย์สินมี net present value (NPV..มูลค่าปัจจุบันสุทธิ) เพิ่มขึ้น ..ซึ่งดูเผินๆก็น่าจะดี ....แต่จากผลของผลตอบแทนที่จะลดลงในอนาคต มันก็จะสร้างปัญหาการชำระคืนหนี้ที่เกิดปัจจุบันนี้

เรื่องสำคัญที่จะเข้าใจเศรษฐกิจและนโยบายการเงินในอนาคต ก็คือ...หนี้

Debt is the key

หลังจากสิ้นสุดระบบ Bretton Woods ....โยงใยทุกเส้นของทองคำก็ถูกตัดขาดจากการเงินจนหมด ..ทั้งโลกเข้าสู่ระบบการเงิน FIAT เต็มรูปแบบ

ตั้งแต่นั้นมา ธนาคารกลางทั่วโลกก็สามารถพิมพ์ "money" ตามต้องการ และทุกวันนี้ก็ยังทำอยู่

ถ้าดอกเบี้ยต่ำอยู่ระดับนี้ เครื่องมือที่จะใช้แก้ปัญหาครั้งต่อไปก็แทบไม่เหลือ

Ray Dalio พูดถึงอนาคตของนโยบายการเงิน

"สำหรับผม ดูเหมือนธนาคารกลางจะช่วยเหลือลูกหนี้มากกว่าเจ้าหนี้นะ ...นี่ทำให้ผมคิดว่า การลดค่าดอลล่าร์และการขายหนี้คงต้องเกิดในไม่ช้า เจ้าหนี้คงทิ้งไปหาทรัพย์สินอื่นแน่ๆ

นับสิบๆปีมาแล้วที่หนี้ถูกใช้เพื่อการกระตุ้นเศรษฐกิจ และถือว่าเป็นตัวขับดันการเติบโตของเศรษฐกิจ และในกระบวนการลดหนี้ที่มีอยู่มากมายนั้น ธนาคารกลางจะสละมูลค่าของสกุลเงินของตน

เราต้องระวังเรื่องนี้ด้วย

ทองคำเท่านั้นที่จะใช้ป้องกันความเสี่ยงนี้ได้

นอกเหนือจากการเป็นทรัพย์สิน safe-haven และเป็น store of value แล้ว ...ไม่มีใครที่จะพิมพ์ทองคำเพิ่มได้ และถึงมันจะไม่ให้ผลตอบแทนใดๆ แต่เราก็ต้องมีไว้ในพอร์ต

Cr.Sayan Rujiramora

เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี!!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b  
Line ID:@fxhanuman
Web : https://www.fxhanuman.com
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/

#forex #ลงทุน #peppers #xm #fbs #exness #uag #icmarkets #avatrade #fxtm #tickmill #fxpro #fxopen #fxcl #forex3d #forex4you

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"