forex_calendar

1.  ตั้งเวลาให้ตรงกับประเทศไทยคือ (GMT+7:00) Bangkok, Hanoi, Jakarta
2.  ไว้สำหรับเลือกวันที่ต้องการดูข่าว
3.  เวลาข่าวออก
4.  ตระกูลเงินของข่าว
5.  ความรุนแรงของข่าว
6.  เหตุการณ์ของข่าว
7.  ค่าตัวเลขจริงที่ออก
8.  ค่าตัวเลขคาดการณ์
9.  ค่าตัวเลขครั้งก่อน

forex_calendar

เมื่อถึงเวลาข่าวออกตัวเลขค่าจริงจะแสดงออกมาในช่อง Actual ซึ่งจะมีสีแตกต่างกันดังนี้

  • ตัวเลขออกเป็นสีเขียวแสดงตัวเลขดีกว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีแดงแสดงว่าตัวเลขแย่กว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีดำแสดงว่าตัวเลขเท่ากับค่าที่คาดการณ์หรือใกล้เคียงกับสถิติเดิม (Previous)

 

สิ่งที่ต้องสนใจในการเทรดข่าว Forex

 

1.  เรื่องค่าสกุลเงิน ถ้าเทรดสกุลไหนก็ต้องสนใจเฉพาะสกุลนั้น เช่นถ้าเราเช่น EUR/USD ก็สนใจเฉพาะข่าวของ USD และ EUR และเราต้องรู้ด้วยว่าถ้าข่าวออกมาจะทำให้ค่าเงินเราขึ้นหรือลง เช่น ถ้าเราเล่น EUR/USD ถ้าข่าวดอลลาร์สหรัฐออกมาดีแสดงคู่เงินที่มี USD อยู่หลังกราฟจะลง แต่ถ้าข่าว USD ออกมาไม่ดีกราฟจะขึ้น ในทางกลับกันถ้าข่าว EUR ออกมาดีกราฟจะขึ้นแต่ถ้าข่าว EUR ออกมาไม่ดีกราฟจะลง

2. เรื่องระดับความแรงของข่าว ระดับความแรงขอข่าวจะมีสามระดับดังรูป

forex_calendar

3. ค่าตัวเลขจริงที่ออก(Actual) ถ้าค่าตัวเล่นจริงที่ออกมาต่างจากค่าก่อนหน้า(Previous)มาก ยิ่งมีผลทำให้ค่าเงินวิ่งขึ้นลงแรงมาก แต่ก็ขึ้นอยู่กับความแรงของข่าวด้วย

การเติบโตของ “ภัตตาคารเสมือนจริง” ผลกระทบต่ออนาคตของธุรกิจร้านอาหาร

ในรายงานชื่อว่า The Rise of Virtual Restaurantของ New York Times กล่าวว่า การพุ่งขึ้นมาได้รับความนิยมของร้านอาหารหรือภัตตาคาร “เสมือนจริง” (virtual restaurant) กำลังมีอิทธิพลต่ออนาคตของธุรกิจร้านอาหาร เพราะร้านอาหารเสมือนจริง

ไม่ต้องมีหน้าร้านหรือโต๊ะสำหรับคนเข้ามารับประทานในร้าน แต่เป็นร้านที่ดำรงอยู่ในแอปของ Uber Eats ที่จะจัดส่งอาหารให้แก่ลูกค้าตามสั่ง

ในสหรัฐอเมริกา ธุรกิจภัตตาคารมีมูลค่าปีหนึ่ง 863 พันล้านดอลลาร์ แอปส่งอาหารแก่ลูกค้า อย่างเช่น Uber Eats, DoorDash, และ Grubhub กำลังมีอิทธิพลกำหนดอนาคตของธุรกิจนี้ เพราะการจัดส่งอาหารตามสั่งแก่ลูกค้ามีความรวดเร็วและสะดวกมากขึ้น หัวใจของการทำธุรกิจภัตตาคารอาหารจึงกำลังจะเปลี่ยนไป ภัตตาคารไม่ต้องมีพื้นที่ให้คนเข้ามาทานอาหาร สิ่งที่จำเป็นมีแค่พื้นที่ห้องครัว แล้วก็เข้าร่วมกับแอปส่งอาหาร คนสั่งอาหารออนไลน์ก็ไม่จำเป็นต้องรู้ว่าอาหารที่สั่งนั้นมาจากภัตตาคารจริงหรือไม่

ธุรกิจส่งอาหารตามสั่ง

ในรายงานของ McKinsey & Co ชื่อ The Changing Market for Food Delivery (2016) ก็กล่าวว่า ธุรกิจการส่งอาหารของภัตตาคารให้แก่ลูกค้ากำลังเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เพราะการแข่งขันด้านแพลตฟอร์มเพื่อยึดครองตลาดและลูกค้าในอเมริกา เอเชีย ยุโรป และตะวันออกกลาง แม้จะมีการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วมาก แต่รายงานของ McKinsey กล่าวว่า ธุรกิจลักษณะนี้ก็ยังมีความเข้าใจไม่มากในเรื่องพลวัตของตลาด ศักยภาพการเติบโต และพฤติกรรมของลูกค้า

รายงานของ McKinsey กล่าวว่า มูลค่าธุรกิจส่งอาหารแก่ลูกค้าทั่วโลกปีหนึ่งมีอยู่ราวๆ 83 พันล้านยูโร หรือ 1% ของตลาดอาหารทั้งหมด และ 4% ของธุรกิจภัตตาคารและร้านอาหาร รวมทั้งห่วงโซ่ร้านอาหารจานด่วน ที่ผ่านมา รูปแบบทั่วไปของการส่งอาหารตามสั่งคือ ลูกค้าสั่งอาหารผ่านโทรศัพท์ ไม่ว่าจะเป็นร้านพิซซ่า หรือร้านอาหารจีน แล้วก็รอให้ทางร้านส่งอาหารมาที่ประตูบ้าน

แต่ก็เหมือนกับหลายๆ ธุรกิจ ความแพร่หลายของดิจิทัลเทคโนโลยีทำให้ธุรกิจอาหารตามสั่งเกิดการเปลี่ยนแปลงไป ลูกค้าเคยชินกับการซื้อสินค้าออนไลน์ผ่านแอปและเว็บไซต์ที่ให้ความสะดวกและมีความโปร่งใส ทำให้ลูกค้าคาดหวังประสบการณ์แบบเดียวกันนี้เมื่อสั่งซื้ออาหารตามสั่งทางออนไลน์

แพลตฟอร์ม 2 แบบ

รายงาน McKinsey กล่าวว่า มีการสร้างแพลตฟอร์มสำหรับอาหารตามสั่ง 2 แบบด้วยกัน แบบแรกมีขึ้นมาเมื่อ 15 ปีมาแล้ว เรียกว่า เป็นแพลตฟอร์มแบบ “รวบรวมการสั่งอาหาร” โดยการส่งอาหารให้ลูกค้ายังเป็นวิธีแบบดั้งเดิม คือเมื่อได้รับการสั่งซื้อจากลูกค้า ก็ส่งต่อให้ภัตตาคารร้านอาหาร และทางร้านจะเป็นผู้จัดการเรื่องส่งอาหารให้กับลูกค้าเอง โดยทางแพลตฟอร์มได้ค่านายหน้าเป็นเปอร์เซ็นต์ที่แน่นอนจากร้านอาหาร

แพลตฟอร์มแบบที่สองคือ “การส่งอาหารแบบใหม่” ที่เกิดขึ้นครั้งแรกในปี 2013 แพลตฟอร์มนี้เหมือนแบบแรก คือ ลูกค้าสามารถเปรียบเทียบอาหารจากร้านอาหารต่างๆ ในหน้าเว็บไซต์หรือในแอป แพลตฟอร์มนี้จะเป็นฝ่ายดำเนินการในเรื่องการส่งอาหาร ทำให้สามารถขยายตลาดสู่ภัตตาคารระดับสูงที่ไม่มีบริการส่งอาหาร แอปที่ดำเนินการลักษณะนี้จะได้เปอร์เซ็นต์จากร้านอาหารและค่าบริการส่งอาหารจากลูกค้าเป็นจำนวนเงินที่แน่นอน

แม้จะมีต้นทุนสูงในเรื่องโลจิสติกส์การส่งอาหาร ทั้งการดูแลยานพาหนะและคนขับ แต่รายงานของ McKinsey กล่าวว่า เจ้าของแอปจะได้ผลตอบแทนก่อนหักค่าใช้จ่าย (EBITDA) มากกว่า 30% เพราะเหตุนี้แบรนด์เนมของแอปส่งอาหารดังๆ จึงทุ่มเทโฆษณาเพื่อให้แบรนด์ของตัวเองติดตลาด และขยายตลาดแบบไม่หยุด

ทาง McKinsey เชื่อว่าในปี 2025 ธุรกิจส่งอาหารตามสั่งทั่วโลกจะมีมูลค่า 20 พันล้านยูโร เพราะตลาดสามารถเติบโตได้แบบเต็มที่ เช่น ร้านอาหารภัตตาคารสามารถเข้าร่วมแพลตฟอร์มได้อย่างไม่มีข้อจำกัด ต่อไปในอนาคต แพลตฟอร์มส่งอาหาร “แบบดั้งเดิม” คงจะย้ายมาใช้บริการแพลตฟอร์ม “ส่งอาหารแบบใหม่” เพราะคุ้มค่ามากกว่าการที่ร้านอาหารจะเป็นคนส่งอาหารเสียเอง

การเติบโตของธุรกิจการส่งอาหารตามสั่งเกิดจากอุปสงค์หรือความต้องการของผู้บริโภค แพลตฟอร์มอาหารตามสั่ง มีบทบาททำหน้าที่ทดแทนการไปนั่งทานอาหารที่ร้านหรือภัตตาคาร ระบบการส่งอาหารตามสั่งเองทำให้ลูกค้าสามารถทานอาหารที่บ้าน โดยมีคุณภาพแบบเดียวกับการรับประทานที่ภัตตาคาร แพลตฟอร์มส่งอาหารตามสั่งบางแห่งถึงกับมีการติดดาวของร้านอาหารที่ได้จากมิชลิน

รายงานของ McKinsey กล่าวว่า ลูกค้าที่ใช้แอปสั่งอาหารจะมีความต้องการและความคาดหวังที่แตกต่างจากกลุ่มลูกค้าเดิมที่นิยมสั่งพิซซ่า ดังนี้

ประการแรก ลูกค้าที่ใช้แพลตฟอร์มสั่งอาหารแบบใหม่จะเป็นลูกค้าที่ซื่อสัตย์เหนียวแน่นกับแพลตฟอร์มนั้น เมื่อลงทะเบียนสมัครใช้แพลตฟอร์มใดไปแล้ว 80% จะไม่เปลี่ยนแพลตฟอร์ม ทำให้ธุรกิจมีสภาพ “คนที่ชนะได้หมดคนเดียว” (winner-take-all) เพราะเหตุนี้ แพลตฟอร์มส่งอาหารที่จะได้เปรียบต้องรีบหาลูกค้าให้ได้มากในเวลาที่รวดเร็ว

ประการที่สอง ระยะเวลาการส่งอาหาร ถือเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สร้างความพึงพอใจแก่ลูกค้า เฉลี่ยลูกค้ารอได้ไม่เกิน 60 นาที

ประการต่อมา การสั่งอาหารส่วนใหญ่ คือ 82% เป็นการสั่งอาหารให้มาส่งที่บ้านพัก และวันศุกร์ เสาร์ และอาทิตย์ เป็นวันที่มีการสั่งอาหารมากที่สุดของสัปดาห์

เริ่มเกิดกระแสต่อต้านในอินเดีย

เมื่อการสั่งและส่งอาหารผ่านระบบออนไลน์ได้รับความนิยมมากขึ้น ทำให้เกิดกระแสไม่พอใจจากบรรดาร้านอาหาร ภัตตาคาร และพนักงานส่งอาหาร ที่มีต่อแอปอาหาร บทความของ New York Times เรื่อง India’s Restaurants Rebel Against Food Delivery Apps รายงานว่า ร้านอาหารและภัตตาคารในอินเดียเริ่มไม่พอใจต่อค่านายหน้าที่สูง และรายการส่งเสริมการขายของแอปอย่าง Zomato และ Uber Eats ที่กดดันให้ร้านอาหารต้องลดราคาอาหาร

ร้านอาหารที่มุมไบชื่อ Vahnilla & Company เข้าร่วมกับแอป Zomato เพราะต้องการลูกค้ากว้างขวางมากขึ้น ขณะเดียวกันก็เข้าร่วมรายการ Gold Program ของ Zomato โดยคิดค่าอาหาร 2 อย่างในราคาเดียว สำหรับสมาชิก Gold Program ที่มาทานอาหารที่ร้าน เจ้าของร้านบอกว่า Gold Program ของ Zomato ทำให้ทางร้านขาดรายได้ไป 20% ทางร้านต้องจ่ายค่าธรรมเนียม 550 ดอลลาร์สหรัฐในการเข้าร่วม Gold Program และยังต้องจ่าย 28% ให้ Zomato ในทุกรายการอาหารที่สั่ง

ก่อนหน้านี้ กลุ่มภัตตาคารในกรุงนิวเดลีรวมตัวเรียกร้องให้แอปอาหาร เช่น Zomato, Swiggy และ Uber Eats ยกเลิกรายการลดราคาอาหาร เพราะในที่สุด ต้นทุนทั้งหมดจะมาตกกับร้านอาหาร ส่วนพวกแอปต่างๆ ได้แต่เก็บเกี่ยวผลกำไร การรณรงค์ของร้านอาหารในอินเดียทำให้เกิดแฮชแท็ก #Logout ร้านอาหารหลายรายถอนตัวจากโปรแกรมลดราคาอาหาร Gold Program ของ Zomato

การประท้วงดังกล่าวในอินเดียสะท้อนความสัมพันธ์ที่ไม่ราบรื่นระหว่างร้านอาหารกับแพลตฟอร์มอาหาร Satish Meena นักวิเคราะห์บริษัทวิจัยในนิวเดลีบอกกับ New York Times ว่า “พวกแอปฝึกให้ลูกค้ารู้สึกว่า ถ้าหากวันนี้ไม่มีรายการลดราคาอาหารก็ให้รอวันพรุ่งนี้ เผื่อจะมีการลดราคาเกิดขึ้น”

รายงานโดย ปรีดี บุญซื่อ

Source: ThaiPublica

คลิก

Cr.Bank of Thailand Scholarship Students

เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี!!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b  
Line ID:@fxhanuman
Web : https://www.fxhanuman.com
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/

#forex #ลงทุน #peppers #xm #fbs #exness #uag #icmarkets #avatrade #fxtm #tickmill #fxpro #fxopen #fxcl #forex3d #forex4you

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"