forex_calendar

1.  ตั้งเวลาให้ตรงกับประเทศไทยคือ (GMT+7:00) Bangkok, Hanoi, Jakarta
2.  ไว้สำหรับเลือกวันที่ต้องการดูข่าว
3.  เวลาข่าวออก
4.  ตระกูลเงินของข่าว
5.  ความรุนแรงของข่าว
6.  เหตุการณ์ของข่าว
7.  ค่าตัวเลขจริงที่ออก
8.  ค่าตัวเลขคาดการณ์
9.  ค่าตัวเลขครั้งก่อน

forex_calendar

เมื่อถึงเวลาข่าวออกตัวเลขค่าจริงจะแสดงออกมาในช่อง Actual ซึ่งจะมีสีแตกต่างกันดังนี้

  • ตัวเลขออกเป็นสีเขียวแสดงตัวเลขดีกว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีแดงแสดงว่าตัวเลขแย่กว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีดำแสดงว่าตัวเลขเท่ากับค่าที่คาดการณ์หรือใกล้เคียงกับสถิติเดิม (Previous)

 

สิ่งที่ต้องสนใจในการเทรดข่าว Forex

 

1.  เรื่องค่าสกุลเงิน ถ้าเทรดสกุลไหนก็ต้องสนใจเฉพาะสกุลนั้น เช่นถ้าเราเช่น EUR/USD ก็สนใจเฉพาะข่าวของ USD และ EUR และเราต้องรู้ด้วยว่าถ้าข่าวออกมาจะทำให้ค่าเงินเราขึ้นหรือลง เช่น ถ้าเราเล่น EUR/USD ถ้าข่าวดอลลาร์สหรัฐออกมาดีแสดงคู่เงินที่มี USD อยู่หลังกราฟจะลง แต่ถ้าข่าว USD ออกมาไม่ดีกราฟจะขึ้น ในทางกลับกันถ้าข่าว EUR ออกมาดีกราฟจะขึ้นแต่ถ้าข่าว EUR ออกมาไม่ดีกราฟจะลง

2. เรื่องระดับความแรงของข่าว ระดับความแรงขอข่าวจะมีสามระดับดังรูป

forex_calendar

3. ค่าตัวเลขจริงที่ออก(Actual) ถ้าค่าตัวเล่นจริงที่ออกมาต่างจากค่าก่อนหน้า(Previous)มาก ยิ่งมีผลทำให้ค่าเงินวิ่งขึ้นลงแรงมาก แต่ก็ขึ้นอยู่กับความแรงของข่าวด้วย

คุมบาทแข็งหวั่นติดแบล็กลิสต์ ประเทศแทรกแซงค่าเงิน

วงการตลาดเงินเตือนผู้ส่งออก จี้ธปท.แก้บาทแข็ง ระวังติดโผประเทศแทรกแซงค่าเงิน อาจเสียหายหนัก ทั้งตั้งกำแพงภาษี จำกัดสินค้านำเข้า ด้านศูนย์วิจัยกสิกรไทย เตรียมแกะไส้ในเกินดุลบัญชีเดินสะพัดหาต้นตอบาทแข็ง หวังคุมเงินบาทแข็งชะงัด

แนะคลังออกมาตรการกระตุ้นก๊อก 2

ความกังวลจากปัญหาค่าเงินบาทแข็งค่ากว่าค่าเงินสกุลอื่นๆในภูมิภาค จนส่งผลต่อความสามารถในการส่งออกของไทย และยังมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นต่อเนื่อง โดยตั้งแต่ต้นปีจนถึงวันที่ 6 กันยายน 2562 ศูนย์วิจัยกสิกรไทยพบว่า เงินบาทแข็งค่า 14.1% เมื่อเทียบสกุลเงินวอนเกาหลีใต้ หรือแข็งค่ากว่าเงินหยวน 10.5% หรือเทียบสกุลยูโร เงินบาทแข็งค่า 10.4% และเทียบสกุลเงินด่อง ประเทศเวียดนาม เงินบาทแข็งค่ากว่า 7.7%

ทั้งนี้ หากธนาคารกลางสหรัฐฯฯ(เฟด) มีแนวโน้มปรับลดดอกเบี้ยลงจะยิ่งส่งผลต่อค่าเงินบาทให้แข็งค่าขึ้น และซ้ำเติมต่อการส่งออก การท่องเที่ยว และการดึงนักลงทุนเข้ามาลงทุนมากขึ้น โดยคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน(กกร.) ประกอบด้วย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.)สภาหอการค้าแห่งประเทศ ไทยและสมาคมธนาคารไทยอยู่ระหว่างรวบรวมข้อมูลปัจจัยที่ทำให้เงินบาทแข็งค่า และเครื่องชี้ดัชนีเศรษฐกิจก่อนจะเสนอรัฐบาลและธนาคารแห่ง ประเทศไทย (ธปท.) เพื่อออกมาตรการดูแลการแข็งค่าของเงินบาทต่อไป หลังจากที่ก่อนหน้าธปท.ได้ดำเนินการในบางส่วนไปแล้ว

นายเชาว์ เก่งชน กรรมการผู้จัดการ บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า ช่วง 7 เดือนแรกของปีนี้ที่ผ่านมา เงินบาทแข็งค่ามากเมื่อเทียบกับสกุลเงินประเทศ อื่นๆ และยังมีแนวโน้มจะแข็งค่าต่อในระยะข้างหน้าด้วย โดยเงินบาทที่แข็งค่านั้น ส่วนหนึ่งมาจากปัจจัยนักลงทุนต่างประเทศ แต่ปัจจัยหลักที่ทำให้เงินบาทแข็งค่าเพราะช่วง 7 เดือนที่ผ่านมา ไทยเกินดุลบัญชีเดินสะพัดกว่า 1.92 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ขณะที่เงินทุนเคลื่อนย้ายติดลบ 5.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งศูนย์วิจัยกสิกรไทยอยู่ระหว่างวิเคราะห์โครงสร้างดุลบัญชีเดินสะพัด เพื่อแยกหาสาเหตุของการเกินดุล เนื่องจากที่ผ่านมา ภาคการท่องเที่ยวยังฟื้นตัวไม่เต็มที่ ภาคส่งออกเองก็ยังสะท้อนการหดตัว ดังนั้น ปัจจัยน่าจะมาจากรายการอื่นๆ ที่ไม่ใช่ภาคอุตสาหกรรม

"ผมเห็นด้วยกับกรณีที่กกร.จะเสนอปัญหา เพื่อให้ทางการเพิ่มความเข้มงวดกำกับดูแลค่าเงินบาทมากขึ้น และเชื่อว่าทางการคงรับฟังได้ เพราะธปท.เองบอกมาตลอดว่า หากมีความจำเป็นก็พร้อมจะใช้เครื่องมือที่เหมาะสม ซึ่งที่ผ่านมา ธปท.เองได้ทยอยทำอย่างต่อเนื่อง แต่หากแก้ไขปัญหาไม่ตรงจุด เงินบาทจะยังแข็งค่า จึงอยากให้วิเคราะห์ปัญหารอบด้าน โดยเฉพาะหากพิจารณาฐานะต่างประเทศจะเห็นว่า ดุลบัญชีเดินสะพัดที่เกินดุลเป็นปัจจัยหลักทำให้เงินบาทแข็ง"

ดังนั้นจึงควรแยกไส้ในและวิเคราะห์หาปัจจัยชั่วคราวหรือระยะยาว เพื่อให้เข้าใจโครงสร้างดุลบัญชีเดินสะพัดและนำเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาได้ตรงจุด โดยเฉพาะมาตรการทางการคลังนั้น ไม่สามารถแก้ไขปัญหาในเวลาอันสั้น 1-2 เดือนได้ เช่น มาตรการทางภาษีสนับสนุนการลงทุนกว่าภาคธุรกิจจะลงทุนหรือซื้อสินค้าต้องใช้เวลา ซึ่งไม่เหมือนมาตรการทางการเงินที่จะเห็นผลทันที อย่างมาตรการลดยอดคงค้างบัญชีเงินฝากสกุลบาทของผู้มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศของธปท.หรือมาตรการเฉพาะหน้าที่ออกมา แม้จะช่วยลดแรงกดดันเงินบาทแข็งค่าหรือลดเก็งกำไรค่าเงินได้บ้าง แต่ไม่ได้เป็นการแก้ปัญหาเรื่องเกินดุลบัญชีเดินสะพัดซึ่งเป็นปัจจัยหลักทำให้เงินบาทแข็ง

ทั้งนี้ในส่วนของยอดคงค้างการถือครองพันธบัตรไทยของนักลงทุนต่างชาติตั้งแต่ต้นปีถึงวันที่ 5 กันยายน 2562 ลดลง 53,346 ล้านบาทจากสิ้นปี 2561 ที่มียอดคงค้าง 9.86 แสนล้านบาท มาอยู่ที่ 9.33 แสนล้านบาท ขณะที่นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิหุ้นไทยสะสม 4,495 ล้านบาท

อย่างไรก็ตาม "ฐานเศรษฐกิจ"ได้สอบถามความเห็นจากวงการบริหารจัดการอัตราแลกเปลี่ยน ส่วนใหญ่มีมุมมองสอดคล้องกันว่า ควรจะเตือนผู้ประกอบการส่งออกในกรณีถ้าธปท.ออกมาตรการเพื่อดูแลเงินบาทไม่ให้แข็งค่า อาจส่งผลกระทบ แรงกว่าเงินบาทแข็ง เพราะหากประเทศไทยมีรายชื่อติดโผเป็นประเทศที่บิดเบือนค่าเงิน ด้วยการพยุงให้เงินบาทอ่อนค่านั้น ทางสหรัฐอเมริกาอาจจะอ้างสถานการนี้ตั้งกำแพงภาษีหรือ จำกัดสินค้านำเข้าจากไทยได้

ขณะเดียวกันได้เสนอให้ภาคเอกชนและภาครัฐเพิ่มสัดส่วนการลงทุน โดยกระทรวงการคลังออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะที่ 2 หรือ 3 โดยเน้นไปที่เรื่องลงทุนแทนการบริโภค และมีข้อเสนอรัฐบาลกระตุ้นนักธุรกิจไทยออกไปลงทุนต่างประเทศ(TDI) มากขึ้นด้วยการให้สิทธิพิเศษ เพื่อให้เงินบาทอ่อนค่า แต่อาจไม่เหมาะสำหรับจะผลักเงินทุนไหลออกในจังหวะที่การลงทุนภายในของไทยยังต่ำ หรือการขยายเวลาเก็บเงินในบัญชีเงินฝากเงินตราต่างประเทศ(FCD)มากกว่า 360 วัน เพื่อลดแรงกดดันค่าเงินและทำการบริหารอัตราแลกเปลี่ยน และเก็บภาษีจากกำไรที่นักลงทุนต่างชาติเข้ามาซื้อพันธบัตร

Source: ฐานเศรษฐกิจ

Cr.Bank of Thailand Scholarship Students

เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี!!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b  
Line ID:@fxhanuman
Web : https://www.fxhanuman.com
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/

#forex #ลงทุน #peppers #xm #fbs #exness #uag #icmarkets #avatrade #fxtm #tickmill #fxpro #fxopen #fxcl #forex3d #forex4you

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"