forex_calendar

1.  ตั้งเวลาให้ตรงกับประเทศไทยคือ (GMT+7:00) Bangkok, Hanoi, Jakarta
2.  ไว้สำหรับเลือกวันที่ต้องการดูข่าว
3.  เวลาข่าวออก
4.  ตระกูลเงินของข่าว
5.  ความรุนแรงของข่าว
6.  เหตุการณ์ของข่าว
7.  ค่าตัวเลขจริงที่ออก
8.  ค่าตัวเลขคาดการณ์
9.  ค่าตัวเลขครั้งก่อน

forex_calendar

เมื่อถึงเวลาข่าวออกตัวเลขค่าจริงจะแสดงออกมาในช่อง Actual ซึ่งจะมีสีแตกต่างกันดังนี้

  • ตัวเลขออกเป็นสีเขียวแสดงตัวเลขดีกว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีแดงแสดงว่าตัวเลขแย่กว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีดำแสดงว่าตัวเลขเท่ากับค่าที่คาดการณ์หรือใกล้เคียงกับสถิติเดิม (Previous)

 

สิ่งที่ต้องสนใจในการเทรดข่าว Forex

 

1.  เรื่องค่าสกุลเงิน ถ้าเทรดสกุลไหนก็ต้องสนใจเฉพาะสกุลนั้น เช่นถ้าเราเช่น EUR/USD ก็สนใจเฉพาะข่าวของ USD และ EUR และเราต้องรู้ด้วยว่าถ้าข่าวออกมาจะทำให้ค่าเงินเราขึ้นหรือลง เช่น ถ้าเราเล่น EUR/USD ถ้าข่าวดอลลาร์สหรัฐออกมาดีแสดงคู่เงินที่มี USD อยู่หลังกราฟจะลง แต่ถ้าข่าว USD ออกมาไม่ดีกราฟจะขึ้น ในทางกลับกันถ้าข่าว EUR ออกมาดีกราฟจะขึ้นแต่ถ้าข่าว EUR ออกมาไม่ดีกราฟจะลง

2. เรื่องระดับความแรงของข่าว ระดับความแรงขอข่าวจะมีสามระดับดังรูป

forex_calendar

3. ค่าตัวเลขจริงที่ออก(Actual) ถ้าค่าตัวเล่นจริงที่ออกมาต่างจากค่าก่อนหน้า(Previous)มาก ยิ่งมีผลทำให้ค่าเงินวิ่งขึ้นลงแรงมาก แต่ก็ขึ้นอยู่กับความแรงของข่าวด้วย

ทำไมกรอบนโยบายการเงินไทย จึงต้อง 'ยืดหยุ่นขึ้น'

ตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมาอัตราเงินเฟ้อไทยอยู่ในระดับต่ำใกล้ขอบล่าง (1%)ของกรอบนโยบายการเงินที่มีเป้าหมายอัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ 2.5 1.5%ในขณะที่ปีนี้เศรษฐกิจขยายตัวต่ำกว่าปีที่ผ่านมา แล้วทำไมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.)

จึงไม่ลดอัตราดอกเบี้ยเพื่อกระตุ้นอุปสงค์ให้ขยายตัวและทำให้อัตราเงินเฟ้อสูงขึ้นมาอยู่ที่ค่ากลางของเป้าหมาย (2.5%)?

รับมือความท้าทายด้านนโยบายการเงิน

คำถามดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงความท้าทายที่ กนง. เผชิญอยู่ซึ่งเกิดจากพัฒนาการ 2 เรื่องคือ
(1) พลวัตหรือทิศทางการเคลื่อนไหวของอัตราเงินเฟ้อ (Inflation Dynamics) ที่ต่ำลงมากจากโครงสร้างเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไป และ

(2) ความเสี่ยงในระบบการเงินที่สะสมมาระยะหนึ่ง เช่น การก่อหนี้ครัวเรือนสูงขึ้น การเก็งกำไรในภาคอสังหาริมทรัพย์ และสหกรณ์ออมทรัพย์ที่ขยายตัวในอัตราสูงต่อเนื่องเป็นต้น ประกอบกับ เศรษฐกิจไทยยังต้องเผชิญกับโลกที่มีความไม่แน่นอนสูง(VUCA[1]) จากสถานการณ์ต่างๆ อาทิ สงครามการค้า Brexit และปัญหาด้านภูมิรัฐศาสตร์ ในการรับมือกับความท้าทายเหล่านี้ นโยบายการเงินต้องมีความยืดหยุ่นเพียงพอและเป็นระบบมากขึ้นจึงจะสามารถสื่อสารกับสาธารณชนได้ชัดเจนและทำให้นโยบายการเงินมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

พลวัตของอัตราเงินเฟ้อต่ำลงจากปัจจัยเชิงโครงสร้าง เช่น เทคโนโลยีในภาคการผลิตที่ทำให้ต้นทุนต่ำ และเทคโนโลยี e-commerce ที่ทำให้ภาคการค้าแข่งขันสูงและไม่สามารถปรับขึ้นราคาได้ พัฒนาการเหล่านี้ยังมีผลต่อเนื่องไปอีกระยะหนึ่งทำให้แนวโน้มอัตราเงินเฟ้อจะอยู่ในระดับต่ำต่อเนื่องและต่ำกว่าค่ากลางของเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อ ความท้าทายแรกต่อนโยบายการเงินคือ การมีค่ากลางอยู่ที่ 2.5% นั้นเป็นตัวยึดโยงการคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อและทำให้สาธารณชนคาดหวังว่าในการบรรลุเป้าหมายนโยบายการเงินนั้น ธนาคารกลางควรทำให้อัตราเงินเฟ้อมาอยู่ใกล้ค่ากลางให้ได้

ความท้าทายที่สองคือ ระบบการเงินไทยมีสัญญาณการสะสมความเสี่ยงเพิ่มขึ้นในหลายภาคส่วนในช่วงหลายปีที่ผ่านมา และนโยบายการเงินต้องให้ความสำคัญอย่างจริงจังในการดูแลเสถียรภาพระบบการเงิน สาเหตุของการสะสมความเสี่ยงของระบบการเงินมาจากความจำเป็นที่ธนาคารกลางทั่วโลกต้องผ่อนคลายนโยบายการเงินมากเป็นเวลานานต่อเนื่องถึง 10 ปี เพื่อดูแลเศรษฐกิจภายหลังจากวิกฤตเศรษฐกิจการเงินโลก ปี 2008 ซึ่งผลของการอัดฉีดเงินเข้าระบบของธนาคารกลางของประเทศพัฒนาแล้ว ทำให้สภาพคล่องส่วนเกินในโลกไหลเข้าสู่ประเทศที่มีพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่แข็งแรงกว่ารวมทั้งไทย โดยไหลเข้าไปในหลายภาคส่วนเศรษฐกิจพร้อมๆ กัน

นอกจากนี้ อัตราดอกเบี้ยที่ต่ำต่อเนื่องเป็นเวลานานทำให้ทั้งนักลงทุน สถาบันการเงิน สหกรณ์ รวมถึงธุรกิจขนาดใหญ่มีพฤติกรรมแสวงหาผลตอบแทนที่สูงขึ้น(search for yield) โดยไปลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูง ซึ่งอาจทำให้เกิดการประเมินความเสี่ยงต่ำกว่าที่ควรจะเป็น (Underpricingof risks) ปรากฏการณ์นี้แสดงให้เห็นว่า การดำเนินนโยบายการเงินสามารถส่งผลต่อเสถียรภาพระบบการเงินได้ซึ่งบทเรียนจากวิกฤตการเงินโลกปี 2008 เป็นเครื่องเตือนใจว่าการสะสมความเสี่ยงในภาคการเงินที่สูงเกินไป สามารถส่งผลกระทบรุนแรงและยืดเยื้อต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจจนกลายเป็นวิกฤตเศรษฐกิจได้ในภายหลัง

แม้การดูแลเสถียรภาพระบบการเงินจะมีเครื่องมืออื่นๆ นอกจากนโยบายการเงินเช่น มาตรการดูแลเสถียรภาพระบบการเงิน(Macroprudential measure) บางมาตรการซึ่ง ธปท. มีการใช้เป็นระยะ อย่างมาตรการ LTV ซึ่งออกใช้เพื่อป้องกันการเก็งกำไรในภาคอสังหาริมทรัพย์และรักษาวินัยภาคครัวเรือนไม่ให้ก่อหนี้เกินตัว แต่เนื่องจากความเสี่ยงของระบบการเงินในปัจจุบันเริ่มก่อตัวในหลายภาคส่วน และแต่ละภาคส่วนมีผู้กำกับดูแลที่แตกต่างกันไป นอกจากนี้ เครื่องมือ Macroprudential ก็ยังมีจำกัดและอยู่ระหว่างการพัฒนาส่งผลให้การทำมาตรการ Macroprudential ของ ธปท. เพียงอย่างเดียว ไม่สามารถครอบคลุมความเสี่ยงได้ทั้งระบบ จึงต้องอาศัยนโยบายการเงินเข้ามาเสริมด้วย

เสถียรภาพ 3 ด้าน : ต้นทุนที่ต้องเลือก ในขั้นนี้ การพิจารณาอัตราดอกเบี้ยจำเป็นต้องคำนึงถึงเสถียรภาพทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ (1) เสถียรภาพราคา (2) การขยายตัวทางเศรษฐกิจ และ (3) ระบบการเงินแต่การทำนโยบายการเงินอาจส่งผลต่อเสถียรภาพทั้ง 3 ด้านแตกต่างกันและขัดกันในบางครั้ง ดังที่กล่าวไว้ข้างต้นการลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพื่อดูแลเศรษฐกิจและอัตราเงินเฟ้อ ก่อให้เกิดต้นทุน (trade-off) ในรูปของการสะสมความเปราะบางให้กับระบบการเงินที่ท้ายสุดส่งผลต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจและอัตราเงินเฟ้อในอนาคต การตัดสินนโยบายที่ต้องให้น้ำหนักทั้งด้านเสถียรภาพระบบการเงินร่วมกับเสถียรภาพด้านราคาและการขยายตัวของเศรษฐกิจจึงถือเป็นความท้าทายของผู้ดำเนินนโยบายการเงิน

วิธีที่จะช่วยให้การทำนโยบายการเงินสามารถให้น้ำหนักความสำคัญกับเสถียรภาพด้านต่างๆ โดยเปลี่ยนแปลงไปตามสถานการณ์ได้คือ กรอบนโยบายการเงินซึ่งเปรียบเสมือนแนวทางในการทำงานและสื่อสารกับสาธารณชนจำเป็นต้องมีความยืดหยุ่นเพียงพอที่จะเปิดช่องให้การทำนโยบายสามารถให้น้ำหนักกับเสถียรภาพด้านอื่นๆ ได้ เช่น หากต้องการทำนโยบายการเงินแบบเข้มงวดเพื่อจัดการความเสี่ยงในภาคการเงิน กรอบนโยบายการเงินต้องยอมให้เกิด trade-off ในรูปของการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและเงินเฟ้อที่ขยายตัวน้อยลงในระยะสั้นได้

ตัวอย่างของวิธีเพิ่มความยืดหยุ่น

การกำหนดกรอบเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อให้ยืดหยุ่น สามารถทำได้หลายวิธี เช่น(1) การให้เวลาที่อัตราเงินเฟ้อจะกลับสู่กรอบเป้าหมายให้ยาวขึ้น เช่น การบรรลุเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อในระยะปานกลางของธนาคารกลางสหรัฐ กลุ่มอียู และออสเตรเลีย เป็นต้น หรือ(2) กำหนดเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อเป็นแบบช่วงแทนที่จะยึดติดกับเป้าอัตราเงินเฟ้อที่ค่าใดค่าหนึ่ง เช่น ประเทศออสเตรเลียที่กำหนดเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อที่ 2-3% เป็นต้น เพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างระบบเศรษฐกิจและระบบการเงิน ซึ่งในระยะหลัง นักเศรษฐศาสตร์เริ่มให้ความเห็นว่าในการรักษาเสถียรภาพด้านราคา ธนาคารกลางควรเน้นดูแลอัตราเงินเฟ้อให้อยู่ในช่วงที่ไม่ต่ำหรือสูงเกินไปจนเป็นอุปสรรคต่อการตัดสินใจของคนในการจับจ่ายใช้สอยหรือการทำธุรกิจ โดยเฉพาะในปัจจุบันที่อัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับต่ำต่อเนื่อง

โดยสรุป ภายใต้บริบทเศรษฐกิจไทยที่เปลี่ยนแปลงไป สร้างความท้าทายให้กับกนง. ในการดำเนินนโยบายการเงินและการกำหนดกรอบเป้าหมายนโยบายการเงินให้เหมาะสม โดยพิจารณากำหนดเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อให้สอดคล้องกับพลวัตอัตราเงินเฟ้อที่เปลี่ยนแปลงไปจากปัจจัยเชิงโครงสร้าง นอกจากนี้ กรอบเป้าหมายนโยบายการเงินต้องมีความยืดหยุ่นเพียงพอให้สามารถรับมือกับโลก VUCA และความเสี่ยงในระบบการเงินที่มากขึ้น อย่างไรก็ดี การดำเนินนโยบายที่มีความยืดหยุ่นเพิ่มขึ้นนั้นอาจส่งผลกระทบต่อความสามารถในการยึดเหนี่ยวการคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อในระยะยาวของประชาชน ดังนั้น สิ่งสำคัญที่ผู้ดำเนินนโยบายละเลยไม่ได้คือ การสื่อสารที่มาของการดำเนินนโยบายแต่ละครั้งให้ชัดเจนเพื่อให้การดำเนินนโยบายมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

คอลัมน์ แจงสี่เบี้ย: โดย ศุกพิณรัศ วงศ์สินศิริกุล
รอง ผอ.ฝ่ายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย

หมายเหตุ : VUCA ย่อมาจากVolatility (ความผันผวน) Uncertainty (ความไม่แน่นอน) Complexity (ความซับซ้อน)และ Ambiguity (ความคลุมเครือ)

บทความนี้เป็นข้อคิดเห็นส่วนบุคคลจึงไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกับความเห็นของธนาคารแห่งประเทศไทย

Source: กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

คลิก

Cr.Bank of Thailand Scholarship Students

เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี!!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b  
Line ID:@fxhanuman
Web : https://www.fxhanuman.com
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/

#forex #ลงทุน #peppers #xm #fbs #exness #uag #icmarkets #avatrade #fxtm #tickmill #fxpro #fxopen #fxcl #forex3d #forex4you

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"