forex_calendar

1.  ตั้งเวลาให้ตรงกับประเทศไทยคือ (GMT+7:00) Bangkok, Hanoi, Jakarta
2.  ไว้สำหรับเลือกวันที่ต้องการดูข่าว
3.  เวลาข่าวออก
4.  ตระกูลเงินของข่าว
5.  ความรุนแรงของข่าว
6.  เหตุการณ์ของข่าว
7.  ค่าตัวเลขจริงที่ออก
8.  ค่าตัวเลขคาดการณ์
9.  ค่าตัวเลขครั้งก่อน

forex_calendar

เมื่อถึงเวลาข่าวออกตัวเลขค่าจริงจะแสดงออกมาในช่อง Actual ซึ่งจะมีสีแตกต่างกันดังนี้

  • ตัวเลขออกเป็นสีเขียวแสดงตัวเลขดีกว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีแดงแสดงว่าตัวเลขแย่กว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีดำแสดงว่าตัวเลขเท่ากับค่าที่คาดการณ์หรือใกล้เคียงกับสถิติเดิม (Previous)

 

สิ่งที่ต้องสนใจในการเทรดข่าว Forex

 

1.  เรื่องค่าสกุลเงิน ถ้าเทรดสกุลไหนก็ต้องสนใจเฉพาะสกุลนั้น เช่นถ้าเราเช่น EUR/USD ก็สนใจเฉพาะข่าวของ USD และ EUR และเราต้องรู้ด้วยว่าถ้าข่าวออกมาจะทำให้ค่าเงินเราขึ้นหรือลง เช่น ถ้าเราเล่น EUR/USD ถ้าข่าวดอลลาร์สหรัฐออกมาดีแสดงคู่เงินที่มี USD อยู่หลังกราฟจะลง แต่ถ้าข่าว USD ออกมาไม่ดีกราฟจะขึ้น ในทางกลับกันถ้าข่าว EUR ออกมาดีกราฟจะขึ้นแต่ถ้าข่าว EUR ออกมาไม่ดีกราฟจะลง

2. เรื่องระดับความแรงของข่าว ระดับความแรงขอข่าวจะมีสามระดับดังรูป

forex_calendar

3. ค่าตัวเลขจริงที่ออก(Actual) ถ้าค่าตัวเล่นจริงที่ออกมาต่างจากค่าก่อนหน้า(Previous)มาก ยิ่งมีผลทำให้ค่าเงินวิ่งขึ้นลงแรงมาก แต่ก็ขึ้นอยู่กับความแรงของข่าวด้วย

ปัญหาของ “เอเชีย” ในยามวิกฤตมาเยือน

สัญญาณเศรษฐกิจทั่วโลกแสดงท่าทีออกมาในทิศทางสอดคล้องกัน นั่นคือภาวะการขยายตัวของเศรษฐกิจทั่วโลกในยามนี้ส่อชัดเจนว่ากำลังชะลอตัว นั่นคือเหตุผลสำคัญที่ทำให้บรรดาธนาคารกลางของประเทศต่าง ๆ พากันลดอัตราดอกเบี้ยลง

หวังใช้เป็นมาตรการเพื่อกระตุ้นการบริโภคและการลงทุนภายในประเทศ ด้วยการเพิ่มปริมาณเงินหมุนเวียนในระบบเข้าไว้

เดือนสิงหาคมที่ผ่านมากลายเป็นเดือนแห่งการลดดอกเบี้ยของหลายประเทศในเอเชีย ไล่ตั้งแต่ อินเดีย, ไทย, ฟิลิปปินส์ แม้กระทั่งนิวซีแลนด์ ก็พากันปรับลดอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงลง

ในกรณีของไทย คือการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงเป็นครั้งแรกในรอบ 4 ปี ในขณะที่ธนาคารทุนสำรองแห่งนิวซีแลนด์ ปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงมากเกินกว่าที่ทุกฝ่ายคาดการณ์กันเอาไว้ ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยลดต่ำลงเป็นประวัติการณ์ เหลือเพียง 1%

คำถามในยามนี้ก็คือ มาตรการทางการเงินดังกล่าวอย่างเดียว เพียงพอต่อการกระตุ้นให้เกิดการขยายตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจในยามนี้ขึ้นมาได้หรือไม่

นักวิเคราะห์เองยังคงถกเถียงในเรื่องนี้กันอยู่ หลายคนแสดงความคิดเห็นตรงกันว่า บางทีมาตรการกระตุ้นทางการเงินเพียงอย่างเดียวอาจไม่พอเพียง จำเป็นต้องใช้มาตรการทางการคลังเข้ามาประกอบด้วย อย่างเช่นในกรณีของไทยที่เตรียมแผนกระตุ้นเศรษฐกิจมูลค่า 10,200 ล้านดอลลาร์ เพียงต้องรอความเห็นชอบคณะรัฐมนตรีเท่านั้น

นักวิชาการบางคนเชื่อว่ามาตรการทางการคลังดังกล่าวมีความจำเป็นต้องใช้ควบคู่กันไปกับมาตรการทางการเงิน เพื่อกระจายงบประมาณรายจ่ายของรัฐบาลออกไปสร้างความต้องการบริโภคสินค้าและบริการ ซึ่งจะช่วยส่งเสริมกิจกรรมทางเศรษฐกิจภายในประเทศให้สูงมากขึ้น

แต่ปัญหาภายนอก ตั้งแต่เรื่องสงครามการค้าที่ไม่เพียงไม่มีเค้าลางว่าจะสร่างซาลงเท่านั้น ยังทวีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้นตามลำดับ เรื่อยไปจนถึงเบร็กซิต และอื่น ๆ ไม่ได้เป็นปัญหาเพียงอย่างเดียวของหลายประเทศในเอเชียในยามนี้

แน่นอนปัญหาภายในของแต่ละประเทศมีแตกต่างกันออกไป ที่อาจทำให้มาตรการกระตุ้นได้ผลน้อยลงไป หรือไม่มีผลใด ๆ เกิดขึ้น

ปัญหาเหล่านี้มีตั้งแต่เรื่องของการเมืองภายใน เรื่องสภาพคล่องภายในประเทศ ไปจนถึงเรื่องใหญ่อีกเรื่องที่ครั้งหนึ่งเคยก่อให้เกิดปัญหาวิกฤตที่ส่งผลกระทบในระดับโลกมาแล้ว นั่นคือปัญหาหนี้สิน

งานวิจัยของบริษัทที่ปรึกษาระดับโลกอย่าง แม็คคินซีย์ ที่เผยแพร่ออกมาเมื่อเร็ว ๆ นี้ชี้ให้เห็นว่า ภาคธุรกิจการเงินในเอเชียกำลังทรุดตัว เสื่อมโทรมลงอีกครั้งหนึ่งแล้ว เพราะภาระหนี้ต่างประเทศที่ต้องชำระคืน ผลที่เกิดขึ้นตามมาก็คือ ทำให้ระบบการเงินภายในภูมิภาคเปราะบาง และทำให้เงินทุนไหลเข้ายังคงชะลอตัว ลดต่ำลงกว่าระดับสูงสุดเมื่อปี 2007 อยู่มาก

นักวิจัยของแม็คคินซีย์วิเคราะห์ดุลบัญชีของบริษัทธุรกิจ 23,000 บริษัท ในช่วงปี 2007 และปี 2017 และพบว่า อัตราส่วนความสามารถในการจ่ายดอกเบี้ยที่แสดงให้เห็นความสามารถในการชำระดอกเบี้ยของบริษัทนั้นลดต่ำลงกว่าระดับ 1.5 ซึ่งเป็นระดับที่บริษัทต่าง ๆ เหล่านั้นต้องนำรายได้ส่วนใหญ่มาใช้ในการชำระหนี้

ในปี 2017 บริษัทใน 5 ประเทศที่มีอัตราส่วนความสามารถในการจ่ายดอกเบี้ยต่ำกว่า 1.5 คือ ออสเตรเลีย, จีน, ฮ่องกง, อินเดีย และอินโดนีเซีย บริษัทเดียวกันนี้ยังมีหนี้สินระยะยาวมากกว่า 25% ของหนี้สินทั้งหมด

ในอีก 4 ประเทศ คือ มาเลเซีย, สิงคโปร์, เกาหลีใต้ และไทย สัดส่วนหนี้ระยะยาวของบริษัทที่มีอัตราส่วนความสามารถในการจ่ายดอกเบี้ยต่ำกว่า 3 อันเป็นระดับที่แม็คคินซีย์ระบุว่า มีแนวโน้มอยู่ในสภาพ “ต้องดิ้นรนเพื่อชำระหนี้” มีมากถึงอย่างน้อย 40%

เมื่อตรวจสอบระบบการเงินของภูมิภาคเอเชีย แม็คคินซีย์บอกว่า แสดงให้เห็นสภาวะตึงเครียดออกมาอีกครั้งหนึ่งแล้ว ผลกำไรของธนาคารลดลงจากระดับ 12.4% ในปี 2010 เหลือเพียง 10% ในปี 2018 และน่าจะลดลงต่อเนื่องจนอยู่ในระดับค่าเฉลี่ยของโลกที่ 9% ส่งผลให้ผู้กู้ยืมส่วนหนึ่งต้องหันไปพึ่งพาสถาบันการเงินที่ไม่เป็นทางการ เพราะมีตลาดพันธบัตรอยู่เพียง 2-3 ตลาดเท่านั้น

ผลก็คืออัตราส่วนการกู้ยืมนอกระบบนี้เพิ่มสูงถึงระดับ 55% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในภูมิภาคในปี 2017

เงินทุนข้ามพรมแดน (โกลบอล ครอส-บอร์เดอร์ แคปิตอล) ที่ไหลเข้ามาในภูมิภาคพุ่งขึ้นสู่ระดับสูงสุดที่ 12.76 ล้านล้านดอลลาร์ในปี 2007 หลังจากนั้นลดลงมาเหลือเพียง 1.88 ล้านล้านดอลลาร์ ในปี 2009 โดยเคลื่อนไหวอยู่ระหว่าง 6.35 ล้านล้านดอลลาร์ กับ 4.12 ล้านล้านดอลลาร์ ระหว่างปี 2010 ถึง 2018

แต่เงินทุนข้ามพรมแดนในภูมิภาคกลับเพิ่มขึ้นมากกว่าระดับเมื่อปี 2007 ถึง 6 เท่าตัว สูงถึง 1.62 ล้านล้านดอลลาร์ในปีที่ผ่านมา เมื่อรวมเงินทุนทั่วโลกที่ไหลเข้าสู่เอเชียจะเพิ่มขึ้นจาก 12% ในปี 2007 เป็นราว 36% ในปี 2017

นั่นหมายความว่าการเชื่อมโยงระหว่างเอเชียกับระบบการเงินโลกยังคงแน่นหนา และสะท้อนให้เห็นว่า เอเชียยังคงมีความเสี่ยงอยู่ชัดเจนใน 2 ทาง ทางหนึ่งคือยังคงเปราะบางต่อภาวะช็อกจากภายนอกอยู่ต่อไป

ในอีกทางหนึ่งคือยังอาจเป็นจุดเริ่มของวิกฤตการณ์ทางการเงินที่ส่งผลกระทบไปทั่วโลกได้อีกครั้งนั่นเอง

คอลัมน์ ชีพจรเศรษฐกิจโลก โดย ไพรัตน์ พงศ์พานิชย์

Source: ประชาชาติธุรกิจออนไลน์

คลิก

Cr.Bank of Thailand Scholarship Students

เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี!!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b  
Line ID:@fxhanuman
Web : https://www.fxhanuman.com
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/

#forex #ลงทุน #peppers #xm #fbs #exness #uag #icmarkets #avatrade #fxtm #tickmill #fxpro #fxopen #fxcl #forex3d #forex4you

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"