forex_calendar

1.  ตั้งเวลาให้ตรงกับประเทศไทยคือ (GMT+7:00) Bangkok, Hanoi, Jakarta
2.  ไว้สำหรับเลือกวันที่ต้องการดูข่าว
3.  เวลาข่าวออก
4.  ตระกูลเงินของข่าว
5.  ความรุนแรงของข่าว
6.  เหตุการณ์ของข่าว
7.  ค่าตัวเลขจริงที่ออก
8.  ค่าตัวเลขคาดการณ์
9.  ค่าตัวเลขครั้งก่อน

forex_calendar

เมื่อถึงเวลาข่าวออกตัวเลขค่าจริงจะแสดงออกมาในช่อง Actual ซึ่งจะมีสีแตกต่างกันดังนี้

  • ตัวเลขออกเป็นสีเขียวแสดงตัวเลขดีกว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีแดงแสดงว่าตัวเลขแย่กว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีดำแสดงว่าตัวเลขเท่ากับค่าที่คาดการณ์หรือใกล้เคียงกับสถิติเดิม (Previous)

 

สิ่งที่ต้องสนใจในการเทรดข่าว Forex

 

1.  เรื่องค่าสกุลเงิน ถ้าเทรดสกุลไหนก็ต้องสนใจเฉพาะสกุลนั้น เช่นถ้าเราเช่น EUR/USD ก็สนใจเฉพาะข่าวของ USD และ EUR และเราต้องรู้ด้วยว่าถ้าข่าวออกมาจะทำให้ค่าเงินเราขึ้นหรือลง เช่น ถ้าเราเล่น EUR/USD ถ้าข่าวดอลลาร์สหรัฐออกมาดีแสดงคู่เงินที่มี USD อยู่หลังกราฟจะลง แต่ถ้าข่าว USD ออกมาไม่ดีกราฟจะขึ้น ในทางกลับกันถ้าข่าว EUR ออกมาดีกราฟจะขึ้นแต่ถ้าข่าว EUR ออกมาไม่ดีกราฟจะลง

2. เรื่องระดับความแรงของข่าว ระดับความแรงขอข่าวจะมีสามระดับดังรูป

forex_calendar

3. ค่าตัวเลขจริงที่ออก(Actual) ถ้าค่าตัวเล่นจริงที่ออกมาต่างจากค่าก่อนหน้า(Previous)มาก ยิ่งมีผลทำให้ค่าเงินวิ่งขึ้นลงแรงมาก แต่ก็ขึ้นอยู่กับความแรงของข่าวด้วย

เมื่อสหรัฐตัดสินใจเพิ่มการแซงค์ชั่นด้านภาษีกับจีนอีก $3 แสนล้าน

ตามมาด้วยการประกาศว่าจีนเป็น "นักปั่นค่าเงิน" ที่ทำให้เกิดปฏิกริยาในตลาดเงินทั่วโลกพากันขายอย่างรุนแรง ..คำถามคือ นี่จะเป็นการเริ่มต้นของสงครามค่าเงินแท้จริง..ที่จะจุดชนวนสึนามิทางการเงินที่เลวร้ายกว่าวิกฤติเมื่อปี 2008 หรือเปล่า

..และยังมาเกิดขึ้นพร้อมกับการยกระดับความขัดแย้งระหว่างวอชิงตันกับเวเนซูล่า ..ระหว่างอินเดียกับจีนและปากีสถานในกรณีแคชเมียร์ ..ระหว่างเตอรกีกับซีเรียและกับไซปรัส ..และการยกระดับความตรึงเครียดระหว่างฮ่องกงกับปักกิ่ง เรากำลังอยู่บนขอบของสิ่งที่เรียกว่า "perfect storm" ที่พร้อมจะกลายเป็นสถานการณ์แบบหลังปี 1945

หลังจากการเจรจาที่ล้มเหลวระหว่างวอชิงตันกับปักกิ่งเมื่อปลายเดือนกรกฎาคม ปธน.ทรัมพ์ประกาศการตัดสินใจเพิ่มภาษีจากสินค้าจีนอีก $3 แสนล้าน ..พอถึงจุดนั้น ธนาคารกลางของจีนก็ลดค่าของเงินหยวนลงไปต่ำกว่าแนวรับทางจิตวิทยาที่ 7.0 หยวนต่อหนึ่งดอลล่าร์ ที่ผ่านมาจีนรักษาค่าเงินไม่ให้ต่ำกว่า 7.0 หยวนมานานมากกว่าสิบปีแล้ว เพื่อสร้างเสถียรภาพทางการค้ากับสหรัฐ ...ตลาดหุ้นสหรัฐร่วงในวันเดียวมากกว่า 3% ..ขาดทุนทางบัญชี (paper losses) ทันที $1 ล้านล้าน และราคาทองคำพุ่งขึ้นอย่างแรง ...นักลงทุนเริ่มมีการเตรียมตัวทันทีสำหรับสงครามค่าเงินระหว่างประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นที่หนึ่งและสองของโลก และยังผิดคำมั่นที่จะนำเข้าผลิตผลทางเกษตรจากสหรัฐ รัฐบาลปักกิ่งสั่งให้หน่วยงานในประเทศยุติการสั่งซื้อสินค้าทางเกษตรทุกชนิดจากสหรัฐทันที พร้อมกันนั้นปักกิ่งยังสร้างความยุ่งยากการทำธุรกิจกับบริษัทต่างประเทศในจีนอีกด้วย

Renminbi Currency Reserves

แต่ในสองวันถัดมาจีนพยายามหยุดการร่วงของค่าเงินหยวน เพราะเกรงว่าจะกลายเป็นสงครามค่าเงินในวงกว้าง ที่จะกดดันอย่างแรงต่อประเทศผู้ส่งออกในเอเซียอื่นๆเช่น ญี่ปุ่น เกาหลีใต้และอินเดีย ขณะเดียวกันประตูสู่ตลาดการเงินของจีนสู่ตลาดตะวันตก..ฮ่องกง ก็กำลังอยู่ใกล้กับกฏอัยการศึกและความรุนแรงทางทหารจากแผ่นดินใหญ่ ...กฏอัยการศึกในเมืองที่เป็นศูนย์กลางทางการเงินที่สำคัญของเอเซีย ย่อมไม่เป็นสิ่งดีสำหรับความพยายามของจีนที่จะนำสกุลเงินหยวนของตนให้เป็นที่ยอมรับของชาวโลกในการเป็นเงินรีเสิร์ฟทางการค้าแน่ๆ นี่เป็นเรื่องที่ถือได้ว่าเป็นรากฐานใหญ่ของยุทธศาสตร์ระยะยาวของจีนเลย แถมยังจะมีปัญหาเรื่องการดึงดูดเงินลงทุนจากต่างประเทศนับแสนล้านดอลล่าร์ในตลาดบอนด์ของจีนอีกด้วย

ซีรี่ส์เหตุการณ์เหล่านี้จะเรียกว่าเป็นลางหายนะของความพยายามขยายเศรษฐกิจของจีนให้ออกสู่เศรษฐกิจของประชาคมโลกในชั่วสามสิบปีที่ผ่านมาหรือเปล่า ประเด็นสำคัญคือ..การยกระดับความตรึงเครียดทางเศรษฐกิจระหว่างวอชิงตันกับปักกิ่งครั้งล่าสุดนี้ จะมีผลกระทบต่อยุทธศาสตร์ระยะยาวในการเป็นรีเสิร์ฟของโลกของเงินหยวนอย่างไร นี่จะเป็นก้าวที่อันตรายของจีนในอนาคตที่จะขยายเข้าในตลาดทุนของโลกและการขยายตัวของโครงการ Belt Road Initiative ....การลดค่าเงินหยวนไปถึงระดับอันตรายที่ 7.0 หยวนต่อหนึ่งดอลล่าร์อาจเป็นสงครามจิตวิทยามากกว่าจะเป็นสงครามการเงินจริงๆ

หลังจากพยายามอยู่หลายปี เงินหยวนของจีนก็ได้รับการยอมรับให้เป็นหนึ่งในห้าสกุลเงินที่อยู่ในตะกร้าเงินของ Special Drawing Rights (SDR) ของ IMF ร่วมกับ US dollar, British Pound, Japan Yen, และ Euro เมื่อปี 2016 ..ความตั้งใจของจีนคือ ให้เงินหยวนเริ่มที่จะมีส่วนเข้าแทนยูเอสดอลล่าร์ในการค้าของโลก ถ้าเป็นไปได้ก็จะเป็นผลดีต่อจีนในการลดบทบาทของดอลล่าร์และอิทธิพลของอเมริกัน ...ตั้งแต่ปี 1945 มาแล้วที่อิทธิพลของสหรัฐในโลกนี้อิงอยู่กับสองเสาหลัก คืออิทธิพลทางทหารและเงินดอลล่าร์ในฐานะเงินทุนสำรองของโลก

ตั้งแต่เริ่มใช้สัญญา Bretton Woods เมื่อปี 1944 ..เงินยูเอสดอลล่าร์ก็เป็นสกุลเงินที่มีอำนาจเหนือทุกสกุลในการค้าของโลกตลอดถึงการเป็นเงินรีเสิร์ฟของธนาคารกลางทั่วโลก ...ตอนที่เริ่มมีการใช้เงินยูโรเมื่อประมาณยี่สิบปีที่แล้ว มีการทำนายว่าเงินดอลล่าร์จะต้องหมดอิทธิพลไป ตลอดไปถึงการที่สหรัฐสร้างหนี้เอาไว้โดยมีหลายประเทศรวมถึงจีนเป็นเจ้าหนี้จากการถือพันธบัตรสหรัฐไว้จำนวนมาก ...แต่จากวิกฤติของประเทศกรีซเมื่อ 2010 เผยให้เห็นถึงรอยร้าวของโครงสร้างเงินยูโรและจุดอ่อนของธนาคารในอียู ทำให้หมดสิทธิ์เป็นผู้ท้าชิงความเป็นเจ้ากับดอลล่าร์

ข้อมูลล่าสุดจาก IMF แสดงว่าดอลล่าร์ยังคงเป็นรีเสิร์ฟของธนาคารกลางอยู่ถึง 61% และยังใช้อยู่ในการค้าของโลกถึง 40% ในขณะที่ 30% เป็นเงินยูโร ...ตั้งแต่ปี 2018 เงินหยวนของจีนก็เริ่มมีการใช้ในการชำระหนี้อยู่ 2% และการเป็นรีเสิร์ฟ 1% ....นี่กำลังจะมีความสำคัญอย่างมากต่อจีน จากการที่เป็นผู้ได้ดุลการค้าอย่างมหาศาลมาตลอด 25 ปี กำลังจะต้องกลายเป็นผู้ขาดดุลเริ่มจากปีนี้ หรือปีถัดไป

China Surplus Falling

การเกินดุลบัญชีเดินสะพัดมาตลอดทำให้เศรษฐกิจของจีนพุ่งขึ้นสูงจนมาเป็นเจ้าหนี้อันดับหนึ่งของโลก ธนาคารกลางของจีนใช้เงินส่วนเกินนี้ในการลงทุนในทรัพย์สินต่างประเทศ ส่วนใหญ่คือพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ นักวิเคราะห์บางคนบอกว่านี่เป็นอาวุธที่อาจทำลายสหรัฐได้ ในขณะที่บางคนกลับบอกว่าจีนอาจเป็นฝ่ายสูญเสียหนี้ส่วนใหญ่ของตนไปถ้าทำอย่างนั้น ไม่เพียงแต่จะสูญจากมูลค่าของพันธบัตรสหรัฐในมือเท่านั้น แต่การดึงดูดเงินลงทุนนับแสนล้านจากต่างประเทศในพันธบัตรของจีนก็จะเกิดความเสี่ยงอย่างมาก

ปีนี้น่าจะเป็นปีแรกในรอบ 25 ปีที่จีนจะเริ่มการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดของตน ...จีนได้ดุลการค้าและเงินลงทุนจากต่างประเทศอย่างมหาศาลมาตั้งแต่กลาง 1990s โดยได้ชื่อว่าเป็นโรงงานของโลก

China Needs Foreign Investors

เป็นครั้งแรกเกือบ 25 ปีที่จีนหวังจะมีการขาดดุล นี่เป็นเรื่องใหญ่ ....ในการเปลี่ยนผ่านให้เป็นเศรษฐกิจผู้บริโภคและลดการออมในช่วงที่กำลังจะเป็นสังคมผู้สูงอายุ การขาดดุลของจีนอาจจะถึง 1.6% ของ GDP หรือประมาณ $4.2 แสนล้านก่อนปี 2030 นี่เป็นการเปลี่ยนแปลงที่ใหญ่สำหรับจีน ....การเกินดุลการค้าของจีนที่ 10% ของ GDP เมื่อปี 2007 ก่อนเกิดวิกฤติการเงิน ..มาเป็น 2.9% ในปี 2008 พอมาถึงปีนี้ก็อาจจะลดน้อยลงไปอีก

ปัจจุบันการลงทุนจากต่างประเทศในพันธบัตรของจีนยังมีอยู่เพียงประมาณ $35,000 ล้าน ...Morgan Stanley มีการประมาณการถึงจำนวนของพันธบัตรของจีนในตลาดจะมีมากกว่า $12 ล้านล้านซึ่งจะเป็นรองญี่ปุ่นที่ $13 ล้านล้าน และสหรัฐที่ $40 ล้านล้าน ...ซึ่งก็ยังมากกว่าอังกฤษหรือฝรั่งเศส

จีนจะต้องดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศในหนี้ของจีนอีกมาก นี่เป็นปัญหาใหญ่ ..และนี่คือเหตุผลที่จีนมีการพัฒนาอุตสาหกรรมของจีนให้อยู่ในขั้น state-of-the-art ในโครงการ Made in China 2025 ของตนที่กำลังเป็นเป้าที่แท้จริงของสงครามการค้าจากวอชิงตันอยู่ตอนนี้

มาถึงจุดนี้ ดูเหมือนนี่จะเป็นเกมการเงินที่เสี่ยงมากทั้งของปักกิ่งและวอชิงตัน แต่สีจิ้นผิงตัดสินใจที่จะไม่ให้จีนทำตัวเด่น..และรอให้พ้นการเลือกตั้งสหรัฐในปีหน้าโดยหวังว่าทรัมพ์จะแพ้ให้กับพรรคเดโมแครทที่โปรจีนมากกว่า ...นี่จะเป็นเรื่องที่ใหญ่กว่าการเกินดุลการค้าของจีนที่มีต่อสหรัฐมากจนเปรียบกันไม่ได้เลย


F. William Engdahl is strategic risk consultant and lecturer, he holds a degree in politics from Princeton University and is a best-selling author on oil and geopolitics, exclusively for the online magazine “New Eastern Outlook”

Cr.Sayan Rujiramora

เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี!!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b  
Line ID:@fxhanuman
Web : https://www.fxhanuman.com
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/

#forex #ลงทุน #peppers #xm #fbs #exness #uag #icmarkets #avatrade #fxtm #tickmill #fxpro #fxopen #fxcl #forex3d #forex4you

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"