forex_calendar

1.  ตั้งเวลาให้ตรงกับประเทศไทยคือ (GMT+7:00) Bangkok, Hanoi, Jakarta
2.  ไว้สำหรับเลือกวันที่ต้องการดูข่าว
3.  เวลาข่าวออก
4.  ตระกูลเงินของข่าว
5.  ความรุนแรงของข่าว
6.  เหตุการณ์ของข่าว
7.  ค่าตัวเลขจริงที่ออก
8.  ค่าตัวเลขคาดการณ์
9.  ค่าตัวเลขครั้งก่อน

forex_calendar

เมื่อถึงเวลาข่าวออกตัวเลขค่าจริงจะแสดงออกมาในช่อง Actual ซึ่งจะมีสีแตกต่างกันดังนี้

  • ตัวเลขออกเป็นสีเขียวแสดงตัวเลขดีกว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีแดงแสดงว่าตัวเลขแย่กว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีดำแสดงว่าตัวเลขเท่ากับค่าที่คาดการณ์หรือใกล้เคียงกับสถิติเดิม (Previous)

 

สิ่งที่ต้องสนใจในการเทรดข่าว Forex

 

1.  เรื่องค่าสกุลเงิน ถ้าเทรดสกุลไหนก็ต้องสนใจเฉพาะสกุลนั้น เช่นถ้าเราเช่น EUR/USD ก็สนใจเฉพาะข่าวของ USD และ EUR และเราต้องรู้ด้วยว่าถ้าข่าวออกมาจะทำให้ค่าเงินเราขึ้นหรือลง เช่น ถ้าเราเล่น EUR/USD ถ้าข่าวดอลลาร์สหรัฐออกมาดีแสดงคู่เงินที่มี USD อยู่หลังกราฟจะลง แต่ถ้าข่าว USD ออกมาไม่ดีกราฟจะขึ้น ในทางกลับกันถ้าข่าว EUR ออกมาดีกราฟจะขึ้นแต่ถ้าข่าว EUR ออกมาไม่ดีกราฟจะลง

2. เรื่องระดับความแรงของข่าว ระดับความแรงขอข่าวจะมีสามระดับดังรูป

forex_calendar

3. ค่าตัวเลขจริงที่ออก(Actual) ถ้าค่าตัวเล่นจริงที่ออกมาต่างจากค่าก่อนหน้า(Previous)มาก ยิ่งมีผลทำให้ค่าเงินวิ่งขึ้นลงแรงมาก แต่ก็ขึ้นอยู่กับความแรงของข่าวด้วย

เฟดส่งสัญญาณ'ศก. โลก'วูบ หั่นดอกเบี้ย 0.25%รอบ 11 ปี

'กูรู'แนะไทยลดตามกระตุ้นเศรษฐกิจ : "เฟด"หั่นดอกเบี้ย ครั้งแรกรอบเกือบ 11 ปี แต่ส่งสัญญาณ ไม่รีบลดต่อ กดดันตลาดหุ้นทั่วโลกร่วง เงินบาทอ่อน "กอบศักดิ์"ห่วงทุนนอกทะลักเข้าไทย ยันรัฐบาลพร้อมหารือธปท.

เพื่อติดตามสถานการณ์ ด้าน"นักวิเคราะห์" ห่วงเศรษฐกิจไทยชะลอหนัก เชื่อ กนง. มีโอกาสลดดอกเบี้ยในปีนี้

คณะกรรมการกำหนดนโยบาย การเงิน(เอฟโอเอ็มซี) ของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) มีมติ 8:2 เสียง ให้ปรับลดดอกเบี้ยระยะสั้น 0.25% สู่ระดับ 2.00-2.25% ในการประชุมเมื่อวันที่ 31 ก.ค.ที่ผ่านมา ตามที่ตลาดการเงินคาดการณ์ไว้ โดยการประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ยครั้งนี้ถือเป็นครั้งแรกใน รอบเกือบ 11 ปี นับตั้งแต่วันที่ 16 ธ.ค.2551 โดยมี 2 เสียงที่เสนอให้คงดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่เดิม

แถลงการณ์เฟดระบุถึงความกังวล เกี่ยวกับการขยายตัวของเศรษฐกิจโลก รวมทั้ง อัตราเงินเฟ้อในระดับต่ำของสหรัฐ เป็นสาเหตุสนับสนุนการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในการประชุมครั้งนี้

นอกจากนี้ เฟด ยังส่งสัญญาณพร้อมที่จะ ปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงต่อไป หากมีความจำเป็น ขณะเดียวกัน เฟดยังตัดสินใจที่จะยุติ การปรับลดงบดุลเร็วกว่าเดิมถึง 2 เดือน จากเดิมที่กำหนดไว้ในเดือนก.ย. โดยเฟดจะ ระงับการปรับลดการถือครองพันธบัตร ที่เฟดได้ทำการซื้อตามมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ(คิวอี) ในช่วงที่เศรษฐกิจตกต่ำ

แถลงการณ์เฟด ระบุว่า เฟดจะยังคงจับตา ข้อมูลที่มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจ และจะดำเนินการอย่างเหมาะสมเพื่อรักษาการขยายตัว ทางเศรษฐกิจของสหรัฐที่ยาวนานเป็นประวัติการณ์ ขณะเดียวกันยังระบุถึงความแข็งแกร่งของตลาดแรงงานสหรัฐ และ การใช้จ่ายภาคครัวเรือนที่ฟื้นตัวขึ้น แต่การใช้จ่ายของภาคธุรกิจยังคงอ่อนแอ และอัตราเงินเฟ้อยังคงอยู่ในระดับต่ำ

เฟดระบุว่า การปรับลดอัตราดอกเบี้ย จะช่วยให้อัตราเงินเฟ้อกลับสู่เป้าหมายของเฟดที่ระดับ 2% แต่เศรษฐกิจยังคงมีแนวโน้ม ที่ไม่แน่นอน

อย่างไรก็ตาม ในฝั่งของตลาดการลงทุน ค่อนข้างผิดหวังกับแถลงการณ์ของเฟด เนื่องจากนักลงทุนคาดหวังความชัดเจนเกี่ยวกับการปรับลดดอกเบี้ยนโยบายจากเฟด ในระยะข้างหน้า ส่งผลให้ดัชนีตลาดหุ้นดาวโจนส์ปิดตลาดลบไป 300 จุด และส่งผลต่อ ตลาดหุ้นอื่นๆ ทั่วโลกที่เคลื่อนไหวในแดนลบ ด้วยเช่นกัน

ด้านดัชนีเอสแอนด์พี/เอเอสเอ็กซ์ 200 ตลาดหุ้นออสเตรเลีย ปิดตลาดวานนี้ (1 ส.ค.) อ่อนตัวลง 23.70 จุด หรือ 0.35% ปิดที่ 6,788.90 จุด ดัชนีออล ออร์ดินารีส์ ตลาดหุ้นออสเตรเลียปิดที่ 6,871.90 จุด ลดลง 24.80 จุด ติดลบ 0.36%

หุ้นเกาหลีใต้ต่ำสุดรอบ 7 เดือน

ดัชนีคอมโพสิต ตลาดหุ้นเกาหลีใต้ ปรับตัวลดลงแตะระดับต่ำสุดในรอบ 7 เดือน เนื่องจากนักลงทุนผิดหวังที่เฟด ปรับลดดอกเบี้ยในระดับที่ต่ำกว่าคาดการณ์ รวมถึงผลกระทบจากข้อพิพาททางการค้าระหว่างญี่ปุ่นและเกาหลีใต้

ดัชนีคอมโพสิตตลาดหุ้นเกาหลีใต้ ลดลง 7.21 จุด หรือ 0.36% ปิดที่ 2,017.34 จุด ส่วนดัชนีเซี่ยงไฮ้คอมโพสิตตลาดหุ้นจีน ปิดตลาดปรับตัวลง เนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับการชะลอตัวของภาคการผลิตจีน โดยดัชนีเซี่ยงไฮ้คอมโพสิตลบ 23.74 จุด หรือ 0.81% ปิดที่ 2,908.77 จุด

ดัชนีฮั่งเส็ง ตลาดหุ้นฮ่องกงปิดปรับตัวลดลง เนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับแนวโน้มเศรษฐกิจของฮ่องกง หลังจากทางการฮ่องกงเปิดเผยว่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ไตรมาส 2 หดตัวลง 0.3% เมื่อเทียบเป็นรายไตรมาส อันเนื่องมาจากผลกระทบของเหตุการณ์ประท้วง และข้อพิพาททาง การค้าระหว่างสหรัฐกับจีน โดยดัชนีฮั่งเส็งร่วงลง 212.05 จุด หรือ 0.76% ปิดที่ 27,565.70 จุด

ขณะที่ดัชนีนิกเกอิ ตลาดหุ้นโตเกียว ปิดบวก โดยได้แรงหนุนจากเงินเยนที่อ่อนค่า ลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ หลังจากนักลงทุนลดการคาดการณ์ที่ว่าเฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอีก โดยดัชนีนิกเกอิปิดบวก 19.46 จุด หรือ 0.09% แตะที่ 21,540.99 จุด

"ฮ่องกง-บราซิล"ลดดอกเบี้ยตาม

นอกจาก เฟด ที่ปรับลดดอกเบี้ยนโยบายแล้ว ยังพบธนาคารกลางประเทศอื่นๆ เริ่มทยอยปรับลดตาม โดยธนาคารกลางฮ่องกง ประกาศลดดอกเบี้ยนโยบายลง 0.25% สู่ระดับ 2.5% วานนี้(1 ส.ค.) ซึ่งเป็นการปรับลดครั้งแรก นับตั้งแต่ปลายปี 2551 หลังจากธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) มีมติปรับลดอัตราดอกเบี้ย ระยะสั้น 0.25% สู่ระดับ 2.00-2.25% ในการประชุมวานนี้ ซึ่งเป็นการปรับลดครั้งแรก นับตั้งแต่วันที่ 16 ธ.ค. ปี2551

ทั้งนี้ นโยบายการเงินของฮ่องกงมีความสอดคล้องกับนโยบายการเงินของเฟด เนื่องจากดอลลาร์ฮ่องกงผูกติดกับดอลลาร์สหรัฐในช่วง 7.75-7.85 ต่อดอลลาร์

นอกจากนี้ ธนาคารกลางบราซิล ประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.50% ลงสู่ ระดับต่ำสุดครั้งใหม่ที่ 6.00% จากระดับ 6.50% ซึ่งเป็นการปรับลดลงอย่างมากเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือนมี.ค. ปี 2561 เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจที่ซบเซา และสกัดกั้นเงินเฟ้อไม่ให้ลดลง ต่ำกว่าเป้าหมายมากเกินไป

"กอบศักดิ์"สั่งจับตาเฟดลดดอกเบี้ย

นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง กล่าวถึงกรณีที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ(เฟด) ปรับลดดอกเบี้ยนโยบายลง 0.25% ว่าถือเป็นครั้งแรกในรอบหลายปีที่เฟดปรับลดดอกเบี้ยลงและน่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงเทรนด์ของนโยบายดอกเบี้ยที่สำคัญเพราะก่อนหน้านี้เฟดปรับขึ้นดอกเบี้ยเพื่อชะลอในเรื่องของเงินเฟ้อซึ่งในช่วงหลังเฟดอาจดูว่าเงินเฟ้อไม่มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯมากนัก ขณะที่การปรับลด ดอกเบี้ยในการประชุมครั้งล่าสุดเป็นการปรับลด ตามแนวโน้มความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจ โดยเฉพาะเศรษฐกิจโลกที่มีความผันผวน

ทั้งนี้การปรับลดดอกเบี้ยนโยบายของสหรัฐฯจะส่งผลต่อเงินทุนที่ไหลเข้าประเทศไทย เพราะการตัดสินใจเคลื่อนย้ายเงินลงทุน นักลงทุนจะดูส่วนต่างของดอกเบี้ยเป็นสำคัญ ขณะเดียวกันการปรับลดดอกเบี้ยของสหรัฐก็จะเป็นแรงกดดันต่อการกำหนดนโยบายดอกเบี้ยในประเทศไทยเช่นกัน ซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ต้องจับตามองอย่างใกล้ชิด และรัฐบาลก็จะมีการหารือกับ ธปท.เป็นระยะเพื่อติดตามสถานการณ์ในเรื่องนี้

"การปรับลดดอกเบี้ยของเฟดในครั้งนี้ มองว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงเทรนด์ครั้งสำคัญ โดยการปรับลดดอกเบี้ยนโยบายของสหรัฐจะทำให้มุมมองของสหรัฐฯในฐานะที่เป็น safe haven ที่นักลงทุนสามารถเอาเงินไปลงทุนและคาดหวังว่าจะได้ดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นก็จะลดลงขณะที่นักลงทุนก็จะมองหาว่า จะเอาเงินไปลงทุนที่ไหนที่เป็น safe haven ซึ่งประเทศไทยก็จะเป็นหนึ่งในนั้น" นายกอบศักดิ์ กล่าว

เงินบาทส่ออ่อนหลุด31ต่อดอลลาร์

การลดดอกเบี้ยนโยบายของเฟดส่งผลต่อค่าเงินดอลลาร์ที่แข็งค่าขึ้นด้วย ส่งผลให้ค่าเงินสกุลอื่นๆ ในภูมิภาคอ่อนค่าลง เช่นเดียวกับค่าเงินบาท โดยเงินบาทวานนี้ ปิดตลาดที่ 30.86 บาทต่อดอลลาร์ อ่อนค่าลง เมื่อเทียบกับวันก่อนหน้า

นายจิติพล พฤกษาเมธานันท์ นักกลยุทธ์ตลาดเงินตลาดทุน ธนาคารกรุงไทย กล่าวว่า ตลาดมีแนวโน้มปิดรับความเสี่ยง กรณีเฟดส่งสัญญาณไม่ได้รีบเร่งลดดอกเบี้ย และ มองทิศทางเงินบาทหลังจากนี้ในระยะสั้น มีโอกาสเห็นบาทกลับมาอ่อนค่าทะลุ 31 บาทต่อดอลลาร์ หรือที่ระดับ 31.50บาทต่อ ดอลลาร์ตั้งแต่เดือนส.ค.นี้ และเชื่อว่า ตลาดหุ้นมีโอกาสปรับฐานอีกครั้ง หลังจาก บริษัทจดทะเบียน(บจ.) ทยอยประกาศงบไตรมาส3 นี้แล้ว

นอกจากนี้ในช่วงไตรมาส 4 มีแนวโน้มที่เงินบาทจะกลับมาแข็งค่าสูงสุดครั้งใหม่ ที่ระดับ 30.20 บาทต่อดอลลาร์ จากเดิมที่ระดับ 30.50 บาทต่อดอลลาร์ คาดว่าเฟดลดดอกเบี้ยในการประชุมรอบเดือนธ.ค.นี้อีก 0.25% ขณะที่กนง. ยังคงดอกเบี้ยที่ 1.75% ในการประชุมสัปดาห์หน้าและทั้งปีนี้ ซึ่งจะมีมุมมองความเสี่ยง การเมืองในประเทศลดลงแล้ว และปัจจัย พื้นฐานมีเสถียรภาพแข็งแกร่งมากขึ้น

อย่างไรก็ตามยังคงมุมมองเงินบาท สิ้นปีนี้ มีแนวโน้มแข็งค่าเคลื่อนไหวในกรอบ 30.00-31.5บาทต่อดอลลาร์ และคาดว่า กระแสเงินทุนต่างชาติไหลเข้าทั้งตลาดหุ้น และบอนด์ในระดับแสนล้านบาทเท่ากัน

เศรษฐกิจไทยชะลอหนักกดดันกนง.

นายพิพัฒน์ เหลืองนฤมิตชัย ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์(บล.) ภัทร กล่าวว่า ดอกเบี้ยสหรัฐอาจไม่ใช่ปัจจัยหลักที่กดดันดอกเบี้ยไทยแล้ว เพราะสิ่งที่กำลังกดดัน ดอกเบี้ยนโยบายของไทยในเวลานี้ คือ เศรษฐกิจ ที่เริ่มชะลอตัวลงมากกว่าคาด โดยเฉพาะตัวเลขเศรษฐกิจเดือนมิ.ย.ที่ออกมาน่าผิดหวัง ทำให้ภาพรวมเศรษฐกิจไทยไตรมาส 2 มีแนวโน้มเติบโตต่ำกว่าที่เคยประเมินไว้

"แม้ว่า เฟด จะส่งสัญญาณไม่รีบลดดอกเบี้ย ซึ่งเป็นปัจจัยที่เอื้อให้ดอกเบี้ยไทยไม่จำเป็นต้องรีบลดตาม แต่ข้อมูลเศรษฐกิจที่เราเห็นล่าสุดของเดือนมิ.ย. ชะลอลง ค่อนข้างมาก ทำให้เศรษฐกิจไตรมาส 2 อาจเติบโตได้เพียง 2% ต้นๆ ถือเป็นปัจจัยกดดัน กนง. ในระยะข้างหน้า จึงมองว่า ปีนี้อาจเห็น กนง. ปรับลดดอกเบี้ยนโยบายลงอย่างน้อย 1 ครั้ง เพียงแต่การประชุมในวันพุธนี้ คงยังไม่รีบปรับลด แต่ต้องจับตาดูสัญญาณ ที่จะส่งออกมา"

นายพิพัฒน์ ยังประเมินว่าแนวโน้มเศรษฐกิจไทยช่วงครึ่งปีหลัง อาจเผชิญกับปัจจัยลบรุมเร้าอีกมากมายจนกลายเป็น"มรสุมร้าย" (Perfect Storm) ทางเศรษฐกิจ โดยภาพในขณะนี้ ค่อนข้างชัดว่า การส่งออกและการท่องเที่ยว ซึ่งถือเป็นเครื่องยนต์หลักของไทยช่วงที่ผ่านมา ชะลอตัวลง และเรากำลังเผชิญกับภัยแล้งที่อาจกระทบยาวถึงต้นปีหน้า

นอกจากนี้ถ้าดู สินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ เริ่มเข้าสู่วัฎจักรของการชะลอตัวแบบยกแผง ซึ่งช่วงที่ผ่านมาสินเชื่อเพื่อซื้อบ้านและรถยนต์ยังพอจะขยายตัวได้ แต่ข้อมูลล่าสุดเดือนมิ.ย. ที่การบริโภคสินค้าคงทนเริ่มหดตัว ทำให้ ภาพสินเชื่อเหล่านี้กลับมาชะลอตัวลง ที่สำคัญการที่เศรษฐกิจเริ่มชะลอตัว ขณะที่สินค้าคงคลังของไทยยังอยู่ระดับสูง เริ่ม ส่งผลกระทบต่อการผลิตอาจนำไปสู่ปัญหา การจ้างงานในระยะข้างหน้า ทำให้ภาพเศรษฐกิจไทยระยะข้างหน้ายังไม่สดใสนัก "มุมมองทางเจศรษฐกิจของเราในขณะนี้ มีความเป็นไปได้สูงที่จะปรับลดคาดการณ์ การเติบโตทั้งปีลงมาอีกครั้ง จากปัจจุบันเรามองว่าจะขยายตัวที่ 3.3%ปัจจัยเหล่านี้ล้วนเป็นตัวกดดันการทำนโยบายการเงินของ กนง. ที่อาจปรับลดลงได้ โดยเฉพาะช่วงที่นโยบายการคลังยังไม่มีมาตรการใดๆ ออกมา"

Source: กรุงเทพธุรกิจ


Cr.Bank of Thailand Scholarship Students

เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี!!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b  
Line ID:@fxhanuman
Web : https://www.fxhanuman.com
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/

#forex #ลงทุน #peppers #xm #fbs #exness #uag #icmarkets #avatrade #fxtm #tickmill #fxpro #fxopen #fxcl #forex3d #forex4you

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"