forex_calendar

1.  ตั้งเวลาให้ตรงกับประเทศไทยคือ (GMT+7:00) Bangkok, Hanoi, Jakarta
2.  ไว้สำหรับเลือกวันที่ต้องการดูข่าว
3.  เวลาข่าวออก
4.  ตระกูลเงินของข่าว
5.  ความรุนแรงของข่าว
6.  เหตุการณ์ของข่าว
7.  ค่าตัวเลขจริงที่ออก
8.  ค่าตัวเลขคาดการณ์
9.  ค่าตัวเลขครั้งก่อน

forex_calendar

เมื่อถึงเวลาข่าวออกตัวเลขค่าจริงจะแสดงออกมาในช่อง Actual ซึ่งจะมีสีแตกต่างกันดังนี้

  • ตัวเลขออกเป็นสีเขียวแสดงตัวเลขดีกว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีแดงแสดงว่าตัวเลขแย่กว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีดำแสดงว่าตัวเลขเท่ากับค่าที่คาดการณ์หรือใกล้เคียงกับสถิติเดิม (Previous)

 

สิ่งที่ต้องสนใจในการเทรดข่าว Forex

 

1.  เรื่องค่าสกุลเงิน ถ้าเทรดสกุลไหนก็ต้องสนใจเฉพาะสกุลนั้น เช่นถ้าเราเช่น EUR/USD ก็สนใจเฉพาะข่าวของ USD และ EUR และเราต้องรู้ด้วยว่าถ้าข่าวออกมาจะทำให้ค่าเงินเราขึ้นหรือลง เช่น ถ้าเราเล่น EUR/USD ถ้าข่าวดอลลาร์สหรัฐออกมาดีแสดงคู่เงินที่มี USD อยู่หลังกราฟจะลง แต่ถ้าข่าว USD ออกมาไม่ดีกราฟจะขึ้น ในทางกลับกันถ้าข่าว EUR ออกมาดีกราฟจะขึ้นแต่ถ้าข่าว EUR ออกมาไม่ดีกราฟจะลง

2. เรื่องระดับความแรงของข่าว ระดับความแรงขอข่าวจะมีสามระดับดังรูป

forex_calendar

3. ค่าตัวเลขจริงที่ออก(Actual) ถ้าค่าตัวเล่นจริงที่ออกมาต่างจากค่าก่อนหน้า(Previous)มาก ยิ่งมีผลทำให้ค่าเงินวิ่งขึ้นลงแรงมาก แต่ก็ขึ้นอยู่กับความแรงของข่าวด้วย

ธปท.เผยเศรษฐกิจไทยมิ.ย.ชะลอจากเดือนก่อนตามอุปสงค์ใน-ตปท. ท่องเที่ยวยังขยายตัวเล็กน้อย

ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เผยเศรษฐกิจไทยเดือน มิ.ย.62 ชะลอจากเดือนก่อนจากอุปสงค์ทั้งในและต่างประเทศ โดยการบริโภคภาคเอกชนขยายตัวชะลอลงในเกือบทุกหมวด ขณะที่เครื่องชี้การลงทุนภาคเอกชนหดตัว

และการใช้จ่ายภาครัฐหดตัวทั้งรายจ่ายประจำและรายจ่ายลงทุน ด้านการส่งออกสินค้า การนำเข้าสินค้า และการผลิตภาคอุตสาหกรรมหดตัวต่อเนื่อง สำหรับภาคการท่องเที่ยวขยายตัวเล็กน้อยจากนักท่องเที่ยวอินเดียเป็นสำคัญ ขณะที่นักท่องเที่ยวจีนยังหดตัว

ด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปปรับตัวลดลงตามอัตราเงินเฟ้อหมวดพลังงานและอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานที่ปรับลดลง สำหรับอัตราการว่างงานที่ปรับฤดูกาลทรงตัวจากเดือนก่อน ดุลบัญชีเดินสะพัดกลับมาเกินดุลตามดุลการค้าที่เพิ่มขึ้น ขณะที่ดุลบัญชีเงินทุนเคลื่อนย้ายขาดดุลสุทธิจากด้านสินทรัพย์

นายดอน นาครทรรพ ผู้อำนวยการอาวุโส สายนโยบายการเงิน ธปท.กล่าวว่า ในเดือน มิ.ย.เครื่องชี้การบริโภคภาคเอกชนขยายตัวชะลอลงจากระยะเดียวกันปีก่อนในเกือบทุกหมวด การใช้จ่าย โดยเฉพาะในหมวดสินค้าคงทนหดตัวตามยอดขายยานยนต์ในประเทศและยอดจดทะเบียนรถจักรยานยนต์

สำหรับปัจจัยสนับสนุนกำลังซื้อโดยรวมมีทิศทางชะลอลง ตามรายได้รวมลูกจ้างนอกภาคเกษตรกรรมที่ขยายตัวชะลอลง ส่วนรายได้เกษตรกรในเดือนนี้ขยายตัวเร่งขึ้นจากราคายางและสับปะรดเป็นสำคัญ ขณะที่ราคาสินค้าเกษตรหลักอื่นๆ ยังหดตัว สะท้อนผลดีของการปรับดีขึ้นของรายได้ภาคเกษตรกรรมที่กระจายตัวไม่ทั่วถึง สอดคล้องกับดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ปรับลดลงต่อเนื่อง

ด้านเครื่องชี้การลงทุนภาคเอกชนหดตัวจากระยะเดียวกันปีก่อน จากทั้งเครื่องชี้การลงทุนในหมวดก่อสร้างที่หดตัว โดยพื้นที่ได้รับอนุญาตก่อสร้างทั่วประเทศหดตัวต่อเนื่องยกเว้นพื้นที่เพื่อการอุตสาหกรรม ขณะที่ยอดจำหน่ายวัสดุก่อสร้างขยายตัวได้และเครื่องชี้การลงทุนในหมวดเครื่องจักรและอุปกรณ์หดตัวในทุกหมวด เมื่อขจัดผลของฤดูกาลแล้ว เครื่องชี้การลงทุนภาคเอกชนลดลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนจากทั้งเครื่องชี้การลงทุนในหมวดก่อสร้างและหมวดเครื่องจักรและอุปกรณ์

การใช้จ่ายภาครัฐที่ไม่รวมเงินโอนหดตัวจากระยะเดียวกันปีก่อน จากทั้งรายจ่ายประจำที่หดตัวตามรายจ่ายเพื่อซื้อสินค้าและบริการ ขณะที่รายจ่ายค่าตอบแทนบุคลากรขยายตัวได้เล็กน้อย และรายจ่ายลงทุนที่หดตัวตามกรอบงบประมาณจังหวัดและกลุ่มจังหวัดที่ปรับลดลง ประกอบกับการเบิกจ่ายงบลงทุนหดตัวจากข้อจำกัดด้านประสิทธิภาพการลงทุนหลังทบทวนโครงการลงทุนให้สอดคล้องกับแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ

ขณะที่มูลค่าการส่งออกสินค้าหดตัว 2.1% จากระยะเดียวกันปีก่อน และหากหักทองคำหดตัวสูงที่ 9.1% เนื่องจากอุปสงค์ในตลาดโลกชะลอลงตามภาวะเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้า ผลของมาตรการกีดกันทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับจีน วัฏจักรสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่ยังชะลอลงต่อเนื่อง และราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่ปรับลดลงส่งผลให้การส่งออกในหลายหมวดสินค้ายังคงหดตัว ได้แก่ สินค้าที่มูลค่าเคลื่อนไหวตามราคาน้ำมันดิบที่หดตัวทั้งราคาและปริมาณ สินค้าอิเล็กทรอนิกส์โดยเฉพาะฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟ และแผงวงจรรวม สินค้าเกษตรโดยเฉพาะข้าว และสินค้าเกษตรแปรรูปโดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ยางและน้ำตาล อย่างไรก็ดีการส่งออกในบางหมวดสินค้ายังขยายตัวได้ อาทิ ยานยนต์และชิ้นส่วนตามการส่งออกรถยนต์เชิงพาณิชย์และยางล้อ เป็นสำคัญ

ด้านมูลค่าการนำเข้าสินค้าหดตัวสูงที่ 9.6% จากระยะเดียวกันปีก่อน และหากหักทองคำหดตัวที่ 10.5% ตามการนำเข้าที่หดตัวในทุกหมวดสินค้าสำคัญ โดย 1) หมวดวัตถุดิบและสินค้าขั้นกลางหดตัวตามการนำเข้าเชื้อเพลิงที่หดตัวทั้งด้านราคาและด้านปริมาณ ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการปิดซ่อมบำรุงโรงกลั่นบางรายในเดือนนี้และการนำเข้าชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ สอดคล้องกับภาคการส่งออกที่หดตัว 2) หมวดสินค้าทุนที่ไม่รวมเครื่องบินและแท่นขุดเจาะหดตัวตามการนำเข้าอุปกรณ์ในหมวดโทรคมนาคม และเครื่องจักรและอุปกรณ์สอดคล้องกับการลงทุนภาคเอกชนที่หดตัว

3) หมวดสินค้าอุปโภคบริโภคหดตัวโดยเฉพาะการนำเข้าสินค้าไม่คงทน ตามการนำเข้าปลาทูน่าที่ราคาหดตัวเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อน และ 4) หมวดยานยนต์และชิ้นส่วนหดตัวตามการนำเข้าชิ้นส่วนยานยนต์ เป็นสำคัญ สอดคล้องกับการผลิตและยอดจำหน่ายรถยนต์ในประเทศที่หดตัว ทั้งนี้ มูลค่าการนำเข้าสินค้าลดลงมากเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า ส่งผลให้ดุลการค้าเกินดุลสูงขึ้นในเดือนนี้

สำหรับจำนวนนักทองเที่ยวต่างประเทศขยายตัวเล็กน้อยที่ 0.9% จากระยะเดียวกันปีก่อนตามจำนวนนักท่องเที่ยวอินเดียที่ขยายตัวต่อเนื่อง ส่วนหนึ่งได้รับผลดีจากมาตรการยกเว้นค่าธรรมเนียม visa on arrival อย่างไรก็ดี จำนวนนักท่องเที่ยวจีนหดตัวต่อเนื่อง จากเศรษฐกิจจีนที่ชะลอลงและการแข่งขันที่รุนแรงขึ้นจากประเทศเพื่อนบ้าน และจำนวนนักท่องเที่ยวมาเลเซียหดตัวจากผลของฐานสูงในระยะเดียวกันปีก่อนที่มีการท่องเที่ยวมากขึ้นภายหลังผ่านช่วงการเลือกตั้งในประเทศ ทั้งนี้ เมื่อขจัดผลของฤดูกาลแล้ว จำนวนนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนจากนักท่องเที่ยวจีนเป็นสำคัญ ภายหลังสถานการณ์ฝุ่นในภาคเหนือคลี่คลายลง

ด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่ 0.87% ชะลอจาก 1.15% ในเดือนก่อน ตามอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานที่ชะลอลง และราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศที่ปรับลดลงขณะที่ราคาหมวดอาหารสดปรับเพิ่มขึ้นจากราคาผลไม้และสุกร เป็นสำคัญ สำหรับอัตราการว่างงานที่ปรับฤดูกาลทรงตัวจากเดือนก่อน ดุลบัญชีเดินสะพัดกลับมาเกินดุลตามดุลการค้าที่เกินดุลเพิ่มขึ้น ขณะที่ดุลบริการ รายได้และเงินโอนขาดดุลตามการส่งกลับกำไรและเงินปันผลของธุรกิจต่างชาติ ด้านดุลบัญชีเงินทุนเคลื่อนย้ายขาดดุลสุทธิจากด้านสินทรัพย์

ธปท.ระบุว่า เศรษฐกิจไทยในไตรมาส 2/62 ขยายตัวชะลอลงต่อเนื่องจากไตรมาสก่อนตามอุปสงค์ต่างประเทศเป็นสำคัญ โดยการส่งออกสินค้าหดตัวต่อเนื่องสอดคล้องกับการผลิตภาคอุตสาหกรรมที่หดตัว ขณะที่ภาคการท่องเที่ยวขยายตัวชะลอลงจากจำนวนนักท่องเที่ยวจีนเป็นสำคัญ

อย่างไรก็ตาม อุปสงค์ในประเทศโดยรวมยังขยายตัวได้ แต่มีทิศทางชะลอลงเช่นกัน โดยเครื่องชี้การบริโภคภาคเอกชนขยายตัว
ชะลอลงในเกือบทุกหมวด ยกเว้นในหมวดสินค้าไม่คงทน ด้านเครื่องชี้การลงทุนภาคเอกชนหดตัวทั้งหมวดก่อสร้างและหมวดเครื่องจักรและอุปกรณ์

สำหรับการใช้จ่ายภาครัฐหดตัวจากรายจ่ายประจำ ขณะที่รายจ่ายลงทุนขยายตัวต่อเนื่อง ด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปปรับเพิ่มขึ้นตามราคาอาหารสด โดยเฉพาะผักเป็นสำคัญ เนื่องจากผลผลิตได้รับความเสียหายจากสภาพอากาศที่ร้อนกว่าปกติ

อัตราการว่างงานที่ปรับฤดูกาลแล้วลดลงเล็กน้อยจากไตรมาสก่อน สำหรับดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลลดลงจากไตรมาสก่อนตามดุลการค้าที่ปรับลดลงและฤดูกาลส่งกลับกำไรและเงินปันผล ขณะที่ดุลบัญชีเงินทุนเคลื่อนย้ายขาดดุลสุทธิจากด้านสินทรัพย์

Source: อินโฟเควสท์ โดย กษมาพร กิตติสัมพันธ์/รัชดา/ศศิธร

เพิ่มเติม
1. แถลงข่าว รายงานเศรษฐกิจและการเงินเดือนมิถุนายน 2562 (เผยแพร่วันที่ 31 กรกฎาคม 2562) :

คลิก

English Version:

คลิก

2. ตารางดัชนีเศรษฐกิจเดือนมิถุนายน 2562 (เผยแพร่วันที่ 31 กรกฎาคม 2562):

คลิก

English Version:

คลิก

3.รายงานภาวะและแนวโน้มสินเชื่อของสถาบันการเงินไตรมาส 2 ปี 2562 (เผยแพร่วันที่ 31 กรกฎาคม 2562):

คลิก

English Version:

คลิก

4. รายงานแนวโน้มธุรกิจไตรมาส 2 ปี 2562 (เผยแพร่วันที่ 31 กรกฎาคม 2562):

 

คลิก

Cr.Bank of Thailand Scholarship Students

เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี!!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b  
Line ID:@fxhanuman
Web : https://www.fxhanuman.com
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/

#forex #ลงทุน #peppers #xm #fbs #exness #uag #icmarkets #avatrade #fxtm #tickmill #fxpro #fxopen #fxcl #forex3d #forex4you

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"