forex_calendar

1.  ตั้งเวลาให้ตรงกับประเทศไทยคือ (GMT+7:00) Bangkok, Hanoi, Jakarta
2.  ไว้สำหรับเลือกวันที่ต้องการดูข่าว
3.  เวลาข่าวออก
4.  ตระกูลเงินของข่าว
5.  ความรุนแรงของข่าว
6.  เหตุการณ์ของข่าว
7.  ค่าตัวเลขจริงที่ออก
8.  ค่าตัวเลขคาดการณ์
9.  ค่าตัวเลขครั้งก่อน

forex_calendar

เมื่อถึงเวลาข่าวออกตัวเลขค่าจริงจะแสดงออกมาในช่อง Actual ซึ่งจะมีสีแตกต่างกันดังนี้

  • ตัวเลขออกเป็นสีเขียวแสดงตัวเลขดีกว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีแดงแสดงว่าตัวเลขแย่กว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีดำแสดงว่าตัวเลขเท่ากับค่าที่คาดการณ์หรือใกล้เคียงกับสถิติเดิม (Previous)

 

สิ่งที่ต้องสนใจในการเทรดข่าว Forex

 

1.  เรื่องค่าสกุลเงิน ถ้าเทรดสกุลไหนก็ต้องสนใจเฉพาะสกุลนั้น เช่นถ้าเราเช่น EUR/USD ก็สนใจเฉพาะข่าวของ USD และ EUR และเราต้องรู้ด้วยว่าถ้าข่าวออกมาจะทำให้ค่าเงินเราขึ้นหรือลง เช่น ถ้าเราเล่น EUR/USD ถ้าข่าวดอลลาร์สหรัฐออกมาดีแสดงคู่เงินที่มี USD อยู่หลังกราฟจะลง แต่ถ้าข่าว USD ออกมาไม่ดีกราฟจะขึ้น ในทางกลับกันถ้าข่าว EUR ออกมาดีกราฟจะขึ้นแต่ถ้าข่าว EUR ออกมาไม่ดีกราฟจะลง

2. เรื่องระดับความแรงของข่าว ระดับความแรงขอข่าวจะมีสามระดับดังรูป

forex_calendar

3. ค่าตัวเลขจริงที่ออก(Actual) ถ้าค่าตัวเล่นจริงที่ออกมาต่างจากค่าก่อนหน้า(Previous)มาก ยิ่งมีผลทำให้ค่าเงินวิ่งขึ้นลงแรงมาก แต่ก็ขึ้นอยู่กับความแรงของข่าวด้วย

คำถามที่ว่าควรจะถือครองทองคำไว้เป็นจำนวนเท่าไหร่

คำตอบส่วนใหญ่มักจะเป็นจำนวนเปอร์เซนต์ของพอร์ต เช่น 10%..20% ของเงินลงทุน คำตอบนี้ไม่ได้อิงกับหลักการอะไรเลย ...แล้วทำไมไม่เป็น 100% หรือ 0% ล่ะ....ทั้งคำถามและคำตอบสะท้อนถึงความไม่แน่นอนของช่วงเวลาตอนตั้งคำถาม

....ในช่วงหลายสิบปีก่อนหน้านี้ คนทั่วไปยังคิดว่าดอลล่าร์เป็นสกุลเงินที่แข็งแกร่งและมั่นคง ....แต่หลังการก่อตั้งของ Federal Reserve เมื่อปี 1913 ..อำนาจซื้อของเงินดอลล่าร์หายไปถึง 97% นับถึงปัจจุบัน

คนจำนวนหนึ่งเข้าใจถึงความเสี่ยงในการถือครองเงินดอลล่าร์หรือทรัพย์สินที่อิงค่ากับดอลล่าร์ เพราะรู้ดีว่าทุกวันนี้ธนาคารกลางทั่วโลกมีการพิมพ์เงินในอัตราที่ไม่เคยมีมาก่อน แต่คนส่วนใหญ่อาจจะไม่เช้าใจถึงสาเหตุและทางแก้ของความอ่อนแอทางเศรษฐกิจ พวกเขาเพิ่งจะรู้ว่าการพิมพ์เงินออกมามากๆ มีแต่จะทำให้มูลค่าของเงินที่มีในมือมันลดลงไปเรื่อยๆ และเมื่อเห็นถึงโอกาสที่สถานการณ์การเงินต้องพังลงแน่ๆ คนทั่วๆไปเริ่มมองหาวิธีป้องกันตัว

เมื่อ money ที่เรารู้จักถูกยุติบทบาทด้านการเป็นตัวสะสมความมั่งคั่ง (store of value) ก็ต้องมองหาทรัพย์สินอื่นมาแทน ...ความนิยมในทรัพย์สินอื่นที่ว่าจะยิ่งเพิ่มมากขึ้นเมื่อความเชื่อมั่นในเงินเฟียตลดลง ....เมื่อความเชื่อมั่นหมดไป มูลค่าของ "store of value" ที่จะมาแทนก็จะยิ่งเพิ่มมากขึ้น นี่จะเป็นการกลับมาของทองคำ ซิลเวอร์ และทรัพย์สินคงทนอื่นๆ แต่ก็บอกไม่ได้ว่าทรัพย์สินที่ว่าจำนวนเท่าไหร่ถึงจะพอสำหรับการป้องกันตนจากเงินเฟ้อ

The Standard 10 – 20% Non-Answer

การบอกแค่ว่าควรเก็บทองคำไว้แค่ 10-20% ของพอร์ตลงทุน ก็เป็นเพียงความเชื่อทั่วๆไปเหมือนที่โบรกเกอร์ขายประกันชีวิตบอกว่าคุณควรมีประกันชีวิตสักเท่าไร นั่นก็แค่คิดว่าทองคำเป็นเพียงหลักประกันความเสี่ยงในมูลค่าที่ลดลงของดอลล่าร์เท่านั้น

การออมเงินในโปรแกรมวางแผนการเกษียณ ทั่วไปมักอยู่บนสมมติฐานที่ว่าดอลล่าร์จะมีอำนาจซื้อคงเดิม ...แต่ผู้เกษียณอายุหลายคนก็ค้นพบความจริงภายหลังว่าสมมติฐานนี้ไม่เป็นไปดังที่หวัง พวกเขาส่งเงินออมจนครบ แต่หลังเกษียณกลับพบความจริงว่ามูลค่าของเงินบำนาญที่เขาได้รับไม่ได้เป็นไปดังที่หวังเลย

นี่คือปัญหาที่ทุกคนต้องพบ เมื่อต้องใช้ชีวิตร่วมกับการเงินที่ฉ้อฉล ....คุณไม่มีวันรู้หรอกว่าคุณจะเหลือเงินพอหรือเปล่าเมื่อตอนเกษียณ หรือแม้แต่พอจะไปถึงวันเกษียณได้หรือเปล่า การตัดสินใจของคุณอยู่บนฐานของอำนาจซื้อปัจจุบันของสกุลเงิน แต่คุณจะไม่รู้เลยว่าพรุ่งนี้อำนาจซื้อของมันจะเหลือเท่าไหร่ แล้วการวางแผนอนาคตจะอยู่บนคอนเซ็ปท์นี้ไปอีกหรือ

ที่ปรึกษาการเงินแนะนำให้ถือทองคำ 10% - 20% เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากเงินเฟ้อ ...นั่นเป็นคำแนะนำที่อิงอยู่ว่าเงินเฟ้อเป็นเพียงแฟคเตอร์หนึ่ง แต่ไม่สามารถให้การประมาณการความเสียหายจากเงินเฟ้อที่กำลังจะมา

ถ้าคุณๆเชื่อว่า เงินเฟ้อที่กำลังจะเกิดขึ้นมันสุดๆไปเลย บางทีคุณอาจจะถือทรัพย์สินทุกอย่างที่มีอยู่ในรูปของทองคำและซิลเวอร์ แต่ถ้าเชื่อว่าจะไม่เกิดเงินเฟ้อ ..10% ก็น่าจะมากเกินไป ....แต่ในกรณีที่อยู่ระหว่างสองความเชื่อนี้ คุณก็อาจจะยังผิดถ้าคิดจะถือไว้แค่ 10% - 20% .....เพราะถึงแม้จะไม่เกิดเงินเฟ้อรุนแรงขึ้น ผลกำไรที่เกิดจากค่าเสียโอกาสก็น่าจะมากกว่าจากการถือครองทรัพย์สินอื่นๆ

ความไม่แน่นอนที่จะเกิดขึ้นในอนาคตไม่อาจลบล้างได้ แต่มีหลายมุมมองถึงจำนวนที่เหมาะสมของทองคำที่จะควรถือไว้เพื่อป้องกันความเสี่ยง .....Jeff Clark เคยให้สัมภาษณ์ในรายการของ Chris Martenson ว่าควรจะถือทองคำตามน้ำหนักมากกว่าเป็นจำนวนเงิน

"เมื่อคุณจะโฟกัสไปที่จำนวนน้ำหนักของทองคำที่จะซื้อเก็บ ก็ไม่จำเป็นที่จะต้องคำนึงถึงราคาว่าวันนี้แพงกว่าเมื่อวานไปเท่าไหร่ แต่ที่น่าจะต้องนึกถึงคือจำนวนกี่ออนซ์

เราต้องการที่จะปกป้องมาตรฐานการครองชีพของเราอย่างไร ถ้าเกิดเงินเฟ้อ 10% หรือ 15% ...อย่าลืมว่ามันเคยเกิดขึ้นถึง 14% ในปี 1980 ....โอกาสที่จะเกิดเงินเฟ้อสูงก็เป็นไปได้มาก ดังนั้นถ้าคิดจะใช้ทองคำเป็นตัวรักษาระดับมาตรฐานการครองชีพของคุณล่ะก็ คุณต้องใช้ทองคำ 2/3 ออนซ์ทดแทนเงินสดทุกๆ $1,000 สำหรับค่าใช้จ่ายรายเดือน ดังนั้นถ้าเงินเฟ้อเกิดต่อเนื่องสักสองปี คุณๆก็จะต้องมีทองคำไว้ 15 ออนซ์ ถึงจะดำรงมาตรฐานการครองชีพเดิมๆไปได้ทุกเดือน...ราคาของทองคำอาจจะสูงกว่าราคาปัจจุบันในเทอมของเงินดอลล่าร์ แต่มันก็ต้องไป offset กับราคาสินค้าจำเป็นที่สูงขึ้นเช่นกัน

นั่นพอจะอธิบายได้ว่าทำไมคุณถึงต้องคำนึงถึงปริมาณน้ำหนักของทองคำที่ต้องมีไว้..แทนที่จะเป็นจำนวนเปอร์เซนต์ของพอร์ท"....

บางทีผู้แนะนำการลงทุนอาจจะไม่ต้องการบอกให้ผู้ประกันตนในกองทุนบำเหน็จบำนาญตื่นตระหนกก็ได้ จึงแนะนำอะไรแบบนั้น

Cr.Sayan Rujiramora

เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี!!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b  
Line ID:@fxhanuman
Web : https://www.fxhanuman.com
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/

#forex #ลงทุน #peppers #xm #fbs #exness #uag #icmarkets #avatrade #fxtm #tickmill #fxpro #fxopen #fxcl #forex3d #forex4you

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"