forex_calendar

1.  ตั้งเวลาให้ตรงกับประเทศไทยคือ (GMT+7:00) Bangkok, Hanoi, Jakarta
2.  ไว้สำหรับเลือกวันที่ต้องการดูข่าว
3.  เวลาข่าวออก
4.  ตระกูลเงินของข่าว
5.  ความรุนแรงของข่าว
6.  เหตุการณ์ของข่าว
7.  ค่าตัวเลขจริงที่ออก
8.  ค่าตัวเลขคาดการณ์
9.  ค่าตัวเลขครั้งก่อน

forex_calendar

เมื่อถึงเวลาข่าวออกตัวเลขค่าจริงจะแสดงออกมาในช่อง Actual ซึ่งจะมีสีแตกต่างกันดังนี้

  • ตัวเลขออกเป็นสีเขียวแสดงตัวเลขดีกว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีแดงแสดงว่าตัวเลขแย่กว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีดำแสดงว่าตัวเลขเท่ากับค่าที่คาดการณ์หรือใกล้เคียงกับสถิติเดิม (Previous)

 

สิ่งที่ต้องสนใจในการเทรดข่าว Forex

 

1.  เรื่องค่าสกุลเงิน ถ้าเทรดสกุลไหนก็ต้องสนใจเฉพาะสกุลนั้น เช่นถ้าเราเช่น EUR/USD ก็สนใจเฉพาะข่าวของ USD และ EUR และเราต้องรู้ด้วยว่าถ้าข่าวออกมาจะทำให้ค่าเงินเราขึ้นหรือลง เช่น ถ้าเราเล่น EUR/USD ถ้าข่าวดอลลาร์สหรัฐออกมาดีแสดงคู่เงินที่มี USD อยู่หลังกราฟจะลง แต่ถ้าข่าว USD ออกมาไม่ดีกราฟจะขึ้น ในทางกลับกันถ้าข่าว EUR ออกมาดีกราฟจะขึ้นแต่ถ้าข่าว EUR ออกมาไม่ดีกราฟจะลง

2. เรื่องระดับความแรงของข่าว ระดับความแรงขอข่าวจะมีสามระดับดังรูป

forex_calendar

3. ค่าตัวเลขจริงที่ออก(Actual) ถ้าค่าตัวเล่นจริงที่ออกมาต่างจากค่าก่อนหน้า(Previous)มาก ยิ่งมีผลทำให้ค่าเงินวิ่งขึ้นลงแรงมาก แต่ก็ขึ้นอยู่กับความแรงของข่าวด้วย

รายงานพิเศษ: สหรัฐกำลังเปลี่ยนนโยบาย 'ดอลลาร์'?

ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ อ่อนตัวลงหลังจากที่ความเห็นของเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางสหรัฐ ได้ช่วยสนับสนุนการคาดการณ์ที่ว่าธนาคารกลางสหรัฐจะลดดอกเบี้ยอย่างรุนแรงในเดือนนี้เพื่อแก้ปัญหาเงินเฟ้อ โดยในสัปดาห์ที่ผ่านมา

ดอลลาร์ได้อ่อนตัวลงประมาณ 0.4% เมื่อเทียบกับเงินเยน

อย่างไรก็ดี ก่อนหน้านี้ได้มีการจับตาค่าเงินดอลลาร์มาสักระยะหนึ่งแล้วหลังจากที่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ได้ออกมาบ่นถี่ขึ้นว่า ประเทศอื่นทำให้ค่าเงินอ่อนเพื่อทำให้ได้เปรียบทางการค้าอย่างไม่เป็นธรรม และทรัมป์ยังต้องการให้ดอลลาร์อ่อนลงเพื่อที่จะแข่งขันกับประเทศอื่นได้

ความเห็นของทรัมป์ ทำให้เกิดการคาดการณ์กันว่าทรัมป์ อาจสั่งให้ขายเงินดอลลาร์ โดยนักเศรษฐศาสตร์ของซิตี้แบงก์ได้ตั้งข้อสังเกตเมื่อเร็ว ๆ นี้ว่า ภาวะต่าง ๆ ในขณะนี้ดูเหมือนจะเอื้อให้คณะบริหารสหรัฐฯ แทรกแซงต่อการประเมินค่าเงินดอลลาร์ที่รับรู้กันว่าสูงเกินไป

จากข้อมูลของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ค่าเงินดอลลาร์ใกล้แข็งค่ามากสุดในรอบหลายทศวรรษ โดยอย่างน้อยได้แข็งค่าขึ้นมากกว่าปัจจัยพื้นฐาน 6%

ทรัมป์ได้โจมตีธนาคารกลางสหรัฐซ้ำแล้วซ้ำเล่าที่ได้ขึ้นดอกเบี้ยในช่วงที่ผ่านมา โดยบอกว่า ดอกเบี้ยที่สูงขึ้นกำลังยับยั้งการเติบโตของเศรษฐกิจสหรัฐฯ แต่ถึงแม้ว่าในขณะนี้มีสัญญาณมากขึ้นว่าเฟดจะลดดอกเบี้ยในปลายเดือนนี้ อัตราดอกเบี้ยที่ต่ำลง ก็ไม่น่าจะทำให้ดอลลาร์อ่อนลงไปอยู่ในระดับที่ทรัมป์ต้องการได้

การอ่อนตัวของเงินดอลลาร์อาจช่วยให้ธุรกิจสหรัฐฯ แข่งขันได้ทั่วโลกโดยทำให้สินค้าส่งออกแพงน้อยลงซึ่งจะช่วยหนุนเศรษฐกิจและมีแนวโน้มที่จะช่วยหนุนให้ทรัมป์ได้รับเลือกตั้งอีกครั้งในปีหน้า

อย่างไรก็ตาม การแทรกแซงค่าเงินอาจทำให้ประเทศอื่น ๆ ทำตาม ซึ่งจะเป็นผลเสียต่อเงินดอลลาร์ในฐานะที่เป็นเงินสำรองของโลกและทำให้เกิดความวุ่นวายในตลาดได้

ยังไม่มีความชัดเจนเช่นกันว่า คณะบริหารของทรัมป์จะสามารถทำให้ดอลลาร์อ่อนตัวลงโดยไม่ได้รับความช่วยเหลือจากธนาคารกลาง หรือจะได้อำนาจใหม่จากสภาคองเกรส

ไม่ใช่เรื่องปกติที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯ จะพูดเพื่อทำให้ดอลลาร์อ่อนลง แต่มันก็ได้ผลมาแล้ว แม้ว่ามันอาจจะได้ผลน้อยลงเมื่อเร็ว ๆ นี้ และเพื่อที่จะทำให้ดอลลาร์อ่อนลงอีก กระทรวงการคลังสหรัฐฯ อาจขายดอลลาร์เพื่อซื้อเงินต่างชาติโดยใช้ทุนสำรองที่มีอยู่

สหรัฐฯ ไม่ได้ขายดอลลาร์เลยนับตั้งแต่ที่ได้ขายไป 1,300 ล้านดอลลาร์ในเดือนกันยายน 2543 ตามส่วนหนึ่งของความพยายามร่วมกันของนานาประเทศที่จะต่อสู้กับการล่มสลายของเงินยูโร

ทุนสำรองจำนวน 126,000 ล้านดอลลาร์ของอเมริกา ส่วนใหญ่อยู่ในกองทุนการสร้างเสถียรภาพอัตราแลกเปลี่ยน (อีเอสเอฟ) แต่หากรัฐบาลสหรัฐฯ ขายเงินดอลลาร์แต่เพียงลำพัง ก็อาจทำให้เกิดสงครามค่าเงินได้ ซึ่งสหรัฐฯ อาจจะมีขีดความสามารถไม่เพียงพอที่จะชนะได้เพราะว่ามีกองทุนบริหารความเสี่ยงจำนวนมากที่มีอิทธิพลและมีเงินมากกว่านี้

เมื่อเทียบกับจีน ซึ่งมีทุนสำรองถึง 3.1 ล้านล้านดอลลาร์ ทุนสำรองของสหรัฐฯ ถือว่าจิ๊บจ๊อยมาก และในขณะนี้มีการซื้อขายในตลาดเงินโลกถึงวันละประมาณ 5 ล้านล้านดอลลาร์

สตีเวน มนูชิน รัฐมนตรีคลังสหรัฐฯ ได้ให้สัมภาษณ์ไว้ว่า กองทุนอีเอสเอฟตั้งขึ้นเพื่อลดความตึงเครียดในตลาดเงินตรา ความเห็นนี้อาจถือได้ว่าเป็นการบ่งบอกว่ารัฐบาลวอชิงตันไม่ได้มองว่ากองทุนอีเอสเอฟจะเป็นหนทางที่รัฐบาลวอชิงตันจะใช้ทำให้ดอลลาร์อ่อนตัวลง

โฆษกกระทรวงการคลังก็ได้ออกมารับลูกมนูชินว่า นโยบายดอลลาร์โดยรวมของกระทรวงการคลังยังไม่เปลี่ยนแปลง

โจเซฟ แก็กนอน นักวิชาการ ปีเตอร์สัน อินสติติว ฟอร์ อินเตอร์เนชันแนล อีโคโนมิคส์ ซึ่งเป็นอดีตนักเศรษฐศาสตร์ ของกระทรวงการคลังและธนาคารกลางสหรัฐ กล่าวว่า คณะบริหารสหรัฐฯ อาจหาทางเข้าถึงเงินจากสภาคองเกรสมากขึ้น โดยสภาอาจเพิ่มอำนาจในการเพิ่มเพดานการกู้ยืมของกระทรวงการคลัง หรืออนุญาตให้คณะบริหารระดมเงินได้มากขึ้นเพื่อไปซื้อเงินต่างชาติ ซึ่งหากสภายกเลิกเพดานหนี้ สหรัฐฯ จะชนะสงครามค่าเงินอย่างแน่นอน

แต่เนื่องจากธนาคารกลางสหรัฐเป็นหน่วยงานอิสระและเป็นเอกเทศ การที่จะทำให้เฟดมาร่วมสังฆกรรมในการแทรกแซงดอลลาร์ด้วย น่าจะเจอความท้าทายพอสมควร

เฟดเป็นคนกำหนดอัตราดอกเบี้ยเพื่อให้เป็นไปตามอาณัติที่สภาคองเกรสให้ไว้ นั่นคือ ต้องทำให้ราคามีเสถียรภาพ มีการจ้างงานอย่างเต็มที่ และอัตราดอกเบี้ยระยะยาวอยู่ในระดับปานกลาง

การอ่อนตัวของดอลลาร์อาจทำให้การนำเข้าของสหรัฐฯ แพงขึ้นและช่วยให้เฟดเพิ่มเงินเฟ้อไปสู่เป้าหมาย 2% ที่ได้ตั้งไว้ได้ แต่การแทรกแซงในตลาดอัตราแลกเปลี่ยนเพื่อทำให้ดอลลาร์อ่อนลง จะขัดกับข้อตกลงเมื่อปี 2556 ที่รัฐมนตรีคลังและธนาคารกลางของเศรษฐกิจใหญ่สุดของโลกได้ตกลงที่จะหลีกเลี่ยงการตั้งเป้าหมายอัตราแลกเปลี่ยนเพื่อทำให้เศรษฐกิจโตตามเป้า

ยังไม่ชัดเจนว่าเฟดเต็มใจที่จะแทรกแซงค่าเงินแต่เพียงลำพังซึ่งจะทำให้ธนาคารกลางญี่ปุ่นและธนาคารกลางยุโรปไม่พอใจหรือไม่ แต่เจอโรม พาวเวลล์ ประธานธนาคารกลางยุโรปได้กล่าวเมื่อเดือนที่ผ่านมา ว่านโยบายอัตราแลกเปลี่ยนเป็นหน้าที่ของกระทรวงการคลัง

แต่ถึงแม้ว่าจะมีเงินไม่จำกัด ก็ยังไม่ชัดว่ารัฐบาลวอชิงตันสามารถควบคุมค่าเงินดอลลาร์ได้หรือไม่ เพราะดอลลาร์สะท้อนถึงความแข็งแกร่งของเศรษฐกิจสหรัฐฯ และความน่าสนใจของสินทรัพย์ของสหรัฐฯ เมื่อเทียบกับสินทรัพย์ของประเทศอื่น ๆ

ต้นตอสำคัญที่ทำให้ดอลลาร์แข็งแกร่งคือ ความอ่อนแอของเศรษฐกิจยุโรป ซึ่งได้ทำให้ธนาคารกลางยุโรป(อีซีบี)ต้องรักษาอัตราดอกเบี้ยให้ต่ำไว้ในขณะที่เฟดได้ขึ้นดอกเบี้ยมาตั้งแต่ปี 2558

ไอเอ็มเอฟประเมินว่า ค่าเงินดอลลาร์ได้แข็งค่าเมื่อเร็ว ๆ นี้เพราะว่านักลงทุนลดความสนใจต่อสินทรัพย์เสี่ยงในขณะที่มีความตึงเครียดทางการค้ามากขึ้น และเศรษฐกิจทั่วโลกชะลอตัวลง และยังกล่าวว่า การประเมินมูลค่าเงินยูโรเหมาะสมแล้วสำหรับยูโรโซนโดยรวม แต่ต่ำเกินไปสำหรับปัจจัยพื้นฐานของเยอรมนี

เอสวาร์ ประสาท ผู้เชี่ยวชาญนโยบายการค้าของมหาวิทยาลัยคอร์เนลล์ กล่าวว่า ปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจมหภาค น่าจะชนะมาตรการแทรกแซงเพื่อทำให้ดอลลาร์อ่อนตัวลง ขณะเดียวกันนักวิเคราะห์บางคนมองว่า ดอลลาร์อาจจะอ่อนตัวลงแม้ว่าสหรัฐฯ ไม่ได้แทรกแซงจริง และการคาดการณ์อย่างกว้างขวางที่ว่าการเติบโตของเศรษฐกิจสหรัฐฯ จะลดลง จะถมช่องว่างกับการเติบโตของยุโรปได้

นักเศรษฐศาสตร์ กล่าวว่า การขาดดุลงบประมาณเพิ่มขึ้นของสหรัฐฯ ก็อาจฉุดให้เงินดอลลาร์อ่อนตัวลงในระยะยาวและการคาดการณ์ที่ว่าเฟดจะลดดอกเบี้ยในเดือนนี้ และลดเพิ่มอีกในปีหน้า ก็ควรจะมีผลเกือบเป็นที่แน่นอนว่า จะฉุดให้ดอลลาร์อ่อนตัวลง

ถ้ารัฐบาลสหรัฐฯ ตัดสินใจเปลี่ยนแปลงนโยบายดอลลาร์ตามที่สังหรณ์ใจกันในขณะนี้จริง ก็น่าจะมีผลต่อ “เงินบาท” เช่นกัน .. ต้องเตรียมรับมือกันไว้ให้ดี

Source: ข่าวหุ้น

- Trump's right on the money: IMF finds the US dollar is overvalued, the Euro is undervalued for Germany :

คลิก

- นักลงทุนลดคาดการณ์เฟดหั่นดบ. 0.50% เดือนนี้ หลังเฟดเซนต์หลุยส์ส่งสัญญาณลดเพียง 0.25% :

คลิก

Cr.Bank of Thailand Scholarship Students

เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี!!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b  
Line ID:@fxhanuman
Web : https://www.fxhanuman.com
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/

#forex #ลงทุน #peppers #xm #fbs #exness #uag #icmarkets #avatrade #fxtm #tickmill #fxpro #fxopen #fxcl #forex3d #forex4you

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"