forex_calendar

1.  ตั้งเวลาให้ตรงกับประเทศไทยคือ (GMT+7:00) Bangkok, Hanoi, Jakarta
2.  ไว้สำหรับเลือกวันที่ต้องการดูข่าว
3.  เวลาข่าวออก
4.  ตระกูลเงินของข่าว
5.  ความรุนแรงของข่าว
6.  เหตุการณ์ของข่าว
7.  ค่าตัวเลขจริงที่ออก
8.  ค่าตัวเลขคาดการณ์
9.  ค่าตัวเลขครั้งก่อน

forex_calendar

เมื่อถึงเวลาข่าวออกตัวเลขค่าจริงจะแสดงออกมาในช่อง Actual ซึ่งจะมีสีแตกต่างกันดังนี้

  • ตัวเลขออกเป็นสีเขียวแสดงตัวเลขดีกว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีแดงแสดงว่าตัวเลขแย่กว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีดำแสดงว่าตัวเลขเท่ากับค่าที่คาดการณ์หรือใกล้เคียงกับสถิติเดิม (Previous)

 

สิ่งที่ต้องสนใจในการเทรดข่าว Forex

 

1.  เรื่องค่าสกุลเงิน ถ้าเทรดสกุลไหนก็ต้องสนใจเฉพาะสกุลนั้น เช่นถ้าเราเช่น EUR/USD ก็สนใจเฉพาะข่าวของ USD และ EUR และเราต้องรู้ด้วยว่าถ้าข่าวออกมาจะทำให้ค่าเงินเราขึ้นหรือลง เช่น ถ้าเราเล่น EUR/USD ถ้าข่าวดอลลาร์สหรัฐออกมาดีแสดงคู่เงินที่มี USD อยู่หลังกราฟจะลง แต่ถ้าข่าว USD ออกมาไม่ดีกราฟจะขึ้น ในทางกลับกันถ้าข่าว EUR ออกมาดีกราฟจะขึ้นแต่ถ้าข่าว EUR ออกมาไม่ดีกราฟจะลง

2. เรื่องระดับความแรงของข่าว ระดับความแรงขอข่าวจะมีสามระดับดังรูป

forex_calendar

3. ค่าตัวเลขจริงที่ออก(Actual) ถ้าค่าตัวเล่นจริงที่ออกมาต่างจากค่าก่อนหน้า(Previous)มาก ยิ่งมีผลทำให้ค่าเงินวิ่งขึ้นลงแรงมาก แต่ก็ขึ้นอยู่กับความแรงของข่าวด้วย

รายงานพิเศษ: 'สิงคโปร์' ไม่ใช่เหยื่อรายสุดท้าย

การหดตัวอย่างไม่คาดคิดของเศรษฐกิจสิงคโปร์ในช่วงไตรมาสสองเป็นการส่งสัญญาณให้เห็นว่าเศรษฐกิจทั่วโลกได้รับผลกระทบจากสงครามการค้าระหว่างจีนและสหรัฐฯ เพียงไรรัฐบาลสิงคโปร์เปิดเผยเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี)

ในช่วงไตรมาสสองโตต่ำสุดในรอบสิบปีเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า และยังโตลดลงอย่างรุนแรงเมื่อเทียบกับไตรมาสหนึ่ง เนื่องจากว่าภาคการผลิตยังคงโตลดลงอย่างต่อเนื่อง

เมื่อเทียบกับไตรมาสสองของปีที่แล้ว จีดีพีขยายตัวเพียง 0.1% จากที่ผลสำรวจของรอยเตอร์คาดการณ์ ไว้ 1.1% และยังโตต่ำกว่าจีดีพีไตรมาสหนึ่งซึ่งอยู่ที่ 1.1% เมื่อปรับตัวเลขตามฤดูกาลแล้ว ส่วนเมื่อเทียบกับไตรมาสหนึ่ง จีดีพีไตรมาสสองหดตัว 3.4% จากที่คาดว่าจะขยายตัว 0.1% และจากที่ขยายตัว 3.8% ในช่วงไตรมาสหนึ่ง

นี่เป็นการหดตัวรายไตรมาสเป็นครั้งแรกในรอบเกือบ 7 ปี นับตั้งแต่ที่จีดีพีหดตัว 4.1% ในช่วงไตรมาสสามของปี 2555 และยังเป็นตัวเลขไตรมาสสองที่ต่ำกว่าการคาดการณ์ที่เลวร้ายที่สุด

สาเหตุสำคัญที่ทำให้เศรษฐกิจสิงคโปร์หดตัวยังคงอยู่ที่ภาคผลิต โดยในช่วงไตรมาสสอง ภาคผลิตหดตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า 3.8% หลังจากที่หดตัว 0.4% ในช่วงไตรมาสหนึ่ง

เจ้าหน้าที่สิงคโปร์ได้กล่าวในก่อนหน้านี้ว่าจะทบทวนการเติบโตของจีดีพีในปีนี้ทั้งปีใหม่ จากที่คาดว่าจะโตระหว่าง 1.5-2.5% และนักวิเคราะห์จำนวนหนึ่งกล่าวว่า สิงคโปร์อาจจะเกิดภาวะถดถอยในปีหน้า และคาดว่าทางการสิงคโปร์จะต้องลดประมาณการเติบโตในปีนี้ทั้งปีลงเหลือ 0.5-1.5%

อัตราผลผลิตในการผลิตอิเล็กโทรนิกส์ ซึ่งเป็นตัวขับเคลื่อนหลักของเศรษฐกิจสิงคโปร์ในช่วงสองปีที่ผ่านมา ได้ลดลงเป็นเดือนที่หกติดต่อกันในเดือนพฤษภาคม ในขณะที่การส่งออกลดลงมากสุดในรอบกว่าสามปี

เศรษฐกิจสิงคโปร์ก็เหมือนกับเศรษฐกิจเกาหลีใต้ ซึ่งมักถือเป็นจ่าฝูงที่จะวัดดีมานด์ทั่วโลกเนื่องจากเศรษฐกิจพึ่งพาอย่างหนักต่อการค้าต่างประเทศแต่ข้อมูลทั้งในเอเชียและยุโรปชี้ว่า กิจกรรมของโรงงานหดตัวในเดือนมิถุนายน ในขณะที่กิจกรรมโรงงานในสหรัฐฯ ก็ขยายตัวเพียงเล็กน้อยเท่านั้น

บทวิเคราะห์ของเมย์แบงก์ กิมเอ็ง รีเสิร์ช ระบุว่า จีดีพีของสิงคโปร์เป็นตัวชี้ว่าประเทศอื่นในเอเชียมีความเสี่ยงที่จะชะลอตัวลงอย่างรุนแรง

จากตัวเลขของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) เอเชียเป็นเครื่องยนต์ในการขับเคลื่อนการเติบโตของโลกและมีสัดส่วนต่อการขยายตัวของจีดีพีโลกมากกว่า 60%

ร็อบ ซับบาราแมน ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยมหภาคทั่วโลกและผู้อำนวยการร่วมฝ่ายวิจัยตลาดโลกของโนมูระ โฮลดิ้งส์ อิงซ์ ก็เห็นพ้องเช่นกันว่า จีดีพีสิงคโปร์ที่หดตัวลงมากเป็นลางไม่ดีสำหรับเอเชีย

การรวมเข้ากันอย่างซับซ้อนกับซัพพลายเชนในภูมิภาคและซัพพลายทั่วโลกของสิงคโปร์ ทำให้สิงคโปร์เปราะบางต่อสงครามภาษี และการชะลอตัวที่ลดลงทั่วโลก การส่งออกได้รับผลกระทบอย่างหนักในช่วงสองสามเดือนที่ผ่านมาโดยในเดือนพฤษภาคมลดลงมากสุดนับตั้งแต่ต้นปี 2556

นอกจากความตึงเครียดทางการค้าแล้ว การเติบโตของภาคเทคโนโลยีก็กำลังเย็นลง จึงส่งผลกระทบต่อแนวโน้มของสิงคโปร์ไปด้วย เนื่องจากประมาณ 40% ของการส่งออกของสิงคโปร์เป็นแผงวงจรรวม ดังนั้น การชะลอตัวในภาคเซมิคอนดักเตอร์ทั่วโลกจึงสะท้อนออกมาในตัวเลขเศรษฐกิจสิงคโปร์มากกว่าประเทศใด ๆในเอเชีย

มีการคาดการณ์ว่าความซบเซาที่เกิดขึ้นจะทำให้ธนาคารกลางสิงคโปร์คงนโยบายเงินหรืออาจจะผ่อนคลายนโยบายในเดือนตุลาคมนี้หากเมื่อถึงเวลานั้นเศรษฐกิจยังถดถอยและสงครามการค้าระหว่างจีนและสหรัฐฯ ยังไม่สามารถหาทางออกได้

อย่างไรก็ดี ในขณะนี้การเจรจาการค้าใหม่ระหว่างจีนและสหรัฐฯ ได้สร้างความเชื่อมั่นให้กับนักเศรษฐศาสตร์ได้น้อยมาก ว่าเศรษฐกิจโลกจะสามารถผ่านพ้นการชะลอตัวไปจนถึงปลายปีนี้และปีต่อไปได้

ในเดือนที่ผ่านมานักวิเคราะห์ของมอร์แกนสแตนลีย์ ได้ลดประมาณการของทั้งปีนี้และปีหน้าลงประมาณปีละ 0.20% โดยคาดว่าปีนี้จะโตเพียง 3% ส่วนปีหน้าจะโตขึ้นนิดหน่อยที่ 3.2%

ทางออกของสงครามการค้าระหว่างจีนและสหรัฐฯ ยังเป็นเรื่องที่คาดเดาได้ยากและเปลี่ยนแปลงไปมาจนน่าปวดหัว ตลาดการเงินเพิ่งสบายใจกับเรื่องนี้หลังมีการประชุมระหว่างประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ และประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ในการประชุมจี20 ได้ไม่นาน

แม้ทั้งสองฝ่ายตกลงเริ่มเจรจากันใหม่และหยุดเก็บภาษีชั่วคราว แต่ในขณะนี้ ดูเหมือนตลาดต้องกลับมาวิตกกันอีกครั้ง หลังจากที่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ได้ออกมาพูดเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมาว่า จีนไม่ทำตามสัญญาที่บอกว่าจะซื้อสินค้าเกษตรจากเกษตรกรสหรัฐ ฯ

แม้ว่าความเห็นนี้ไม่ได้ทำให้ตลาดเคลื่อนไหวมาก แต่มันก็ช่วยย้ำเตือนว่าอะไรก็อาจจะเกิดขึ้นได้ นอกจากนี้ในขณะนี้ยังมีแนวโน้มว่า ทรัมป์จะเปิดฉากทำสงครามการค้ากับฝรั่งเศสอีกชาติในเร็ว ๆ นี้ หลังจากที่สภาสูงฝรั่งเศสอนุมัติให้เก็บภาษีดิจิทัลท้าทายคำขู่ของทรัมป์

เมื่อวันพุธที่ผ่านมา ทรัมป์สั่งให้สอบสวนแผนการของฝรั่งเศสที่จะเก็บภาษีบริษัทเทคโนโลยี 3% โดยมองว่ามาตรการนี้เป็นการพุ่งเป้าไปที่บริษัทสหรัฐฯ และ การสอบสวนนี้อาจทำให้สหรัฐฯ เก็บภาษีใหม่หรือจำกัดการค้าในรูปแบบอื่น ๆ ต่อฝรั่งเศส ซึ่งน่าไม่น่าจะเป็นผลดีต่อการค้าโลกโดยรวม

เชื่อว่าเหยื่อสงครามการค้าคงไม่ได้หยุดแค่สิงคโปร์ น่าจะมีอีกหลายชาติที่ตกเป็นเหยื่ออีก โดยเฉพาะเศรษฐกิจในเอเชียที่พึ่งพาการส่งออกอย่างหนัก ...จากนี้ไปเราคงได้เห็นตัวเลข “จีดีพี” น่าเกลียดอย่างไม่ขาดสาย

Source: ข่าวหุ้น

เพิ่มเติม
- Growth slumps to 27-year low in China, with talk of more aggressive stimulus measures :

คลิก

- Singapore economy: leaders ease recession fears as US-China trade war bites

Cr.Bank of Thailand Scholarship Students

เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี!!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b  
Line ID:@fxhanuman
Web : https://www.fxhanuman.com
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/

#forex #ลงทุน #peppers #xm #fbs #exness #uag #icmarkets #avatrade #fxtm #tickmill #fxpro #fxopen #fxcl #forex3d #forex4you

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"