forex_calendar

1.  ตั้งเวลาให้ตรงกับประเทศไทยคือ (GMT+7:00) Bangkok, Hanoi, Jakarta
2.  ไว้สำหรับเลือกวันที่ต้องการดูข่าว
3.  เวลาข่าวออก
4.  ตระกูลเงินของข่าว
5.  ความรุนแรงของข่าว
6.  เหตุการณ์ของข่าว
7.  ค่าตัวเลขจริงที่ออก
8.  ค่าตัวเลขคาดการณ์
9.  ค่าตัวเลขครั้งก่อน

forex_calendar

เมื่อถึงเวลาข่าวออกตัวเลขค่าจริงจะแสดงออกมาในช่อง Actual ซึ่งจะมีสีแตกต่างกันดังนี้

  • ตัวเลขออกเป็นสีเขียวแสดงตัวเลขดีกว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีแดงแสดงว่าตัวเลขแย่กว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีดำแสดงว่าตัวเลขเท่ากับค่าที่คาดการณ์หรือใกล้เคียงกับสถิติเดิม (Previous)

 

สิ่งที่ต้องสนใจในการเทรดข่าว Forex

 

1.  เรื่องค่าสกุลเงิน ถ้าเทรดสกุลไหนก็ต้องสนใจเฉพาะสกุลนั้น เช่นถ้าเราเช่น EUR/USD ก็สนใจเฉพาะข่าวของ USD และ EUR และเราต้องรู้ด้วยว่าถ้าข่าวออกมาจะทำให้ค่าเงินเราขึ้นหรือลง เช่น ถ้าเราเล่น EUR/USD ถ้าข่าวดอลลาร์สหรัฐออกมาดีแสดงคู่เงินที่มี USD อยู่หลังกราฟจะลง แต่ถ้าข่าว USD ออกมาไม่ดีกราฟจะขึ้น ในทางกลับกันถ้าข่าว EUR ออกมาดีกราฟจะขึ้นแต่ถ้าข่าว EUR ออกมาไม่ดีกราฟจะลง

2. เรื่องระดับความแรงของข่าว ระดับความแรงขอข่าวจะมีสามระดับดังรูป

forex_calendar

3. ค่าตัวเลขจริงที่ออก(Actual) ถ้าค่าตัวเล่นจริงที่ออกมาต่างจากค่าก่อนหน้า(Previous)มาก ยิ่งมีผลทำให้ค่าเงินวิ่งขึ้นลงแรงมาก แต่ก็ขึ้นอยู่กับความแรงของข่าวด้วย

งัดมาตรการสกัด'บาทแข็ง'

แบงก์ชาติ" ลดวงเงินออกบอนด์ระยะสั้น 3 รุ่น รวมวงเงิน 2 หมื่นล้าน นักวิเคราะห์ ฟันธงหวังลดแรงเก็งกำไรค่าเงินบาท แต่เชื่อได้ผลน้อย เหตุในอดีตเคยดำเนินมาตรการนี้แล้ว แต่ยังพบทุนนอกไหลเข้าต่อเนื่อง ผ่านบอนด์ระยะยาว ขณะ ค่าเงินบาทล่าสุด

 

แข็งแตะระดับ 30.52 บาทต่อดอลลาร์ สูงสุดรอบ 6 ปี

ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) ประกาศแผนการออกประมูลพันธบัตรธปท. ประจำเดือนก.ค.2562 พบว่า ในเดือน ดังกล่าว ธปท. ได้ลดวงเงินการประมูลพันธบัตรลง 3 รุ่น ได้แก่ รุ่นอายุ 3 เดือน ลดลง 5 พันล้านบาท เหลือเดือนละ 3.5 หมื่นล้านบาท รุ่นอายุ 6 เดือนลดลง 5 พันล้านบาท เหลือเดือนละ 4 หมื่นล้านบาท และ รุ่นอายุ 1 ปี ลดลง 1 หมื่นล้านบาท เหลือเดือนละ 3.5 หมื่นล้านบาท

นายนริศ สถาผลเดชา ผู้บริหาร ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจทีเอ็มบี หรือ TMB Analytics กล่าวว่า สาเหตุที่ ธปท.ลดวงเงินการออกประมูลพันธบัตรดังกล่าว คาดว่าเพื่อต้องการสกัดเงินร้อนที่เข้ามาพักเงินหรือเก็งกำไรค่าเงินบาท ผ่านการลงทุนในตราสารหนี้(บอนด์) ระยะสั้น

"การลดลงในรุ่น 3 เดือนและ 6 เดือน เชื่อว่าหลักๆ เพื่อสกัดเงินร้อน ส่วนการลดในรุ่นอายุ 1ปี วัตถุประสงค์หลักอาจไม่ใช่เพื่อลดการเก็งกำไร เท่ากับรุ่น 3 และ 6 เดือน เพราะก่อนหน้านี้การออกบอนด์ระยะ 1 ปี มีการเปลี่ยนแปลงวงเงินค่อนข้างบ่อย เมื่อเทียบกับบอนด์ระยะสั้นที่มักจะออกคงที่มาโดยตลอด"

อย่างไรก็ตาม แม้ ธปท. จะใช้วิธีลดการออกบอนด์ เพื่อลดแรงกดดันค่าเงินบาทจากเงินทุนที่ไหลเข้ามาเก็งกำไร แต่เชื่อว่ามาตรการดังกล่าวอาจได้ผลเพียงแค่ระยะสั้นเท่านั้น

นายนริศ กล่าวว่า ถ้าดูผลของมาตรการลดการออกบอนด์ระยะสั้น ซึ่ง ธปท. เคยดำเนินการเมื่อเดือนเม.ย.2560 พบว่า ประสิทธิผลมีค่อนข้างจำกัด และพบว่า มาตรการนี้ไม่สามารถลดเงินทุนที่ไหลเข้าสู่ตลาดพันธบัตรระยะสั้นได้ชัดเจนนัก เพราะช่วงหลังของการออกมาตรการ พบว่า ทิศทางการไหลของเงินทุนแต่ละเดือนมีการเคลื่อนไหวแตกต่างกัน ไม่ได้มีแนวโน้มที่ลดลงอย่างชัดเจน

นอกจากนี้ มาตรการลดการออกพันธบัตรระยะสั้น ไม่สามารถชะลอการแข็งค่าของเงินบาทได้ เนื่องจาก ไม่ได้ส่งผลต่อตลาดพันธบัตรระยะยาว ที่สุดท้ายแม้จะมีการดำเนินการมาตรการนี้ออกมา เงินทุน ต่างประเทศยังคงไหลเข้าตลาดพันธบัตรระยะยาว และส่งผลให้ค่าเงินบาทแข็งค่าต่อเนื่องต่อไปจนถึงกลางปี 2561

ด้านศูนย์วิจัยกสิกรไทย ระบุว่า จากการตรวจสอบรายละเอียดของตารางกำหนดการประมูลตราสารหนี้ ซึ่งธปท. ปรับปรุงล่าสุดเมื่อวันที่ 28 มิ.ย. 2562 พบว่า ธปท. มีการปรับลดวงเงินการออกพันธบัตรระยะสั้นอีกครั้ง ซึ่งแม้จะไม่มีการประกาศโดยตรงว่า การดำเนินการดังกล่าว เป็นมาตรการดูแลค่าเงินบาท แต่คงต้องยอมรับว่า ในช่วงก่อนหน้านี้ (ตั้งแต่ปี 2560) ธปท. เคยใช้การลดวงเงินการออกพันธบัตร ระยะสั้น มาเป็นเครื่องมือช่วยชะลอกระแสเงินทุนไหลเข้า หรือลดแรงจูงใจไม่ให้นักลงทุนต่างชาติใช้พันธบัตรระยะสั้นของไทยเป็นที่พักเงินในช่วงเวลาที่ตลาดเงิน-ตลาดทุนโลกมีความผันผวน เพราะเงินบาทมักถูกมองเป็น สินทรัพย์ที่มีความปลอดภัย ประกอบกับไทยมีการบันทึกยอดเกินดุลบัญชีเดินสะพัดในระดับสูงตลอดหลายปีที่ผ่านมา

ทั้งนี้ การปรับลดการออกบอนด์ ระยะสั้นครั้งนี้ ยังเป็นช่วงจังหวะเดียวกันกับที่มีแรงหนุนให้เงินบาท แตะระดับแข็งค่าสุดในรอบ 6 ปี ที่ระดับ 30.52 บาทต่อ ดอลลาร์( 1ก.ค.) ซึ่งยิ่งกระตุ้นให้ตลาดมีความระมัดระวังและรอติดตามสัญญาณบ่งชี้ว่า ธปท.เตรียมที่จะออกมาตรการดูแลความเคลื่อนไหวของค่าเงินบาท หลังคณะกรรมการนโยบายการเงิน มีความกังวลต่อสถานการณ์ค่าเงินบาท ที่แข็งค่าเร็ว และไม่สอดคล้องกับปัจจัยพื้นฐาน

อย่างไรก็ตาม ศูนย์วิจัยมองว่า แม้การปรับลดวงเงินการออกพันธบัตรระยะสั้น ถือเป็นเครื่องมือแรกๆที่ธปท.นำมาใช้เพื่อช่วยชะลอกระแสเงินทุนไหลเข้าระยะสั้น แต่ยังมีอีกหลายปัจจัยที่มีผลต่อเงินทุนเคลื่อนย้ายในภาพรวมของ นักลงทุนต่างชาติ เพราะหากดูการประกาศใช้มาตรการดังกล่าวในช่วงที่ผ่านมา ทำให้นักลงทุนมีการปรับพอร์ตไปลงทุน ในบอนด์ระยะยาวขึ้น และถือบอนด์สั้นลดลง

ดังนั้นจำเป็นที่ต้องจับตา ทิศทางเงินทุนเคลื่อนย้ายระยะสั้น และผลกระทบ ต่อทิศทางเงินบาทอย่างใกล้ชิด เพื่อ ประเมินความจำเป็นของการออกมาตรการที่มีความเหมาะสมต่อไปในระยะ ข้างหน้าด้วย

กลุ่มงานโกลบอลมาร์เก็ตส์ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) ประเมินว่า ค่าเงินบาทสัปดาห์นี้มีแนวโน้มเคลื่อนไหวในกรอบ 30.40-30.80 ต่อดอลลาร์ เทียบกับระดับปิดแข็งค่าที่ 30.67 ต่อดอลลาร์เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว โดยเงินบาททำ สถิติแตะระดับแข็งค่าที่สุดในรอบ 6 ปีครั้งใหม่

ทั้งนี้ บรรยากาศการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงสดใสมากขึ้น โดยเงินหยวนแข็งค่า หลังตลาดคลายความวิตกเกี่ยวกับข้อ ขัดแย้งทางการค้าหลังการประชุม G20 ซึ่งสหรัฐฯ และจีนตกลงที่จะเริ่มเจรจาอีกครั้ง โดยประธานาธิบดีทรัมป์เสนอการผ่อนปรนมาตรการภาษีนำเข้าใหม่ และข้อกำหนดต่อบริษัทเทคโนโลยีของจีน ทั้งนี้ สหรัฐฯ ระบุว่าจะชะลอมาตรการภาษีนำเข้าและจีนจะซื้อสินค้าเกษตรของสหรัฐเพิ่มขึ้น

Source: กรุงเทพธุรกิจ

Cr.Bank of Thailand Scholarship Students

เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี!!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b  
Line ID:@fxhanuman
Web : https://www.fxhanuman.com
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/

#forex #ลงทุน #peppers #xm #fbs #exness #uag #icmarkets #avatrade #fxtm #tickmill #fxpro #fxopen #fxcl #forex3d #forex4you

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"