forex_calendar

1.  ตั้งเวลาให้ตรงกับประเทศไทยคือ (GMT+7:00) Bangkok, Hanoi, Jakarta
2.  ไว้สำหรับเลือกวันที่ต้องการดูข่าว
3.  เวลาข่าวออก
4.  ตระกูลเงินของข่าว
5.  ความรุนแรงของข่าว
6.  เหตุการณ์ของข่าว
7.  ค่าตัวเลขจริงที่ออก
8.  ค่าตัวเลขคาดการณ์
9.  ค่าตัวเลขครั้งก่อน

forex_calendar

เมื่อถึงเวลาข่าวออกตัวเลขค่าจริงจะแสดงออกมาในช่อง Actual ซึ่งจะมีสีแตกต่างกันดังนี้

  • ตัวเลขออกเป็นสีเขียวแสดงตัวเลขดีกว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีแดงแสดงว่าตัวเลขแย่กว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีดำแสดงว่าตัวเลขเท่ากับค่าที่คาดการณ์หรือใกล้เคียงกับสถิติเดิม (Previous)

 

สิ่งที่ต้องสนใจในการเทรดข่าว Forex

 

1.  เรื่องค่าสกุลเงิน ถ้าเทรดสกุลไหนก็ต้องสนใจเฉพาะสกุลนั้น เช่นถ้าเราเช่น EUR/USD ก็สนใจเฉพาะข่าวของ USD และ EUR และเราต้องรู้ด้วยว่าถ้าข่าวออกมาจะทำให้ค่าเงินเราขึ้นหรือลง เช่น ถ้าเราเล่น EUR/USD ถ้าข่าวดอลลาร์สหรัฐออกมาดีแสดงคู่เงินที่มี USD อยู่หลังกราฟจะลง แต่ถ้าข่าว USD ออกมาไม่ดีกราฟจะขึ้น ในทางกลับกันถ้าข่าว EUR ออกมาดีกราฟจะขึ้นแต่ถ้าข่าว EUR ออกมาไม่ดีกราฟจะลง

2. เรื่องระดับความแรงของข่าว ระดับความแรงขอข่าวจะมีสามระดับดังรูป

forex_calendar

3. ค่าตัวเลขจริงที่ออก(Actual) ถ้าค่าตัวเล่นจริงที่ออกมาต่างจากค่าก่อนหน้า(Previous)มาก ยิ่งมีผลทำให้ค่าเงินวิ่งขึ้นลงแรงมาก แต่ก็ขึ้นอยู่กับความแรงของข่าวด้วย

บาทแข็ง ซ้ำเติมเศรษฐกิจ ทุบส่งออกทรุด

ดอลลาร์อ่อนค่าหนุนเฟดปรับลดดอกเบี้ยปลายเดือนก.ค. ลุ้นรัฐบาลออก "มาตรการประคองเศรษฐกิจกระตุ้นกำลังซื้อคนชั้นกลาง-กลุ่มลูกจ้าง" แนะรัฐเอกชนร่วมสร้างกิจกรรมทางเศรษฐกิจ รับมือปัจจัยต่างประเทศดรอป "ส่งออกทรุด-สงครามการค้าขยายวงและยืดเยื้อ"

ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯปรับตัวอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก หลังจากธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ส่งสัญญาณว่า มีความเป็นไปได้ที่เฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงเร็วๆนี้ เพื่อกระตุ้นเงินเฟ้อและรับมือกับการเผชิญความเสี่ยงด้านเศรษฐกิจขาลง ประกอบกับตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรสหรัฐฯขยายตัวน้อยกว่าคาด จึงคาดว่า เฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงจากปัจจุบัน 2.25-2.50%ต่อปี ในการประชุมวันที่ 18-19 มิถุนายนนี้

ส่วนเศรษฐกิจไทยเดือนเมษายน ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)ระบุว่า ขยายตัวดีขึ้นจากเดือนมีนาคมจากอุปสงค์ในประเทศ ขณะที่บัญชีเงินทุนเคลื่อนย้ายขาดดุลสุทธิ ทั้งด้านสินทรัพย์และหนี้สินโดยสินทรัพย์ไหลออกสุทธิ 1,196 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ส่วนหนี้สินไหลออกสุทธิ 536 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยรวมตั้งแต่ต้นปีถึงเดือนเมษายน สินทรัพย์ไหลออกสุทธิ 6,070 ล้านดอลลาร์ สหรัฐฯ และหนี้สินไหลเข้า 178 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

นายเชาว์ เก่งชน กรรมการผู้จัดการ บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ"ว่า เฟดมีโอกาสยืนดอกเบี้ยในรอบประชุมดังกล่าว แต่เชื่อว่าจะใช้โอกาสนี้ส่งสัญญาณว่า เฟดมีความพร้อมที่จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยในปลายเดือนกรกฎาคม 2562 เพื่อประคองเศรษฐกิจ โดยอาจลดลง 0.25% ไม่จำเป็นต้องปรับลดลงมากตามตลาด เพราะตัวเลขภาพรวมเศรษฐกิจสหรัฐฯไม่แย่มาก ยังมีการจ้างงานต่อเนื่อง

ส่วนคณะกรรมการนโยบายการเงิน(กนง.)ของไทยยังมีโจทย์เรื่องเสถียรภาพจากความเปราะบางหลายเรื่องจากการดำเนินนโยบายอัตราดอกเบี้ยต่ำและโจทย์ของรัฐบาลใหม่ ดังนั้นกนง.จะไม่รีบทำอะไร โดยยืนดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ 1.75% ต่อปีในการประชุมวันที่ 26 มิถุนายนนี้ และรัฐบาลใหม่มีโอกาสที่จะใช้นโยบายการคลังมากกว่านโยบายทางการเงิน

นายสมประวิณ มันประเสริฐ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสายงานวิจัย ธนาคาร กรุงศรีอยุธยา จำกัด(มหาชน)กล่าวว่า ปีนี้ไม่น่าจะเห็นเฟดปรับลดดอกเบี้ยลงเพราะเศรษฐกิจสหรัฐฯเพิ่งส่งสัญญาณทรงตัวยังไม่ปรับตัวชะลออย่างชัดเจน และกนง.ไม่จำเป็นต้องตอบสนองในเร็ววัน โดยมองว่า กนง.ยังคงยืนดอกเบี้ยนโยบายทั้งปีนี้และปีหน้า เพราะจะเป็นเรื่องให้บริษัทที่ประสบปัญหาสามารถเข้าถึงแหล่งทุนภายใต้กรอบความเสี่ยงที่เหมาะสม

"ช่วงที่เหลือนโยบายการคลังจะมีบทบาทสำคัญที่จะต้องทำใน 2 ส่วนคือ ประคองและและขับเคลื่อนเศรษฐกิจจากภายในประเทศ ขณะที่ปัจจัยเสี่ยงจากต่างประเทศขยายวงกว้างขึ้น เช่น มาตรการช่วยกระตุ้นการใช้จ่ายในกลุ่มชนชั้นกลางหรือ กลุ่มลูกจ้างที่ได้รับผลกระทบน้อย แต่อย่าใช้มาตรการที่เป็นภาระผูกพันระยะยาว หรือสร้างความไม่มีเสถียรภาพ เพราะหนี้ครัวเรือนไทยที่อยู่ในระดับสูง ขณะที่ปัจจัยต่างประเทศยังมีความเสี่ยงทั้งสงครามการค้าที่ยืดเยื้อแรงส่งหลักปีนี้ยังเป็นการใช้จ่ายภาครัฐและการลงทุน ซึ่งถ้าสามารถเร่ง 2 ตัวนี้ก็จะช่วยให้ความเชื่อมั่นกลับมาดีขึ้น"

นายนริศ สถาผลเดชา เจ้าหน้าที่บริหาร ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจทีเอ็มบี ธนาคาร ทหารไทยกล่าวว่า ทิศทางเงินบาทมีโอกาสแข็งค่าต่อจากแนวโน้มเงินทุนไหลกลับสู่ภูมิภาคนี้ โดยที่เงินบาทแข็งค่า 3.9% เป็นอันดับ1 นำสกุลเงินเปโซฟิลิปปินส์ที่แข็งค่า 1.7% เยนแข็งค่า 1% ขณะสกุลเงินวอนเกาหลีอ่อนค่าลง 5.6% ดอลลาร์ไต้หวันอ่อนค่า 2% และริงกิตมาเลเซียอ่อนค่าลง 0.8%

"ที่อันตรายคือ เงินบาทกระโดดแข็งค่าสูงสุด โดยแข็งกว่า ริงกิต 5% จะกระทบการค้าชายแดนและสินค้าที่แข่งขันกับมาเลเซีย และหากภาคท่องเที่ยวดีต่อเนื่องจะกดดันเงินบาทแข็งค่าต่อ ซึ่งเม็ดเงินรายได้จากนักท่องเที่ยวและเงินทุนไหลเข้ามาอีก หนีไม่พ้นธปท.ต้องดูแล แต่ทำได้ไม่มาก เพราะหากทุนสำรองเพิ่มสูงจะเข้าข่ายแทรกแซงค่าเงิน ขณะที่แนวโน้มเงินทุนไหลเข้าเร่งตัวขึ้น เฉพาะเดือนมิถุนายนนักลงทุนต่างชาติเข้าตลาดหุ้น 1.3 หมื่นล้านบาทและพันธบัตร 4.8 หมื่นล้านบาท"

ด้านนายสมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์ นักวิชาการอิสระด้านเศรษฐกิจและการเมืองกล่าวว่า แนวโน้มเศรษฐกิจไทยครึ่งปีหลังเป็นเศรษฐกิจขาลง หลังจาก 5 เดือนที่ผ่านมา เศรษฐกิจและการใช้จ่ายทั้งภายในและต่างประเทศขยับตัวช้า โดยเฉพาะภาคส่งออกติดลบมาต่อเนื่อง จึงเป็นโจทย์สำคัญของรัฐบาลใหม่ที่จะต้องเร่งเบิกจ่ายงบประมาณที่ค้างอยู่หลายแสนล้านบาท เพื่อชดเชยการส่งออกและต้องดูแลอย่าเปิดให้มีกิจกรรมนอกสภา นำนโยบายพรรคร่วมบริหารประเทศและแก้ไขโครงสร้างบางส่วน และใช้โอกาสที่ไทยเป็นประธานอาเซียนประสานประเทศในภูมิภาคเพื่อสร้างความร่วมมือทางเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน

Source: ฐานเศรษฐกิจ

Cr.Bank of Thailand Scholarship Students

เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี!!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b  
Line ID:@fxhanuman
Web : https://www.fxhanuman.com
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/

#forex #ลงทุน #peppers #xm #fbs #exness #uag #icmarkets #avatrade #fxtm #tickmill #fxpro #fxopen #fxcl #forex3d #forex4you

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"