forex_calendar

1.  ตั้งเวลาให้ตรงกับประเทศไทยคือ (GMT+7:00) Bangkok, Hanoi, Jakarta
2.  ไว้สำหรับเลือกวันที่ต้องการดูข่าว
3.  เวลาข่าวออก
4.  ตระกูลเงินของข่าว
5.  ความรุนแรงของข่าว
6.  เหตุการณ์ของข่าว
7.  ค่าตัวเลขจริงที่ออก
8.  ค่าตัวเลขคาดการณ์
9.  ค่าตัวเลขครั้งก่อน

forex_calendar

เมื่อถึงเวลาข่าวออกตัวเลขค่าจริงจะแสดงออกมาในช่อง Actual ซึ่งจะมีสีแตกต่างกันดังนี้

  • ตัวเลขออกเป็นสีเขียวแสดงตัวเลขดีกว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีแดงแสดงว่าตัวเลขแย่กว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีดำแสดงว่าตัวเลขเท่ากับค่าที่คาดการณ์หรือใกล้เคียงกับสถิติเดิม (Previous)

 

สิ่งที่ต้องสนใจในการเทรดข่าว Forex

 

1.  เรื่องค่าสกุลเงิน ถ้าเทรดสกุลไหนก็ต้องสนใจเฉพาะสกุลนั้น เช่นถ้าเราเช่น EUR/USD ก็สนใจเฉพาะข่าวของ USD และ EUR และเราต้องรู้ด้วยว่าถ้าข่าวออกมาจะทำให้ค่าเงินเราขึ้นหรือลง เช่น ถ้าเราเล่น EUR/USD ถ้าข่าวดอลลาร์สหรัฐออกมาดีแสดงคู่เงินที่มี USD อยู่หลังกราฟจะลง แต่ถ้าข่าว USD ออกมาไม่ดีกราฟจะขึ้น ในทางกลับกันถ้าข่าว EUR ออกมาดีกราฟจะขึ้นแต่ถ้าข่าว EUR ออกมาไม่ดีกราฟจะลง

2. เรื่องระดับความแรงของข่าว ระดับความแรงขอข่าวจะมีสามระดับดังรูป

forex_calendar

3. ค่าตัวเลขจริงที่ออก(Actual) ถ้าค่าตัวเล่นจริงที่ออกมาต่างจากค่าก่อนหน้า(Previous)มาก ยิ่งมีผลทำให้ค่าเงินวิ่งขึ้นลงแรงมาก แต่ก็ขึ้นอยู่กับความแรงของข่าวด้วย

กูเกิลรู้ดีว่าคุณชอบซื้ออะไร บทความ CNBC วิจารณ์หน้า Purchases ของกูเกิลลบข้อมูลยาก ปิดการติดตามการซื้อไม่ได้

เว็บ CNBC เผยแพร่บทความวิจารณ์หน้า Purchases ของกูเกิลที่อ่านอีเมลรายการซื้อขายทั้งหมดที่อยู่ในอีเมล ไม่ว่ารายการเหล่านั้นจะเป็นการซื้อสินค้าจากใครก็ตาม โดยรวมทำให้กูเกิลเห็นข้อมูลการซื้อสินค้าของเราย้อนกลับไปยาวนานหลายปี

หน้า Purchases ของกูเกิลนั้นมีมานานแล้ว โดยกูเกิลยืนยันว่ารวบรวมไว้เพื่อให้ผู้ใช้ดูเท่านั้น ไม่ได้ใช้ข้อมูลเพื่อการโฆษณาแต่อย่างใด และผู้ใช้สามารถลบข้อมูลเหล่านี้ได้ตลอดเวลา
แต่บทความของ CNBC วิจารณ์ว่าการลบข้อมูลออกจากหน้านี้ทำได้ลำบาก โดยผู้ใช้ต้องกดรายการสั่งซื้อทีละรายการ แล้วเข้าหน้าอีเมลเพื่อไปลบอีเมลอีกครั้งไม่มีทางปิดบริการอย่างง่ายๆ เหมือนข้อมูลอื่น เช่น การติดตามตำแหน่ง, รายการค้นหา, หรือการจัดการข้อมูลส่วนตัวอื่น จึงไม่ชัดเจนว่ากูเกิลจะรวบรวมข้อมูลเหล่านี้เอาไว้ทำไม เพราะข้อมูลเหล่านี้รวบมาจากรายการซื้อทั้งหมด รวมถึงบริการที่ไม่ได้ซื้อสินค้าออนไลน์ แต่เลือกที่จะให้ร้านค้าส่งอีเมลใบเสร็จรับเงินเข้าอีเมล
งาน Google I/O ปีนี้กูเกิลเน้นความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้อย่างมาก บริการใหม่ๆ เริ่มเปิดฟีเจอร์ให้สามารถจำกัดการเก็บข้อมูลได้มากขึ้นผ่านโหมด Incognito ตัว Sundar Pichai เองก็เขียนบทความลง The New York Times แสดงความสำคัญของความเป็นส่วนตัว การถูกตั้งคำถามในมุมต่างๆ ก็คงเป็นภาพสะท้อนกลับมา ที่กูเกิลต้องชี้แจงให้ชัดเจนและปรับให้เท่ากับบริการอื่นที่กูเกิลระบุว่ารักษาความเป็นส่วนตัวผู้ใช้เหมือนกัน

Source: Blognone.com 

- Google uses Gmail to track a history of things you buy — and it’s hard to delete

คลิก

Cr.Bank of Thailand Scholarship Students

เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี!!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b  
Line ID:@fxhanuman
Web : https://www.fxhanuman.com
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/

#forex #ลงทุน #pepperstone #xm #fbs #exness #uag #icmarkets #avatrade #fxtm #tickmill #fxpro #fxopen #fxcl #forex3d #forex4you

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"