forex_calendar

1.  ตั้งเวลาให้ตรงกับประเทศไทยคือ (GMT+7:00) Bangkok, Hanoi, Jakarta
2.  ไว้สำหรับเลือกวันที่ต้องการดูข่าว
3.  เวลาข่าวออก
4.  ตระกูลเงินของข่าว
5.  ความรุนแรงของข่าว
6.  เหตุการณ์ของข่าว
7.  ค่าตัวเลขจริงที่ออก
8.  ค่าตัวเลขคาดการณ์
9.  ค่าตัวเลขครั้งก่อน

forex_calendar

เมื่อถึงเวลาข่าวออกตัวเลขค่าจริงจะแสดงออกมาในช่อง Actual ซึ่งจะมีสีแตกต่างกันดังนี้

  • ตัวเลขออกเป็นสีเขียวแสดงตัวเลขดีกว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีแดงแสดงว่าตัวเลขแย่กว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีดำแสดงว่าตัวเลขเท่ากับค่าที่คาดการณ์หรือใกล้เคียงกับสถิติเดิม (Previous)

 

สิ่งที่ต้องสนใจในการเทรดข่าว Forex

 

1.  เรื่องค่าสกุลเงิน ถ้าเทรดสกุลไหนก็ต้องสนใจเฉพาะสกุลนั้น เช่นถ้าเราเช่น EUR/USD ก็สนใจเฉพาะข่าวของ USD และ EUR และเราต้องรู้ด้วยว่าถ้าข่าวออกมาจะทำให้ค่าเงินเราขึ้นหรือลง เช่น ถ้าเราเล่น EUR/USD ถ้าข่าวดอลลาร์สหรัฐออกมาดีแสดงคู่เงินที่มี USD อยู่หลังกราฟจะลง แต่ถ้าข่าว USD ออกมาไม่ดีกราฟจะขึ้น ในทางกลับกันถ้าข่าว EUR ออกมาดีกราฟจะขึ้นแต่ถ้าข่าว EUR ออกมาไม่ดีกราฟจะลง

2. เรื่องระดับความแรงของข่าว ระดับความแรงขอข่าวจะมีสามระดับดังรูป

forex_calendar

3. ค่าตัวเลขจริงที่ออก(Actual) ถ้าค่าตัวเล่นจริงที่ออกมาต่างจากค่าก่อนหน้า(Previous)มาก ยิ่งมีผลทำให้ค่าเงินวิ่งขึ้นลงแรงมาก แต่ก็ขึ้นอยู่กับความแรงของข่าวด้วย

ประวัติศาสตร์การเงินอย่างง่าย

มีประมาณห้าหรือหกคอนเซ็ปท์ที่จะทำให้เราเข้าใจในประวัติศาสตร์ของ money ..คอนเซ็ปท์ทั้งหลายเหล่านี้คือ ..barter, value, money, currency, virtual, and cyber. ถ้าคุณสามารถเข้าถึงในแต่ละคอนเซ็ปท์แล้วล่ะก็

คุณจะเข้าใจประวัติศาสตร์ของเงินตราได้อย่างถูกต้อง ..นี่คือรายละเอียดของแต่ละเรื่อง

--Barter: (การแลกเปลี่ยน) เศรษฐกิจเริ่มต้นจากการแลกเปลี่ยน ลองคิดถึงชุมชนเล็กๆ ที่ผู้คนรู้จักกันและสามารถ display สินค้าของตนเมื่อต้องการแลกเปลี่ยนกับสินค้าของผู้อื่น ซึ่งอาจจะเป็น อาหาร..เครื่องปั้นดินเผา..จิวเวลรี่..งานศิลป์..เสื้อผ้า..รองเท้า..หรือของอื่นๆนับพันชนิด ...ทั้งหมดมีจุดเริ่มมาจากบาร์เตอร์และการพัฒนาก็ต่อเนื่องมาจากจุดเริ่มนี้
.....แล้วอะไรคือจุดมุ่งหมายที่ผู้คนมาแลกเปลี่ยนกันในแบบบาร์เตอร์ล่ะ?

--Value: (มูลค่า) จุดมุ่งหมายของการบาร์เตอร์นี้ก็คือ..การแลกเปลี่ยนในสิ่งที่เรียกว่า "มูลค่า" ..เจ้าของ item ทุกๆชิ้นที่เสนอให้บาร์เตอร์ ย่อมต้องมี "มูลค่า" ต่อเจ้าของอยู่แล้ว แต่ไม่มีใครรู้ถึง "มูลค่า" ที่แน่นอนของ item นั้นต่อคนทั่วไป ..มูลค่าของ item ของคนหนึ่งจึงต้องมีการต่อรองกันจนเมคเซนส์ จนแลกกันได้กับ item ของอีกคนหนึ่ง ..ขนมปังหนึ่งก้อนจะแลกกับไข่กี่ฟองถึงจะเป็นที่พอใจ.. ทั้งหมดเริ่มจากความชอบเฉพาะตน
.....แล้วจะมีอะไรที่มาทำให้กระบวนการแลกเปลี่ยนง่ายขึ้นบ้างไหม? มีคอนเซ็ปท์อีกไหม

--Money: ถ้าเราทุกคนมีความเห็น..ตรงกันว่ามี item ชนิดหนึ่งที่มี value ที่ทุกคนต้องการ ...มันก็จะช่วยทำให้กระบวนการแลกเปลี่ยนง่ายขึ้นมากๆเลย ประวัติศาสตร์ได้เปิดตัว item ที่มาใช้เป็น money หลายชนิดแล้วเช่น เปลือกหอย ลูกปัด จนมาสิ้นสุดที่ ทองคำและซิลเวอร์ ที่ทุกคนชอบและให้ "มูลค่า" ตรงกัน..ยอมรับให้เป็นตัวแทนในการวัดมูลค่า (measure of value) สินค้าอื่นๆได้เลย ..สมมติตัวอย่าง เช่น ซิลเวอร์ 1 oz สามารถใช้แลก ไข่ 1 โหล, มันฝรั่ง 10 หัว, หรือขนมปัง 2 ก้อน ..โลหะชนิดนี้ก็จะเป็นที่ยอมรับเป็นการทั่วไปในชุมชนของการบาร์เตอร์ ให้มันใช้วัดค่าของ item อื่นๆได้ทุกชนิด..ที่เราเรียกว่า 'ราคา' ...นี่คือการเริ่มต้นของระบบการเงิน monetary system
.....แล้วยังมีอะไรเกิดตามหลัง money ? อะไรที่ใช้ช่วยคำนวนถึงส่วนย่อยของ ราคา?

--Currency: หลังจาก money ถูกสร้างขึ้นมาจนเป็นที่ยอมรับในชุมชนของการแลกเปลี่ยน ประเด็นถัดจากนั้นก็มาถึงเรื่องการกำหนดราคา (price discovery) ของสินค้า หรือจำนวน money ที่ผู้ซื้อจะยอมจ่ายเพื่อ item ที่ตนต้องการ ..ในการนี้ ตลาดจึงต้องกำหนดตัวแทนของ money เพื่อสนองการต่อรองที่ยิบย่อยของผู้ซื้อและผู้ขายสินค้า จนลงตัวใน valuation ...นั่นคือกำเนิดของ currency เริ่มจากการที่แบ่งซิลเวอร์หรือทองคำเป็นส่วนย่อยตามน้ำหนัก มาเป็นตัวเลขที่พิมพ์บนกระดาษ (ธนบัตร) ..และใช้มันในการกำหนดราคา และเป็นหน่วยย่อยๆ (unit of account) ที่ใช้ชำระราคาได้ ...และที่สำคัญ currency นี้นำไปแลกเป็น money (ทองหรือซิลเวอร์) ได้ตลอดเวลากับรัฐบาล
.....แต่แล้วมันเกิดอะไรขึ้นในยุค '90s เมื่อคอมพิวเตอร์มีการใช้อย่างแพร่หลาย?

--Virtual: (เงินเสมือน) ธนบัตรที่เป็น currency เริ่มจะเป็นสิ่งที่มองไม่เห็น แต่เห็นเป็นตัวเลขในจอคอมพ์แทน และนั่นเท่ากับยอมให้พวกแบ้งเกอร์สร้าง virtual currency จากความคิดของพวกเขา ...เรื่องใหญ่มันเกิดขึ้นหลังจากมีวิกฤติการเงินเมื่อปี 2008 แบ้งเกอร์ค้นพบว่าพวกเขาสามารถคีย์ตัวเลขเพิ่มจำนวนที่ต้องการเข้าในบัญชีในคอมพ์ได้เลย นี่คือเทคโนฯใหม่ที่ใช้สร้างเงินที่ไม่มีอยู่จริงได้นับเป็นล้านล้านดอลล่าร์ ...แล้วเรียกมันว่าการทำ QE ธนาคารกลางสามารถคิดตัวเลขที่ชอบเช่น $85,000 ล้านต่อเดือน และคีย์เข้าในบัญชีหลักเพื่อส่งไปหมุนเวียนในระบบเครือข่ายของพวกเดียวกัน
.....เงินเสมือนเหล่านี้เรียกว่าอะไร หลังจากถูกคีย์เข้าบัญชีแล้ว?

--Cyber: หลังจากแบ้งเกอร์พวกนี้มโนตัวเลขที่ต้องการแล้วคีย์เข้าบัญชีของตนเองดื้อๆ แล้วเรียกมันว่า cyber money หรือ cyber currency ...ทีนี้มันก็ใช้ทำธุรกรรมในฐานะของ money ได้เลย ....Federal Reserve กำหนดตัวเลข เช่น $85,000 ล้านต่อเดือนแล้วคีย์เข้าในบัญชี SOMA (system open market account ...บัญชีที่ใช้รวบรวมทรัพย์สินของ Fed) เพื่อใช้กระจายให้แบ้งค์ต่างๆใช้ในการลงทุนไปทั่วโลก ..เป็นการใช้ cyber money ที่มโนขึ้นมาเพื่อซื้อทรัพย์สินจริงๆและการลงทุนต่างๆ ...นี่คือเงินปลอมอย่างเป็นทางการ (official counterfeiting)

คอนเซ็ปท์ทั้งหมดนั่นคือประวัติศาสตร์ของระบบการเงินที่มีการพัฒนาต่อเนื่อง จนกำลังจะเริ่มคอนเซ็ปท์ใหม่ที่เรียกว่า MMT (modern monetary theory) เป็นการต่อยอดให้กับ virtual money / cyber money ...ธนาคารกลางและธนาคารพาณิชย์ต่างๆสามารถสร้าง cyber money ออกมาใช้จ่ายได้เอง หรือนี่คือตัวแทนของระบบทุนนิยมยุคใหม่

ขณะนี้ MMT กำลังเป็นแฟชั่นในหมู่นักการเมือง และนักสังคมนิยม ที่เห็นว่าการใช้จ่ายเงินผ่านระบบ MMT จะเป็นการสร้างระบบสังคมนิยมขยายออกไปในระดับโลก เงินที่สร้างจากแบ้งเกอร์จะนำมาใช้เพื่อทุกคน การศึกษาฟรี ระบบสาธารณสุขฟรี โครงสร้างพื้นฐานสำหรับทุกคน ..จ่ายจากเงินที่สร้างจากกลางอากาศ ...นี่คือสวรรค์

เป็นการฉีกแนวประวัติศาสตร์ของระบบทุนนิยมจริงๆ

สภาคองเกรสกำลังยึดแนวคิด MMT เพื่อเปลี่ยนระบบการเงินของโลก ญี่ปุ่นก็ยึดเอาไอเดียนี้ด้วย ยุโรปก็กำลังศึกษา บางทีระบบการเงินของโลกอาจเห็นดีไปกับการสร้างเงินขึ้นมาจากกลางอากาศนี้ก็ได้

ประวัติศาสตร์ของ money น่าสนใจมาก เราผ่านการบาร์เตอร์มาแล้ว จนมาถึง money และธนบัตรกระดาษ จนถึง เงินเสมือนจริงที่สร้างเพิ่มได้ง่ายๆในคอมพ์ ลองมองดูรอบๆตัวเองดู ..money ที่แท้จริงอยู่ที่ไหน ...ที่เห็นใน cyberspace หรือในบัญชีในมือถือของคุณ..นั่นใช่ money จริงหรือ

ทำไมตู้เซฟไม่ใช่สิ่งจำเป็นของธนาคารอีกแล้ว ..ทำไมแบ้งเกอร์ทำธุรกรรมทางการเงินแต่บนคอมพิวเตอร์เท่านั้น ..ทำไมธนาคารกลางถึงต้องเข้าเทรดในทุกตลาดเพื่อป้องกันการแครช

ใครคือ central planner ในการสร้างเงินขึ้นมาทุกวันนี้ ใช่คณะกรรมการของ Fed หรือ ..แล้วใครเป็น central planner ของญี่ปุ่น ยุโรป จีน อังกฤษ แคนาดา ..แล้วใครเป็นผู้สั่งกำหนดอัตราดอกเบี้ย ..ใครตัดสินใจว่าต้องทำ QE รอบใหม่หรือไม่ ..ใครปั๊มพ์เงินเข้าตลาดหุ้น

เกิดอะไรขึ้นกับระบบทุนนิยมกันแน่

Have a good day!


Cr.Sayan Rujiramora

เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี!!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b  
Line ID:@fxhanuman
Web : https://www.fxhanuman.com
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/

#forex #ลงทุน #pepperstone #xm #fbs #exness #uag #icmarkets #avatrade #fxtm #tickmill #fxpro #fxopen #fxcl #forex3d #forex4you

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"