forex_calendar

1.  ตั้งเวลาให้ตรงกับประเทศไทยคือ (GMT+7:00) Bangkok, Hanoi, Jakarta
2.  ไว้สำหรับเลือกวันที่ต้องการดูข่าว
3.  เวลาข่าวออก
4.  ตระกูลเงินของข่าว
5.  ความรุนแรงของข่าว
6.  เหตุการณ์ของข่าว
7.  ค่าตัวเลขจริงที่ออก
8.  ค่าตัวเลขคาดการณ์
9.  ค่าตัวเลขครั้งก่อน

forex_calendar

เมื่อถึงเวลาข่าวออกตัวเลขค่าจริงจะแสดงออกมาในช่อง Actual ซึ่งจะมีสีแตกต่างกันดังนี้

  • ตัวเลขออกเป็นสีเขียวแสดงตัวเลขดีกว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีแดงแสดงว่าตัวเลขแย่กว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีดำแสดงว่าตัวเลขเท่ากับค่าที่คาดการณ์หรือใกล้เคียงกับสถิติเดิม (Previous)

 

สิ่งที่ต้องสนใจในการเทรดข่าว Forex

 

1.  เรื่องค่าสกุลเงิน ถ้าเทรดสกุลไหนก็ต้องสนใจเฉพาะสกุลนั้น เช่นถ้าเราเช่น EUR/USD ก็สนใจเฉพาะข่าวของ USD และ EUR และเราต้องรู้ด้วยว่าถ้าข่าวออกมาจะทำให้ค่าเงินเราขึ้นหรือลง เช่น ถ้าเราเล่น EUR/USD ถ้าข่าวดอลลาร์สหรัฐออกมาดีแสดงคู่เงินที่มี USD อยู่หลังกราฟจะลง แต่ถ้าข่าว USD ออกมาไม่ดีกราฟจะขึ้น ในทางกลับกันถ้าข่าว EUR ออกมาดีกราฟจะขึ้นแต่ถ้าข่าว EUR ออกมาไม่ดีกราฟจะลง

2. เรื่องระดับความแรงของข่าว ระดับความแรงขอข่าวจะมีสามระดับดังรูป

forex_calendar

3. ค่าตัวเลขจริงที่ออก(Actual) ถ้าค่าตัวเล่นจริงที่ออกมาต่างจากค่าก่อนหน้า(Previous)มาก ยิ่งมีผลทำให้ค่าเงินวิ่งขึ้นลงแรงมาก แต่ก็ขึ้นอยู่กับความแรงของข่าวด้วย

คาด'เฟด'คงดอกเบี้ยหลังประชุมพุธนี้ ขณะเดียวกันเริ่มมีเดิมพัน 'ลดดอกเบี้ย' มากขึ้น

มีการคาดการณ์ว่า “เฟด” จะคงดอกเบี้ยหลังการประชุมในวันที่ 1 พฤษภาคมนี้ แต่ในขณะเดียวกันก็เริ่มมีการคาดการณ์มากขึ้นว่า “เฟด” จะลดดอกเบี้ยอีกครั้งหลังจากที่ได้ขึ้นดอกเบี้ยไปแล้ว 4 ครั้งในปีที่ผ่านมา การคาดการณ์นี้ทำให้ราคาทองคำยังคงอยู่

ใกล้ระดับสูงสุดในรอบกว่าหนึ่งสัปดาห์

เดวิด สต็อกตัน อดีตเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางสหรัฐ ซึ่งเป็นนักเศรษฐศาสตร์ของปีเตอร์สัน อินสติติว ฟอร์ อินเตอร์เนชันแนล อีโคโนมิกส์ คาดการณ์ว่า เฟดจะคงดอกเบี้ยไว้ที่เดิมหลังการประชุมในวันที่ 30 เมษายน-1 พฤษภาคมนี้ แต่สิ่งที่จะมีการจับตามองหลังการประชุม คือการส่งสัญญาณใด ๆ ในแถลงการณ์หลังการประชุม ซึ่งเจอร์โรม พาวเวลล์ ประธานธนาคารกลางสหรัฐ น่าจะแถลงว่าเฟดกำลังจะลดดอกเบี้ยในปลายปีนี้

บรูซ คาสแมน หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของเจพี มอร์แกน เชส แอนด์โค กล่าวว่า เฟดได้คงดอกเบี้ยมาเป็นเวลานาน แต่ความเสี่ยงที่เงินเฟ้อจะลดลง จะทำให้เฟดคิดถึงการผ่อนคลายนโยบาย

ริชาร์ด คลาริดา รองประธานธนาคารกลางสหรัฐ ได้กล่าวว่า ปี 2538 และปี 2541 เป็นสองตัวอย่างที่ชี้ว่าธนาคารกลางสหรัฐได้ลดดอกเบี้ยเพื่อรับประกันว่าเศรษฐกิจจะไม่อ่อนแอลงแม้ยังไม่มีทีท่าว่าจะเกิดภาวะถดถอย

ผู้ที่จับตาเฟดจำนวนหนึ่งมองว่า ปี 2538 จะเป็นแม่แบบที่ดีกว่าสำหรับสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นในขณะนี้ โดยในปี 2541 ธนาคารกลางสหรัฐได้ลดอัตราดอกเบี้ย 3 ครั้งเพื่อยับยั้งวิกฤตการเงินที่เกิดจากการผิดนัดชำระหนี้ของรัสเซีย และกองทุนบริหารความเสี่ยง ลองเทอม แคปิตอล แมเนจเมนต์ใกล้จะล้ม แต่ในขณะนี้ไม่มีสิ่งที่จะทำให้เกิดเหตุการณ์เช่นนั้น ในทางกลับกัน มีสิ่งที่เป็นคู่ขนานกันระหว่างในขณะนี้กับช่วงปี 2538-2539 ในตอนนั้น เฟดลดดอกเบี้ยสามครั้ง คือในเดือนกรกฎาคมและในเดือนธันวาคม 2538 และในเดือนมกราคม 2539 เพื่อลดแรงกดดันของราคา แต่ในขณะนี้ ผู้กำหนดนโยบายของเฟดกำลังแก้ไขเงินเฟ้อยังคงต่ำอยู่ และได้กล่าวอย่างไม่ปิดบังว่าอยากจะเห็นเงินเฟ้อสูงขึ้น

นอกจากนี้ การเติบโตของสหรัฐฯ และทั่วโลกก็กำลังชะลอตัวลงหนึ่งในสี่ของหนึ่งศตวรรษก่อน และเห็นได้ชัดมากขึ้นในขณะนี้ สิ่งที่มีความคล้ายคลึงกันอื่น ๆ ระหว่างในขณะนี้กับปี 2538-2539 คือ เฟดลดอกเบี้ยในตอนนั้นแม้ว่าตลาดแรงงานค่อนข้างตึงตัวและราคาหุ้นสูงขึ้น และความจริงแล้วในเดือนธันวาคม 2539 อลัน กรีนสแปน ประธานธนาคารกลางสหรัฐในตอนนั้น เตือนว่าจะมี “ความอุดมสมบูรณ์อย่างไม่มีเหตุผล” ในตลาดการเงิน

นอกจากนี้ ยังมีความคล้ายคลึงด้านการเมืองด้วย โดยในตอนนั้นประธานาธิบดีบิล คลินตัน กำลังจะลงสมัครรับเลือกตั้งใหม่ในปี 2539 ในขณะที่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ก็จะเจอการเลือกตั้งในปีหน้า

อลัน บลินเดอร์ อดีตรองประธานธนาคากลางสหรัฐ เตือนว่าไม่ควรจะเปรียบเทียบกันมากเกินไป โดยกล่าวว่าในตอนนั้นเฟดได้ขึ้นดอกเบี้ยมากเกินไป โดยได้ขึ้นดอกเบี้ยประมาณ 0.75% ในเดือนพฤศจิกายน 2537 และขึ้นอีก 0.5% ในเดือนกุมภาพันธ์ 2538 ก่อนที่จะเริ่มลดดอกเบี้ยในเดือนกรกฎาคมปีนั้น แต่ในครั้งนี้ เฟดไม่ได้ขึ้นดอกเบี้ยมาก โดยการขึ้นดอกเบี้ย 0.25% ในเดือนธันวาคม ทำให้ดอกเบี้ยอยู่ในระดับปานกลางเท่านั้น ซึ่งเป็นระดับที่ไม่ยับยั้งการเติบโต

คีล รอดดา นักวิเคราะห์บริษัทไอจี มาร์เก็ตส์ กล่าวว่า ตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวม (จีดีพี) ที่ออกมาจากสหรัฐฯ ได้ทำให้เกิดความสงสัยเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจสหรัฐฯ และความแข็งแกร่งของผู้บริโภคในสหรัฐฯ ซึ่งได้ทำให้เทรดเดอร์ส่วนหนึ่งคาดการณ์ว่าเฟดจะลดดอกเบี้ย

นักเศรษฐศาสตร์ประมาณหนึ่งในสามที่รอยเตอร์สำรวจมาเมื่อวันที่ 25 เมษายน ได้คาดการณ์แล้วว่า เฟดจะลดดอกเบี้ยจริง ๆ เพียงหนึ่งครั้งภายในปี 2563

เอดเวิร์ด โมยา นักวิเคราะห์ตลาดอาวุโสของโอเอเอ็นดีเอ กล่าวว่า เฟดน่าจะรอจนกว่าจะผ่านช่วงฤดูร้อนไปแล้ว ก่อนที่จะส่งสัญญาณลดดอกเบี้ย แต่ธนาคารกลางสหรัฐก็มีความกังวลมากเกินไปที่เงินเฟ้อไม่โต จึงอาจจะลดดอกเบี้ยในช่วงปลายปีได้

การเดิมพันที่ว่าธนาคารกลางสหรัฐอาจจะลดอัตราดอกเบี้ยในปีนี้ หลังจากที่ข้อมูลเมื่อเร็ว ๆ นี้ชี้ว่าเงินเฟ้อยังต่ำอยู่ ส่งผลให้ราคาทองคำไม่เปลี่ยนแปลงจากสัปดาห์ที่ผ่านมามากนัก โดยมีการซื้อขายใกล้ระดับสูงสุดในรอบกว่าหนึ่งสัปดาห์

อัตราดอกเบี้ยที่ลดลงในสหรัฐฯ สร้างแรงกดดันต่อดอลลาร์และผลตอบแทนพันธบัตร จึงทำให้ทองคำที่มีการซื้อขายในรูปของเงินดอลลาร์ มีราคาแพงน้อยลงสำหรับผู้ถือเงินสกุลอื่น ๆ นอกจากนี้ยังเพิ่มเสน่ห์ให้กับสินทรัพย์ที่ไม่มีผลตอบแทนอย่างทองคำ

ราคาทองคำในตลาดสปอตอ่อนตัวลงเล็กน้อยประมาณ 0.1% อยู่ที่ประมาณ 1,284.31 ดอลลาร์ต่อออนซ์เมื่อวานนี้ หลังจากที่ได้แตะระดับสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 16 เมษายน ที่ 1,288.59 ดอลลาร์เมื่อวันศุกร์ ในขณะเดียวกัน ตราสารทองคำสหรัฐฯ ปรับตัวลง 0.2% เหลือ 1,287.70 ดอลลาร์ต่อออนซ์

Source: ข่าวหุ้น
-Fed May See 1995-96 Interest Rate Cuts as Template for Today :

คลิก

Cr.Bank of Thailand Scholarship Students

เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี!!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b  
Line ID:@fxhanuman
Web : https://www.fxhanuman.com
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/

#forex #ลงทุน #pepperstone #xm #fbs #exness #uag #icmarkets #avatrade #fxtm #tickmill #fxpro #fxopen #fxcl #forex3d #forex4you

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"