forex_calendar

1.  ตั้งเวลาให้ตรงกับประเทศไทยคือ (GMT+7:00) Bangkok, Hanoi, Jakarta
2.  ไว้สำหรับเลือกวันที่ต้องการดูข่าว
3.  เวลาข่าวออก
4.  ตระกูลเงินของข่าว
5.  ความรุนแรงของข่าว
6.  เหตุการณ์ของข่าว
7.  ค่าตัวเลขจริงที่ออก
8.  ค่าตัวเลขคาดการณ์
9.  ค่าตัวเลขครั้งก่อน

forex_calendar

เมื่อถึงเวลาข่าวออกตัวเลขค่าจริงจะแสดงออกมาในช่อง Actual ซึ่งจะมีสีแตกต่างกันดังนี้

  • ตัวเลขออกเป็นสีเขียวแสดงตัวเลขดีกว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีแดงแสดงว่าตัวเลขแย่กว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีดำแสดงว่าตัวเลขเท่ากับค่าที่คาดการณ์หรือใกล้เคียงกับสถิติเดิม (Previous)

 

สิ่งที่ต้องสนใจในการเทรดข่าว Forex

 

1.  เรื่องค่าสกุลเงิน ถ้าเทรดสกุลไหนก็ต้องสนใจเฉพาะสกุลนั้น เช่นถ้าเราเช่น EUR/USD ก็สนใจเฉพาะข่าวของ USD และ EUR และเราต้องรู้ด้วยว่าถ้าข่าวออกมาจะทำให้ค่าเงินเราขึ้นหรือลง เช่น ถ้าเราเล่น EUR/USD ถ้าข่าวดอลลาร์สหรัฐออกมาดีแสดงคู่เงินที่มี USD อยู่หลังกราฟจะลง แต่ถ้าข่าว USD ออกมาไม่ดีกราฟจะขึ้น ในทางกลับกันถ้าข่าว EUR ออกมาดีกราฟจะขึ้นแต่ถ้าข่าว EUR ออกมาไม่ดีกราฟจะลง

2. เรื่องระดับความแรงของข่าว ระดับความแรงขอข่าวจะมีสามระดับดังรูป

forex_calendar

3. ค่าตัวเลขจริงที่ออก(Actual) ถ้าค่าตัวเล่นจริงที่ออกมาต่างจากค่าก่อนหน้า(Previous)มาก ยิ่งมีผลทำให้ค่าเงินวิ่งขึ้นลงแรงมาก แต่ก็ขึ้นอยู่กับความแรงของข่าวด้วย

ญี่ปุ่นเล็งห้ามผู้ประกอบการร้านสะดวกซื้อบังคับแฟรนไชส์เปิดร้านตลอด 24 ชม.

แหล่งข่าวเปิดเผยในวันนี้ว่า คณะกรรมาธิการการค้าที่เป็นธรรมของญี่ปุ่นซึ่งเป็นหน่วยงานต่อต้านการผูกขาดของญี่ปุ่น กำลังพิจารณามาตรการป้องกันไม่ให้ผู้ประกอบการร้านสะดวกซื้อ บังคับเจ้าของแฟรนไชส์ให้เปิดบริการร้านค้าตลอด 24 ชั่วโมง

แหล่งข่าวเปิดเผยว่า กรณีต่างๆ จะต้องเป็นไปตามกฎเกณฑ์ใหม่ที่อยู่ในระหว่างการพิจารณา อาทิ เมื่อผู้ประกอบการปฏิเสธการเรียกร้องของผู้ถือแฟรนไชส์ที่จะทบทวนชั่วโมงการทำธุรกิจ เพื่อรับมือกับปัญหาการขาดแคลนแรงงานอย่างรุนแรง

คณะกรรมาธิการการค้าที่เป็นธรรมของญี่ปุ่นกำลังสำรวจความเป็นไปได้ในการบังคับใช้กฏหมายต่อต้านการผูกขาด ซึ่งจะห้ามบริษัทต่างๆ ใช้อำนาจที่ไม่เหมาะสม ต่อกรณีเหล่านั้น เพื่อปกป้องหุ้นส่วนธุรกิจที่อ่อนแอกว่า

สำนักข่าวเกียวโดรายงานว่า ในเดือนนี้ กระทรวงอุตสาหกรรมได้เรียกร้องให้ผู้ประกอบการร้านสะดวกซื้อรายใหญ่ 8 แห่งของญี่ปุ่น กำหนดแผนการที่จะแก้ปัญหาการขาดแคลนแรงงาน ซึ่งได้สร้างภาระให้กับบรรดาเจ้าของร้านแฟรนไชส์

บริษัท เซเว่น-อีเลฟเว่น เจแปน โค ผู้นำอุตสาหกรรมร้านสะดวกซื้อ เปิดเผยว่า บริษัทจะทบทวนนโยบายการดำเนินงานตลอด 24 ชั่วโมง หลังจากที่มีความขัดแย้งกับเจ้าของร้านรายหนึ่งซึ่งได้ลดชั่วโมงการเปิดให้บริการที่ร้าน 7-11 แห่งหนึ่งในเมืองฮิกาชิโอซากา ทางตะวันตกของญี่ปุ่น โดยที่ไม่ได้รับการอนุญาตจากผู้ประกอบการแฟรนไชส์ช่วงเดือนก.พ.ที่ผ่านมา

Source: อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย กัลยาณี ชีวะพานิช/สุนิตา

************************************

(Apr 17) ญี่ปุ่นวิกฤต “แรงงาน” เซเว่นฯแก้เกมไม่เปิด 24 ชม.

ปี 2018 อัตราการเกิดใน “ญี่ปุ่น” ลดลงติดต่อกัน 37 ปี ขณะที่จำนวนของผู้สูงวัยอายุ 70 ปีขึ้นไป คิดเป็น 20% ของประชากรทั้งประเทศ วิกฤตขาดแคลนแรงงานกำลังลุกลามเป็นแผลเรื้อรัง กระทบต่อภาคธุรกิจในหลายอุตสาหกรรม โดยเฉพาะในธุรกิจค้าปลีก “เจแปนไทมส์” รายงานว่า นับตั้งแต่กลางเดือน มี.ค. 2019 “เซเว่นอีเลฟเวน” หรือ “7-11” ร้านค้าสะดวกซื้อเจ้าตลาดในญี่ปุ่น มีสาขามากกว่า 20,000 แห่งทั่วประเทศ ประกาศเริ่มทดลองลดเวลาเปิดให้บริการแบบ 24 ชั่วโมง ให้เหลือเพียง 16 ชั่วโมง โดยจะทดลองกับ 10 สาขาใน 8 จังหวัด ได้แก่ โตเกียว, มิยางิ, โทจิงิ, ชิบะ, ไอจิ, เฮียวโงะ, ฟูกูโอกะ และจังหวัดคูมาโมโตะ ส่วนระยะเวลาทำการจะเปิดให้บริการตั้งแต่ 07.00-23.00 น.

นายคาซุกิ ฟุรุยะ ประธานบริษัท Seven-Eleven Japan กล่าวว่า แผนการทดลองลดเวลาให้บริการสอดรับกับคำเรียกร้องของบรรดาเจ้าของแฟรนไชส์ที่ได้รับผลกระทบ โดยบริษัท Seven and I Holdings จะทำหน้าที่พิจารณาเพื่อตรวจสอบผลลัพธ์ตั้งแต่ยอดขาย จำนวนลูกค้า และด้านโลจิสติกส์

“หากแผนทดลองไปในทิศทางบวก เป็นไปได้ที่อาจนำแผนการนี้ไปใช้สาขาอื่น ๆ ในญี่ปุ่น รวมถึงจะเป็นโมเดลในการนำไปปรับใช้สำหรับ 7-11 สาขาต่างประเทศ ที่กำลังเผชิญปัญหาขาดแคลนแรงงานเช่นเดียวกัน”

หนึ่งในเจ้าของแฟรนไชส์ 7-11 ในเขตอาดาจิ มหานครโตเกียว กล่าวถึงนโยบายเปิดรับ “แรงงานต่างชาติทักษะต่ำ” ของรัฐบาลญี่ปุ่น ว่าเป็นแผนแก้ไขที่ช้าเกินไป เพราะญี่ปุ่นประสบปัญหาขาดแคลนแรงงานมานานแล้ว ทั้งระบุว่าเงื่อนไขในการรับพิจารณาแรงงานยังมีหลายขั้นตอน โดยเฉพาะเงื่อนไขด้าน “ภาษาญี่ปุ่นระดับ 2” แทนที่จะเป็นภาษาญี่ปุ่นเบื้องต้น

“ทาคายูกิ คูราบายาชิ” นักวิเคราะห์ด้านอุตสาหกรรมค้าปลีก จากสถาบันวิจัยโนมูระ กล่าวว่า โลกปัจจุบันเต็มไปด้วยธุรกิจอีคอมเมิร์ซ การแข่งขันอย่างดุเดือดของเจ้าตลาด ได้แก่ อาลีบาบา กรุ๊ป และอเมซอน ที่ครอบคลุมเกือบครึ่งหนึ่งของตลาดอีคอมเมิร์ซทั่วโลก คำถามก็คือดีมานด์ของผู้บริโภคที่ต้องการใช้ร้านค้าสะดวกซื้อที่เปิด 24 ชั่วโมง มีความจำเป็นมากแค่ไหน โดยเฉพาะในประเทศที่กำลังประสบปัญหาจำนวนผู้สูงอายุขยายตัวเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ หากเทียบกับญี่ปุ่นในยุคเฟื่องฟูปี 1970 คอนวีเนี่ยนสโตร์เติบโตได้ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะวัฒนธรรมการทำงานกะดึกในญี่ปุ่นมีจำนวนสูงมาก

สำหรับ “รอย ลาร์ค” นักวิเคราะห์ในวงการค้าปลีก และบรรณาธิการของ Japan Consuming ระบุว่า บางครั้งผมรู้สึกว่าธุรกิจในญี่ปุ่นรวมถึงธุรกิจค้าปลีก มักออกนโยบายบริษัทที่สวนทางกับวิถี “work-life balance” นั่นคือ ความสมดุลในชีวิตและการทำงาน เห็นได้จากเหตุการณ์ “ฆ่าตัวตาย” เพราะเครียดหนักจากการทำงาน ดังนั้น “ร้านค้าสะดวกซื้อ” ควรได้รับอนุญาตให้ทำงานได้ตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้น แม้ว่าผู้บริโภคจะได้รับความไม่สะดวกจากการปรับกลยุทธ์เล็กน้อย และไม่ใช่แค่ 7-11 เพราะทั้งลอว์สัน และแฟมิลี่มาร์ท ก็ได้รับผลกระทบการขาดแคลนแรงงานเช่นกัน และนอกจากทดลองลดเวลาเปิดบริการแล้ว ขณะเดียวกัน 7-11 ก็กำลังพัฒนาระบบอัตโนมัติ และปัญญาประดิษฐ์ (AI) เพื่อทดแทนแรงงานคนในกระบวนการเช็กสต๊อกไปจนถึงเช็กเอาต์สินค้าด้วย

Source: ประชาชาติธุรกิจออนไลน์

เพิ่มเติม
- Japan eyes preventing convenience store chains from forcing 24-hr ops :

คลิก

Cr.Bank of Thailand Scholarship Students

เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี!!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b  
Line ID:@fxhanuman
Web : https://www.fxhanuman.com
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/

#forex #ลงทุน #pepperstone #xm #fbs #exness #uag #icmarkets #avatrade #fxtm #tickmill #fxpro #fxopen #fxcl #forex3d #forex4you

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"