forex_calendar

1.  ตั้งเวลาให้ตรงกับประเทศไทยคือ (GMT+7:00) Bangkok, Hanoi, Jakarta
2.  ไว้สำหรับเลือกวันที่ต้องการดูข่าว
3.  เวลาข่าวออก
4.  ตระกูลเงินของข่าว
5.  ความรุนแรงของข่าว
6.  เหตุการณ์ของข่าว
7.  ค่าตัวเลขจริงที่ออก
8.  ค่าตัวเลขคาดการณ์
9.  ค่าตัวเลขครั้งก่อน

forex_calendar

เมื่อถึงเวลาข่าวออกตัวเลขค่าจริงจะแสดงออกมาในช่อง Actual ซึ่งจะมีสีแตกต่างกันดังนี้

  • ตัวเลขออกเป็นสีเขียวแสดงตัวเลขดีกว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีแดงแสดงว่าตัวเลขแย่กว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีดำแสดงว่าตัวเลขเท่ากับค่าที่คาดการณ์หรือใกล้เคียงกับสถิติเดิม (Previous)

 

สิ่งที่ต้องสนใจในการเทรดข่าว Forex

 

1.  เรื่องค่าสกุลเงิน ถ้าเทรดสกุลไหนก็ต้องสนใจเฉพาะสกุลนั้น เช่นถ้าเราเช่น EUR/USD ก็สนใจเฉพาะข่าวของ USD และ EUR และเราต้องรู้ด้วยว่าถ้าข่าวออกมาจะทำให้ค่าเงินเราขึ้นหรือลง เช่น ถ้าเราเล่น EUR/USD ถ้าข่าวดอลลาร์สหรัฐออกมาดีแสดงคู่เงินที่มี USD อยู่หลังกราฟจะลง แต่ถ้าข่าว USD ออกมาไม่ดีกราฟจะขึ้น ในทางกลับกันถ้าข่าว EUR ออกมาดีกราฟจะขึ้นแต่ถ้าข่าว EUR ออกมาไม่ดีกราฟจะลง

2. เรื่องระดับความแรงของข่าว ระดับความแรงขอข่าวจะมีสามระดับดังรูป

forex_calendar

3. ค่าตัวเลขจริงที่ออก(Actual) ถ้าค่าตัวเล่นจริงที่ออกมาต่างจากค่าก่อนหน้า(Previous)มาก ยิ่งมีผลทำให้ค่าเงินวิ่งขึ้นลงแรงมาก แต่ก็ขึ้นอยู่กับความแรงของข่าวด้วย

ไม่มีเหตุผลที่จะต้องเชื่อว่าธนาคารกลางจะมีความรับผิดชอบ ในอีก 40 ปีจากนี้ไป ..เหมือนกับ 40 ปีที่ผ่านมา

ปธน. ทรัมพ์มีแผนที่แน่ชัดแล้วที่จะเสนอชื่อ Stephen Moore และ Herman Cain เข้าเป็นกรรมการในบอร์ดของ Federal Reserve ..ทำให้เกิดความตื่นตัวเรื่องมาตรฐานทองคำขึ้นมา เพราะนี่คือนโยบายที่ทั้งสองท่านนี้สนับสนุนอย่างเปิดเผยมาตลอด

..ทรัมพ์เองก็เคยเห็นดีเห็นชอบกับมาตรฐานทองคำอยู่ด้วย

ผมเองไม่เคยเห็นดีกับเรื่องของมาตรฐานทองคำนี้เลย แต่ก็น่าคิดที่ว่ามีผู้เห็นชอบด้วยมากมาย ..แต่ผมจะไม่ชอบการวิเคราะห์ที่บิดเบือนเพื่อให้สอดคล้องและเป็นประโยชน์กับสถานการณ์การเมืองที่จงใจต้องการให้เป็นอย่างนั้น

จากข้อมูลทางประวัติศาสตร์ทำให้เห็นว่า ความผันผวนในอุตสาหกรรมการผลิตเกิดขึ้นไม่มากนักก่อนยุคปี 1914 เมื่อตอนที่สหรัฐยังใช้มาตรฐานทองคำอยู่ ...เปรียบเทียบกับกับหลังปี 1947 ซึ่งไม่ได้ใช้แล้ว...และยังมีความผันผวนแบบเดียวกันเกิดขึ้นกับอัตราว่างงานอีกด้วย

แต่นั่นมันก็ยังไม่ใช่ข้อขัดแย้งมากนัก แต่ก็ทำให้ผู้ที่อยู่ตรงข้ามกับแนวคิดมาตรฐานทองคำต้องหยุดคิดได้บ้างแหละ ..และก็แน่นอนว่า จุดด้อยของระบบมาตรฐานทองคำมันก็มี ฝ่ายบริหารการเงินของประเทศก็ทำในสิ่งที่ผิดได้เหมือนกัน

นอกจากนี้..ในบริบทเชิงกว้างลึกเข้าไปในประวัติศาสตร์ มาตรฐานทองคำมันก็ไม่เลวนักซะทีเดียว ..การใช้มาตรฐานทั้งทองคำและซิลเวอร์ในศตวรรษที่ 19 เรียกได้ว่าเป็นช่วงเวลาแห่งสันติภาพและการเติบโตของเศรษฐกิจ..นับจากปี 1815 จนมาถึงสงครามโลกครั้งที่ 1

หลังจากนั้นก็มาถึงยุคของเงินเฟียตที่แสนจะเลวร้าย เริ่มจาก 1920s ที่ทำให้เกิดความยุ่งเหยิงทางการเงิน ..การแข่งขันที่ทำให้เกิดการเสื่อมค่า ..และแม้กระทั่ง hyperinflation และเงินฝืด ...ทั้งหมดนี้เกิดจากการกำหนดค่าของทองคำด้วยอัตราที่บิดเบือนผิดเพี้ยนไป

ที่จริงมันคงจะดีขึ้นถ้าโลกจะคงให้ทองคำเป็นศูนย์กลางของระบบการเงินในปี 1913 เป็นต้นมา

แม้จะมีการใช้สัญญา Bretton Woods ซึ่งมีส่วนดีที่ทำให้มีเสถียรภาพและการเติบโต และสามารถแลกคืนดอลล่าร์เป็นทองคำได้..แต่ไม่ใช่จากเงินทุกๆสกุล ที่อาจเกิดแรงกดดันจากประเทศต่างๆได้

แต่แล้วก็มาพังลงเมื่อดอลล่าร์ถูกถอดจากการอิงค่ากับทองคำเมื่อช่วงต้น 1970s ...เงินเฟ้อและอัตราดอกเบี้ยสูงขึ้น และอีกครั้งที่เกิดความยุ่งเหยิงทางการเงิน

จนกระทั่งมาเริ่มเห็นแวว..ประมาณ 1979 ..ว่ามาตรฐานทองคำนี้เอง..เป็นสิ่งที่ดีกว่าแน่นอน

แล้วทำไมผมถึงไม่เห็นชอบมาตรฐานทองคำล่ะ

..ข้อแรก..หลายรัฐบาลเคยมีประวัติการแทรกแซงมาตรฐานทองคำมาแล้วไม่ว่าในทางดีหรือร้าย ทำให้เห็นว่าการเมืองกับการเงินยังแยกกันได้ไม่เด็ดขาด

..ข้อสอง..ธนาคารกลางควรจะสนองตอบวิกฤติในลักษณะตรงข้ามกับวัฎจักร (countercyclical) เช่นวิกฤติในปี 2008 ...ซึ่งนั่นก็จะเป็นสิ่งที่ทำได้ยากในมาตรฐานทองคำ

..ข้อสาม..ราคาทองคำตอนนี้ได้รับอิทธิพลอย่างมากจากดีมานด์ทั้งจากจีนและอินเดีย และดูจะเป็นการไม่ฉลาดเลยสำหรับนโยบายการเงินของสหรัฐที่จะเลือกเข้าใช้มาตรฐานตอนนี้ ..ผมยังคงคิดว่า ธนาคารกลางยังคงมีแนวทางอื่นที่ดีกว่าการอิงกับทองคำ ที่บางครั้งมันอาจทำให้เกิดแรงกดดันจากเงินฝืดได้

อย่างไรก็ตาม สถานะการณ์ปัจจุบันนี้เหมือนกับกำลังทดสอบความเชื่อของผมต่อธนาคารกลาง ..ปัญหาจะคลี่คลายได้อย่างไรถ้าผู้นำหลายชาติไม่แสดงความรับผิดชอบในแบบที่ควรเป็น แล้วไอ้ความไม่รับผิดชอบนี้มันจะซึมเข้านโยบายการเงินหรือเปล่าล่ะ ..ประชากรโลกก็เข้าสู่สังคมสูงอายุกันแล้ว หนี้ก็ยังเพิ่มขึ้นมาเรื่อยๆ

ก็คงต้องระวังกันว่ารัฐบาลชาติเหล่านี้จะพิมพ์เงินมาซื้อหนี้คืนหรือเปล่า

This column does not necessarily reflect the opinion of the editorial board or Bloomberg LP and its owners.

Tyler Cowen is a Bloomberg Opinion columnist. He is a professor of economics at George Mason University and writes for the blog Marginal Revolution. His books include “The Complacent Class: The Self-Defeating Quest for the American Dream.”
Read more opinion Follow @tylercowen on Twitter

Cr.Sayan Rujiramora

เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี!!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b  
Line ID:@fxhanuman
Web : https://www.fxhanuman.com
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/

#forex #ลงทุน #pepperstone #xm #fbs #exness #uag #icmarkets #avatrade #fxtm #tickmill #fxpro #fxopen #fxcl #forex3d #forex4you

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"