forex_calendar

1.  ตั้งเวลาให้ตรงกับประเทศไทยคือ (GMT+7:00) Bangkok, Hanoi, Jakarta
2.  ไว้สำหรับเลือกวันที่ต้องการดูข่าว
3.  เวลาข่าวออก
4.  ตระกูลเงินของข่าว
5.  ความรุนแรงของข่าว
6.  เหตุการณ์ของข่าว
7.  ค่าตัวเลขจริงที่ออก
8.  ค่าตัวเลขคาดการณ์
9.  ค่าตัวเลขครั้งก่อน

forex_calendar

เมื่อถึงเวลาข่าวออกตัวเลขค่าจริงจะแสดงออกมาในช่อง Actual ซึ่งจะมีสีแตกต่างกันดังนี้

  • ตัวเลขออกเป็นสีเขียวแสดงตัวเลขดีกว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีแดงแสดงว่าตัวเลขแย่กว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีดำแสดงว่าตัวเลขเท่ากับค่าที่คาดการณ์หรือใกล้เคียงกับสถิติเดิม (Previous)

 

สิ่งที่ต้องสนใจในการเทรดข่าว Forex

 

1.  เรื่องค่าสกุลเงิน ถ้าเทรดสกุลไหนก็ต้องสนใจเฉพาะสกุลนั้น เช่นถ้าเราเช่น EUR/USD ก็สนใจเฉพาะข่าวของ USD และ EUR และเราต้องรู้ด้วยว่าถ้าข่าวออกมาจะทำให้ค่าเงินเราขึ้นหรือลง เช่น ถ้าเราเล่น EUR/USD ถ้าข่าวดอลลาร์สหรัฐออกมาดีแสดงคู่เงินที่มี USD อยู่หลังกราฟจะลง แต่ถ้าข่าว USD ออกมาไม่ดีกราฟจะขึ้น ในทางกลับกันถ้าข่าว EUR ออกมาดีกราฟจะขึ้นแต่ถ้าข่าว EUR ออกมาไม่ดีกราฟจะลง

2. เรื่องระดับความแรงของข่าว ระดับความแรงขอข่าวจะมีสามระดับดังรูป

forex_calendar

3. ค่าตัวเลขจริงที่ออก(Actual) ถ้าค่าตัวเล่นจริงที่ออกมาต่างจากค่าก่อนหน้า(Previous)มาก ยิ่งมีผลทำให้ค่าเงินวิ่งขึ้นลงแรงมาก แต่ก็ขึ้นอยู่กับความแรงของข่าวด้วย

“ศรีลังกา กับ จีน : สัมพันธ์แน่นแฟ้นที่ถูกเฝ้ามองและขัดขวาง ... ระเบิด? ”

“ศรีลังกา” ประเทศที่มีประชากร 21 ล้านคน กำลังจะมีการเลือกตั้งใหญ่ก่อนวันที่ 9 ธันวาคม 2019 และจะมีรัฐบาลใหม่ก่อนวันที่ 9 มกราคม 2020 ทำให้ช่วงนี้ก่อนถึงเลือกตั้งมีการหาเสียงและการทำลายความน่าเชื่อถือของอีกฝ่ายทั้งโดนตรงและโดนอ้อม

... ในอดีตสองพันกว่าปีก่อน Faxian “พระฝาเสี่ยน” เป็นพระภิกษุสงฆ์และนักแปลชาวจีนผู้เดินทางเท้าจากจีนโบราณไปยังอินเดียโบราณเยี่ยมชมสถานที่ทางศาสนาอันศักดิ์สิทธิ์หลายแห่งในเอเชียกลางอนุภูมิภาคอินเดียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ระหว่างปี คศ 399-412 และแวะที่ ศรีลังกาเมื่อปี 410 และอยู่ที่นี่สองปี เพื่อรับตำราทางศาสนา ก่อนจะเดินทางกลับจีนด้วยเรือสินค้าที่มาค้าขายที่นี่ และระหว่างปี 429 – 433 ก็มีแม่ชีของพุทธศาสนาก็ได้เดินทางจากศรีลังกาไปที่จีนด้วยเช่นกัน ซึ่งทำให้สถาปัตยกรรมของศรีลังกาส่งผลอิทธิพลต่อจีนและเอเชียตะวันออกอย่างเห็นได้ชัดเจน และในทางตรงกันข้าม รูปแบบของศิลปะการต่อสู้ที่รู้จักกันในชื่อ Cheena di ของศรีลังกานั้นก็รับอิทธิพลมาจากจีนผ่านทางพระเส้าหลินที่เดินทางมาถึงเกาะเพื่อแสวงบุญและสอนให้คนสิงหลได้ศึกษากัน

... การทูตระหว่าง “ศรีลังกาและจีน” นั้นถือว่าอยู่ในระดับที่แน่นแฟ้นมาก และมีการสถาปนาการทูตต่อกันในวันที่ 7 กุมภาพันธ์ ปี 1957 ,ในปี 1996 จากนั้นประธานาธิบดีศรีลังกา “จันดิกาก้าบันดาราไนยากุมารตุงกา” เข้าเยี่ยมประเทศจีนตามคำเชิญของประธานาธิบดี “เจียงเจ๋อหมิง” ของจีน ทั้งสองฝ่ายได้ลงนามในข้อตกลงเพื่อส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจ

... จากนั้นเข้าสู่สมัยประธานาธิบดี “มหินดา ราชาปักษา” Mahinda Rajapaksa ที่ดำรงตำแหน่งอยู่ระหว่าง 19 พฤศจิกายน 2005 – 9 มกราคม 2015 เป็นยุคแห่งการ “นิยมจีน” อย่างชัดเจน

... เมื่อสนิทกับจีนมาก ช่วงนี้ก็มีข่าวทำลายผู้นำศรีลังกาที่นิยมจีน วิกิลีค ได้เปิดเผยต่อสาธารณชนจากข้อมูลสายอเมริกา ต่อเรื่องใน ศรีลังกา จากปี 2009-10 ระบุว่านักการทูตอเมริกัน รวมทั้ง Patricia A. Butenis เชื่อว่า “มหินดา ราชาปักษา” ผู้นำโปรจีนมีส่วนรับผิดชอบการสังหารหมู่ของพลเรือน “ทมิฬ” และจับนักรบ LTTE หรือ Liberation Tigers of Tamil Eelam หรือ “กบฏชาวทมิฬอีแลม” ที่มีฐานที่มั่นในทิศตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ ( คนส่วนใหญ่เป็นคนเชื้อสาย “สิงหล” มีมากถึงร้อยละ 74.9) ในตอนท้ายของการทำสงครามกับ LTTE ข่าวที่รั่วยังระบุความรับผิดชอบในการก่ออาชญากรรมที่ถูกกล่าวหาหลายคนซึ่งมีผู้นำพลเรือนและทหารอาวุโสของประเทศรวมถึงประธานาธิบดี “มหินดา ราชาปักษา” พี่น้องของเขาและนายพล Fonseka ( มหาอำนาจตะวันตกมักจะใช้เรื่อง “การละเมิดสิทธิมนุษยชน” มาเป็นเครื่องมือทำมาหากินรีดไถรังแกบีบผู้นำประเทศโลกที่สาม เช่น จะห้ามเข้าอเมริกา ตะวันตก และยึดทรัพย์สินในต่างประเทศ แบบผู้นำในการรัฐประหารซูดาน ที่ทำรัฐประหารเหมือนจะหวังล้างข้อกล่าวหา มีชีวิตสบายไปตะวันตกยามแก่ชราได้ )

... ภายใต้ประธานาธิบดีศรีลังกาปัจจุบันนาย “ไมตรีปาละ สิริเสนา” Maithripala Sirisena ที่ปกครองประเทศมาตั้งแต่วันที่ 9 มกราคม 2015 นั้น เขามีสนใจในเรื่อง “การสร้างสมดุลระหว่างอิทธิพลของจีนและอินเดีย อเมริกา” ในประเทศ แต่ยิ่งนานไป การพัฒนาล่าสุดก็แสดงให้เห็นว่า การนิยมจีน" จะปรากฏในนโยบายต่างประเทศของศรีลังกามากขึ้นเรื่อยๆ ในปัจจุบันที่เห็นได้ชัดใน “การลงทุนของจีน” อย่างต่อเนื่องในศรีลังกา และการที่ “ศรีลังกา” สนับสนุน “จีน” ใน “เรื่องข้อพิพาทในทะเลจีนใต้” เป็นการตอบแทน

... “ศรีลังกา” เป็นประเทศที่สำคัญในโครงการ “สร้อยไข่มุก” หรือ String of Pearls ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความคิดริเริ่มเชิงกลยุทธ์ของ “จีน” ในมหาสมุทรอินเดียที่รู้จักกันในชื่อ “เส้นทางสายไหมทางทะเล” และเป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์การพัฒนาที่ใหญ่มากที่รู้จักในชื่อ One Belt, One Road

... “ฮัมบานโตตา” Hambantota เป็นเมืองหลักในเขต Hambantota, ของจังหวัดในภาคใต้ของศรีลังกา พื้นที่ด้อยพัฒนาแห่งนี้ได้รับผลกระทบอย่างหนักจากเหตุการณ์สึนามิในมหาสมุทรอินเดียปี 2004 และกำลังอยู่ระหว่างการพัฒนาโครงการที่สำคัญหลายโครงการรวมถึงการก่อสร้าง “ท่าเรือน้ำลึกแห่งใหม่” “โรงงานแก๊ส แอลเอ็นจี ของจีน” และ “สนามบินนานาชาติใหม่” ที่เสร็จสิ้นในปี 2013 , “การผลิตพลังงานสะอาดโดยกังหันลม” โครงการเหล่านี้และอื่น ๆ ของแผนของรัฐบาลที่จะเปลี่ยน Hambantota เป็นศูนย์กลางเมืองใหญ่อันดับสองของศรีลังกาห่างจากโคลัมโบ และมีการทำสัญญาให้เมืองนี้เป็นเมืองคู่แฝดกับเมืองกวางโจวของจีนด้วย

... ระหว่างปี 2004-2014 มีการลงทุนจำนวนมากจาก “จีน” ในการขยายโครงสร้างพื้นฐานของศรีลังกา โดยให้กู้ยืม 7 พันล้านดอลลาร์ รวมทั้งสินเชื่อเพื่อการก่อสร้างท่าเรือศรีลังกาใน “ฮัมบานโตตา” Hambantota แห่งนี้ด้วย

... ซึ่งเชื่อว่า “จีน” มอง “ฮัมบานโตตา” ที่นี่เป็นเมืองที่จะสร้างไว้เพื่อหวังใช้ “ปฏิบัติการทางการทหาร” ของตนด้วยเช่นกัน เพราะมีข่าวว่ารัฐบาลศรีลังกาได้ตกลงที่จะย้ายฐานทัพเรือด้านทิศใต้ของประเทศมาประจำการที่นี่แทน ซึ่งทางการจีนสามารถจะช่วยพัฒนาท่าเรือต่อ รวมทั้งใช้งานที่ฐานทัพนี้ด้วย ที่สร้างความกังวลใจให้กับ “อินเดีย” รวมทั้ง อเมริกา และญี่ปุ่นด้วย แม้ทางการศรีลังกาจะออกมาบอกว่า “จีน” จะไม่สามารถใช้ท่าเรือแห่งนี้ด้วยเหตุผลทางการทหารก็ตาม และนักวิเคราะห์บอกว่า จีนอาจจะใช้ท่าเรือนี้เชื่อมต่อกับท่าเรือที่เมือง Gwadar ที่อยู่ปากีสถาน ที่เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ CPEC ที่จีนเข้าไปช่วยเหลือในลักษณะที่เหมือนกับที่ทำกับศรีลังกาเช่นกัน

... “ด้านความมั่นคง” จีน เป็นแหล่งผลิตอุปกรณ์ทางการทหารอย่างต่อเนื่องส่งไปยังศรีลังกาและกำลังช่วยปรับปรุงและขยายกองกำลังของศรีลังกา , จีนส่งออกอุปกรณ์ทางทหารไปยังกองทัพศรีลังการวมถึง: กระสุน, ขีปนาวุธต่อต้านรถถัง, เครื่องยิงจรวดและขีปนาวุธจากพื้นสู่อากาศ, ระเบิดและจรวดทำลายแนวลึก, ปืนครก, เครื่องยิงกระสุน, อุปกรณ์รักษาความปลอดภัยรถถังเจ็ตส์เรือทหารเรือเรดาร์และอุปกรณ์สื่อสาร จีนยังช่วยในการฝึกอบรมบุคลากรทางทหารของศรีลังกาด้วย

... บริษัท นำเข้าและส่งออก เทคโนโลยีทางอากาศแห่งชาติของจีนกำลังช่วยเหลือรัฐบาลศรีลังกาใน “การสร้างศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยาน” อย่างไรก็ตามสถานที่ตั้งยังไม่ได้สรุป แต่น่าจะเป็นระหว่างเมือง Katunayake, Mattala และ Trincomalee

... “เรือดำน้ำนิวเคลียร์” ของจีนเดินทางไปแวะที่ศรีลังกาหลายครั้งในเดือนกันยายนและพฤศจิกายน 2014 ในปีสุดท้ายของประธานาธิบดีนาย“มหินดา ราชาปักษา” ที่นิยมจีน แม้จะสร้างความไม่พอใจอย่างมากแก่รัฐบาลอินเดียก็ตาม

... ในเดือนตุลาคม 2016 รัฐบาลจีนประกาศว่าจะให้ความช่วยเหลือทางทหารแก่ศรีลังกาเพื่อช่วยในการซื้อเครื่องมือทางทหารของจีน

... เนื่องจากมีตัวเลขของการกู้เงินจาก “จีน” มากมาย ทำให้ “ศรีลังกา” ตกลงเมื่อปี 2017 ว่าจะให้จีน มีสัดส่วนการถือหุ้น 70% ในผลประโยชน์จากการบริหารท่าเรือที่ “ฮัมบานโตตา” โดยจะให้เช่าเป็นเวลา 99 ปี

... ล่าสุดเมื่อวันที่ 21 เมษายน 2019 เกิดระเบิดที่โบสถ์คริตส์ใน “ศรีลังกา” ทำให้มีผู้เสียชีวิตมากมายไม่น้อยกว่า 290 คน ก่อนการเลือกตั้งในปี 2019 นี้

.

. But unable to pay back the debts, Sri Lanka agreed last year to give China a 70 per cent stake in the port on a 99-year lease.

คลิก

คลิก

คลิก

คลิก

คลิก

คลิก

Cr.Jeerachart Jongsomchai

เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี!!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b  
Line ID:@fxhanuman
Web : https://www.fxhanuman.com
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/

#forex #ลงทุน #pepperstone #xm #fbs #exness #uag #icmarkets #avatrade #fxtm #tickmill #fxpro #fxopen #fxcl #forex3d #forex4you

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"