forex_calendar

1.  ตั้งเวลาให้ตรงกับประเทศไทยคือ (GMT+7:00) Bangkok, Hanoi, Jakarta
2.  ไว้สำหรับเลือกวันที่ต้องการดูข่าว
3.  เวลาข่าวออก
4.  ตระกูลเงินของข่าว
5.  ความรุนแรงของข่าว
6.  เหตุการณ์ของข่าว
7.  ค่าตัวเลขจริงที่ออก
8.  ค่าตัวเลขคาดการณ์
9.  ค่าตัวเลขครั้งก่อน

forex_calendar

เมื่อถึงเวลาข่าวออกตัวเลขค่าจริงจะแสดงออกมาในช่อง Actual ซึ่งจะมีสีแตกต่างกันดังนี้

  • ตัวเลขออกเป็นสีเขียวแสดงตัวเลขดีกว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีแดงแสดงว่าตัวเลขแย่กว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีดำแสดงว่าตัวเลขเท่ากับค่าที่คาดการณ์หรือใกล้เคียงกับสถิติเดิม (Previous)

 

สิ่งที่ต้องสนใจในการเทรดข่าว Forex

 

1.  เรื่องค่าสกุลเงิน ถ้าเทรดสกุลไหนก็ต้องสนใจเฉพาะสกุลนั้น เช่นถ้าเราเช่น EUR/USD ก็สนใจเฉพาะข่าวของ USD และ EUR และเราต้องรู้ด้วยว่าถ้าข่าวออกมาจะทำให้ค่าเงินเราขึ้นหรือลง เช่น ถ้าเราเล่น EUR/USD ถ้าข่าวดอลลาร์สหรัฐออกมาดีแสดงคู่เงินที่มี USD อยู่หลังกราฟจะลง แต่ถ้าข่าว USD ออกมาไม่ดีกราฟจะขึ้น ในทางกลับกันถ้าข่าว EUR ออกมาดีกราฟจะขึ้นแต่ถ้าข่าว EUR ออกมาไม่ดีกราฟจะลง

2. เรื่องระดับความแรงของข่าว ระดับความแรงขอข่าวจะมีสามระดับดังรูป

forex_calendar

3. ค่าตัวเลขจริงที่ออก(Actual) ถ้าค่าตัวเล่นจริงที่ออกมาต่างจากค่าก่อนหน้า(Previous)มาก ยิ่งมีผลทำให้ค่าเงินวิ่งขึ้นลงแรงมาก แต่ก็ขึ้นอยู่กับความแรงของข่าวด้วย

หลายปีมาแล้ว ช่วงหลังเหตุการณ์ปี 2008 ไม่นาน

Fed ส่งทีมประชาสัมพันธ์ไปทั่วสหรัฐ เพื่อส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ถึงการทำงานของ Fed และสิ่งดีๆที่มันได้ทำไปแล้ว เป็นการพรีเซนต์ต่อสาธารณชน และมีช่วงของการถามตอบตอนท้ายของการอบรมอยู่ด้วย

ในการจัดขึ้นครั้งหนึ่งที่ Des Moines, Iowa ที่ผมได้เข้าร่วมด้วย ...ช่วงการให้ความรู้ใช้เวลาเกือบชั่วโมง และมันทำให้ผมเห็นได้ชัดเลยว่า 4 วิทยากรที่มาให้ความรู้นั้น เป็นผู้ที่เกือบไม่รู้อะไรเลยเกี่ยวกับทฤษฎีการเงิน พวกเขาอาจถูกจ้างมาเฉพาะกิจของการทัวร์ครั้งนี้ก็ได้ เพราะพวกเขาอายุยังน้อย ไม่ใช่นักวางนโยบายรุ่นเดอะของ Fed แน่ๆ ..พวกเขาพรีเซนต์ถึงสิ่งที่ Fed พยายามโปรโมทความรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจ และปกป้องระบบการเงิน บอกถึงการดูแลอัตราดอกเบี้ยและรับรองถึงการลื่นไหลของสภาพคล่องที่จะเข้าสู่ตลาดบ้านและตลาดเด่นๆอื่นๆในระบบเศรษฐกิจของประเทศ

หลังจากสิ้นสุดการพรีเซนต์ ก็ถึงเวลาถามตอบผ่านทางไมโครโฟน ซึ่งผมถูกจัดอยู่ในลำดับผู้ถามสุดท้าย นี่คือการถามตอบที่มีผมเป็นผู้ถาม:

ผม:.. ที่บอกว่า Fed มีอำนาจที่จะเพิ่มปริมาณ money supply ใช่หรือไม่?

Fed:..ใช่

ผม:.. แล้ว Fed ก็ได้เพิ่มไปแล้วจริงๆ ใช่หรือไม่?

Fed:..ใช่

ผม:.. เงินที่พวกคุณเพิ่มเข้ามาโดยพิมพ์จากกลางอากาศ มันไม่เคยมีมาก่อน แต่ตอนนี้มีแล้ว ใช่หรือไม่?

Fed:.. (เริ่มมีอาการเครียด) ใช่

ผม:.. และที่บอกว่า การสร้างเงินนี้จากกลางอากาศ พวกคุณทำไปเพื่อประโยชน์ของระบบเศรษฐกิจของประเทศ ใช่หรือไม่?

Fed:.. (อาการเครียดหนักขึ้น) ใช่

ผม:.. ถ้างั้น ทำไมผู้ที่พิมพ์ธนบัตรปลอมถึงผิดกฏหมายล่ะ?

(ผู้ฟังในห้องร้องขึ้น Yeah, why prosecute counterfeiters?)

Fed:..กล่าวปิดประชุม

ประเด็นของผมก็คือ มันไม่ได้ให้ผลทางเศรษฐกิจที่ต่างกันเลย ระหว่างที่ Fed พิมพ์เงินออกมาหรือนักปลอมแปลงธนบัตรที่ทำในสิ่งเดียวกัน ..ที่ต่างกันก็เรื่องที่เกี่ยวกฏหมาย..กับขนาดที่ทำไปเท่านั้น ...นักปลอมแปลงต้องถูกลงโทษ แต่ Fed กลับได้รับการยกย่อง

นักปลอมแปลงธนบัตรก็เหมือนขโมย เพราะพวกเขาคงไม่พิมพ์ออกมาเพื่อเก็บไว้ใต้ที่นอนแน่ๆ พวกเขาส่งผ่านเงินปลอมเพื่อแลกเปลี่ยนกับทรัพย์สินอื่นๆที่มีมูลค่า เป็นการได้ของมีค่ามาแบบได้เปล่า ..Richard Cantillon ให้ความเห็นว่าคนแรกที่ใช้เงินปลอมคือผู้ได้ประโยชน์สูงสุดจากผู้รับรายอื่นๆถัดมาเป็นลำดับในระบบที่ตามๆกันมา ....นี่เรียกว่า Cantillon Effect

ในบทความเร็วๆนี้ของ Mises Wire ..Carmen Elena Dorobat อธิบายถึง Cantillon Effect ว่ามันสามารถขยายออกไปยังนานาชาติได้ ..ดังนั้นประเทศใดก็ตามที่รับชำระเป็นเงินดอลล่าร์ไว้ใน stage ท้ายๆของการขยายตัวของเงินเฟียตสกุลนี้ ก็เท่ากับเป็นเหยื่อของการย้ายความมั่งคั่งของตนไปสู่ผู้ใช้เงินดอลล่าร์พิมพ์ใหม่คนแรกๆ ซึ่งก็คือธนาคาร และลูกค้าธนาคารในสหรัฐ

บางคนก็อาจแย้งว่า "ใช่ แต่รัฐบาลย่อมมีอำนาจที่จะทำอะไรก็ได้เพื่อประโยชน์ของชาติ การพิมพ์เงินก็เป็นหนึ่งในนั้น รวมถึงอำนาจในการทำสงครามและอำนาจในการยึดทรัพย์สินเพื่อประโยชน์ของคนส่วนใหญ่ ...ความต่างมันอยู่ที่ จรรยา vs ความจำเป็น (ethics vs consequences)

ไม่มีรัฐบาลชาติศิวิไลซ์ไหนจะยอมให้ประชาชนของตนเข่นฆ่าชาวต่างชาติได้ แต่เมื่อยามสงครามรัฐบาลก็อาจสั่งให้ประชาชนทำเช่นนั้นได้ ..แถมยังอาจได้รับเกียรติ์จากการกระทำอีกด้วย

Ethics vs. Consequences จรรยาและความจำเป็น

เราทุกคนก็ยอมรับกันแล้วว่า รัฐบาลมีอำนาจสั่งให้เราเข้าสู่สงคราม หรือสั่งให้เราจ่ายภาษีเพื่อใช้ในเรื่องสวัสดิการของประชาชน ..รัฐไม่ต้องแจงถึงเรื่องความจำเป็นเลย ..เช่นการที่คนอเมริกันจะสังหารคนต่างชาติไม่ว่าจะเป็นพลเรือนหรือทหาร ก็เป็นเรื่องต้องทำ ...

ถ้าชาวอเมริกันซักคนจะรับบทโรบินฮู้ด เอาเงินจากคนรวยเพื่อมาแจกจ่ายให้คนจน ..ความจำเป็นก็คงไม่ต่างกันกับที่รัฐบาลทำลงไปผ่านทางภาษีนั่นแหละ

แต่ในกรณีการพิมพ์เงินจากกลางอากาศ รัฐบาลอ้างถึงผลดีต่อเศรษฐกิจ ในขณะที่ถ้าไม่ใช่รัฐเป็นผู้ทำมันจะก่อให้เกิดผลร้าย ...ที่จริงการพิมพ์เงินมากมันทำให้การกระจายทรัพยากรผิดเพี้ยนไป แล้วมันยังทำความเสียหายอย่างมากต่อสังคม ..แต่มันก็เป็นเรื่องที่จำเป็น และเป็นผลประโยชน์ของ.....(เติมคำในช่องว่างเอง)

เรามักจะได้ยินแต่เรื่องที่ว่า Fed เก่งฉกาจขนาดไหนที่สามารถพิมพ์เงินกลางอากาศมาใช้ในการกระตุ้นเศรษฐกิจได้ ตามมาด้วยเรื่องไร้สาระอีกหลายเรื่อง นักปลอมแปลงธนบัตรปล้นจากคนอื่นเพื่อประโยชน์ของตน ..Fed ก็ทำแบบเดียวกัน แต่อ้างว่านี่เป็นผลประโยชน์ของทุกๆคนในสังคม

Hiding the Truth with Statistics. เอาตัวเลขสถิติมาปิดบังความจริง

Fed พยายามปิดบังผลร้ายของการพิมพ์เงินเพิ่ม..โดยการโฟกัสไปที่ผลดีที่เกิดขึ้นในบางเซ็คเตอร์ เช่นธุรกิจบ้าน ..มีตัวเลขสถิติที่แสดงถึงธุรกิจบางอย่างได้รับประโยชน์จากเงินที่เพิ่มขึ้นมาในระบบ ..แต่ Fed กลับละเลยที่จะพูดถึงผลเสียที่เกิดขึ้นในหลายเซ็คเตอร์ ซึ่งขยายวงกว้างจนเกือบเป็นไปไม่ได้ที่จะประเมินความเสียหาย ..นี่คือการคำนึงถึงแต่ประโยชน์เพียงด้านเดียวแต่ละเลยที่จะพูดถึงต้นทุนความเสียหายทั้งหมด มีแต่การประเมินถึงประโยชน์ที่ได้รับ แต่ไม่มีการประเมินต้นทุน ซึ่งในความเป็นจริง มันเป็นความเสียหายสุทธิ

การพิมพ์เงินเป็นการทำลายโครงสร้างการผลิต และทำให้การลงทุนผิดเพี้ยนซึ่งในที่สุดแล้วก็จะต้องถูกชำระบัญชีโดยไม่มีทางฟื้นฟูได้เลย ..หรือพูดอีกอย่าง ความเสียหายโดยรวม มากกว่าส่วนที่ผู้ได้ประโยชน์ได้ไป

Cantillon Effect ทำให้เศรษฐกิจบูมได้ เมื่อนักปลอมธนบัตรปฏิบัติการอยู่ในประเทศ เขาใช้จ่ายเงินปลอมซื้อสินค้า ผู้ขายเป็นผู้เสียหาย แต่ถ้าเงินปลอมไม่ถูกตรวจสอบ แต่ส่งต่อหมุนเวียนอยู่ในตลาดในฐานะสิ่งที่ใช้ชำระหนี้ได้ตามกฏหมาย (legal tender) โครงสร้างการผลิตก็ถือว่าถูกทำลายไปแล้ว ต้นทุนส่วนหนึ่งสูญหายไปเลย

นักปลอมเงินอาจแพร่กระจายเงินหลายพันหรือนับล้านดอลล่าร์ได้ แต่ในช่วง 19 ปีนับจาก มค.2000 - มค. 2019 Fed มีการเพิ่มเงินเข้าระบบ จาก $0.591 ล้านล้าน เป็น $3.323 ล้านล้าน ..เพิ่มมาเกือบ 3 ล้านล้านดอลล่าร์

แต่ Fed ก็ยังมีแก่ใจออกทัวร์ทั่วประเทศ คุยโม้ถึงความเก่งกาจให้กับผู้ฟังเด็กๆรุ่นใหม่ ....จะมียกเว้นก็ที่ Des Moines, Iowa

Patrick Barron is a private consultant to the banking industry. He has taught an introductory course in Austrian economics for several years at the University of Iowa. He has also taught at the Graduate School of Banking at the University of Wisconsin for over twenty-five years, and has delivered many presentations at the European Parliament.

Cr.Sayan Rujiramora
----------------------------------------------------
เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี!!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b  
Line ID:@fxhanuman
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"